🏃♂️ กิจกรรมทางกาย (Physical Activity, PA) นี่คือเป็นสิ่งดีนะครับ มันช่วยให้สุขภาพดีขึ้นในหลายๆด้าน แต่ว่าบางครั้งเราก็จะพบว่าเราออกกำลังกายเป็นประจำไปเรื่อยๆ เราแอคทีฟเท่าๆเดิมไปเรื่อยๆ เอ้อ มันไม่ได้ส่งผลในด้านของการทำให้เกิดพลังงานติดลบ (Calories Deficit) เหมือนช่วงแรกๆ
🗓 ปีก่อนก็มีงานวิจัยที่เสนอแนวคิดเรื่อง Energy Compensation Model ซึ่งเป็นโมเดลการใช้พลังงานที่ร่างกาย ลดทอนการใช้พลังงานบางส่วนลง เพื่อชดเชยกับ PA ในรูปแบบต่างๆ จากการศึกษาฐานข้อมูล DLW ขนาดใหญ่มากๆ พบว่ามันน่าจะมีอยู่ 3 model
📝 และคร่าวๆ ไอ้ Compensation เนี่ยคือการที่ ร่างกายปรับ BMR ลง เพื่อเพื่อชดเลยกับพลังงานที่ใช้ในการออกกำลังกาย (Exercise Activity Thermogenesis, EAT) (หรืออาจจะ Non-EAT หรือ NEAT ด้วยก็ได้) แต่กลไก หรืออะไรเป็นสาเหตุบ้าง ก็ยังไม่มีคำอธิบายชัดเจน แต่เมื่อมีการตั้งโมเดลขึ้นมา ก็มีการศึกษาต่อเนื่องตามกันมาครับ
📚 กลับมาที่งานนี้ งานนี้เป็นการศึกษา เพื่อดูความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางกาย ในชีวิตประจำวันของเรา กับระดับฮอร์โมนไทรอย์ด , ค่าการอักเสบ และตัวบ่งขี้ของระบบภูมิคุ้มกันนะครับ
💿 ในงานนี้เขาใช้ข้อมูลจาก ฐานข้อมูลการสำรวจสุขภาพและโภชนาการของสหรัฐ (NHANES) ซึ่งรวบรวมข้อมูลโดย CDC และเปิดข้อมูลบางส่วนให้เป็น public ครับ เขาก็นำข้อมูลจากถังนี้บางส่วนมาวิเคราะห์ โดยดูอันที่มีข้อมูลเกี่ยวกับ PA และค่าอื่นๆที่เขาต้องการ
⌚️ PA ในข้อมูลนี้ก็จะเก็บโดยใช้ Accelerometry ส่วนนึง ซึ่งตรงนี้จะใช้เป็น ActiGraph AM-7164 เขาก็คัดเฉพาะข้อมูลที่มีระยะเวลาเก็บข้อมูล PA นานกว่า 4 วัน ที่ในแต่ละวันต้องใส่ไว้อย่างน้อย 10 ชั่วโมง แล้วก็มีการแยกระดับ PA ว่าเป็นกิจกรรมระดับ กลางถึงหนัก (MVPA) อยู่ที่จุดตัดตรงที่มี PA มากกว่า 2020 ครั้งต่อนาที (จริงๆตรงนี้บางกิจกรรมอาจจะตรวจจับไม่ได้นะเนี่ย)
📝 อีกส่วนใช้ PA Questionnaire ซึ่งเป็นแบบสอบถามนั่นเอง และข้อมูลอีกส่วนที่เขาสนใจก็คือระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ก็ดู TSH , T4 ปรากฎว่าข้อมูลที่มีค่าไทรอยด์ ดันไม่มีการวัดผลด้วย Accessleometry แต่ว่ามีข้อมูลแบบสอบถามอยู่ ก็นำข้อมูลตรงนั้นมาใช้ ส่วนระบบภูมิคุ้มกัน ก็ดู CRP , Complete blood cell , IgE และ Fibrinogen จากนั้นก็นำไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
🔎 เขาก็พบว่าในประชากรกลุ่มนี้ (คน US) ที่มี PA สูงกว่าเนี่ย มีแนวโน้มที่จะมี Inflammatory cytokines ทั้ง CRP และ fibrinogen ลดลง (ซึ่งก็น่าจะดีการมี PA แล้วมีการอักเสบต่างๆลดเนี่ย เอ๊ะ แล้วทำไมหมดบางคนต่อต้านการออกกำลังกาย ขี้เกียจมั้ง ช่าง
๕๕)
