จาตุรนต์ แนะวิธีแก้ปัญหาค่าครองชีพ เพียง ‘ประยุทธ์’ ฟังประชาชนบ้าง ตรึง-ลดค่าไฟ ไม่ขึ้นค่าโดยสาร
https://www.matichon.co.th/politics/news_3451292
จาตุรนต์ แนะวิธีแก้ปัญหาค่าครองชีพ เพียง ‘ประยุทธ์’ ฟังประชาชนบ้าง ตรึง-ลดค่าไฟ ไม่ขึ้นค่าโดยสาร
จากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนและปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) งวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2565 ซึ่งมีแนวโน้มพุ่งสูงถึง 90-100 สตางค์ต่อหน่วย อาจทำให้ค่าไฟฟ้าต้องปรับเพิ่มสูงถึงเกือบ 5 บาทต่อหน่วยในช่วงดังกล่าวนั้น
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม นาย
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและแกนนำพรรคเพื่อไทย ระบุถึงเรื่องดังกล่าวว่า ค่าไฟต้องลด ไม่ใช่เพิ่ม ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะปรับขึ้นค่าเอฟที จนทำให้ค่าไฟฟ้าปรับเพิ่มเป็น 5 บาทต่อหน่วย โดยที่รัฐบาลไม่มีมาตรการช่วยเหลือประชาชนแต่อย่างใดนั้น แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลนี้นอกจากไม่รับรู้ถึงความเดือดร้อนของประชาชนแล้ว ยังไม่เข้าใจยุทธศาสตร์ในการรับมือกับปัญหาเงินเฟ้อ ของแพง และค่าครองชีพสูง ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่อยู่ในปัจจุบันขณะนี้
“ปัญหาเงินเฟ้อ ของแพง ค่าครองชีพสูง เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อกันและกัน ถ้าค่าครองชีพสูงมากอัตราเงินเฟ้อก็ยิ่งสูง และเมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงมาก การแก้ปัญหาเศรษฐกิจก็จะยิ่งทำได้ยากขึ้น
“ภาวะเงินเฟ้อในประเทศไทยเกิดจากการที่ต้นทุน โดยเฉพาะน้ำมันและพลังงานที่ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น การจะประคองราคาน้ำมันและก๊าซไว้นานๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าใช้มาตรการทางภาษีก็อาจจะพอทำต่อไปได้เพราะรัฐบาลไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมา แต่ถ้าใช้ระบบกองทุนน้ำมัน รัฐบาลก็ต้องไปกู้มาชดใช้หนี้ของกองทุนน้ำมันที่นับวันจะเป็นภาระมากขึ้น
“เมื่อเจอกับสถานการณ์แบบนี้ บางประเทศก็จะใช้วิธีช่วยเหลือกลุ่มบุคคลที่มีความเดือดร้อนมากที่สุดก่อน ซึ่งประเทศไทยยังไม่ค่อยได้ทำ และกลับทำสวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น
“ก่อนหน้านี้ก็แก้ปัญหารถโดยสารประจำทางลดเที่ยววิ่งด้วยการให้ขึ้นค่าโดยสาร ตอนนี้กำลังจะขึ้นค่าไฟอีก ทั้งๆ ที่จริงแล้ว ควรจะตรึงราคาค่าไฟไว้ หรือกระทั่งลดค่าไฟสำหรับสำหรับคนยากคนจนโดยอาจจะลดค่าไฟในยูนิตแรกๆ แล้วค่อยๆ ไต่บันไดสูงขึ้นมาจนเท่าค่าไฟตามปกติ
“ส่วนรถโดยสารทั่วประเทศนั้น ไม่ควรให้ประชาชนต้องจ่ายค่าโดยสารเพิ่มขึ้น จะใช้วิธีช่วยผู้ประกอบการ หรือช่วยตรงไปที่ผู้โดยสารผ่านระบบเป๋าตังก็ได้ การทำให้ค่าโดยสารรถประจำทางและรถเมล์ถูก จะทำให้มีคนใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้นและใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลง เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งของประชาชนแต่ละคนและของระบบเศรษฐกิจโดยรวมได้ด้วย การตรึงค่าโดยสารในระบบขนส่งสาธารณะยังควรใช้กับรถไฟทั่วประเทศด้วย
