ม็อบต้าน พ.ร.บ.รวมกลุ่ม ท้า ‘วิษณุ’ ฟังปราศรัยหน้ายูเอ็น ยัน ไม่เคยกลัวการตรวจสอบ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3365878
เมื่อเวลา 25 พฤษภาคม ที่หน้าองค์การสหประชาชาชาติ หรือยูเอ็น ถนนราชดำเนินนอก ประชาชนกลุ่มหนึ่งในนาม ‘
ขบวนต่อต้านร่างกฎหมายทำลายการรวมกลุ่มของประชาชน’ ซึ่งปักหลักตั้งหมู่บ้าน ‘
ราษฎร์ธรรมนูญ’ เป็นวันที่ 3 ปราศรัยตอบโต้นาย
วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กรณีให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของขบวนฯ (อ่านข่าว
ปักหลักตั้งหมู่บ้าน ‘ราษฎร์ธรรมนูญ’ หน้ายูเอ็น ต้าน พ.ร.บ.รวมกลุ่ม)
ตัวแทนขบวนกล่าวว่า นาย
วิษณุเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องข้อเรียกร้องของขบวนฯ ที่ให้ยกเลิกมติ ครม.เรื่อง พ.ร.บ.ควบคุมการรวมกลุ่ม กล่าวคือ แม้จะมีการส่งตัวแทนมารับข้อร้องเรียนจากพวกเรา แต่ไม่ได้มีการนำเรื่องของไปพิจารณา เนื่องจากมติจากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ไม่ได้มีการนำข้อเสนอของขบวนฯเข้าไป ขณะที่นาย
วิษณุให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนไม่ตรงกับสิ่งที่พวกตนดำเนินการ (อ่านข่าว
‘วิษณุ’ ชี้ รบ.ไม่ได้ออก กม. ‘ควบคุม-ตัดท่อน้ำเลี้ยงม็อบ’ แค่ให้ ‘เอ็นจีโอ’ บอกรายละเอียดรับเงินต่างชาติ)
“เรางงว่าทำไมต้องมีกฎหมายนี้ขึ้นมาอีก เมื่อเราถูกกำหนดให้มีการส่งรายงานกิจกรรม และงบดุลทุกปีอยู่แล้ว เราไม่เข้าใจว่า เหตุใดจะต้องมีกฎหมายนี้เพิ่มขึ้นมาอีก เมื่อไปอ่านกฎหมายนี้ดู ก็เห็นว่า มีความพยายามในการสอดไส้การรวมกลุ่มอยู่ในกฎหมายตัวนี้ และใช้ชื่อกฎหมายตัวนี้เพื่อสร้างความชอบธรรม หลอกลวงประชาชนให้เข้าใจผิดว่าที่พวกเรามาเรียกร้องเพราะกลัวการตรวจสอบ ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ใช่ ขอถามว่า คนที่รับเงินจากต่างประเทศมาทำกิจกรรมนั้นเป็นผู้ร้ายทำลายประเทศอย่างไร แล้วรัฐบาลรับเงินต่างประเทศหรือไม่ ทั้งอียู และยูเอ็น รัฐบาลเคยเปิดเผยหรือไม่ว่ารัฐบาลเคยนำเงินสนับสนุนเหล่านี้ไปใช้ในด้านใดบ้าง” ตัวแทนขบวนกล่าว
ตัวแทนขบวนระบุอีกว่า กฎหมายฉบับนี้มีการควบคุมกิจกรรมและการรวมกลุ่มทุกรูปแบบ เป็นกฎหมายที่คุกคาม และแทรกแซงการรวมกลุ่มของประชาชน โดยการเข้ามาแทรกแซงข้อมูล และผลักภาระให้พวกเราเป็นผู้รายงาน ทั้งที่การชุมนุมเป็นสิทธิพื้นฐาน ดังนั้น รองนายกฯระบุว่า ไม่ได้ห้ามชุมนุม แปลว่าเราชุมนุมยืดเยื้อที่นี่ได้ โดยเรายังคงผลักดันในประเด็นห้ามมาควบคุมการรวมกลุ่ม แล้วถ้านายวิษณุระบุว่าไม่ได้ห้ามชุมนุม ท่านก็ยกเลิก พ.ร.บ.ชุมนุม และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ประกาศใช้อยู่ในขณะนี้เสีย นอกจากนี้ เหตุใดกฎหมายตัวนี้จึงให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะเป็นปลัดกระทรวง หรือรัฐบาล ตามอำเภอใจ เพราะไม่มีคำนิยามที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม หากนายวิษณุไม่เข้าใจในประเด็นที่ขบวนฯสื่อตรงไหน ก็อยากเชิญนายวิษณุมารับฟังพวกเราตรงนี้
จากนั้น นาย
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ‘ไอลอว์’ เชิญชวนให้ร่วมกิจกรรมเขียนจดหมายถึงเพื่อนในเรือนจำซึ่งจะจัดขึ้นไปถึงช่วงค่ำวันนี้
กรีนพีซ งง! ครม.ให้ติดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะทดแทน สวนทางเป้าลดคาร์บอน
