คุยกับสัญญาณภายใน ตอนที่ 1
ช : เรียกท่านว่า พุทธะ ได้ไหมครับ
ส : แล้วแต่จะคิด
ช : พุทธะ แปลว่า อะไร
ส : ตามคติ เธอล่ะ
ช : ตำรา เขาแปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ส : ไม่อ้างตำรา
ช : แปลว่า ผู้ปล่อยสละ ละ วาง
ส : สั้นได้อีก
ช : แสดงว่า ยังไม่ถูกต้องทั้งหมด
ส : . . .
ช : ผู้สงบ
ส : ใช่ ถูกต้อง ผู้สงบ ขยายความสิ
ช : สงบ ภายในได้ ภายนอกก็สงบ เมื่อใจเข้าถึงความสงบได้อย่างมั่นคง เสถียรภาพ ก็แสดงว่า จิตใจนั้นมันสามารถปล่อยวางหน้าที่สมมติต่าง ๆ ทั้งของตนและของบุคคลอื่นได้ เมื่อจิตใจปราศจากตัวกูของกู จึงเข้าถึงความสงบท่ามกลางระหว่างหน้าที่ได้ เมื่อใจคือความคิดมันสงบได้มั่นคงดีแล้ว มันจะสว่างไสว ความสว่างไสวนั้นประกอบด้วย การปล่อยวาง + ปัญญา + ญาณ(เครื่องรู้) = รู้แจ้งแบบไม่อ้างอิงสมมติใด ๆ ไม่มีรูป นาม สมมุติบัญญัติเข้ามาเกี่ยวข้อง มันจึงเหลือแต่ความว่างสว่างไสว เป็นแสงโอภาสเช่นนั้น ไม่มีสวรรค์ ไม่มีนรก ไม่มีเทพ เซียน เทวดา นางฟ้า ไม่มีพระเจ้า ซาตาน คุรุครูอาจารย์ ศาสนา ลัทธิ ไม่มีพุทธะ อริยะ โพธิสัตว์ ไม่มีรูปหรือนามมายาสมมุติใด ๆ เข้ามาแทรก นอกจากความว่างสว่างไสวไร้ขอบเขต ไม่เรียกอะไรเป็นอะไร มีแต่ "สว่างไสว" "สงบ" "ว่าง"
ส : เกี่ยวอะไรกับคำว่า พุทธะ
ช : พุทธะ คือ คำสมมุติ ที่เรียก ค่าพลังงานที่เป็นกลางและสงบระงับ(ไม่ยุ่งกับกรรมของใคร)
จิตใจก็คือ พลังงานความคิด เมื่อมันแปลงค่าความคิดไปเป็น ความสงบ ตัดขาดกระบวนการรับรู้ที่ปรุงแต่งผ่านทางร่างสังขารทั้งหมด ในความสงบจึงสว่างไสว(ปัญญาญาณ) แต่เมื่อใจยังซ้อนเนื่องอยู่ภายในรูปร่างกายสังขารมนุษย์สัตว์เพียงชั่วคราวตามสมมุติหน้าที่ เป็น อยู่ คือ
ใจยังอาศัยสติของสังขาร ยังอาศัยปัญญาผ่านระบบสังขาร แต่ใจที่เข้าถึงความสงบแล้วนั้นจะใช้สติและปัญญาด้วยค่าความเป็นกลาง ปราศจากบุญบาป(กุศล,อกุศล)ครอบงำ ใจที่สงบระงับจะไม่ตัดสินใคร อะไร ว่า ถูกหรือผิด ดีหรือเลว เพราะชอบหรือชัง ไม่เอนเอียงตามอำนาจแห่งสมมุติบัญญัติ จึงเรียกค่าความเป็นกลางนั้นว่า พุทธะ
ใจที่ปล่อยวาง สมมุติหน้าที่ของสรรพสัตว์สรรพสิ่ง ปราศจากการปรุงแต่งโน่น นี่ นั่น ใจจึงสงบระงับ ใจสงบ จิตสงบ หรือใจว่าง จิตว่าง หรือเรียกว่า ความว่าง หรือจะเรียกสมมุติว่า พุทธะ หรือเรียกว่า ผู้มีปัญญา ก็ได้เช่นกัน
ส่วนใจที่ชอบคิดปรุงแต่งเรื่องราว โน่น นี่ นั่น หรือจนถึงขั้นฟุ้งซ่านวุ่นวาย เรียกจิตหรือใจนั้นว่า ความคิด หรือ วิญญาณ นั่นเองครับ
ส : ใช้ได้ ไม่อ้างอิงตำรา วันนี้พอเท่านี้ก่อน
ช : ครับ
สงบจริงๆ ที่นี่
ช : เรียกท่านว่า พุทธะ ได้ไหมครับ
ส : แล้วแต่จะคิด
ช : พุทธะ แปลว่า อะไร
ส : ตามคติ เธอล่ะ
ช : ตำรา เขาแปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ส : ไม่อ้างตำรา
ช : แปลว่า ผู้ปล่อยสละ ละ วาง
ส : สั้นได้อีก
ช : แสดงว่า ยังไม่ถูกต้องทั้งหมด
ส : . . .
