ปัจจัย 24 คัมภีร์มหาปัฏฐาน ตอนที่ 3__อ.สุจินต์

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

คัมภีร์มหาปัฏฐาน เป็น 1 ใน 7 คัมภีร์ที่พระพุทธองค์ทรงพิจารณาหลังจากที่ได้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่ 1. ธัมมสังคณี, 2. วิภังคปกรณ์ 3. ธาตุกถา 4. ปุคคลบัญญัติ 5. กถาวัตถุ 6. ยมกปกรณ์ และ 7. มหาปัฏฐาน
 
ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ไว้ว่า จะสูญสิ้นเป็นคัมภีร์แรก เพราะเป็นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้ง สุขุมคัมภีร์ภาพด้วยปัจจัยแห่งปรมัตถธรรม โดยที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องราวความเป็นไปของสภาพธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน โดยนัยมากมายทั้งพิสดารและละเอียดสุขุมลึกซึ้งยิ่งนัก
 
โดยปัจจัยทั้ง24ของมหาปัฏฐานได้แก่
 
1.      เหตุปัจจะโย = ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย
2.      อารัมมะณะปัจจะโย = ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย
3.      อธิปะติปัจจะโย = ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย
4.      อนันตะระปัจจะโย = ธรรมที่มีปัจจัยหาที่สุดมิได้
5.      สะมะนันตะระปัจจะโย = ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน
6.      สะหะชาตะปัจจะโย = ธรรมที่เกิดพร้อมเป็นปัจจัย
7.      อัญญะมัญญะปัจจะโย = ธรรมแต่ละอย่างต่างต้องอาศัยกันและกันเป็นปัจจัย
8.      นิสสะยะปัจจะโย = ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นนิสัยที่อาศัย
9.      อุปะนิสสะยะปัจจะโย = ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า
10.   ปุเรชาตะปัจจะโย = ธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัย
11.   ปัจฉาชาตะปัจจะโย = ธรรมที่มีธรรมเกิดภายหลังเป็นปัจจัย
12.   อาเสวะนะปัจจะโย = ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย
13.   กัมมะปัจจะโย = ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย
14.   วิปากาปัจจะโย = ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย
15.   อาหาระปัจจะโย = ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย
16.   อินทริยะปัจจะโย = ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย
17.   ฌานะปัจจะโย = ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย
18.   มัคคะปัจจะโย = ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย
19.   สัมปะยุตตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย
20.   วิปปะยุตตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย
21.   อัตถิปัจจะโย = ธรรมที่มีเป็นปัจจัย
22.   นัตถิปัจจะโย = ธรรมที่ไม่มีเป็นปัจจัย
23.   วิคะตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย
24.   อะวิคะตะปัจจะโย = ธรรมที่ไม่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย
 
ปัจจัยมีประการต่างๆมากมาย ในการแสดงปัจจัย 24 นั้น พระพุทธองค์ทรงจำแนกปัจจัยหนึ่งๆ มีธรรมเป็น 3 หมวด คือ 
1)     ปัจจัยธรรม หมายความว่า ธรรมที่เป็นเหตุ (ปัจจัย มีวจนัตถะว่า ผลธรรมย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยธรรมที่เป็นเหตุนี้ ธรรมที่เป็นเหตุนี้จึงชื่อว่า "ปัจจัย")
2)     ปัจจยุปบันธรรม หมายความว่า ธรรมที่เป็นผล (ปัจจยุปบันธรรม มีวจนัตถะว่า ผลธรรมที่เกิดจากเหตุปัจจัย ชื่อว่า "ปัจจยุปบัน")
3)     ปัจจนิกธรรม หมายความว่า ธรรมที่มิใช่ผล (คือธรรมที่นอกจากผล) (ปัจจนิก มีวจนัตถะว่า หมวดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อปัจจยุปบันธรรม ชื่อว่า "ปัจจนิก")
 
มหาปัฏฐาน มีนัยยะกว้างขวาง มีนัยหาที่สุดมิได้ มีอรรถอันสุขุมลุ่มลึกยิ่งกว่าพระสัทธรรมทั้งปวง อันมีในพระไตรปิฏก นับเป็นปกรณ์ใหญ่ เรียกว่า "มหาปกรณ์"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่