คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 27
ต่อไปผมจะตอบในเชิงลึก ที่คนส่วนมากจะมองเห็นเป็นดังด้ายหยุ่งพันกันแกะแทบไม่ได้ ดังนี้...
ส่วนที่ 1.
ขันธ์ 5 กับ อุปาทานขันธ์ 5 นั้นย่อมต่างกันคนละอย่างกันแต่เสมือนเป็นเนื้อเดียวกันเกิดร่วมกันอยู่ มีกล่าวในพระไตรปิฏก
ดังนั้น ขันธ์ 5 กับ ปฏิจสมุทปบาทฝ่ายเกิด(ตั้งแต่ สังขาร >... ไปจนถึง อุปาทาน) นั้นเป็นคนละอย่างกันแต่เสมือนเป็นเนื้อเดียวกัน เพราะเมื่อยังมีอวิชชาอยู่ ก็ย่อมสัมพันธ์กันอยู่เสมือนเป็นเนื้อเดียวกัน
ต่อไปยกหลักฐานจากพระไตรปิฏกดังนี้..
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓)
พุทธพจน์ แสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
ปัญจขันธสูตร
[๙๕] ....."ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง"
"ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม
ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕".....
[๙๖] ....."อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม
ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม
ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน(หรือถูกอุปาทานครอบงำในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง)...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕"....
(สํ.ข. ๑๗ / ๙๕-๙๖ /๕๘-๖๐)
"ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.
"รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือ ธรรม(สิ่ง)อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
(ส่วน)ฉันทราคะ(ก็คือตัณหา) ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ"
(ฉันทะราคะ คือความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด กล่าวคือตัณหา จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมีอุปาทานครอบงำ)
(สํ.ข. ๑๗ / ๓๐๙ / ๒๐๒)
ข้อมูลจาก http://www.nkgen.com/7.htm
ส่วนที่ 2
จากคำถามข้อที่ 4. ในกรณีเดียวกัน น่าจะเกิดการรับรู้ก่อนโดยวิญญาน จึงจะเกิดสังขารได้ ไม่ใช่หรือ?
ตอบ เกิดได้จากหลายนัยยะ ถ้าได้อ่านศึกษาในพระอภิธรรมปิฏก ดังนี้....
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์
นัย ๘ มีสังขารมูลกนัยเป็นต้น]
[๒๙๐] อวิชชาเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ
อวิชชาเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ฯลฯ
อวิชชาเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ฯลฯ
อวิชชาเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ฯลฯ
อวิชชาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ
อวิชชาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ฯลฯ
อวิชชาเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ฯลฯ
อวิชชาเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ฯลฯ
สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
อภิธรรมมาติกา จบ
จาก https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=35&A=3846
ดังนั้น ตั้งแต่ สังขาร >... ไปจนถึง อุปาทาน อะไรเป็นปัจจัยเกิดก่อนก็ได้
หมายเหตุ จะเห็นว่ามีธรรมหลายๆ อย่างค้านกับความเข้าใจของแต่ท่านได้ มากมายจึงทำให้เกิดความสับสนได้ เมื่อไม่เจาะลึกในแต่ละประเด็น
ส่วนที่ 1.
ขันธ์ 5 กับ อุปาทานขันธ์ 5 นั้นย่อมต่างกันคนละอย่างกันแต่เสมือนเป็นเนื้อเดียวกันเกิดร่วมกันอยู่ มีกล่าวในพระไตรปิฏก
ดังนั้น ขันธ์ 5 กับ ปฏิจสมุทปบาทฝ่ายเกิด(ตั้งแต่ สังขาร >... ไปจนถึง อุปาทาน) นั้นเป็นคนละอย่างกันแต่เสมือนเป็นเนื้อเดียวกัน เพราะเมื่อยังมีอวิชชาอยู่ ก็ย่อมสัมพันธ์กันอยู่เสมือนเป็นเนื้อเดียวกัน
ต่อไปยกหลักฐานจากพระไตรปิฏกดังนี้..
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓)
พุทธพจน์ แสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
ปัญจขันธสูตร
[๙๕] ....."ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง"
"ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม
ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕".....
[๙๖] ....."อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม
ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม
ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน(หรือถูกอุปาทานครอบงำในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง)...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕"....
(สํ.ข. ๑๗ / ๙๕-๙๖ /๕๘-๖๐)
"ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.
"รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือ ธรรม(สิ่ง)อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
(ส่วน)ฉันทราคะ(ก็คือตัณหา) ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ"
(ฉันทะราคะ คือความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด กล่าวคือตัณหา จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมีอุปาทานครอบงำ)
(สํ.ข. ๑๗ / ๓๐๙ / ๒๐๒)
ข้อมูลจาก http://www.nkgen.com/7.htm
ส่วนที่ 2
จากคำถามข้อที่ 4. ในกรณีเดียวกัน น่าจะเกิดการรับรู้ก่อนโดยวิญญาน จึงจะเกิดสังขารได้ ไม่ใช่หรือ?
ตอบ เกิดได้จากหลายนัยยะ ถ้าได้อ่านศึกษาในพระอภิธรรมปิฏก ดังนี้....
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์
นัย ๘ มีสังขารมูลกนัยเป็นต้น]
[๒๙๐] อวิชชาเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ
อวิชชาเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ฯลฯ
อวิชชาเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ฯลฯ
อวิชชาเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ฯลฯ
อวิชชาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ
อวิชชาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ฯลฯ
อวิชชาเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ฯลฯ
อวิชชาเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ฯลฯ
สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
อภิธรรมมาติกา จบ
จาก https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=35&A=3846
ดังนั้น ตั้งแต่ สังขาร >... ไปจนถึง อุปาทาน อะไรเป็นปัจจัยเกิดก่อนก็ได้
หมายเหตุ จะเห็นว่ามีธรรมหลายๆ อย่างค้านกับความเข้าใจของแต่ท่านได้ มากมายจึงทำให้เกิดความสับสนได้ เมื่อไม่เจาะลึกในแต่ละประเด็น
แสดงความคิดเห็น
รบกวนผู้รู้ แสดงความเห็น "เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญานจึงมี"
"เพราะวิญญานเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี"
ผมพิจารณาข้อความทั้งสองนี้ไม่แตกฉาน
จึงเกิดความสงสัยว่าตนเองอาจให้ความหมายของคำว่า "วิญญาน" ผิดไป
รบกวนผู้รู้ แสดงความเห็นในประเด็นคำถามนี้ครับ
1. วิญญานในปฏิจฯ เป็นสิ่งเดียวกับวิญญาน ในขันธ์5 หรือไม่?
2. วิญญานในขันธ์5 คือ จักษุวิญญาน ชิวหาวิญญาน ฯลฯ ใช่หรือไม่?
3. จากความหมายข้อ 3 , ดังนั้น จักษุ, ชิวหา ต้องมีมาก่อนใช่หรือไม่? จึงจะเกิดวิญญานได้ ดังนั้น นามรูปน่าจะเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญานไม่ใช่หรือ?
4. ในกรณีเดียวกัน น่าจะเกิดการรับรู้ก่อนโดยวิญญาน จึงจะเกิดสังขารได้ ไม่ใช่หรือ?
.....
ขอบคุณทุกท่าน และขอให้เจริญในธรรมครับ