ประชาชนโอดค่าครองชีพพุ่งจี้รัฐดูแล !
https://www.bangkokbiznews.com/business/1010954
ปัญหาค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นทุกวัน ส่งผลกระทบอย่างมากกับประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มฐานรากที่ได้รับความเดือดร้อนต่อเนื่องจากเศรษฐกิจที่ย่ำแย่จากโควิด-19 ทำให้รายได้น้อยลงสวนทางกับรายจ่าย
จากสถานการณ์น้ำมันแพงที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนผลิต และทำให้ราคาสินค้า และบริการทยอยปรับขึ้น ซ้ำเติมหนี้ครัวเรือน และค่าครองชีพประชาชนที่รายได้ยังเท่าเดิมหรือน้อยลงแต่รายจ่ายเพิ่มขึ้น ต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่จากการระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อเกือบ 3 ปี
ทีมข่าวลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นประชาชนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าของแพง น้ำมันแพง ค่าครองชีพสูงขึ้น ต้นทุนทำมาหากินก็เพิ่มขึ้น กำไรลดลง รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย มีเงินไม่พอใช้ และมีหนี้สิน ไม่มีเงินเหลือเก็บ อยากให้ภาครัฐออกมาตรการที่ครอบคลุมกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง อยากให้เข้าถึงมาตรการต่างๆ ได้ง่ายกับคนทุกกลุ่มมากขึ้น อยากให้รัฐบาลรับฟังความเดือดร้อนช่วยเหลือประชาชนให้มากขึ้นกว่าเดิม
ขณะที่เสียงจากภาคเอกชน ระบุว่า โจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลจะต้องเร่งทำคือ ออกมาตรการช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบให้กับประชาชนไปพร้อมกับการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ ที่สำคัญต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสร้างการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องพยายามตรึงราคาน้ำมันดีเซลให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดูแลดีเซลไม่ทะลุ 35 บาท/ลิตร ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการแบบต่อเนื่อง จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้
ขณะเดียวกันรัฐบาลได้เตรียมอนุมัติมาตรการลดค่าครองชีพประชาชนในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัปดาห์นี้ หลังจาก 10 มาตรการเยียวยาประชาชน จากผลกระทบของราคาพลังงาน เช่น มาตรการบรรเทาผลกระทบค่าไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 300 หน่วย มาตรการช่วยเหลือคนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาตรการส่วนลด NGV สำหรับแท็กซี่มาตรการลดราคาน้ำมันให้กับวินมอเตอร์ไซค์จะสิ้นสุดลงในเดือนมิ.ย.นี้ ซึ่งเบื้องต้นจะขยายเวลา มาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ใกล้หมดอายุออกไปอีก 3 เดือน จนถึง ก.ย.นี้
ดีเดย์ 1 ก.ค.นี้ รถโดยสารทั่วประเทศหยุดวิ่ง 80% ขู่หยุดวิ่งทั้งหมดถ้ารัฐไม่ขึ้นค่าโดยสาร
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/296997
