แม่ค้าก๋วยเตี๋ยวโอด 'ต้นทุน' เพิ่ม 3 พัน/วัน
https://www.nationtv.tv/news/378869139
สินค้าทยอยปรับขึ้นราคาทุกวัน แม่ค้าก๋วยเตี๋ยวโอด วัตถุดิบก๋วยเตี๋ยวปรับขึ้นต้องแบกรับต้นทุนวันละ 10,000 บาท ตอนนี้เริ่มรับต้นทุนไม่ไหว
หลังจาก นาย
สมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่ง - ค้าปลีกไทย ออกมาเปิดเผยว่า ในเดือนเมษายนนี้ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการและบางยี่ห้อ เช่น ซอสปรุงรส ซีอิ๊วขาว ผงซักฟอก เป็นต้น แจ้งปรับราคาขึ้นร้อยละ10 ทั้งที่เป็นราคาขายส่งถึงยี่ปั๊วและราคาขายส่งถึงผู้บริโภค อีกทั้งกระทรวงพลังงานปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มธรรมชาติ (LPG)กิโลกรัมละ1บาทต่อถัง15กิโลกรัม ส่งผลให้ราคาก๊าซหุงต้มขยับจาก318บาท เป็น333บาท เป็นเวลา3เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน - มิถุนายน2565ทั้งนี้การปรับขึ้นตามขั้นบันไดดังกล่าวยังไม่สะท้อนต้นทุนแท้จริงซึ่งสูงกว่าราคาที่กำหนด สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพของประชาชนรวมไปถึงกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารที่ต้องปรับตัวตามสถานการณ์อีกด้วย
จากการสำรวจที่ร้านก๋วยเตี๋ยวคุณยาย ถ.มัธยมจันทร์ อ.เมือง จ.สกลนคร สอบถามกับ นาง
กัญญาณัฐ อุดมโชติวัฒน์ อายุ55ปี เจ้าของร้าน ถึงผลกระทบจากสินค้าอุปโภคบริโภคและก๊าซหุงต้มที่ทยอยปรับราคาขึ้น ซึ่งร้านก๋วยเตี๋ยวของนางกัญญาณัฐได้รับผลกระทบทางตรงเพราะวัตถุดิบ เช่น ซอสปรุงรส ซีอิ๋วขาว ที่ปรับราคาขึ้นร้อยละ10 แม้แต่กระทั่งก๊าซหุงต้มที่ต้องใช้วันละ1ถัง15กิโลกรัมต่อวัน เดิมที1ถัง15กิโลกรัม ถังละ450บาท ตอนนี้ปรับขึ้นมาเป็น ถังละ490บาท ปัจจุบันหันมาใช้วิธีการนำถังก๊าซหุงต้มไปเติมเองที่สถานนีบริการครั้งละหลายๆ ถังเพื่อประหยัดต้นทุน
นาง
กัญญาณัฐ กล่าวว่า ตอนนี้ต้องแบกต้นทุนเฉพาะเนื้อสัตว์ เครื่องปรุงและเส้นต่างๆ จากเดิมประมาณ10,000บาทต่อวัน เฉลี่ยเพิ่ม13,000บาทต่อวัน เงินจำนวนนี้ไม่รวมค่าแรงและค่าเช่าที่ ซึ่งรายรับรายจ่ายไม่สอดคล้องกัน อย่างไรก็ดีถึงแม้สินค้าทุกอย่างพาเหรดปรับราคาขึ้นและไม่มีทีท่าลดลง ยังยืนยันจะขายก๋วยเตี๋ยวในราคาถ้วยละ40บาท พร้อมทั้งให้เยอะเหมือนเดิมเพื่อผู้บริโภค
ชาวสวนยางยิ้มออก ยางแผ่น 60 กว่าบาท เหตุสถานการณ์โลก ย้ำชัดไม่ใช่ฝีมือรัฐบาล
https://ch3plus.com/news/economy/morning/285606
วานนี้ (4 เม.ย.65) นาย
ศักดิ์สฤษดิ์ ศรีประศาสตร์ อดีตประธานเครือข่ายชาวสวนยาง 16 ภาคใต้ และแกนนำประท้วงเรียกร้องราคายางพาราตกต่ำจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ยางมีราคาดีขึ้น ยางแผ่นราคา 60 กว่าบาท
