โควิดคร่าอีก 32 ชีวิต ปอดอักเสบเพิ่ม 904 ราย ผู้ป่วยรายใหม่ 1,902 ราย
https://www.dailynews.co.th/news/1298226/
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ พบเสียชีวิตเพิ่มอีก 32 ราย ขณะที่มีจำนวนผู้ป่วยรักษาตัวใน รพ.รายใหม่ 1,902 ราย กำลังรักษา 23,960 ราย
สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 28 ก.ค. 65 มีจำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลรายใหม่วันนี้ 1,902 ราย เป็นผู้ป่วยในประเทศ 1,901 ราย ผู้ป่วยจากต่างประเทศ 1 ราย ผู้ป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 2,360,635 ราย หายป่วยกลับบ้าน 2,129 ราย หายป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 2,360,326 ราย กำลังรักษา 23,960 ราย เสียชีวิต 32 ราย เสียชีวิตสะสม (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 9,592 ราย จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 904 ราย
ทุบสถิติค่าไฟสูงสุด! ค่าเอฟทีงวด ก.ย.-ธ.ค.65 พุ่ง 4.72 บาท/หน่วย แพงสุดเป็นประวัติการณ์
https://ch3plus.com/news/economy/morning/303041
วานนี้ (27 ก.ค.) คณะกรรมการของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประชุมสรุปค่าไฟฟ้าฝันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค.65 หลังจากสิ้นสุดการเปิดรับฟังความเห็นค่าเอฟทีดังกล่าวในวันที่ 25 ก.ค.65 โดยจะแถลงข่าวประกาศค่าเอฟที ในวันที่ 1 ส.ค.65
แหล่งข่าวกกพ.เผยว่า การเปิดรับฟังความเห็นค่าเอฟทีงวดเดือน ก.ย.–ธ.ค.65 กำหนด 3 แนวทางในการพิจารณาค่าเอฟที และบอร์ด กกพ.มีมติเห็นชอบหนึ่งในแนวทางที่เปิดรับฟังความเห็นค่าเอฟทีแล้ว ซึ่งไม่จำเป็นต้องส่งมติดังกล่าวให้กับกระทรวงพลังงานพิจารณาอีกรอบ เพราะเป็นเรื่องที่กกพ.ดำเนินการและประกาศอัตราค่าเอฟทีได้เองทันที
โดยแนวทางอัตราค่าเอฟทีงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค.65 เบื้องต้นจะปรับเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 68.66 สตางค์ต่อหน่วย เนื่องจากเป็นต้นทุนที่แท้จริงตามราคาเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าที่ปรับสูงขึ้น และเมื่อรวมกับค่าเอฟทีงวดปัจจุบัน (พ.ค. –ส.ค.65) ที่เก็บอยู่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย จะส่งผลให้ค่าเอฟทีโดยรวมในเดือน ก.ย.-ธ.ค.65 มาอยู่ที่ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย
ทั้งนี้ หากค่าเอฟทีเท่ากับ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อนำมารวมกับค่าไฟฟ้าฐานประมาณ 3.79 บาทต่อหน่วย จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าโดยรวมที่ประชาชนต้องจ่ายอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้นจากงวดเดือนพ.ค.-ส.ค.65 ที่ประชาชนจ่ายอยู่ 4 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่สูงสุดทำสถิติใหม่อีกรอบ
นักวิชาการชี้ไล่รื้อรธน. หวังใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ยุ่งยาก-เสียเวลา
https://www.matichon.co.th/politics/news_3476916
นักวิชาการชี้ไล่รื้อ รธน. หวังใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ยุ่งยาก-เสียเวลา