“อย่างน้อยก็ไม่ควรให้มีการขึ้นค่าตั๋วและถ้าถึงจุดที่ประชาชนเดือดร้อนมากๆ ก็อาจจะต้องยอมลดค่าตั๋ว หรือให้คนยากจนใช้รถไฟฟรี นอกจากนี้ ในส่วนของกรุงเทพฯ รัฐบาลควรจะหาทางส่งเสริมให้มีคนใช้รถบีทีเอส หรือเอ็มอาร์ที (รถไฟใต้ดิน) มากขึ้น โดยเก็บค่าโดยสารเท่าเดิม หรือถูกลง เช่น อาจจะทำความตกลงกับผู้ประกอบการลดค่าโดยสารในช่วงที่ไม่ใช่ชั่วโมงเร่งรีบ (rush hours) ลงบ้าง เพื่อจูงใจให้คนมาใช้รถไฟฟ้าจะทำให้สามารถลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวและประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้ด้วย
“พล.อ.ประยุทธ์ควรทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า ขณะที่ประชาชนกำลังเจอกับปัญหาเงินเฟ้อของแพงค่าครองชีพสูงอยู่นี้ รัฐบาลยังไม่มีมาตรการอะไรที่บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้เลย 8 มาตรการที่ออกมาก่อนหน้านี้ก็ช่วยเหลือประชาชนได้น้อยมาก
“ส่วนโครงการใหญ่ที่เป็นสามแกนหลักก็ไม่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาในขณะนี้แต่อย่างใดเลย มิหนำซ้ำรัฐบาลยังปล่อยให้ค่าครองชีพต่างๆ สูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งๆ ที่มีวิธีที่จะแก้ปัญหาได้
“หาก พล.อ.ประยุทธ์เลิกอ่านโพยที่ฝ่ายความมั่นคงเขียนให้ แล้วหันมาปรึกษาหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจและภาคเอกชนกับรับฟังประชาชนบ้าง ก็จะมองเห็นยุทธศาสตร์ในการรับมือกับปัญหาเงินเฟ้อของแพงค่าของชีพสูงได้ดีกว่านี้”
25 องค์กรมุสลิม ปกป้องแพทย์ชนบทและสื่อจากถูกคุกคาม หลังท้วงติงประเด็น 'กัญชา'
https://prachatai.com/journal/2022/07/99483
25 องค์กรมุสลิม ออกแถลงการณ์ปกป้องแพทย์ชนบทและสื่อจากถูกคุกคามและสนับสนุนการออกมาท้วงติงประเด็น 'กัญชา' ตามหลักวิชาการ เพื่ออนาคตของเยาวชน พร้อมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนแสดงความคิดเห็นต่อนโยบายกัญชาทั้งด้านบวกและลบ ตามระบอบประชาธิปไตย
13 ก.ค. 2565
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) ฝ่ายประชาสัมพันธ์องค์กรเครือข่ายคัดค้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่ขัดหลักศีลธรรม (อคศ.) แจ้งข่าวต่อสื่อมวลชนว่าเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2565 องค์กรเครือข่ายคัดค้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่ขัดกับหลักศีลธรรม ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 เรื่อง “
นโยบายกัญชาเสรี : ปกป้องการถูกคุกคามและสนับสนุนการออกมาท้วงติงตามหลักวิชาการ” เพื่ออนาคตของเยาวชน
แถลงการณ์ระบุว่า หลังจากที่นาย
อนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกมาโวยสื่อมวลอย่าง
"หมาแก่" นายดนัย เอกมหาสวัสดิ์ ว่า โง่แล้วอวดฉลาด กล้าวิจารณ์นโยบายกัญชาเสรีของรัฐบาลเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2565 ที่อิมแพค เมืองทองธานี กรุงเทพมหานครจนเป็นข่าวดังในโลกโซเชี่ยล อีกทั้งก่อนหน้านี้โฆษกพรรคภูมิใจไทย อย่างนาย
ศุภชัย ใจสมุทร ออกมาปรามนายแพทย์
สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบท หลังออกมาท้วงติงนโยบายกัญชาเสรี
องค์กรมุสลิม 25 องค์กรในนามองค์กรเครือข่ายต่อต้านกฎหมายและกฎระเบียบที่ขัดกับหลักศีลธรรมขอแสดงจุดยืนดังนี้
1. เป็นกำลังใจให้ชมรมแพทย์ชนบท และหมาแก่ นาย
ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ ตัวแทนสื่อมวลชนในการทำหน้าที่ท้วงติงนโยบายของรัฐอย่างสุจริตใจภายใต้หลักวิชาการเพื่อรักษาผลประโยชน์สาธารณะ
2. สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนร่วมรวมทั้งสื่อมวลชนแสดงความคิดเห็นในนโยบายกัญชาของรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตย เพราะจากการติดตามข่าวสารพบว่า การให้ผู้คนพูดเพียงด้านบวกของกัญชา แต่ไม่ยอมให้พูดด้านลบของการใช้กัญชาหรือในทางกลับกันให้พูดแต่ด้านบวกโดยแทบไม่ได้พูดด้านข้อควรระวังเลย จะยิ่งทำให้ประชาชนไม่ทันตระหนักรู้อย่างเพียงพอถึงผลเสียจากการใช้กัญชาอย่างไม่เหมาะสมโดยเฉพาะท่ามกลางข่าวที่ไม่ดีเรื่องกัญชาในสถานศึกษาบางแห่ง ซึ่งเหล่านี้คือข้อกังวลที่ได้ถูกสะท้อนเพื่อรัฐจะได้ช่วยแก้ปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะเด็กเยาวชนอันเป็นอนาคตของชาติ
11 ก.ค. 2565
“องค์กรเครือข่ายคัดค้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่ขัดกับหลักศีลธรรม”
สำหรับองค์กรเครือข่ายฯที่เข้าร่วม ประกอบด้วย
1. คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย(ฝ่ายวิชาการ)
2. องค์กร “เพราะเราคือเรือนร่างเดียวกัน”
3. มัสยิดบ้านเหนือ ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
4. มูลนิธิซะกาตและสาธารณกุศล
5. สมาคมนิสิตนักศึกษาไทยมุสลิม (ส.น.ท.)
6. สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย (ยมท.)
7. สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข
8. สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
9. ศูนย์ดะวะห์ตับลีฆ จังหวัดสตูล
10. กองทุนสวัสดิการบัยตุลมาล จังหวัดสตูล
11. กลุ่มวัยรุ่น เจ๊ะบิลัง จังหวัดสตูล
12. มัสยิดมำบัง จังหวัดสตูล
13. มูลนิธิดารุลอินฟากเพื่อกำพร้าจังหวัดชายแดนภาคใต้
14. มัสยิดสามช่องใต้ จ.พังงา
15. โรงเรียนประทีปศาสตร์ ปอเนาะบ้านตาล จังหวัดนครศรีธรรมราช
16. สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี
17. สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
18. มูลนิธิเพื่อการแพทย์และสาธารณกุศล
19. สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้
20. มูลนิธิคนช่วยฅน
21. มูลนิธิศูนย์กลางอิสลามเพื่อการพัฒนายะลา
22. มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้
23. มูลนิธิเพื่อการศึกษาดารุลนาอีม
24. สมาคมนักธุรกิจมุสลิมปัตตานี
25. มูลนิธิมุสลิมรักษ์ความสะอาด
เศรษฐกิจครึ่งปีหลังเสี่ยง EIC ประเมิน กนง.ไม่ขึ้นดอกเบี้ยแรง
https://www.prachachat.net/finance/news-979080
EIC ประเมินเศรษฐกิจโลกครึ่งปีหลังเผชิญความเสี่ยงเงินเฟ้อ-เฟดขึ้นดอกเบี้ย หลังกิจกรรมเศรษฐกิจเดือน มิ.ย. ชะลอลงทั่วโลก มองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากท่องเที่ยว-บริการ คาด ปีนี้ กนง. ขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง เพื่อควบคุมเงินเฟ้อคาดการณ์
วันที่ 13 กรกฎาคม 2565 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโลกมีสัญญาณชะลอตัวลง ทั้งจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่มีอยู่ต่อเนื่อง และความกังวลต่อนโยบายการเงินที่ตึงตัวเร็วของธนาคารกลางหลักของโลก อัตราเงินเฟ้อในเดือนที่ผ่านมาปรับสูงขึ้นทั่วโลกและคาดว่าจะยังไม่ผ่านจุดสูงสุด
ขณะที่ธนาคารกลางหลักของโลก โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีท่าทีดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวกว่าเดิมเพื่อควบคุมการเร่งตัวของเงินเฟ้อ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอลงอย่างมีนัยในเดือนที่ผ่านมา และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย (recession) ในกลุ่มเศรษฐกิจหลักในตะวันตกมากขึ้น
โดยเศรษฐกิจยุโรปมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยสูง จากความเสี่ยงวิกฤตพลังงานที่เพิ่มขึ้นหากรัสเซียหยุดการส่งก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ในกรณีฐาน EIC ประเมินว่า แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีโอกาสเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค (technical recession) แต่จะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงเนื่องจากอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ และภาคธุรกิจโดยรวมยังคงขยายตัว
ด้านเศรษฐกิจในฝั่งเอเชียมีแนวโน้มดีขึ้นจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด แม้เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นยังเป็นประเด็นสำคัญที่อาจลดทอนการฟื้นตัวในระยะต่อไป โดยยังต้องจับตาการอ่อนค่าของสกุลเงินในภูมิภาคตามการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐที่อาจส่งผลให้เงินเฟ้อจากการนำเข้าเร่งตัวเพิ่มเติม
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องตามการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว แต่ในระยะถัดไปยังมีความเสี่ยงด้านต่ำจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยภาคการส่งออกยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากปัจจัยด้านราคาที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ปริมาณการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปีจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงจากภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวสูงและการดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวของธนาคารกลางในหลายประเทศ อีกทั้ง นโยบายควบคุมโควิดอย่างเข้มข้น (Zero Covid) ในจีนยังเป็นความเสี่ยงต่อการล็อกดาวน์ระลอกใหม่
ด้านการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวทั้งจากการลงทุนภายในประเทศและการลงทุนจากต่างชาติตามแนวโน้มการเปิดเมือง แต่การลงทุนบางส่วนอาจชะลอหรือเลื่อนออกไปจากการส่งออกที่จะชะลอตัวลง ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ รวมถึงปัญหาด้านเงินเฟ้อ
ในระยะต่อไปเศรษฐกิจไทยจะได้รับอานิสงส์จากการทยอยเปิดประเทศของทั้งไทยและประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยว ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงท้ายปีมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น โดย EIC คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยรวม 7.4 ล้านคนในปีนี้
JJNY : จาตุรนต์แนะวิธีแก้ค่าครองชีพ│25องค์กรมุสลิมปกป้องแพทย์ชนบทและสื่อ│ศก.ครึ่งปีหลังเสี่ยง│WHO เตือนโควิดไม่ใกล้จบ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3451292
จาตุรนต์ แนะวิธีแก้ปัญหาค่าครองชีพ เพียง ‘ประยุทธ์’ ฟังประชาชนบ้าง ตรึง-ลดค่าไฟ ไม่ขึ้นค่าโดยสาร
จากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนและปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) งวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2565 ซึ่งมีแนวโน้มพุ่งสูงถึง 90-100 สตางค์ต่อหน่วย อาจทำให้ค่าไฟฟ้าต้องปรับเพิ่มสูงถึงเกือบ 5 บาทต่อหน่วยในช่วงดังกล่าวนั้น
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและแกนนำพรรคเพื่อไทย ระบุถึงเรื่องดังกล่าวว่า ค่าไฟต้องลด ไม่ใช่เพิ่ม ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะปรับขึ้นค่าเอฟที จนทำให้ค่าไฟฟ้าปรับเพิ่มเป็น 5 บาทต่อหน่วย โดยที่รัฐบาลไม่มีมาตรการช่วยเหลือประชาชนแต่อย่างใดนั้น แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลนี้นอกจากไม่รับรู้ถึงความเดือดร้อนของประชาชนแล้ว ยังไม่เข้าใจยุทธศาสตร์ในการรับมือกับปัญหาเงินเฟ้อ ของแพง และค่าครองชีพสูง ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่อยู่ในปัจจุบันขณะนี้