https://www.prachachat.net/economy/news-939811
แถลงการณ์กรีนพีซ ประเทศไทย มติ ครม.ให้ติดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 สวนทางกับเป้าหมาย Net Zero ที่รัฐบาลตั้งไว้
วันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ผู้สื่อข่าว ”
ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรีนพีซ ประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ จากการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมี พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา 600 เมกะวัตต์ พร้อมระบบส่งไฟฟ้า ในวงเงินรวมทั้งสิ้น 47,470 ล้านบาท ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอในวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 นั้น
กรีนพีซ ประเทศไทย มีความเห็นว่า มติ ครม. ดังกล่าว นอกจากจะสวนทางกับเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 40 ภายใต้แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี 2564-2573 (Thailand’s Nationally Determined Contribution Roadmap on Mitigation 2021-2030) [1] ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศไว้ในเวที Leader Summit ที่ COP26 กลาสโกว์ สหราชอาณาจักรในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมาแล้ว
ยังย้อนแย้งกับยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ (Long-term low greenhouse gas emission development strategies: LT-LEDS) [2] ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 เพื่อส่งให้กับสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) อีกด้วย
การศึกษาฉากทัศน์เพื่อปลดระวางถ่านหินจากระบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย [3] โดยกรีนพีซ ประเทศไทย มูลนิธินโยบายสุขภาวะ กองทุนแสงอาทิตย์และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า ประเทศไทยสามารถดำเนินการปลดระวางถ่านหินภายในปี 2580 โดยการยกเลิกการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ และทยอยปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินเดิม หรือสามารถเร่งปลดระวางถ่านหินให้หมดภายในปี 2570 โดยการยกเลิกสัญญารับซื้อไฟฟ้าบางฉบับก่อนครบกำหนด ในขณะที่สามารถคงความมั่นคงพลังงานไฟฟ้าในระดับกำลังผลิตสำรองมากกว่าร้อยละ 15 ของความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดได้ตลอดช่วงปี 2564-2580
นอกจากนี้ ยังมีการกระจายแหล่งพลังงานไฟฟ้าได้อย่างสมดุลไม่ต่างจากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
กรีนพีซ ประเทศไทย มีความเห็นเพิ่มเติมว่า คำถามที่สำคัญคือ ในเมื่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโฆษณาถึง Mae Moh Smart City [4] สำหรับการเปลี่ยนแปลงอนาคต โดยลดกำลังผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่แม่เมาะเป็น 1,255 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 จนกระทั่งบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593
ดังนั้น ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 ซึ่งจะยิ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมทั้งในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศในระดับประเทศ
ราคา 'ปุ๋ย' ปรับขึ้นอีกระลอกทะลุ 2 พันบาท/กระสอบ!