กระทรวงพลังงานคงราคาดีเซลไว้ที่ 35 บาทต่อลิตร ต่ออีก 1 สัปดาห์ แต่รถโดยสาร ซึ่งรวมถึงรถร่วม บขส. ทนต่อไม่ไหว ประกาศลดเที่ยววิ่ง 80% ตั้งแต่ 1 กรกฎาคมนี้ และอาจต้องหยุดวิ่งทั้งหมด หากรัฐไม่ให้ขึ้นค่าโดยสาร
นาย
พิเชษฐ์ เจียมบุรเศรษฐ์ นายกสมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย เปิดเผย ผู้ประกอบการรถโดยสาร และรถร่วม บขส. รวม 27 บริษัท 143 เส้นทางทั่วประเทศ เตรียมลดเที่ยววิ่งลง 80% ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป เพราะแบกรับต้นทุนน้ำมันแพงต่อไปได้ ที่ล่าสุดเพิ่มขึ้นเป็น 1,600 บาทต่อเที่ยวแล้ว ขณะที่อัตราค่าโดยสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ใช้มาตั้งแต่ปี 2562 และอ้างอิงราคาน้ำมันที่ 27 บาทต่อลิตร ขณะที่วันนี้ 35 บาทต่อลิตร โดยสมาคมฯ ได้ยื่นหนังสือขอปรับอัตราค่าโดยสารไปยังกรมการขนส่งทางบก ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่ได้รับคำตอบ จนผู้ประกอบการต้องหยุดเดินรถและเลิกกิจการไปแล้วถึง 40% หรือ คิดเป็นจำนวนรถ 8,000 คัน จากทั้งหมดกว่า 20,000 คัน บางรายถึงขั้นนำรถไปตัดขายทิ้งเป็นเศษเหล็กแทน
และแม้ว่าล่าสุด รัฐบาลเสนอทางเลือก ช่วยคูปองน้ำมันลิตรละ 2 บาท แต่ก็ช่วยเพียงรายละ 60 ลิตร ทั้งที่รถต้องใช้น้ำมันถึง 200 ลิตร ทางกลุ่มจึงขอไม่รับข้อเสนอ แต่ขอให้ปรับขึ้นอัตราค่าโดยสาร 0.59 บาทต่อกิโลเมตรแทน หากรัฐยังเพิกเฉย จะประกาศหยุดเดินรถทั้งหมด
เช่นเดียวกับ วินมอเตอร์ไซค์ ที่ต้านราคาน้ำมันแพงต่อไม่ไหว เตรียมขึ้นค่าโดยสารเช่นกัน โดยวินมอเตอร์ไซค์ ปากซอยทองหล่อ กว่า 80 คัน บอกว่า เดือนหน้านี้ เตรียมขึ้นค่าโดยสารเริ่มต้นอีก 5 บาท จากปัจจุบันเริ่มต้นที่ 10 บาท เป็น 15 บาท เนื่องจากแบกรับราคาน้ำมันแพงต่อไม่ไหว หลังเจอทั้งน้ำมันแพง ค่าครองชีพแพง ทำให้รายได้แทบไม่เหลือใช้
รับชมทางยูทูบที่ :
https://youtu.be/bldXfUSn3a0
กกต. ยัน เพื่อไทย ลุยศรีสะเกษ แจกเสื้อ-ขนคนฟังปราศรัย ไม่ผิดกฎหมาย
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7119390
กกต. แจงปม เพื่อไทย ลงพื้นที่ศรีสะเกษ แจกเสื้อ-ขนคนฟังปราศรัย ไม่เข้าข่ายผิดกฎหมาย แค่ทำให้เงินค่าใช้จ่ายเลือกตั้งครั้งหน้าของพรรคลดลง
เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แหล่งข่าวระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชี้แจงกรณีนาย
ชนะศักดิ์ อัตถาวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เตรียมเข้ายื่นต่อ กกต. เพื่อให้ตรวจสอบพรรคเพื่อไทย หลังจัดกิจกรรมครอบครัวเพื่อไทย ภายใต้ชื่อ “
ไล่หนู ตีงูเห่า” ในพื้นที่ภาคอีสาน ที่จ.ศรีสะเกษ ว่าที่ผู้สมัครส.ส.คงเกณฑ์ประชาชนมาร่วมงาน ถ้ามาโดยธรรมชาติคงไม่ใส่เสื้อแบบเดียวกันเป๊ะ อาจเป็นการทำในลักษณะดังกล่าวล่วงหน้า ทั้งเรื่องการสัญญาและการกระทำที่ชอบหรือไม่ชอบทางกฎหมาย ทำได้หรือไม่ ว่า กรณีดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 65 และมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 ประกอบระเบียบ กกต. ว่าด้วยจำนวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการให้ตามปกติประเพณี หรือเมื่อมีเหตุอันสมควรฯ