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม นาย
ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้ความเห็นปมการถอนวาระการพิจารณา พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.กลับมาที่ชั้นกรรมาธิการ (กมธ.) อีกครั้ง อาจมีการปรับสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จากสูตรหาร 500 เป็นหาร 100 และอาจเปลี่ยนบัตรเลือกตั้งจาก 2 ใบ เป็นใบเดียว ว่า ต้องบอกว่าเรื่องของ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.กลายเป็นตัวประกันทางการเมือง จะเห็นการช่วงชิงพื้นที่ในความได้เปรียบทางการเมืองหลังจากนี้ ที่การเลือกตั้งรออยู่ข้างหน้า การที่ถอนวาระในการพิจารณากฎหมายนี้กลับมาที่ชั้น กมธ.อีก หมายความว่าโอกาสอาจจะกลับไปสู่สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อหาร 100 ก็เป็นไปได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่หาร 500
นาย
ยุทธพรกล่าวว่า เป็นเรื่องของการดึงวาระกลับมาเพื่อดูความได้เปรียบทางการเมืองว่าถ้าหาร 500 กับหาร 100 แบบไหนที่ฝ่ายซึ่งอยู่ในอำนาจรัฐและกลุ่มเสียงข้างมากในสภาจะได้เปรียบมากที่สุด หากใช้สูตรเลือกตั้งแบบเดิมคือหาร 100 พรรคใหญ่มีโอกาสได้เปรียบมากกว่า จะทำให้สัดส่วนคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน แตะไปถึงประมาณ 300,000 คะแนน พรรคใหญ่ที่มีฐานในระดับหนึ่งจะมีโอกาสได้จำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อมาก พรรคขนาดกลางเสียเปรียบ ส่วนพรรคขนาดเล็กและพรรคจิ๋วอาจจะไม่ได้เลย
ต่างกับหาร 500 ที่ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จะตกอยู่กับพรรคขนาดกลาง พรรคขนาดใหญ่จะได้ประโยชน์จากตรงนี้ลดลง ขณะที่พรรคเล็กอาจจะพอได้ลุ้นบ้าง แต่พรรคจิ๋วยังไงก็หายอยู่ดีไม่ว่าจะหาร 100 หรือหาร 500 ก็ตาม
นาย
ยุทธพรกล่าวว่า การกลับไปใช้บัตรเลือกตั้งแบบใบเดียวเป็นเรื่องที่ยากมาก ต้องไปแก้รัฐธรรมนูญ เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2560 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2564 ได้แก้ไขในมาตรา 83 และมาตรา 91 เอาไว้ โดยเฉพาะมาตรา 83 เขียนว่า สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกมาจากเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ให้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ถ้าจะให้เหลือบัตรเลือกตั้งใบเดียวต้องกลับไปแก้รัฐธรรมนูญเลย ต้องอาศัยเวลาและขั้นตอนอีกมาก
จะเห็นได้จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีที่ผ่านมา คะแนนการลงมติไม่ได้ยึดโยงอะไรกับสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ต่อประชาชนเลย และไม่ได้ยึดโยงกับเนื้อหาหรือประเด็นคำตอบและคำถามอะไรในสภา กลับเป็นไปยึดโยงกับเรื่องของผลประโยชน์ของกลุ่มการเมือง
สำหรับกติกาที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งนั้น คิดว่าการใช้บัตร 2 ใบน่าจะเป็นไปได้สูง โอกาสใช้บัตรใบเดียวเป็นเรื่องที่ยาก แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นไปไม่ได้ ส่วนสูตรคำนวณหาร 100 หรือหาร 500 ตอนนี้คิดว่ายัง 50-50 เพราะถ้าหาร 100 พรรคใหญ่ก็จะได้เปรียบ ขณะที่ถ้าหาร 500 โอกาสที่จะขัดกับรัฐธรรมนูญก็มี และโอกาสทำให้ระบบการเลือกตั้งยุ่งเหยิงอันเนื่องมาจากสิ่งที่เรียกว่า ปาร์ตี้ลิสต์พิสดาร ที่จะเกิดขึ้น แต่ถ้าหาร 500 แล้วมีช่องทางที่จะไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ หรือตอบคำถามกับสังคมได้ เป็นไปได้ที่จะมีการดันหาร 500 เช่นเดิม เพราะจะทำให้พรรคขนาดกลางมีโอกาส