https://www.nationtv.tv/news/378874185
ราคาปุ๋ยทยอยปรับราคาขึ้นอีกระลอกบางสูตรทะลุ 2,000 บาท ร้านจำหน่ายหาวิธีช่วยเหลือเกษตรกรทั้งการตรวจวิเคราะห์ดินเบื้องต้นฟรีให้ชาวสวน และคิดปุ๋ยสูตรผสมเพื่อลดต้นทุน ช่วยเหลือเกษตรกร
ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจร้านจำหน่ายปุ๋ยเคมีในพื้นที่ต่างอำเภอ โดยที่ร้านจรัสศิลป์ อ.หาดสำราญ จ.ตรัง นายณรงค์ชัย ชูเพ็ง เจ้าของร้าน กล่าวว่า ราคาปุ๋ยยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งขณะนี้ราคาบางสูตรอยู่ที่ 1,800,1950 บาท และบางสูตรทะลุไปที่ราคากระสอบละ 2,000 บาท เช่น แม่ปุ๋ยสูตร 18 -46-0 ปุ๋ยยูเรียสูตร 40-0-0 เป็นต้น ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ จึงทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ในส่วนของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ถ้าราคาปาล์มน้ำมันยังอยู่ในขนาดนี้เกษตรกรอาจจะไม่เดือดร้อนมากนัก อาจจะยังพอมีเงินที่จะสามารถซื้อปุ๋ยไปใส่บำรุงต้นได้ แต่ก็บ่นกันทั้งหมด แต่ในขณะที่เกษตรกรชาวสวนยางพารานั้น ไม่สามารถจะสู้ราคา เพราะราคายางพาราไม่ได้สูงมากนัก แต่ราคาปุ๋ยก็แพงมากเช่นเดียวกัน ทำให้พบว่าเกษตรกรรายย่อยที่มีสวนปาล์มน้ำมันเพียงไม่กี่ไร่ หรือชาวสวนยางจำนวนมาก ไม่มีเงินซื้อปุ๋ยใส่ นอกจากนั้น ปุ๋ยอินทรีย์เคมีก็มีการปรับราคาขึ้นเช่นกันจากเดิมกระสอบละ 700 บาท เป็นกระสอบ 930 บาท และแนวโน้มก็มีการปรับราคาสูงขึ้นตามปุ๋ยเคมีทั่วไปเช่นกัน แต่ลักษณะการปรับจะปรับขึ้นช้าๆกว่าปุ๋ยเคมีที่ปรับราคาก้าวกระโดดแรง จึงทำให้เกษตรกรเดือดร้อนมาก โดยทางร้านพยายามหาทางช่วยเหลือเกษตรกรทั้งการแนะนำวิธีผสมปุ๋ยใช้เองเพื่อลดต้นทุน โดยวิธีการที่ตนเองแนะนำแล้วเกษตรกรได้ผลบางรายที่จะต้องใช้ปุ๋ยจำนวนมากตั้งแต่ 150 กระสอบขึ้นไป สามารถลดต้นทุนได้นับแสนบาท โดยแนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุอาหารสูง ซึ่งราคากระสอบ 1,800 บาทขึ้นไป ผสมกับสารปรับสภาพดินที่มีราคากระสอบละ 400 บาท จะทำให้เกิดคุณภาพดีกับดิน จะได้ดินที่สมบูรณ์กลับมา ได้ค่า PH ของดินสูงขึ้นด้วย จึงทำให้การใช้ปุ๋ยของพืชมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยบางรายสามารถค่าปุ๋ยได้นับแสนบาท นอกจากนตนเองยังรับวิเคราะห์ดินเบื้องต้นฟรีให้แก่ชาวสวนด้วย โดยเจ้าของสวนจะนำดินมาให้ถึงร้านจากนั้นตนเองก็จะลงพื้นที่ไปดูสภาพจริง เพื่อแนะนำการใช้ปุ๋ยการปรับปรุงดิน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร นอกจากนั้นพบว่าขณะนี้ร้านปุ๋ยส่วนใหญ่มีปุ๋ยไม่ครบทุกสูตร เนื่องจากบริษัทต่างๆจำกัดการสั่งซื้อ และบางร้านถึงขั้นขาดแคลนปุ๋ยไม่มีปุ๋ยจำหน่ายก็มี
อ.ปริญญา ชี้ นายกฯ-รมว.แรงงานพูดถูก แนะเริ่มที่นโยบายพลังประชารัฐสัญญาไว้ก่อนเลย
https://www.matichon.co.th/politics/news_3366305
อ.ปริญญา ชี้ นายกฯ-รมว.แรงงานพูดถูก แนะเริ่มที่นโยบายพลังประชารัฐสัญญาไว้ก่อนเลย