ปัจจัยที่ทำให้ยางพารามีราคาสูงขึ้นมีหลายปัจจัย เช่น ราคาน้ำมัน การเพาะปลูกน้อยลง สถานการณ์โรคโควิด-19 ตู้คอนเนอว่าง การส่งออกเพิ่มมากขึ้น รวมถึงความต้องการของตลาดโลก ซึ่งถูกโยงกับสถานการณ์สงคราม น้ำมัน ที่เกี่ยวโยง ทำให้ความต้องการการเอายางพาราไปทดแทนมากขึ้น ความต้องการของโลกมีมากขึ้น
ทำให้ราคายางเริ่มดีขึ้น และสต๊อกยางในจีนลดลง ถึงแม้ว่าการเพาะปลูกในจีนอยู่ในอันดับ 4 ของโลก แต่จีนไม่มีการกรีดยางเนื่องจากว่าผลผลิตที่ได้การลงทุนไม่คุ้มกัน ผลผลิตในประเทศไทยน้อยลงเนื่องจากว่า ปัจจัยที่เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวกับประเทศไม่มีคนกรีด นายจ้างไม่มีคนกรีด และเกี่ยวกับคนหันไปเพาะปลูกพืชชนิดอื่น โดยมีการโค่นยางมากขึ้นหันไปปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้นเพราะราคาดี
ทั้งหมดนี้ เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ราคายางสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมองว่ายังเห็นว่าราคายางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงราคา 70-80 บาท หรืออาจจะมากกว่านั้น ก็จะได้เห็นในอนาคต รวมถึงพอสถานการณ์โควิดผ่อนคลายลงอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยางพาราของไทยเพิ่มมากขึ้น เครื่องบินมีการบินมากขึ้น ซึ่งล้อเครื่องบินใช้จากยางพาราของไทย 100% และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการผลิตรถยนต์ จำเป็นต้องใช้ยางทั้งนั้น อนาคตยางพาราของไทยจะราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นไปตามกลไกของสถานการณ์โลก ตามกลไกของตลาด
ในส่วนที่มีการออกมาว่าเป็นผลงานของรัฐบาล ผลงานของการเมืองบางพรรค ถ้าให้พูดตรง ๆ คนที่เข้ามาบริหารจัดการยางพารา คือ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งพรรคร่วมรัฐบาลอย่างนายกรัฐมนตรี
ประยุทธ์ จันโอชา มีเจตนาที่จะให้พรรคประชาธิปัตย์เข้ามาแก้ปัญหาปากท้องให้กับพี่น้องชาวไต้ ซึ่งมันมีความเกี่ยวโยงกับทางการเมือง ถ้าราคายางพาราสูงขึ้น พรรคประชาธิปัตย์สามารถทำให้ราคาสูงได้จริงตั้งแต่เริ่มต้น พรรคประชาธิปัตย์คงไม่ปล่อยให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อนมาถึงปีที่ 3 ในการบริหารจัดการ
ทั้งนี้มองว่าพรรคประชาธิปัตย์มีส่วนร่วมไม่มากในการทำให้ยางพาราสูงขึ้น ซึ่งตนมองว่าปัจจัยทางการเมืองน้อยมากในการทำให้ยางพาราขึ้นลง มองว่าสิ่งที่เป็นปัจจัยหลักคือองค์กรที่เข้ามาดูแลยางพาราของไทยควรจะได้รับการแก้ไข แก้ไขโครงสร้างของการบริหารจัดการยาง ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์น่าจะเป็นหัวหอกในการดำเนินการเรื่องนี้ ซึ่งจะบอกว่าเป็นผลงานของรัฐบาล หรือเป็นผลงานของนักการเมือง ตนมองว่ามีส่วนน้อยมาก เป็นเรื่องกลไกของโลก.