“อย่าลืมว่าในพรรคร่วมรัฐบาลส่วนใหญ่เป็นพรรคขนาดกลาง และ ส.ว.ไม่ต้องการที่จะให้พรรคเพื่อไทย (พท.) กลับมาได้คะแนนที่ท่วมท้นในสภาอีก ฉะนั้น ถ้าหาร 500 เขาดันได้ ผมเชื่อว่าเขาดัน แต่ถ้าดันไม่ได้จริงๆ ก็ต้องจบที่หาร 100 เพราะไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว และการคิดคำนวณคะแนนก็ไม่บิดเบี้ยวหรือผิดเพี้ยนไปจากสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง ตอนนี้คิดว่าทั้งหาร 100 และหาร 500 สามารถออกได้ทั้ง 2 ทาง เราจึงจะเห็นว่าในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามีการดึงวาระนี้กลับไปพิจารณาใหม่ในชั้น กมธ.เพื่อจะนำไปพิจารณาและมีการต่อรองทางการเมือง มีการพูดคุยกันอีกครั้งหนึ่ง”
นาย
ยุทธพรกล่าวว่า ตรงนี้ต้องดูว่าจะเสร็จทันใน 180 วันหรือไม่ ถ้าไม่ทันจะยุ่ง เพราะกฎหมาย พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.จะตกไป หรือถ้ากลับมาแล้วโหวตในวาระที่ 3 แล้วมีการโหวตคว่ำก็ยุ่งเหมือนกัน เท่ากับว่าต้องมีการเสนอเข้ามาใหม่ ซึ่งจะไปกระทบกับการเลือกตั้งที่รออยู่ข้างหน้า และอาจจะทำให้กฎหมายฉบับนี้เป็นเงื่อนไขที่ทำให้เราไม่เห็นการเลือกตั้ง
JJNY : คร่า 32 ป่วยใหม่ 1,902│ทุบสถิติค่าไฟสูงสุด!│รื้อรธน.หวังใช้บัตรลต.ใบเดียว ยุ่งยาก-เสียเวลา│ล็อกดาวน์ชาวอู่ฮั่น
https://www.dailynews.co.th/news/1298226/
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ พบเสียชีวิตเพิ่มอีก 32 ราย ขณะที่มีจำนวนผู้ป่วยรักษาตัวใน รพ.รายใหม่ 1,902 ราย กำลังรักษา 23,960 ราย
สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 28 ก.ค. 65 มีจำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลรายใหม่วันนี้ 1,902 ราย เป็นผู้ป่วยในประเทศ 1,901 ราย ผู้ป่วยจากต่างประเทศ 1 ราย ผู้ป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 2,360,635 ราย หายป่วยกลับบ้าน 2,129 ราย หายป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 2,360,326 ราย กำลังรักษา 23,960 ราย เสียชีวิต 32 ราย เสียชีวิตสะสม (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 9,592 ราย จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 904 ราย
ทุบสถิติค่าไฟสูงสุด! ค่าเอฟทีงวด ก.ย.-ธ.ค.65 พุ่ง 4.72 บาท/หน่วย แพงสุดเป็นประวัติการณ์
https://ch3plus.com/news/economy/morning/303041
วานนี้ (27 ก.ค.) คณะกรรมการของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประชุมสรุปค่าไฟฟ้าฝันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค.65 หลังจากสิ้นสุดการเปิดรับฟังความเห็นค่าเอฟทีดังกล่าวในวันที่ 25 ก.ค.65 โดยจะแถลงข่าวประกาศค่าเอฟที ในวันที่ 1 ส.ค.65