กรณีมีรายงานข่าวพล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ที่นาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ชนะด้วยคะแนนล้นหลาม โดยหยิบยกเรื่องนโยบายที่นาย
ชัชชาติ ประกาศไว้มากกว่า 200 ข้อ ขึ้นมาปรารภว่า
นโยบายที่นำเสนอมานั้น มีเป็นจำนวนมาก แล้วจะทำได้จริงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งบางนโยบาย ต้องใช้เวลาทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ถ้าทำได้หมดอย่างนั้นจริง อำนาจก็ยิ่งกว่านายกฯเสียอีก
ขณะที่ นาย
สุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุว่า
เลือกไปแล้วก็ปฏิบัติตามที่เราคุยกันไว้ ตามที่ได้หาเสียงไว้ คนเราคำพูดเป็นนายนะ ถ้าเราพูดอะไรไป หาเสียงอะไรไว้ก็ต้องทำให้ได้ ถ้าทำไม่ได้ครั้งหน้าประชาชนก็ลงโทษอยู่แล้ว แต่ถ้าทำได้ ครั้งหน้าก็อาจจะได้คะแนนทวีคูณไปอีก
เมื่อวันที่ 25 พ.ค.
ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนข้อความแสดงความเห็นต่อการแสดงความเห็นของบุคคลสำคัญในรัฐบาลต่อผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. โดย ระบุว่า
การเลือกตั้ง ไม่ว่าในระดับใด จะไม่ใช่เพียงแค่การเลือกตัวบุคคล แต่จะเป็น กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ถ้าเราสามารถทำให้ผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองต้อง ทำตามสิ่งที่หาเสียงไว้
วิธีการก็คือ ถ้าผู้สมัครหรือพรรคการเมืองไม่ทำตามที่หาเสียงไว้ ก็อย่าเลือกในการเลือกตั้งครั้งหน้า การติดตามว่าผู้ได้รับการเลือกตั้งได้ทำตามที่หาเสียงไว้หรือไม่ จึงเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าการไปเลือกตั้งครับ
ดังนั้น การที่ท่านนายกรัฐมนตรี ฝากผู้ว่า กทม.คนใหม่ ว่า ทำให้ได้อย่างที่พูด และท่านรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานกล่าวว่า ขอผู้ว่า กทม.ทำตามสัญญาที่หาเสียงไว้ ทำไม่ได้ประชาชนจะลงโทษ จึงถูกต้องตามหลักการดังกล่าวอย่างยิ่ง
ประชาชนจึงต้องติดตามการทำงานของผู้ว่ากรุงเทพมหานครคนใหม่ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น เช่นเดียวกับที่ต้องติดตามการเลือกตั้งระดับชาติด้วยว่า พรรคที่เป็นรัฐบาลได้ทำตามนโยบาย หรือ สัญญาที่หาเสียงไว้ในตอนเลือกตั้งหรือไม่
แล้วท่านคิดว่าพรรคการเมืองที่เป็นพรรครัฐบาล ได้ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้แล้วหรือไม่? ตอนนี้เวลาผ่านไป 3 ปีกว่า และใกล้จะเลือกตั้งครั้งใหม่แล้ว นับว่าเป็นเวลาอันเหมาะสมที่จะ ช่วยกันประเมินผล เริ่มจาก พรรคพลังประชารัฐ ที่ท่านนายกรัฐมนตรีเป็นว่าที่นายกฯ และเป็นพรรคข
JJNY : 5in1 ม็อบท้า‘วิษณุ’ฟังปราศรัย│กรีนพีซงง!ครม.│ปุ๋ยขึ้นอีกทะลุ2พัน│อ.ปริญญาชี้พูดถูก│สงขลาระส่ำ!ป่วยมาลาเรียโนวไซ17
https://www.matichon.co.th/politics/news_3365878
เมื่อเวลา 25 พฤษภาคม ที่หน้าองค์การสหประชาชาชาติ หรือยูเอ็น ถนนราชดำเนินนอก ประชาชนกลุ่มหนึ่งในนาม ‘ขบวนต่อต้านร่างกฎหมายทำลายการรวมกลุ่มของประชาชน’ ซึ่งปักหลักตั้งหมู่บ้าน ‘ราษฎร์ธรรมนูญ’ เป็นวันที่ 3 ปราศรัยตอบโต้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กรณีให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของขบวนฯ (อ่านข่าว ปักหลักตั้งหมู่บ้าน ‘ราษฎร์ธรรมนูญ’ หน้ายูเอ็น ต้าน พ.ร.บ.รวมกลุ่ม)