🩸 มาดูที่ TSH กับ T4 คนที่แอคทีฟมากกว่า มันดูจะมีข้อมูลบางส่วนที่ TSH มันไม่ตอบสนองกับ T4 ที่ลดลงอย่างที่น่าจะเป็น ตรงนี้ผู้วิจัยเขามองว่าอาจจะสนับสนุนกับสมมติฐานที่ว่า PA ที่เพิ่มขึ้นบางส่วนไปกด Metabolic activity ของฮอร์โมนไทรอยด์ลงบางส่วน
📌 อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้เป็นแค่การศึกษาแบบ Cross section จากข้อมูลที่มีอยู่ มันขาดความชัดเจน ปัจจัยอะไรอีกหลายๆอย่างที่จะบอกว่าอะไรเป็นเหตุเป็นผลได้ชัดๆนะครับ แต่ก็มีความเป็นไปได้อยู่บ้างที่อาจจะเป็นสิ่งนึง ที่ทำให้การเผาผลาญโดยรวมของบางคน มันไม่ได้เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมี PA สม่ำเสมอ หรือมี PA เพิ่มขึ้น
📌 ก็ย้ำอีกรอบนะครับ PA ดีต่อสุขภาพในหลายๆด้าน ไม่ได้นำเสนอเพื่อให้กังวลกับการออกกำลังกาย หรือการแอคทีฟในชีวิตประจำวัน แต่ในเรื่องของ Metabolism เนี่ยก็ยังมีอะไรที่ มันยังไม่ชัดเจนในอีกหลายๆเรื่อง การที่เขาศึกษาอะไรเพิ่มเติม ก็ทำให้เราเห็นอะไรได้มากขึ้น 😎
📌 ถ้าเรารู้สึกว่าไอ้สิ่งนี้มันไม่โอเค กับข้อมูลของเรา ความคิด ความเชื่อของเรา ก็มองผ่านไปก็ได้ครับ คนที่เขาสนใจและศึกษาด้านนี้ต่อก็ยังมีอยู่ และข้อมูลใหม่ๆ ที่น่าสนใจก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนผมถ้าเห็นว่างานไหนมีจุดที่น่าสนใจจะนำมาแชร์ต่อ (จริงๆ ใน ref ก็ยังมีอีกหลายงานที่น่าสนใจไปอ่านตามนะครับ)
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-07-19-daily-physical-activity-is-negatively-associated-with-thyroid-hormone-levels/
ทำไมบางครั้งเราออกกำลังกาย ไปเรื่อยๆ แล้วน้ำหนักไม่ค่อยลด จนน้ำหนักค้าง ? 🤔
🗓 ปีก่อนก็มีงานวิจัยที่เสนอแนวคิดเรื่อง Energy Compensation Model ซึ่งเป็นโมเดลการใช้พลังงานที่ร่างกาย ลดทอนการใช้พลังงานบางส่วนลง เพื่อชดเชยกับ PA ในรูปแบบต่างๆ จากการศึกษาฐานข้อมูล DLW ขนาดใหญ่มากๆ พบว่ามันน่าจะมีอยู่ 3 model
📝 และคร่าวๆ ไอ้ Compensation เนี่ยคือการที่ ร่างกายปรับ BMR ลง เพื่อเพื่อชดเลยกับพลังงานที่ใช้ในการออกกำลังกาย (Exercise Activity Thermogenesis, EAT) (หรืออาจจะ Non-EAT หรือ NEAT ด้วยก็ได้) แต่กลไก หรืออะไรเป็นสาเหตุบ้าง ก็ยังไม่มีคำอธิบายชัดเจน แต่เมื่อมีการตั้งโมเดลขึ้นมา ก็มีการศึกษาต่อเนื่องตามกันมาครับ
📚 กลับมาที่งานนี้ งานนี้เป็นการศึกษา เพื่อดูความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางกาย ในชีวิตประจำวันของเรา กับระดับฮอร์โมนไทรอย์ด , ค่าการอักเสบ และตัวบ่งขี้ของระบบภูมิคุ้มกันนะครับ
💿 ในงานนี้เขาใช้ข้อมูลจาก ฐานข้อมูลการสำรวจสุขภาพและโภชนาการของสหรัฐ (NHANES) ซึ่งรวบรวมข้อมูลโดย CDC และเปิดข้อมูลบางส่วนให้เป็น public ครับ เขาก็นำข้อมูลจากถังนี้บางส่วนมาวิเคราะห์ โดยดูอันที่มีข้อมูลเกี่ยวกับ PA และค่าอื่นๆที่เขาต้องการ