แหล่งข่าวกกพ.เผยว่า การเปิดรับฟังความเห็นค่าเอฟทีงวดเดือน ก.ย.–ธ.ค.65 กำหนด 3 แนวทางในการพิจารณาค่าเอฟที และบอร์ด กกพ.มีมติเห็นชอบหนึ่งในแนวทางที่เปิดรับฟังความเห็นค่าเอฟทีแล้ว ซึ่งไม่จำเป็นต้องส่งมติดังกล่าวให้กับกระทรวงพลังงานพิจารณาอีกรอบ เพราะเป็นเรื่องที่กกพ.ดำเนินการและประกาศอัตราค่าเอฟทีได้เองทันที
โดยแนวทางอัตราค่าเอฟทีงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค.65 เบื้องต้นจะปรับเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 68.66 สตางค์ต่อหน่วย เนื่องจากเป็นต้นทุนที่แท้จริงตามราคาเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าที่ปรับสูงขึ้น และเมื่อรวมกับค่าเอฟทีงวดปัจจุบัน (พ.ค. –ส.ค.65) ที่เก็บอยู่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย จะส่งผลให้ค่าเอฟทีโดยรวมในเดือน ก.ย.-ธ.ค.65 มาอยู่ที่ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย
ทั้งนี้ หากค่าเอฟทีเท่ากับ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อนำมารวมกับค่าไฟฟ้าฐานประมาณ 3.79 บาทต่อหน่วย จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าโดยรวมที่ประชาชนต้องจ่ายอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้นจากงวดเดือนพ.ค.-ส.ค.65 ที่ประชาชนจ่ายอยู่ 4 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่สูงสุดทำสถิติใหม่อีกรอบ
นักวิชาการชี้ไล่รื้อรธน. หวังใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ยุ่งยาก-เสียเวลา
https://www.matichon.co.th/politics/news_3476916
นักวิชาการชี้ไล่รื้อ รธน. หวังใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ยุ่งยาก-เสียเวลา
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม นายยุทธพร อิสรชัย อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้ความเห็นปมการถอนวาระการพิจารณา พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.กลับมาที่ชั้นกรรมาธิการ (กมธ.) อีกครั้ง อาจมีการปรับสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จากสูตรหาร 500 เป็นหาร 100 และอาจเปลี่ยนบัตรเลือกตั้งจาก 2 ใบ เป็นใบเดียว ว่า ต้องบอกว่าเรื่องของ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.กลายเป็นตัวประกันทางการเมือง จะเห็นการช่วงชิงพื้นที่ในความได้เปรียบทางการเมืองหลังจากนี้ ที่การเลือกตั้งรออยู่ข้างหน้า การที่ถอนวาระในการพิจารณากฎหมายนี้กลับมาที่ชั้น กมธ.อีก หมายความว่าโอกาสอาจจะกลับไปสู่สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อหาร 100 ก็เป็นไปได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่หาร 500
นายยุทธพรกล่าวว่า เป็นเรื่องของการดึงวาระกลับมาเพื่อดูความได้เปรียบทางการเมืองว่าถ้าหาร 500 กับหาร 100 แบบไหนที่ฝ่ายซึ่งอยู่ในอำนาจรัฐและกลุ่มเสียงข้างมากในสภาจะได้เปรียบมากที่สุด หากใช้สูตรเลือกตั้งแบบเดิมคือหาร 100 พรรคใหญ่มีโอกาสได้เปรียบมากกว่า จะทำให้สัดส่วนคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน แตะไปถึงประมาณ 300,000 คะแนน พรรคใหญ่ที่มีฐานในระดับหนึ่งจะมีโอกาสได้จำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อมาก พรรคขนาดกลางเสียเปรียบ ส่วนพรรคขนาดเล็กและพรรคจิ๋วอาจจะไม่ได้เลย