“ปัญหาเงินเฟ้อ ของแพง ค่าครองชีพสูง เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อกันและกัน ถ้าค่าครองชีพสูงมากอัตราเงินเฟ้อก็ยิ่งสูง และเมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงมาก การแก้ปัญหาเศรษฐกิจก็จะยิ่งทำได้ยากขึ้น
“ภาวะเงินเฟ้อในประเทศไทยเกิดจากการที่ต้นทุน โดยเฉพาะน้ำมันและพลังงานที่ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น การจะประคองราคาน้ำมันและก๊าซไว้นานๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าใช้มาตรการทางภาษีก็อาจจะพอทำต่อไปได้เพราะรัฐบาลไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมา แต่ถ้าใช้ระบบกองทุนน้ำมัน รัฐบาลก็ต้องไปกู้มาชดใช้หนี้ของกองทุนน้ำมันที่นับวันจะเป็นภาระมากขึ้น
“เมื่อเจอกับสถานการณ์แบบนี้ บางประเทศก็จะใช้วิธีช่วยเหลือกลุ่มบุคคลที่มีความเดือดร้อนมากที่สุดก่อน ซึ่งประเทศไทยยังไม่ค่อยได้ทำ และกลับทำสวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น
“ก่อนหน้านี้ก็แก้ปัญหารถโดยสารประจำทางลดเที่ยววิ่งด้วยการให้ขึ้นค่าโดยสาร ตอนนี้กำลังจะขึ้นค่าไฟอีก ทั้งๆ ที่จริงแล้ว ควรจะตรึงราคาค่าไฟไว้ หรือกระทั่งลดค่าไฟสำหรับสำหรับคนยากคนจนโดยอาจจะลดค่าไฟในยูนิตแรกๆ แล้วค่อยๆ ไต่บันไดสูงขึ้นมาจนเท่าค่าไฟตามปกติ
“ส่วนรถโดยสารทั่วประเทศนั้น ไม่ควรให้ประชาชนต้องจ่ายค่าโดยสารเพิ่มขึ้น จะใช้วิธีช่วยผู้ประกอบการ หรือช่วยตรงไปที่ผู้โดยสารผ่านระบบเป๋าตังก็ได้ การทำให้ค่าโดยสารรถประจำทางและรถเมล์ถูก จะทำให้มีคนใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้นและใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลง เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งของประชาชนแต่ละคนและของระบบเศรษฐกิจโดยรวมได้ด้วย การตรึงค่าโดยสารในระบบขนส่งสาธารณะยังควรใช้กับรถไฟทั่วประเทศด้วย
“อย่างน้อยก็ไม่ควรให้มีการขึ้นค่าตั๋วและถ้าถึงจุดที่ประชาชนเดือดร้อนมากๆ ก็อาจจะต้องยอมลดค่าตั๋ว หรือให้คนยากจนใช้รถไฟฟรี นอกจากนี้ ในส่วนของกรุงเทพฯ รัฐบาลควรจะหาทางส่งเสริมให้มีคนใช้รถบีทีเอส หรือเอ็มอาร์ที (รถไฟใต้ดิน) มากขึ้น โดยเก็บค่าโดยสารเท่าเดิม หรือถูกลง เช่น อาจจะทำความตกลงกับผู้ประกอบการลดค่าโดยสารในช่วงที่ไม่ใช่ชั่วโมงเร่งรีบ (rush hours) ลงบ้าง เพื่อจูงใจให้คนมาใช้รถไฟฟ้าจะทำให้สามารถลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวและประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้ด้วย
“พล.อ.ประยุทธ์ควรทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า ขณะที่ประชาชนกำลังเจอกับปัญหาเงินเฟ้อของแพงค่าครองชีพสูงอยู่นี้ รัฐบาลยังไม่มีมาตรการอะไรที่บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้เลย 8 มาตรการที่ออกมาก่อนหน้านี้ก็ช่วยเหลือประชาชนได้น้อยมาก
“ส่วนโครงการใหญ่ที่เป็นสามแกนหลักก็ไม่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาในขณะนี้แต่อย่างใดเลย มิหนำซ้ำรัฐบาลยังปล่อยให้ค่าครองชีพต่างๆ สูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งๆ ที่มีวิธีที่จะแก้ปัญหาได้