ตัวแทนขบวนกล่าวว่า นายวิษณุเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องข้อเรียกร้องของขบวนฯ ที่ให้ยกเลิกมติ ครม.เรื่อง พ.ร.บ.ควบคุมการรวมกลุ่ม กล่าวคือ แม้จะมีการส่งตัวแทนมารับข้อร้องเรียนจากพวกเรา แต่ไม่ได้มีการนำเรื่องของไปพิจารณา เนื่องจากมติจากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ไม่ได้มีการนำข้อเสนอของขบวนฯเข้าไป ขณะที่นายวิษณุให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนไม่ตรงกับสิ่งที่พวกตนดำเนินการ (อ่านข่าว ‘วิษณุ’ ชี้ รบ.ไม่ได้ออก กม. ‘ควบคุม-ตัดท่อน้ำเลี้ยงม็อบ’ แค่ให้ ‘เอ็นจีโอ’ บอกรายละเอียดรับเงินต่างชาติ)
“เรางงว่าทำไมต้องมีกฎหมายนี้ขึ้นมาอีก เมื่อเราถูกกำหนดให้มีการส่งรายงานกิจกรรม และงบดุลทุกปีอยู่แล้ว เราไม่เข้าใจว่า เหตุใดจะต้องมีกฎหมายนี้เพิ่มขึ้นมาอีก เมื่อไปอ่านกฎหมายนี้ดู ก็เห็นว่า มีความพยายามในการสอดไส้การรวมกลุ่มอยู่ในกฎหมายตัวนี้ และใช้ชื่อกฎหมายตัวนี้เพื่อสร้างความชอบธรรม หลอกลวงประชาชนให้เข้าใจผิดว่าที่พวกเรามาเรียกร้องเพราะกลัวการตรวจสอบ ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ใช่ ขอถามว่า คนที่รับเงินจากต่างประเทศมาทำกิจกรรมนั้นเป็นผู้ร้ายทำลายประเทศอย่างไร แล้วรัฐบาลรับเงินต่างประเทศหรือไม่ ทั้งอียู และยูเอ็น รัฐบาลเคยเปิดเผยหรือไม่ว่ารัฐบาลเคยนำเงินสนับสนุนเหล่านี้ไปใช้ในด้านใดบ้าง” ตัวแทนขบวนกล่าว
ตัวแทนขบวนระบุอีกว่า กฎหมายฉบับนี้มีการควบคุมกิจกรรมและการรวมกลุ่มทุกรูปแบบ เป็นกฎหมายที่คุกคาม และแทรกแซงการรวมกลุ่มของประชาชน โดยการเข้ามาแทรกแซงข้อมูล และผลักภาระให้พวกเราเป็นผู้รายงาน ทั้งที่การชุมนุมเป็นสิทธิพื้นฐาน ดังนั้น รองนายกฯระบุว่า ไม่ได้ห้ามชุมนุม แปลว่าเราชุมนุมยืดเยื้อที่นี่ได้ โดยเรายังคงผลักดันในประเด็นห้ามมาควบคุมการรวมกลุ่ม แล้วถ้านายวิษณุระบุว่าไม่ได้ห้ามชุมนุม ท่านก็ยกเลิก พ.ร.บ.ชุมนุม และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ประกาศใช้อยู่ในขณะนี้เสีย นอกจากนี้ เหตุใดกฎหมายตัวนี้จึงให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะเป็นปลัดกระทรวง หรือรัฐบาล ตามอำเภอใจ เพราะไม่มีคำนิยามที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม หากนายวิษณุไม่เข้าใจในประเด็นที่ขบวนฯสื่อตรงไหน ก็อยากเชิญนายวิษณุมารับฟังพวกเราตรงนี้
จากนั้น นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ‘ไอลอว์’ เชิญชวนให้ร่วมกิจกรรมเขียนจดหมายถึงเพื่อนในเรือนจำซึ่งจะจัดขึ้นไปถึงช่วงค่ำวันนี้
กรีนพีซ งง! ครม.ให้ติดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะทดแทน สวนทางเป้าลดคาร์บอน
https://www.prachachat.net/economy/news-939811
แถลงการณ์กรีนพีซ ประเทศไทย มติ ครม.ให้ติดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 สวนทางกับเป้าหมาย Net Zero ที่รัฐบาลตั้งไว้
วันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ผู้สื่อข่าว ”ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรีนพีซ ประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ จากการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา 600 เมกะวัตต์ พร้อมระบบส่งไฟฟ้า ในวงเงินรวมทั้งสิ้น 47,470 ล้านบาท ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอในวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 นั้น
กรีนพีซ ประเทศไทย มีความเห็นว่า มติ ครม. ดังกล่าว นอกจากจะสวนทางกับเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 40 ภายใต้แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี 2564-2573 (Thailand’s Nationally Determined Contribution Roadmap on Mitigation 2021-2030) [1] ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศไว้ในเวที Leader Summit ที่ COP26 กลาสโกว์ สหราชอาณาจักรในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมาแล้ว
ยังย้อนแย้งกับยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ (Long-term low greenhouse gas emission development strategies: LT-LEDS) [2] ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 เพื่อส่งให้กับสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) อีกด้วย
การศึกษาฉากทัศน์เพื่อปลดระวางถ่านหินจากระบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย [3] โดยกรีนพีซ ประเทศไทย มูลนิธินโยบายสุขภาวะ กองทุนแสงอาทิตย์และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า ประเทศไทยสามารถดำเนินการปลดระวางถ่านหินภายในปี 2580 โดยการยกเลิกการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ และทยอยปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินเดิม หรือสามารถเร่งปลดระวางถ่านหินให้หมดภายในปี 2570 โดยการยกเลิกสัญญารับซื้อไฟฟ้าบางฉบับก่อนครบกำหนด ในขณะที่สามารถคงความมั่นคงพลังงานไฟฟ้าในระดับกำลังผลิตสำรองมากกว่าร้อยละ 15 ของความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดได้ตลอดช่วงปี 2564-2580
นอกจากนี้ ยังมีการกระจายแหล่งพลังงานไฟฟ้าได้อย่างสมดุลไม่ต่างจากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
กรีนพีซ ประเทศไทย มีความเห็นเพิ่มเติมว่า คำถามที่สำคัญคือ ในเมื่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโฆษณาถึง Mae Moh Smart City [4] สำหรับการเปลี่ยนแปลงอนาคต โดยลดกำลังผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่แม่เมาะเป็น 1,255 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 จนกระทั่งบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593
ดังนั้น ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 ซึ่งจะยิ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมทั้งในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศในระดับประเทศ
ราคา 'ปุ๋ย' ปรับขึ้นอีกระลอกทะลุ 2 พันบาท/กระสอบ!