ต่างกับหาร 500 ที่ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จะตกอยู่กับพรรคขนาดกลาง พรรคขนาดใหญ่จะได้ประโยชน์จากตรงนี้ลดลง ขณะที่พรรคเล็กอาจจะพอได้ลุ้นบ้าง แต่พรรคจิ๋วยังไงก็หายอยู่ดีไม่ว่าจะหาร 100 หรือหาร 500 ก็ตาม
นายยุทธพรกล่าวว่า การกลับไปใช้บัตรเลือกตั้งแบบใบเดียวเป็นเรื่องที่ยากมาก ต้องไปแก้รัฐธรรมนูญ เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2560 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2564 ได้แก้ไขในมาตรา 83 และมาตรา 91 เอาไว้ โดยเฉพาะมาตรา 83 เขียนว่า สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกมาจากเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ให้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ถ้าจะให้เหลือบัตรเลือกตั้งใบเดียวต้องกลับไปแก้รัฐธรรมนูญเลย ต้องอาศัยเวลาและขั้นตอนอีกมาก
จะเห็นได้จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีที่ผ่านมา คะแนนการลงมติไม่ได้ยึดโยงอะไรกับสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ต่อประชาชนเลย และไม่ได้ยึดโยงกับเนื้อหาหรือประเด็นคำตอบและคำถามอะไรในสภา กลับเป็นไปยึดโยงกับเรื่องของผลประโยชน์ของกลุ่มการเมือง
สำหรับกติกาที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งนั้น คิดว่าการใช้บัตร 2 ใบน่าจะเป็นไปได้สูง โอกาสใช้บัตรใบเดียวเป็นเรื่องที่ยาก แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นไปไม่ได้ ส่วนสูตรคำนวณหาร 100 หรือหาร 500 ตอนนี้คิดว่ายัง 50-50 เพราะถ้าหาร 100 พรรคใหญ่ก็จะได้เปรียบ ขณะที่ถ้าหาร 500 โอกาสที่จะขัดกับรัฐธรรมนูญก็มี และโอกาสทำให้ระบบการเลือกตั้งยุ่งเหยิงอันเนื่องมาจากสิ่งที่เรียกว่า ปาร์ตี้ลิสต์พิสดาร ที่จะเกิดขึ้น แต่ถ้าหาร 500 แล้วมีช่องทางที่จะไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ หรือตอบคำถามกับสังคมได้ เป็นไปได้ที่จะมีการดันหาร 500 เช่นเดิม เพราะจะทำให้พรรคขนาดกลางมีโอกาส
“อย่าลืมว่าในพรรคร่วมรัฐบาลส่วนใหญ่เป็นพรรคขนาดกลาง และ ส.ว.ไม่ต้องการที่จะให้พรรคเพื่อไทย (พท.) กลับมาได้คะแนนที่ท่วมท้นในสภาอีก ฉะนั้น ถ้าหาร 500 เขาดันได้ ผมเชื่อว่าเขาดัน แต่ถ้าดันไม่ได้จริงๆ ก็ต้องจบที่หาร 100 เพราะไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว และการคิดคำนวณคะแนนก็ไม่บิดเบี้ยวหรือผิดเพี้ยนไปจากสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง ตอนนี้คิดว่าทั้งหาร 100 และหาร 500 สามารถออกได้ทั้ง 2 ทาง เราจึงจะเห็นว่าในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามีการดึงวาระนี้กลับไปพิจารณาใหม่ในชั้น กมธ.เพื่อจะนำไปพิจารณาและมีการต่อรองทางการเมือง มีการพูดคุยกันอีกครั้งหนึ่ง”
นายยุทธพรกล่าวว่า ตรงนี้ต้องดูว่าจะเสร็จทันใน 180 วันหรือไม่ ถ้าไม่ทันจะยุ่ง เพราะกฎหมาย พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.จะตกไป หรือถ้ากลับมาแล้วโหวตในวาระที่ 3 แล้วมีการโหวตคว่ำก็ยุ่งเหมือนกัน เท่ากับว่าต้องมีการเสนอเข้ามาใหม่ ซึ่งจะไปกระทบกับการเลือกตั้งที่รออยู่ข้างหน้า และอาจจะทำให้กฎหมายฉบับนี้เป็นเงื่อนไขที่ทำให้เราไม่เห็นการเลือกตั้ง