รับชมผ่านยูทูปได้ที่ :
https://youtu.be/H0GZ4BJoFIQ
กกร. หั่นGDP ลง2.5-4%ขึ้นเงินเฟ้อ 3.5-4.5%
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_318306/
กกร.หั่น GDP ปี65 ลง2.5-4.% ขึ้นเงินเฟ้อ3.5-4.5% คงส่งออก3-5% เหตุรัสเซีย-ยูเครนฉุด
นาย
สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยภายหลังการประชุมว่าเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงรอบด้าน โดยเฉพาะแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงที่สุดในรอบ 10 ปี จากการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ 4.9%
ซึ่งเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นมากจะเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์และกำลังซื้อในประเทศ แต่ภาพรวมเศรษฐกิจยังคาดว่าจะเติบโตได้จากความมุ่งมั่นของทั้งภาครัฐและเอกชนในการปรับตัวให้สามารถอยู่กับโควิด-19 ได้ แบบเป็นปกติมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวได้โดยเฉพาะจากปัจจัยการส่งออก
ดังนั้น ที่ประชุม กกร. จึงได้พิจารณาปรับกรอบประมาณการเศรษฐกิจไทย(GDP) ปี 2565 เป็นขยายตัว 2.5-4.0% จากเดิม 2.5-4.5% ปรับเพิ่มอัตราเงินเฟ้อเป็น 3.5-5.5% จากเดิม 2-3% ส่วนการส่งออกยังคงเป้าเดิมที่ 3-5% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับความเสี่ยงรอบด้าน โดยเฉพาะแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่มีแนวโน้มสูงสุดรอบ 10 ปี
ทั้งนี้ แม้ว่าความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนจะกระทบการส่งออกและการท่องเที่ยวโดยตรงไม่มากนัก แต่ผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าพลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญอื่นๆ เช่น ปุ๋ย สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะทำให้ราคาอาหารสดและราคาอาหารสำเร็จรูปปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหากความขัดแย้งยืดเยื้อยังมีความรุนแรงจะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกมีแนวโน้มทะยานสูงขึ้น ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มลดลง และทั้งปี 2565 ราคาน้ำมันดิบมีโอกาสอยู่เหนือ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ขณะเดียวกัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เช่น ในกลุ่มเกษตรและกลุ่มโลหะสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งหมดนี้ ทำให้ภาคธุรกิจต้องเผชิญภาระต้นทุนที่สูงขึ้น และส่งผลต่อเนื่องไปยังระดับราคาสินค้า ซึ่งเริ่มกระทบต่อความเชื่อมั่นของทั้งผู้บริโภคและนักลงทุน โดย OECD ประเมินว่าวิกฤตรัสเซียและยูเครนจะทำให้เศรษฐกิจโลกโตน้อยลงกว่าเดิมกว่า 1% และทำให้อัตราเงินเฟ้อโลกเพิ่มขึ้น 2.5% จากที่ประเมินไว้ก่อนเกิดวิกฤต
ก้าวหน้าร้อยละ 17.80 ล่าช้ากว่าแผนร้อยละ 0.20 งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถมีความก้าวหน้าร้อยละ 5 ซึ่งเป็นไปตามแผน โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนก.ย.70
คนใช้ดีเซลจ๊ากแน่! สุพัฒนพงษ์ แย้มเลิกอุ้ม พ.ค.นี้ ยันหลายปท.ขึ้นเกิน40บาทแล้ว
https://www.khaosod.co.th/politics/news_6983234