โดยหากมีพยานหลักฐานว่าพรรคการเมืองใด ให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่บุคคล โดยมิใช่การให้ตามปกติประเพณี หรือเหตุอันสมควร ให้สำนักงานกกต.รวบรวมข้อเท็จจริง พร้อมเสนอความเห็นให้ กกต.พิจารณา สั่งให้เลขาธิการกกต. บันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรคการเมืองนั้นในการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งต่อไป
ซึ่งจะทำให้พรรคการเมืองนั้นเหลือจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อไปน้อยลง เช่น หากกำหนดให้พรรคการเมืองสามารถใช้จ่ายในการเลือกตั้งส.ส. ได้ 35 ล้านบาท สมมติว่าพรรคการเมืองนั้นแจกเงิน และเสื้อไปรวมมูลค่า 1 ล้านบาท ก็จะสามารถใช้ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อไปได้แค่ 34 ล้านบาท
ดังนั้น กรณีนี้จึงไม่ถือว่าเป็นความผิด แต่จะทำให้เหลือค่าใช้จ่ายเงินหาเสียงของพรรคนั้นๆ ลดลงเท่านั้น เนื่องจากตามกฎหมายให้ใช้วิธีบันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ก้าวไกลรอดยุบพรรค กกต.สั่งยุติคำร้อง 10 ปม ‘ประกันตัวราษฎร-หนุนร่างแก้ รธน.ไอลอว์’
https://www.matichon.co.th/politics/news_3410036
ก้าวไกลเฮ รอดยุบพรรค กกต.สั่งยุติเรื่อง หลังโดนร้อง 10 ปม ทั้งประกันตัวแกนนำคณะราษฎร-ผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบัน หนุนร่างแก้ไข รธน.ฉบับไอลอว์ เสนอแก้ ม.112 แสดงความเห็น-ร่วมชุมนุมการเมือง ชี้ไม่เข้าข่ายเป็นปฏิปักษ์การปกครอง
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเห็นชอบตามที่นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง มีความเห็นให้ยุติเรื่อง กรณี นาย
ณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้องขอให้ กกต. พิจารณาสั่งยุบพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เนื่องจากสมาชิกและกรรมการบริหารพรรคกระทำการใน 10 ประเด็น ภายหลังคณะกรรมการไต่สวนของสำนักงานดำเนินการตรวจสอบแล้วเห็นว่า การกระทำยังไม่เข้าข่ายเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามมาตรา 92(2) พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560
โดยทั้ง 10 ประเด็น ประกอบด้วย
1. เดือนสิงหาคม 2563 นาง
อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล กรรมการบริหารพรรคและนายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ใช้ตำแหน่งหน้าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ก.ก. ประกันตัวนาย
ภาณุพงศ์ จาดนอก และนาย
กรกช แสงเย็นพันธ์ ผู้ต้องหาในคดีอาญาการชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง คดีหมายเลขดำที่ ฝ.972/2563 และคดีหมายเลขดำที่ ฝ.1031/2563
2. เดือนสิงหาคม 2563 นาย
ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ใช้ตำแหน่งหน้าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ประกันตัวนาย
ภาณุมาศ สิงห์พรม แกนนำคณะประชาชนปลดแอก ผู้ต้องหาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ ฝ.1078/2563
3. เดือนตุลาคม 2563 น.ส.