ช : ผู้สงบ
ส : ใช่ ถูกต้อง ผู้สงบ ขยายความสิ
ช : สงบ ภายในได้ ภายนอกก็สงบ เมื่อใจเข้าถึงความสงบได้อย่างมั่นคง เสถียรภาพ ก็แสดงว่า จิตใจนั้นมันสามารถปล่อยวางหน้าที่สมมติต่าง ๆ ทั้งของตนและของบุคคลอื่นได้ เมื่อจิตใจปราศจากตัวกูของกู จึงเข้าถึงความสงบท่ามกลางระหว่างหน้าที่ได้ เมื่อใจคือความคิดมันสงบได้มั่นคงดีแล้ว มันจะสว่างไสว ความสว่างไสวนั้นประกอบด้วย การปล่อยวาง + ปัญญา + ญาณ(เครื่องรู้) = รู้แจ้งแบบไม่อ้างอิงสมมติใด ๆ ไม่มีรูป นาม สมมุติบัญญัติเข้ามาเกี่ยวข้อง มันจึงเหลือแต่ความว่างสว่างไสว เป็นแสงโอภาสเช่นนั้น ไม่มีสวรรค์ ไม่มีนรก ไม่มีเทพ เซียน เทวดา นางฟ้า ไม่มีพระเจ้า ซาตาน คุรุครูอาจารย์ ศาสนา ลัทธิ ไม่มีพุทธะ อริยะ โพธิสัตว์ ไม่มีรูปหรือนามมายาสมมุติใด ๆ เข้ามาแทรก นอกจากความว่างสว่างไสวไร้ขอบเขต ไม่เรียกอะไรเป็นอะไร มีแต่ "สว่างไสว" "สงบ" "ว่าง"
ส : เกี่ยวอะไรกับคำว่า พุทธะ
ช : พุทธะ คือ คำสมมุติ ที่เรียก ค่าพลังงานที่เป็นกลางและสงบระงับ(ไม่ยุ่งกับกรรมของใคร)
จิตใจก็คือ พลังงานความคิด เมื่อมันแปลงค่าความคิดไปเป็น ความสงบ ตัดขาดกระบวนการรับรู้ที่ปรุงแต่งผ่านทางร่างสังขารทั้งหมด ในความสงบจึงสว่างไสว(ปัญญาญาณ) แต่เมื่อใจยังซ้อนเนื่องอยู่ภายในรูปร่างกายสังขารมนุษย์สัตว์เพียงชั่วคราวตามสมมุติหน้าที่ เป็น อยู่ คือ
ใจยังอาศัยสติของสังขาร ยังอาศัยปัญญาผ่านระบบสังขาร แต่ใจที่เข้าถึงความสงบแล้วนั้นจะใช้สติและปัญญาด้วยค่าความเป็นกลาง ปราศจากบุญบาป(กุศล,อกุศล)ครอบงำ ใจที่สงบระงับจะไม่ตัดสินใคร อะไร ว่า ถูกหรือผิด ดีหรือเลว เพราะชอบหรือชัง ไม่เอนเอียงตามอำนาจแห่งสมมุติบัญญัติ จึงเรียกค่าความเป็นกลางนั้นว่า พุทธะ
ใจที่ปล่อยวาง สมมุติหน้าที่ของสรรพสัตว์สรรพสิ่ง ปราศจากการปรุงแต่งโน่น นี่ นั่น ใจจึงสงบระงับ ใจสงบ จิตสงบ หรือใจว่าง จิตว่าง หรือเรียกว่า ความว่าง หรือจะเรียกสมมุติว่า พุทธะ หรือเรียกว่า ผู้มีปัญญา ก็ได้เช่นกัน
ส่วนใจที่ชอบคิดปรุงแต่งเรื่องราว โน่น นี่ นั่น หรือจนถึงขั้นฟุ้งซ่านวุ่นวาย เรียกจิตหรือใจนั้นว่า ความคิด หรือ วิญญาณ นั่นเองครับ
ส : ใช้ได้ ไม่อ้างอิงตำรา วันนี้พอเท่านี้ก่อน
ช : ครับ