สุพัฒนพงษ์ โอ่กลางห้องประชุม ครม. ไทยคุมดีเซลดีสุดในอาเซียน เตรียมเลิกอุ้ม พ.ค.นี้ ยันหลายประเทศขึ้นไปลิตรละ 40 กว่าบาทแล้ว
เมื่อวันที่ 5 เม.ย.2565 รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เต็มคณะ ที่ตึกสันติไมตรี นาย
สุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ได้รายงานสถานการณ์พลังงานในประเทศว่า จะตรึงราคาน้ำมันดีเซล ได้ถึงแค่ เดือนเม.ย. พอเดือน พ.ค.ก็ต้องปล่อยแล้ว แต่ต่อให้ปล่อย ก็ไม่มีราคาสูงเท่าประเทศอื่น เรื่องดีเซลเราควบคุมได้ดีที่สุดในอาเซียน หลายประเทศขึ้นไปลิตรละ 40 กว่าบาทแล้ว จากนั้นจะดูสถานการณ์ออกไปอีก 3 เดือน น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น
ขณะที่แอลพีจี แก๊ส ไฟฟ้า ประปา ยังถูกกว่าประเทศอื่นในอาเซียน แอลพีจีถูกสุดในอาเซียน ไฟฟ้าเราดูแลทุกกลุ่ม ใช้น้อยเราไม่เก็บเงิน
JJNY : 5in1 โอด'ต้นทุน'เพิ่ม│ชาวสวนยางยิ้มออก ย้ำไม่ใช่ฝีมือรบ.│กกร.หั่นGDP│คนใช้ดีเซลจ๊ากแน่!│ไบเดนจี้เอาผิดปูติน
https://www.nationtv.tv/news/378869139
สินค้าทยอยปรับขึ้นราคาทุกวัน แม่ค้าก๋วยเตี๋ยวโอด วัตถุดิบก๋วยเตี๋ยวปรับขึ้นต้องแบกรับต้นทุนวันละ 10,000 บาท ตอนนี้เริ่มรับต้นทุนไม่ไหว
หลังจาก นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่ง - ค้าปลีกไทย ออกมาเปิดเผยว่า ในเดือนเมษายนนี้ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการและบางยี่ห้อ เช่น ซอสปรุงรส ซีอิ๊วขาว ผงซักฟอก เป็นต้น แจ้งปรับราคาขึ้นร้อยละ10 ทั้งที่เป็นราคาขายส่งถึงยี่ปั๊วและราคาขายส่งถึงผู้บริโภค อีกทั้งกระทรวงพลังงานปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มธรรมชาติ (LPG)กิโลกรัมละ1บาทต่อถัง15กิโลกรัม ส่งผลให้ราคาก๊าซหุงต้มขยับจาก318บาท เป็น333บาท เป็นเวลา3เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน - มิถุนายน2565ทั้งนี้การปรับขึ้นตามขั้นบันไดดังกล่าวยังไม่สะท้อนต้นทุนแท้จริงซึ่งสูงกว่าราคาที่กำหนด สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพของประชาชนรวมไปถึงกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารที่ต้องปรับตัวตามสถานการณ์อีกด้วย
จากการสำรวจที่ร้านก๋วยเตี๋ยวคุณยาย ถ.มัธยมจันทร์ อ.เมือง จ.สกลนคร สอบถามกับ นางกัญญาณัฐ อุดมโชติวัฒน์ อายุ55ปี เจ้าของร้าน ถึงผลกระทบจากสินค้าอุปโภคบริโภคและก๊าซหุงต้มที่ทยอยปรับราคาขึ้น ซึ่งร้านก๋วยเตี๋ยวของนางกัญญาณัฐได้รับผลกระทบทางตรงเพราะวัตถุดิบ เช่น ซอสปรุงรส ซีอิ๋วขาว ที่ปรับราคาขึ้นร้อยละ10 แม้แต่กระทั่งก๊าซหุงต้มที่ต้องใช้วันละ1ถัง15กิโลกรัมต่อวัน เดิมที1ถัง15กิโลกรัม ถังละ450บาท ตอนนี้ปรับขึ้นมาเป็น ถังละ490บาท ปัจจุบันหันมาใช้วิธีการนำถังก๊าซหุงต้มไปเติมเองที่สถานนีบริการครั้งละหลายๆ ถังเพื่อประหยัดต้นทุน
นางกัญญาณัฐ กล่าวว่า ตอนนี้ต้องแบกต้นทุนเฉพาะเนื้อสัตว์ เครื่องปรุงและเส้นต่างๆ จากเดิมประมาณ10,000บาทต่อวัน เฉลี่ยเพิ่ม13,000บาทต่อวัน เงินจำนวนนี้ไม่รวมค่าแรงและค่าเช่าที่ ซึ่งรายรับรายจ่ายไม่สอดคล้องกัน อย่างไรก็ดีถึงแม้สินค้าทุกอย่างพาเหรดปรับราคาขึ้นและไม่มีทีท่าลดลง ยังยืนยันจะขายก๋วยเตี๋ยวในราคาถ้วยละ40บาท พร้อมทั้งให้เยอะเหมือนเดิมเพื่อผู้บริโภค