⌚️ PA ในข้อมูลนี้ก็จะเก็บโดยใช้ Accelerometry ส่วนนึง ซึ่งตรงนี้จะใช้เป็น ActiGraph AM-7164 เขาก็คัดเฉพาะข้อมูลที่มีระยะเวลาเก็บข้อมูล PA นานกว่า 4 วัน ที่ในแต่ละวันต้องใส่ไว้อย่างน้อย 10 ชั่วโมง แล้วก็มีการแยกระดับ PA ว่าเป็นกิจกรรมระดับ กลางถึงหนัก (MVPA) อยู่ที่จุดตัดตรงที่มี PA มากกว่า 2020 ครั้งต่อนาที (จริงๆตรงนี้บางกิจกรรมอาจจะตรวจจับไม่ได้นะเนี่ย)
📝 อีกส่วนใช้ PA Questionnaire ซึ่งเป็นแบบสอบถามนั่นเอง และข้อมูลอีกส่วนที่เขาสนใจก็คือระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ก็ดู TSH , T4 ปรากฎว่าข้อมูลที่มีค่าไทรอยด์ ดันไม่มีการวัดผลด้วย Accessleometry แต่ว่ามีข้อมูลแบบสอบถามอยู่ ก็นำข้อมูลตรงนั้นมาใช้ ส่วนระบบภูมิคุ้มกัน ก็ดู CRP , Complete blood cell , IgE และ Fibrinogen จากนั้นก็นำไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
🔎 เขาก็พบว่าในประชากรกลุ่มนี้ (คน US) ที่มี PA สูงกว่าเนี่ย มีแนวโน้มที่จะมี Inflammatory cytokines ทั้ง CRP และ fibrinogen ลดลง (ซึ่งก็น่าจะดีการมี PA แล้วมีการอักเสบต่างๆลดเนี่ย เอ๊ะ แล้วทำไมหมดบางคนต่อต้านการออกกำลังกาย ขี้เกียจมั้ง ช่าง ๕๕)
🩸 มาดูที่ TSH กับ T4 คนที่แอคทีฟมากกว่า มันดูจะมีข้อมูลบางส่วนที่ TSH มันไม่ตอบสนองกับ T4 ที่ลดลงอย่างที่น่าจะเป็น ตรงนี้ผู้วิจัยเขามองว่าอาจจะสนับสนุนกับสมมติฐานที่ว่า PA ที่เพิ่มขึ้นบางส่วนไปกด Metabolic activity ของฮอร์โมนไทรอยด์ลงบางส่วน
📌 อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้เป็นแค่การศึกษาแบบ Cross section จากข้อมูลที่มีอยู่ มันขาดความชัดเจน ปัจจัยอะไรอีกหลายๆอย่างที่จะบอกว่าอะไรเป็นเหตุเป็นผลได้ชัดๆนะครับ แต่ก็มีความเป็นไปได้อยู่บ้างที่อาจจะเป็นสิ่งนึง ที่ทำให้การเผาผลาญโดยรวมของบางคน มันไม่ได้เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมี PA สม่ำเสมอ หรือมี PA เพิ่มขึ้น
📌 ก็ย้ำอีกรอบนะครับ PA ดีต่อสุขภาพในหลายๆด้าน ไม่ได้นำเสนอเพื่อให้กังวลกับการออกกำลังกาย หรือการแอคทีฟในชีวิตประจำวัน แต่ในเรื่องของ Metabolism เนี่ยก็ยังมีอะไรที่ มันยังไม่ชัดเจนในอีกหลายๆเรื่อง การที่เขาศึกษาอะไรเพิ่มเติม ก็ทำให้เราเห็นอะไรได้มากขึ้น 😎
📌 ถ้าเรารู้สึกว่าไอ้สิ่งนี้มันไม่โอเค กับข้อมูลของเรา ความคิด ความเชื่อของเรา ก็มองผ่านไปก็ได้ครับ คนที่เขาสนใจและศึกษาด้านนี้ต่อก็ยังมีอยู่ และข้อมูลใหม่ๆ ที่น่าสนใจก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ ส่วนผมถ้าเห็นว่างานไหนมีจุดที่น่าสนใจจะนำมาแชร์ต่อ (จริงๆ ใน ref ก็ยังมีอีกหลายงานที่น่าสนใจไปอ่านตามนะครับ)
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-07-19-daily-physical-activity-is-negatively-associated-with-thyroid-hormone-levels/