เบญจา แสงจันทร์ กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ใช้ตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ประกันตัวนาย
จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ
ไผ่ ดาวดิน แกนนำเยาวชนปลดแอก ซึ่งถูกจับกุมในเหตุการณ์ชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ชัย ผู้ต้องหาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ ฝ.1302/2563 ซึ่งเห็นว่าการใช้ตำแหน่งหน้าที่ประกันตัวผู้ต้องหาเป็นสิทธิเฉพาะตัวของบุคคล ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้กระทำได้และเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ
4. เดือนกันยายน 2563 นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นาย
รังสิมันต์ โรม นาย
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร กรรมการบริหารพรรคและ ส.ส.ของพรรค รวม 17 คน ที่เข้าร่วมชุมนุมบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง เป็นการใช้สิทธิที่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ จึงยังฟังไม่ได้ว่า เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 45 ประกอบมาตรา 92(3) พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560
5. กรณีกล่าวหาว่าพรรค ก.ก.กระทำการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการก่อกวนคุกคามความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตามมาตรา 45 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง จากเหตุวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค แถลงจุดยืนของพรรคเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 และเสนอให้ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของประชาชน หรือฉบับไอลอว์ เป็นร่างหลักในการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 255 และ 256 อย่างชัดเจนให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ โดยกำหนดให้ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี หรือจากสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของ ส.ส. กรณีดังกล่าวจึงสามารถดำเนินการได้ภายใต้กฎหมายที่กำหนด จึงยังฟังไม่ได้ว่า นาย
พิธากระทำการเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 92 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560
6. กรณีกล่าวหา นา
ยวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อขณะนั้น แถลงการณ์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ถ้อยคำมีลักษณะสนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎรที่บริเวณรัฐสภา ให้ก่อกวนคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เห็นว่าการแถลงการณ์ของนาย
วิโรจน์เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นต่อการชุมนุมระหว่างผู้ชุมนุมกับรัฐบาลเท่านั้น ไม่ปรากฏถ้อยคำใดที่มีลักษณะสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ชุมนุมก่อกวนคุกคามความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งการแสดงความคิดเห็นได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 จึงยังฟังไม่ได้ว่าการกระทำของนาย
วิโรจน์ ฝ่าฝืนมาตรา 45 ประกอบมาตรา 92(3)
7. เดือนมกราคม 2564 นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค ให้สัมภาษณ์ว่าพรรค ก.ก.มีมติให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ
JJNY : 5in1 ปชช.โอดค่าครองชีพพุ่ง│1ก.ค.รถโดยสารหยุดวิ่ง80%│กกต.ยันเพื่อไทยไม่ผิด│ก้าวไกลรอดยุบพรรค│‘เสรีพิศุทธ์’เตือนรบ.
https://www.bangkokbiznews.com/business/1010954
ปัญหาค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นทุกวัน ส่งผลกระทบอย่างมากกับประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มฐานรากที่ได้รับความเดือดร้อนต่อเนื่องจากเศรษฐกิจที่ย่ำแย่จากโควิด-19 ทำให้รายได้น้อยลงสวนทางกับรายจ่าย