“หาก พล.อ.ประยุทธ์เลิกอ่านโพยที่ฝ่ายความมั่นคงเขียนให้ แล้วหันมาปรึกษาหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจและภาคเอกชนกับรับฟังประชาชนบ้าง ก็จะมองเห็นยุทธศาสตร์ในการรับมือกับปัญหาเงินเฟ้อของแพงค่าของชีพสูงได้ดีกว่านี้”
25 องค์กรมุสลิม ปกป้องแพทย์ชนบทและสื่อจากถูกคุกคาม หลังท้วงติงประเด็น 'กัญชา'
https://prachatai.com/journal/2022/07/99483
25 องค์กรมุสลิม ออกแถลงการณ์ปกป้องแพทย์ชนบทและสื่อจากถูกคุกคามและสนับสนุนการออกมาท้วงติงประเด็น 'กัญชา' ตามหลักวิชาการ เพื่ออนาคตของเยาวชน พร้อมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนแสดงความคิดเห็นต่อนโยบายกัญชาทั้งด้านบวกและลบ ตามระบอบประชาธิปไตย
13 ก.ค. 2565 อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) ฝ่ายประชาสัมพันธ์องค์กรเครือข่ายคัดค้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่ขัดหลักศีลธรรม (อคศ.) แจ้งข่าวต่อสื่อมวลชนว่าเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2565 องค์กรเครือข่ายคัดค้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่ขัดกับหลักศีลธรรม ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 เรื่อง “นโยบายกัญชาเสรี : ปกป้องการถูกคุกคามและสนับสนุนการออกมาท้วงติงตามหลักวิชาการ” เพื่ออนาคตของเยาวชน
แถลงการณ์ระบุว่า หลังจากที่นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกมาโวยสื่อมวลอย่าง "หมาแก่" นายดนัย เอกมหาสวัสดิ์ ว่า โง่แล้วอวดฉลาด กล้าวิจารณ์นโยบายกัญชาเสรีของรัฐบาลเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2565 ที่อิมแพค เมืองทองธานี กรุงเทพมหานครจนเป็นข่าวดังในโลกโซเชี่ยล อีกทั้งก่อนหน้านี้โฆษกพรรคภูมิใจไทย อย่างนายศุภชัย ใจสมุทร ออกมาปรามนายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบท หลังออกมาท้วงติงนโยบายกัญชาเสรี
องค์กรมุสลิม 25 องค์กรในนามองค์กรเครือข่ายต่อต้านกฎหมายและกฎระเบียบที่ขัดกับหลักศีลธรรมขอแสดงจุดยืนดังนี้
1. เป็นกำลังใจให้ชมรมแพทย์ชนบท และหมาแก่ นายดนัย เอกมหาสวัสดิ์ ตัวแทนสื่อมวลชนในการทำหน้าที่ท้วงติงนโยบายของรัฐอย่างสุจริตใจภายใต้หลักวิชาการเพื่อรักษาผลประโยชน์สาธารณะ
2. สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนร่วมรวมทั้งสื่อมวลชนแสดงความคิดเห็นในนโยบายกัญชาของรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตย เพราะจากการติดตามข่าวสารพบว่า การให้ผู้คนพูดเพียงด้านบวกของกัญชา แต่ไม่ยอมให้พูดด้านลบของการใช้กัญชาหรือในทางกลับกันให้พูดแต่ด้านบวกโดยแทบไม่ได้พูดด้านข้อควรระวังเลย จะยิ่งทำให้ประชาชนไม่ทันตระหนักรู้อย่างเพียงพอถึงผลเสียจากการใช้กัญชาอย่างไม่เหมาะสมโดยเฉพาะท่ามกลางข่าวที่ไม่ดีเรื่องกัญชาในสถานศึกษาบางแห่ง ซึ่งเหล่านี้คือข้อกังวลที่ได้ถูกสะท้อนเพื่อรัฐจะได้ช่วยแก้ปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะเด็กเยาวชนอันเป็นอนาคตของชาติ
11 ก.ค. 2565
“องค์กรเครือข่ายคัดค้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่ขัดกับหลักศีลธรรม”
สำหรับองค์กรเครือข่ายฯที่เข้าร่วม ประกอบด้วย
1. คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย(ฝ่ายวิชาการ)
2. องค์กร “เพราะเราคือเรือนร่างเดียวกัน”
3. มัสยิดบ้านเหนือ ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
4. มูลนิธิซะกาตและสาธารณกุศล
5. สมาคมนิสิตนักศึกษาไทยมุสลิม (ส.น.ท.)
6. สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย (ยมท.)
7. สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข
8. สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
9. ศูนย์ดะวะห์ตับลีฆ จังหวัดสตูล
10. กองทุนสวัสดิการบัยตุลมาล จังหวัดสตูล
11. กลุ่มวัยรุ่น เจ๊ะบิลัง จังหวัดสตูล
12. มัสยิดมำบัง จังหวัดสตูล
13. มูลนิธิดารุลอินฟากเพื่อกำพร้าจังหวัดชายแดนภาคใต้
14. มัสยิดสามช่องใต้ จ.พังงา
15. โรงเรียนประทีปศาสตร์ ปอเนาะบ้านตาล จังหวัดนครศรีธรรมราช
16. สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี
17. สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
18. มูลนิธิเพื่อการแพทย์และสาธารณกุศล
19. สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้
20. มูลนิธิคนช่วยฅน
21. มูลนิธิศูนย์กลางอิสลามเพื่อการพัฒนายะลา
22. มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้
23. มูลนิธิเพื่อการศึกษาดารุลนาอีม
24. สมาคมนักธุรกิจมุสลิมปัตตานี
25. มูลนิธิมุสลิมรักษ์ความสะอาด
เศรษฐกิจครึ่งปีหลังเสี่ยง EIC ประเมิน กนง.ไม่ขึ้นดอกเบี้ยแรง
https://www.prachachat.net/finance/news-979080
EIC ประเมินเศรษฐกิจโลกครึ่งปีหลังเผชิญความเสี่ยงเงินเฟ้อ-เฟดขึ้นดอกเบี้ย หลังกิจกรรมเศรษฐกิจเดือน มิ.ย. ชะลอลงทั่วโลก มองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากท่องเที่ยว-บริการ คาด ปีนี้ กนง. ขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง เพื่อควบคุมเงินเฟ้อคาดการณ์
วันที่ 13 กรกฎาคม 2565 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโลกมีสัญญาณชะลอตัวลง ทั้งจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่มีอยู่ต่อเนื่อง และความกังวลต่อนโยบายการเงินที่ตึงตัวเร็วของธนาคารกลางหลักของโลก อัตราเงินเฟ้อในเดือนที่ผ่านมาปรับสูงขึ้นทั่วโลกและคาดว่าจะยังไม่ผ่านจุดสูงสุด
ขณะที่ธนาคารกลางหลักของโลก โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีท่าทีดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวกว่าเดิมเพื่อควบคุมการเร่งตัวของเงินเฟ้อ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอลงอย่างมีนัยในเดือนที่ผ่านมา และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย (recession) ในกลุ่มเศรษฐกิจหลักในตะวันตกมากขึ้น
โดยเศรษฐกิจยุโรปมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยสูง จากความเสี่ยงวิกฤตพลังงานที่เพิ่มขึ้นหากรัสเซียหยุดการส่งก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ในกรณีฐาน EIC ประเมินว่า แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีโอกาสเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค (technical recession) แต่จะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงเนื่องจากอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ และภาคธุรกิจโดยรวมยังคงขยายตัว
ด้านเศรษฐกิจในฝั่งเอเชียมีแนวโน้มดีขึ้นจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด แม้เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นยังเป็นประเด็นสำคัญที่อาจลดทอนการฟื้นตัวในระยะต่อไป โดยยังต้องจับตาการอ่อนค่าของสกุลเงินในภูมิภาคตามการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐที่อาจส่งผลให้เงินเฟ้อจากการนำเข้าเร่งตัวเพิ่มเติม
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องตามการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว แต่ในระยะถัดไปยังมีความเสี่ยงด้านต่ำจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยภาคการส่งออกยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากปัจจัยด้านราคาที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ปริมาณการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปีจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงจากภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวสูงและการดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวของธนาคารกลางในหลายประเทศ อีกทั้ง นโยบายควบคุมโควิดอย่างเข้มข้น (Zero Covid) ในจีนยังเป็นความเสี่ยงต่อการล็อกดาวน์ระลอกใหม่
ด้านการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวทั้งจากการลงทุนภายในประเทศและการลงทุนจากต่างชาติตามแนวโน้มการเปิดเมือง แต่การลงทุนบางส่วนอาจชะลอหรือเลื่อนออกไปจากการส่งออกที่จะชะลอตัวลง ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ รวมถึงปัญหาด้านเงินเฟ้อ
ในระยะต่อไปเศรษฐกิจไทยจะได้รับอานิสงส์จากการทยอยเปิดประเทศของทั้งไทยและประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยว ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงท้ายปีมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น โดย EIC คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยรวม 7.4 ล้านคนในปีนี้