https://www.nationtv.tv/news/378874185
ราคาปุ๋ยทยอยปรับราคาขึ้นอีกระลอกบางสูตรทะลุ 2,000 บาท ร้านจำหน่ายหาวิธีช่วยเหลือเกษตรกรทั้งการตรวจวิเคราะห์ดินเบื้องต้นฟรีให้ชาวสวน และคิดปุ๋ยสูตรผสมเพื่อลดต้นทุน ช่วยเหลือเกษตรกร
ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจร้านจำหน่ายปุ๋ยเคมีในพื้นที่ต่างอำเภอ โดยที่ร้านจรัสศิลป์ อ.หาดสำราญ จ.ตรัง นายณรงค์ชัย ชูเพ็ง เจ้าของร้าน กล่าวว่า ราคาปุ๋ยยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งขณะนี้ราคาบางสูตรอยู่ที่ 1,800,1950 บาท และบางสูตรทะลุไปที่ราคากระสอบละ 2,000 บาท เช่น แม่ปุ๋ยสูตร 18 -46-0 ปุ๋ยยูเรียสูตร 40-0-0 เป็นต้น ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ จึงทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ในส่วนของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ถ้าราคาปาล์มน้ำมันยังอยู่ในขนาดนี้เกษตรกรอาจจะไม่เดือดร้อนมากนัก อาจจะยังพอมีเงินที่จะสามารถซื้อปุ๋ยไปใส่บำรุงต้นได้ แต่ก็บ่นกันทั้งหมด แต่ในขณะที่เกษตรกรชาวสวนยางพารานั้น ไม่สามารถจะสู้ราคา เพราะราคายางพาราไม่ได้สูงมากนัก แต่ราคาปุ๋ยก็แพงมากเช่นเดียวกัน ทำให้พบว่าเกษตรกรรายย่อยที่มีสวนปาล์มน้ำมันเพียงไม่กี่ไร่ หรือชาวสวนยางจำนวนมาก ไม่มีเงินซื้อปุ๋ยใส่ นอกจากนั้น ปุ๋ยอินทรีย์เคมีก็มีการปรับราคาขึ้นเช่นกันจากเดิมกระสอบละ 700 บาท เป็นกระสอบ 930 บาท และแนวโน้มก็มีการปรับราคาสูงขึ้นตามปุ๋ยเคมีทั่วไปเช่นกัน แต่ลักษณะการปรับจะปรับขึ้นช้าๆกว่าปุ๋ยเคมีที่ปรับราคาก้าวกระโดดแรง จึงทำให้เกษตรกรเดือดร้อนมาก โดยทางร้านพยายามหาทางช่วยเหลือเกษตรกรทั้งการแนะนำวิธีผสมปุ๋ยใช้เองเพื่อลดต้นทุน โดยวิธีการที่ตนเองแนะนำแล้วเกษตรกรได้ผลบางรายที่จะต้องใช้ปุ๋ยจำนวนมากตั้งแต่ 150 กระสอบขึ้นไป สามารถลดต้นทุนได้นับแสนบาท โดยแนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุอาหารสูง ซึ่งราคากระสอบ 1,800 บาทขึ้นไป ผสมกับสารปรับสภาพดินที่มีราคากระสอบละ 400 บาท จะทำให้เกิดคุณภาพดีกับดิน จะได้ดินที่สมบูรณ์กลับมา ได้ค่า PH ของดินสูงขึ้นด้วย จึงทำให้การใช้ปุ๋ยของพืชมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยบางรายสามารถค่าปุ๋ยได้นับแสนบาท นอกจากนตนเองยังรับวิเคราะห์ดินเบื้องต้นฟรีให้แก่ชาวสวนด้วย โดยเจ้าของสวนจะนำดินมาให้ถึงร้านจากนั้นตนเองก็จะลงพื้นที่ไปดูสภาพจริง เพื่อแนะนำการใช้ปุ๋ยการปรับปรุงดิน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร นอกจากนั้นพบว่าขณะนี้ร้านปุ๋ยส่วนใหญ่มีปุ๋ยไม่ครบทุกสูตร เนื่องจากบริษัทต่างๆจำกัดการสั่งซื้อ และบางร้านถึงขั้นขาดแคลนปุ๋ยไม่มีปุ๋ยจำหน่ายก็มี