จากสถานการณ์น้ำมันแพงที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนผลิต และทำให้ราคาสินค้า และบริการทยอยปรับขึ้น ซ้ำเติมหนี้ครัวเรือน และค่าครองชีพประชาชนที่รายได้ยังเท่าเดิมหรือน้อยลงแต่รายจ่ายเพิ่มขึ้น ต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่จากการระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อเกือบ 3 ปี
ทีมข่าวลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นประชาชนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าของแพง น้ำมันแพง ค่าครองชีพสูงขึ้น ต้นทุนทำมาหากินก็เพิ่มขึ้น กำไรลดลง รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย มีเงินไม่พอใช้ และมีหนี้สิน ไม่มีเงินเหลือเก็บ อยากให้ภาครัฐออกมาตรการที่ครอบคลุมกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง อยากให้เข้าถึงมาตรการต่างๆ ได้ง่ายกับคนทุกกลุ่มมากขึ้น อยากให้รัฐบาลรับฟังความเดือดร้อนช่วยเหลือประชาชนให้มากขึ้นกว่าเดิม
ขณะที่เสียงจากภาคเอกชน ระบุว่า โจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลจะต้องเร่งทำคือ ออกมาตรการช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบให้กับประชาชนไปพร้อมกับการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ ที่สำคัญต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสร้างการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องพยายามตรึงราคาน้ำมันดีเซลให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดูแลดีเซลไม่ทะลุ 35 บาท/ลิตร ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการแบบต่อเนื่อง จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้
ขณะเดียวกันรัฐบาลได้เตรียมอนุมัติมาตรการลดค่าครองชีพประชาชนในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัปดาห์นี้ หลังจาก 10 มาตรการเยียวยาประชาชน จากผลกระทบของราคาพลังงาน เช่น มาตรการบรรเทาผลกระทบค่าไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 300 หน่วย มาตรการช่วยเหลือคนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาตรการส่วนลด NGV สำหรับแท็กซี่มาตรการลดราคาน้ำมันให้กับวินมอเตอร์ไซค์จะสิ้นสุดลงในเดือนมิ.ย.นี้ ซึ่งเบื้องต้นจะขยายเวลา มาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ใกล้หมดอายุออกไปอีก 3 เดือน จนถึง ก.ย.นี้
ดีเดย์ 1 ก.ค.นี้ รถโดยสารทั่วประเทศหยุดวิ่ง 80% ขู่หยุดวิ่งทั้งหมดถ้ารัฐไม่ขึ้นค่าโดยสาร
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/296997
กระทรวงพลังงานคงราคาดีเซลไว้ที่ 35 บาทต่อลิตร ต่ออีก 1 สัปดาห์ แต่รถโดยสาร ซึ่งรวมถึงรถร่วม บขส. ทนต่อไม่ไหว ประกาศลดเที่ยววิ่ง 80% ตั้งแต่ 1 กรกฎาคมนี้ และอาจต้องหยุดวิ่งทั้งหมด หากรัฐไม่ให้ขึ้นค่าโดยสาร
นายพิเชษฐ์ เจียมบุรเศรษฐ์ นายกสมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย เปิดเผย ผู้ประกอบการรถโดยสาร และรถร่วม บขส. รวม 27 บริษัท 143 เส้นทางทั่วประเทศ เตรียมลดเที่ยววิ่งลง 80% ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป เพราะแบกรับต้นทุนน้ำมันแพงต่อไปได้ ที่ล่าสุดเพิ่มขึ้นเป็น 1,600 บาทต่อเที่ยวแล้ว ขณะที่อัตราค่าโดยสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ใช้มาตั้งแต่ปี 2562 และอ้างอิงราคาน้ำมันที่ 27 บาทต่อลิตร ขณะที่วันนี้ 35 บาทต่อลิตร โดยสมาคมฯ ได้ยื่นหนังสือขอปรับอัตราค่าโดยสารไปยังกรมการขนส่งทางบก ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่ได้รับคำตอบ จนผู้ประกอบการต้องหยุดเดินรถและเลิกกิจการไปแล้วถึง 40% หรือ คิดเป็นจำนวนรถ 8,000 คัน จากทั้งหมดกว่า 20,000 คัน บางรายถึงขั้นนำรถไปตัดขายทิ้งเป็นเศษเหล็กแทน
และแม้ว่าล่าสุด รัฐบาลเสนอทางเลือก ช่วยคูปองน้ำมันลิตรละ 2 บาท แต่ก็ช่วยเพียงรายละ 60 ลิตร ทั้งที่รถต้องใช้น้ำมันถึง 200 ลิตร ทางกลุ่มจึงขอไม่รับข้อเสนอ แต่ขอให้ปรับขึ้นอัตราค่าโดยสาร 0.59 บาทต่อกิโลเมตรแทน หากรัฐยังเพิกเฉย จะประกาศหยุดเดินรถทั้งหมด