ชาวสวนยางยิ้มออก ยางแผ่น 60 กว่าบาท เหตุสถานการณ์โลก ย้ำชัดไม่ใช่ฝีมือรัฐบาล
https://ch3plus.com/news/economy/morning/285606
วานนี้ (4 เม.ย.65) นายศักดิ์สฤษดิ์ ศรีประศาสตร์ อดีตประธานเครือข่ายชาวสวนยาง 16 ภาคใต้ และแกนนำประท้วงเรียกร้องราคายางพาราตกต่ำจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ยางมีราคาดีขึ้น ยางแผ่นราคา 60 กว่าบาท
ปัจจัยที่ทำให้ยางพารามีราคาสูงขึ้นมีหลายปัจจัย เช่น ราคาน้ำมัน การเพาะปลูกน้อยลง สถานการณ์โรคโควิด-19 ตู้คอนเนอว่าง การส่งออกเพิ่มมากขึ้น รวมถึงความต้องการของตลาดโลก ซึ่งถูกโยงกับสถานการณ์สงคราม น้ำมัน ที่เกี่ยวโยง ทำให้ความต้องการการเอายางพาราไปทดแทนมากขึ้น ความต้องการของโลกมีมากขึ้น
ทำให้ราคายางเริ่มดีขึ้น และสต๊อกยางในจีนลดลง ถึงแม้ว่าการเพาะปลูกในจีนอยู่ในอันดับ 4 ของโลก แต่จีนไม่มีการกรีดยางเนื่องจากว่าผลผลิตที่ได้การลงทุนไม่คุ้มกัน ผลผลิตในประเทศไทยน้อยลงเนื่องจากว่า ปัจจัยที่เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวกับประเทศไม่มีคนกรีด นายจ้างไม่มีคนกรีด และเกี่ยวกับคนหันไปเพาะปลูกพืชชนิดอื่น โดยมีการโค่นยางมากขึ้นหันไปปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้นเพราะราคาดี
ทั้งหมดนี้ เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ราคายางสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมองว่ายังเห็นว่าราคายางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงราคา 70-80 บาท หรืออาจจะมากกว่านั้น ก็จะได้เห็นในอนาคต รวมถึงพอสถานการณ์โควิดผ่อนคลายลงอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยางพาราของไทยเพิ่มมากขึ้น เครื่องบินมีการบินมากขึ้น ซึ่งล้อเครื่องบินใช้จากยางพาราของไทย 100% และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการผลิตรถยนต์ จำเป็นต้องใช้ยางทั้งนั้น อนาคตยางพาราของไทยจะราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นไปตามกลไกของสถานการณ์โลก ตามกลไกของตลาด
ในส่วนที่มีการออกมาว่าเป็นผลงานของรัฐบาล ผลงานของการเมืองบางพรรค ถ้าให้พูดตรง ๆ คนที่เข้ามาบริหารจัดการยางพารา คือ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งพรรคร่วมรัฐบาลอย่างนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันโอชา มีเจตนาที่จะให้พรรคประชาธิปัตย์เข้ามาแก้ปัญหาปากท้องให้กับพี่น้องชาวไต้ ซึ่งมันมีความเกี่ยวโยงกับทางการเมือง ถ้าราคายางพาราสูงขึ้น พรรคประชาธิปัตย์สามารถทำให้ราคาสูงได้จริงตั้งแต่เริ่มต้น พรรคประชาธิปัตย์คงไม่ปล่อยให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อนมาถึงปีที่ 3 ในการบริหารจัดการ
ทั้งนี้มองว่าพรรคประชาธิปัตย์มีส่วนร่วมไม่มากในการทำให้ยางพาราสูงขึ้น ซึ่งตนมองว่าปัจจัยทางการเมืองน้อยมากในการทำให้ยางพาราขึ้นลง มองว่าสิ่งที่เป็นปัจจัยหลักคือองค์กรที่เข้ามาดูแลยางพาราของไทยควรจะได้รับการแก้ไข แก้ไขโครงสร้างของการบริหารจัดการยาง ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์น่าจะเป็นหัวหอกในการดำเนินการเรื่องนี้ ซึ่งจะบอกว่าเป็นผลงานของรัฐบาล หรือเป็นผลงานของนักการเมือง ตนมองว่ามีส่วนน้อยมาก เป็นเรื่องกลไกของโลก.
รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/H0GZ4BJoFIQ
กกร. หั่นGDP ลง2.5-4%ขึ้นเงินเฟ้อ 3.5-4.5%
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_318306/
กกร.หั่น GDP ปี65 ลง2.5-4.% ขึ้นเงินเฟ้อ3.5-4.5% คงส่งออก3-5% เหตุรัสเซีย-ยูเครนฉุด
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยภายหลังการประชุมว่าเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงรอบด้าน โดยเฉพาะแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงที่สุดในรอบ 10 ปี จากการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ 4.9%
ซึ่งเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นมากจะเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์และกำลังซื้อในประเทศ แต่ภาพรวมเศรษฐกิจยังคาดว่าจะเติบโตได้จากความมุ่งมั่นของทั้งภาครัฐและเอกชนในการปรับตัวให้สามารถอยู่กับโควิด-19 ได้ แบบเป็นปกติมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวได้โดยเฉพาะจากปัจจัยการส่งออก
ดังนั้น ที่ประชุม กกร. จึงได้พิจารณาปรับกรอบประมาณการเศรษฐกิจไทย(GDP) ปี 2565 เป็นขยายตัว 2.5-4.0% จากเดิม 2.5-4.5% ปรับเพิ่มอัตราเงินเฟ้อเป็น 3.5-5.5% จากเดิม 2-3% ส่วนการส่งออกยังคงเป้าเดิมที่ 3-5% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับความเสี่ยงรอบด้าน โดยเฉพาะแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่มีแนวโน้มสูงสุดรอบ 10 ปี
ทั้งนี้ แม้ว่าความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนจะกระทบการส่งออกและการท่องเที่ยวโดยตรงไม่มากนัก แต่ผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าพลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญอื่นๆ เช่น ปุ๋ย สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะทำให้ราคาอาหารสดและราคาอาหารสำเร็จรูปปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหากความขัดแย้งยืดเยื้อยังมีความรุนแรงจะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกมีแนวโน้มทะยานสูงขึ้น ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มลดลง และทั้งปี 2565 ราคาน้ำมันดิบมีโอกาสอยู่เหนือ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ขณะเดียวกัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เช่น ในกลุ่มเกษตรและกลุ่มโลหะสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งหมดนี้ ทำให้ภาคธุรกิจต้องเผชิญภาระต้นทุนที่สูงขึ้น และส่งผลต่อเนื่องไปยังระดับราคาสินค้า ซึ่งเริ่มกระทบต่อความเชื่อมั่นของทั้งผู้บริโภคและนักลงทุน โดย OECD ประเมินว่าวิกฤตรัสเซียและยูเครนจะทำให้เศรษฐกิจโลกโตน้อยลงกว่าเดิมกว่า 1% และทำให้อัตราเงินเฟ้อโลกเพิ่มขึ้น 2.5% จากที่ประเมินไว้ก่อนเกิดวิกฤต
ก้าวหน้าร้อยละ 17.80 ล่าช้ากว่าแผนร้อยละ 0.20 งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถมีความก้าวหน้าร้อยละ 5 ซึ่งเป็นไปตามแผน โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนก.ย.70
คนใช้ดีเซลจ๊ากแน่! สุพัฒนพงษ์ แย้มเลิกอุ้ม พ.ค.นี้ ยันหลายปท.ขึ้นเกิน40บาทแล้ว
https://www.khaosod.co.th/politics/news_6983234
สุพัฒนพงษ์ โอ่กลางห้องประชุม ครม. ไทยคุมดีเซลดีสุดในอาเซียน เตรียมเลิกอุ้ม พ.ค.นี้ ยันหลายประเทศขึ้นไปลิตรละ 40 กว่าบาทแล้ว
เมื่อวันที่ 5 เม.ย.2565 รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เต็มคณะ ที่ตึกสันติไมตรี นายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ได้รายงานสถานการณ์พลังงานในประเทศว่า จะตรึงราคาน้ำมันดีเซล ได้ถึงแค่ เดือนเม.ย. พอเดือน พ.ค.ก็ต้องปล่อยแล้ว แต่ต่อให้ปล่อย ก็ไม่มีราคาสูงเท่าประเทศอื่น เรื่องดีเซลเราควบคุมได้ดีที่สุดในอาเซียน หลายประเทศขึ้นไปลิตรละ 40 กว่าบาทแล้ว จากนั้นจะดูสถานการณ์ออกไปอีก 3 เดือน น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น
ขณะที่แอลพีจี แก๊ส ไฟฟ้า ประปา ยังถูกกว่าประเทศอื่นในอาเซียน แอลพีจีถูกสุดในอาเซียน ไฟฟ้าเราดูแลทุกกลุ่ม ใช้น้อยเราไม่เก็บเงิน