อาหารเสริมไฟเบอร์ ช่วยเรื่องท้องผูกได้จริงมั้ย ? 🤔

📚 งานนี้เป็น Systematic review และ Meta-analysis เพื่อศึกษาดูผลของการทานไฟเบอร์ ในรูปอาหารเสริม (supplements) ว่ามีผลยังไงกับการขับถ่ายบ้างนะครับ ไม่ว่าจะเป็นอุจจาระที่ออกมา (stool output) ระยะเวลาขับถ่าย (gut transit time) รวมไปถึงข้อบ่งชี้สุขภาพ และคุณภาพชีวิต ในคนที่มีภาวะท้องผูกเรื้อรังนะครับ



🔎 อย่างที่บอกว่าเป็น SR และ MA ดังนั้นจึงเป็นการศึกษาจากงานก่อนหน้านั้นนะครับ โดยเขาเลือก จากงานที่เป็น Randomized Controlled Trials (RCTs) ได้มาทั้งหมด 16 งาน ได้ข้อมูลจากกลุ่มประชากรรวม 1,251 ราย 

💩 เขาพบว่า Psyllium หรือไซเลียม (เราน่าจะคุ้นกันถ้าพูดถึง ไซเลียม ฮัลค์) และ Pectin ซึ่งเป็นสารที่สกัดจากผลไม้ตระกูลส้มเปลือกหนา และกากของแอปเปิ้ล เนี่ยเป็นแหล่งไฟเบอร์สองชนิด ที่มีผลนัยสำคัญทางสถิติ แต่ว่าก็ต้องรับโดสสูงอยู่นะครับ สูงที่ว่าก็คือมากกว่า 10g ต่อวัน

💊 โดยที่ไฟเบอร์จะช่วยเพิ่มความถี่ในการขับถ่าย ไซเลียม และ เพคติน จะส่งผลดีต่อเมื่อทานปริมาณมากกว่า 10g ต่อวัน ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์อย่างน้อย และจะช่วยทำให้ขับถ่ายได้สม่ำเสมอมากกว่า เมื่อเทียบกับการทานไฟเบอร์ที่ระดับต่ำกว่าหรือนานน้อยกว่านั้น

💩 แต่ก็มีผลอีกอันนึงที่น่าสนใจ คืออาการท้องอืด (Flatulence) อันนี้กลุ่มที่ทานไฟเบอร์จะเจอเยอะกว่านะครับ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ก็ต้องดูกันว่าทานแล้วจะเจอมั้ย ถ้าเจอก็ต้องชั่งดูว่าท้องผูกกับท้องอืด เอาอันไหนก่อน 55

📌 ก็พอจะสรุปได้ว่า ไฟเบอร์ในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีผลบวกต่ออาหารท้องผูกนะครับ โดยเฉพาะ ไซเลียม ที่ทานเกินวันละ 10g นานอย่างน้อย 4 สัปดาห์ แต่มันก็ไม่ใช่ว่าจะได้ผลแบบนี้ตายตัวทุกคนนะครับ ก็ต้องดูกันเองด้วย ท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทางที่ดี ดูเรื่องอื่นๆประกอบด้วยครับ

📌 ไม่ใช่เอะอะกินไฟเบอร์แล้วจะดีทุกคน บางอาการไฟเบอร์ก็ไม่ใช่ทางออก ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ยาถ่ายก็ไม่ใช่ไปใช้พร่ำเพรื่อนะครับ

อ้างอิงและแหล่งที่มา
https://www.fatfighting.net/article-2022-07-20-the-effect-of-fiber-supplementation-on-chronic-constipation-in-adults/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่