เช่นเดียวกับ วินมอเตอร์ไซค์ ที่ต้านราคาน้ำมันแพงต่อไม่ไหว เตรียมขึ้นค่าโดยสารเช่นกัน โดยวินมอเตอร์ไซค์ ปากซอยทองหล่อ กว่า 80 คัน บอกว่า เดือนหน้านี้ เตรียมขึ้นค่าโดยสารเริ่มต้นอีก 5 บาท จากปัจจุบันเริ่มต้นที่ 10 บาท เป็น 15 บาท เนื่องจากแบกรับราคาน้ำมันแพงต่อไม่ไหว หลังเจอทั้งน้ำมันแพง ค่าครองชีพแพง ทำให้รายได้แทบไม่เหลือใช้
รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/bldXfUSn3a0
กกต. ยัน เพื่อไทย ลุยศรีสะเกษ แจกเสื้อ-ขนคนฟังปราศรัย ไม่ผิดกฎหมาย
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7119390
กกต. แจงปม เพื่อไทย ลงพื้นที่ศรีสะเกษ แจกเสื้อ-ขนคนฟังปราศรัย ไม่เข้าข่ายผิดกฎหมาย แค่ทำให้เงินค่าใช้จ่ายเลือกตั้งครั้งหน้าของพรรคลดลง
เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แหล่งข่าวระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชี้แจงกรณีนายชนะศักดิ์ อัตถาวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เตรียมเข้ายื่นต่อ กกต. เพื่อให้ตรวจสอบพรรคเพื่อไทย หลังจัดกิจกรรมครอบครัวเพื่อไทย ภายใต้ชื่อ “ไล่หนู ตีงูเห่า” ในพื้นที่ภาคอีสาน ที่จ.ศรีสะเกษ ว่าที่ผู้สมัครส.ส.คงเกณฑ์ประชาชนมาร่วมงาน ถ้ามาโดยธรรมชาติคงไม่ใส่เสื้อแบบเดียวกันเป๊ะ อาจเป็นการทำในลักษณะดังกล่าวล่วงหน้า ทั้งเรื่องการสัญญาและการกระทำที่ชอบหรือไม่ชอบทางกฎหมาย ทำได้หรือไม่ ว่า กรณีดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 65 และมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 ประกอบระเบียบ กกต. ว่าด้วยจำนวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการให้ตามปกติประเพณี หรือเมื่อมีเหตุอันสมควรฯ
โดยหากมีพยานหลักฐานว่าพรรคการเมืองใด ให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่บุคคล โดยมิใช่การให้ตามปกติประเพณี หรือเหตุอันสมควร ให้สำนักงานกกต.รวบรวมข้อเท็จจริง พร้อมเสนอความเห็นให้ กกต.พิจารณา สั่งให้เลขาธิการกกต. บันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรคการเมืองนั้นในการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งต่อไป
ซึ่งจะทำให้พรรคการเมืองนั้นเหลือจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อไปน้อยลง เช่น หากกำหนดให้พรรคการเมืองสามารถใช้จ่ายในการเลือกตั้งส.ส. ได้ 35 ล้านบาท สมมติว่าพรรคการเมืองนั้นแจกเงิน และเสื้อไปรวมมูลค่า 1 ล้านบาท ก็จะสามารถใช้ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อไปได้แค่ 34 ล้านบาท
ดังนั้น กรณีนี้จึงไม่ถือว่าเป็นความผิด แต่จะทำให้เหลือค่าใช้จ่ายเงินหาเสียงของพรรคนั้นๆ ลดลงเท่านั้น เนื่องจากตามกฎหมายให้ใช้วิธีบันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ก้าวไกลรอดยุบพรรค กกต.สั่งยุติคำร้อง 10 ปม ‘ประกันตัวราษฎร-หนุนร่างแก้ รธน.ไอลอว์’
https://www.matichon.co.th/politics/news_3410036
ก้าวไกลเฮ รอดยุบพรรค กกต.สั่งยุติเรื่อง หลังโดนร้อง 10 ปม ทั้งประกันตัวแกนนำคณะราษฎร-ผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบัน หนุนร่างแก้ไข รธน.ฉบับไอลอว์ เสนอแก้ ม.112 แสดงความเห็น-ร่วมชุมนุมการเมือง ชี้ไม่เข้าข่ายเป็นปฏิปักษ์การปกครอง
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเห็นชอบตามที่นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง มีความเห็นให้ยุติเรื่อง กรณี นายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้องขอให้ กกต. พิจารณาสั่งยุบพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เนื่องจากสมาชิกและกรรมการบริหารพรรคกระทำการใน 10 ประเด็น ภายหลังคณะกรรมการไต่สวนของสำนักงานดำเนินการตรวจสอบแล้วเห็นว่า การกระทำยังไม่เข้าข่ายเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามมาตรา 92(2) พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560
โดยทั้ง 10 ประเด็น ประกอบด้วย