อ.ปริญญา ชี้ นายกฯ-รมว.แรงงานพูดถูก แนะเริ่มที่นโยบายพลังประชารัฐสัญญาไว้ก่อนเลย
https://www.matichon.co.th/politics/news_3366305
อ.ปริญญา ชี้ นายกฯ-รมว.แรงงานพูดถูก แนะเริ่มที่นโยบายพลังประชารัฐสัญญาไว้ก่อนเลย
กรณีมีรายงานข่าวพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ชนะด้วยคะแนนล้นหลาม โดยหยิบยกเรื่องนโยบายที่นายชัชชาติ ประกาศไว้มากกว่า 200 ข้อ ขึ้นมาปรารภว่า นโยบายที่นำเสนอมานั้น มีเป็นจำนวนมาก แล้วจะทำได้จริงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งบางนโยบาย ต้องใช้เวลาทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ถ้าทำได้หมดอย่างนั้นจริง อำนาจก็ยิ่งกว่านายกฯเสียอีก
ขณะที่ นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุว่า เลือกไปแล้วก็ปฏิบัติตามที่เราคุยกันไว้ ตามที่ได้หาเสียงไว้ คนเราคำพูดเป็นนายนะ ถ้าเราพูดอะไรไป หาเสียงอะไรไว้ก็ต้องทำให้ได้ ถ้าทำไม่ได้ครั้งหน้าประชาชนก็ลงโทษอยู่แล้ว แต่ถ้าทำได้ ครั้งหน้าก็อาจจะได้คะแนนทวีคูณไปอีก
เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนข้อความแสดงความเห็นต่อการแสดงความเห็นของบุคคลสำคัญในรัฐบาลต่อผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. โดย ระบุว่า
การเลือกตั้ง ไม่ว่าในระดับใด จะไม่ใช่เพียงแค่การเลือกตัวบุคคล แต่จะเป็น กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ถ้าเราสามารถทำให้ผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองต้อง ทำตามสิ่งที่หาเสียงไว้
วิธีการก็คือ ถ้าผู้สมัครหรือพรรคการเมืองไม่ทำตามที่หาเสียงไว้ ก็อย่าเลือกในการเลือกตั้งครั้งหน้า การติดตามว่าผู้ได้รับการเลือกตั้งได้ทำตามที่หาเสียงไว้หรือไม่ จึงเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าการไปเลือกตั้งครับ
ดังนั้น การที่ท่านนายกรัฐมนตรี ฝากผู้ว่า กทม.คนใหม่ ว่า ทำให้ได้อย่างที่พูด และท่านรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานกล่าวว่า ขอผู้ว่า กทม.ทำตามสัญญาที่หาเสียงไว้ ทำไม่ได้ประชาชนจะลงโทษ จึงถูกต้องตามหลักการดังกล่าวอย่างยิ่ง
ประชาชนจึงต้องติดตามการทำงานของผู้ว่ากรุงเทพมหานครคนใหม่ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น เช่นเดียวกับที่ต้องติดตามการเลือกตั้งระดับชาติด้วยว่า พรรคที่เป็นรัฐบาลได้ทำตามนโยบาย หรือ สัญญาที่หาเสียงไว้ในตอนเลือกตั้งหรือไม่
แล้วท่านคิดว่าพรรคการเมืองที่เป็นพรรครัฐบาล ได้ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้แล้วหรือไม่? ตอนนี้เวลาผ่านไป 3 ปีกว่า และใกล้จะเลือกตั้งครั้งใหม่แล้ว นับว่าเป็นเวลาอันเหมาะสมที่จะ ช่วยกันประเมินผล เริ่มจาก พรรคพลังประชารัฐ ที่ท่านนายกรัฐมนตรีเป็นว่าที่นายกฯ และเป็นพรรคข