1. เดือนสิงหาคม 2563 นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล กรรมการบริหารพรรคและนายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ใช้ตำแหน่งหน้าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ก.ก. ประกันตัวนายภาณุพงศ์ จาดนอก และนายกรกช แสงเย็นพันธ์ ผู้ต้องหาในคดีอาญาการชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง คดีหมายเลขดำที่ ฝ.972/2563 และคดีหมายเลขดำที่ ฝ.1031/2563
2. เดือนสิงหาคม 2563 นายธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ใช้ตำแหน่งหน้าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ประกันตัวนายภาณุมาศ สิงห์พรม แกนนำคณะประชาชนปลดแอก ผู้ต้องหาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ ฝ.1078/2563
3. เดือนตุลาคม 2563 น.ส.เบญจา แสงจันทร์ กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ใช้ตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ประกันตัวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน แกนนำเยาวชนปลดแอก ซึ่งถูกจับกุมในเหตุการณ์ชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ชัย ผู้ต้องหาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ ฝ.1302/2563 ซึ่งเห็นว่าการใช้ตำแหน่งหน้าที่ประกันตัวผู้ต้องหาเป็นสิทธิเฉพาะตัวของบุคคล ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้กระทำได้และเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ
4. เดือนกันยายน 2563 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นายรังสิมันต์ โรม นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร กรรมการบริหารพรรคและ ส.ส.ของพรรค รวม 17 คน ที่เข้าร่วมชุมนุมบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง เป็นการใช้สิทธิที่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ จึงยังฟังไม่ได้ว่า เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 45 ประกอบมาตรา 92(3) พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560
5. กรณีกล่าวหาว่าพรรค ก.ก.กระทำการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการก่อกวนคุกคามความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตามมาตรา 45 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง จากเหตุวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค แถลงจุดยืนของพรรคเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 และเสนอให้ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของประชาชน หรือฉบับไอลอว์ เป็นร่างหลักในการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 255 และ 256 อย่างชัดเจนให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ โดยกำหนดให้ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี หรือจากสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของ ส.ส. กรณีดังกล่าวจึงสามารถดำเนินการได้ภายใต้กฎหมายที่กำหนด จึงยังฟังไม่ได้ว่า นายพิธากระทำการเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 92 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560
6. กรณีกล่าวหา นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อขณะนั้น แถลงการณ์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ถ้อยคำมีลักษณะสนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎรที่บริเวณรัฐสภา ให้ก่อกวนคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เห็นว่าการแถลงการณ์ของนายวิโรจน์เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นต่อการชุมนุมระหว่างผู้ชุมนุมกับรัฐบาลเท่านั้น ไม่ปรากฏถ้อยคำใดที่มีลักษณะสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ชุมนุมก่อกวนคุกคามความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งการแสดงความคิดเห็นได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 จึงยังฟังไม่ได้ว่าการกระทำของนายวิโรจน์ ฝ่าฝืนมาตรา 45 ประกอบมาตรา 92(3)
7. เดือนมกราคม 2564 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค ให้สัมภาษณ์ว่าพรรค ก.ก.มีมติให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