JJNY : หมูขึ้นอีก10บาท/ก.ก.แตะ192│หนี้สาธารณะไทยพุ่ง 60.17%│นพ.ธีระ ฟาดแรง│เพจดังเล่า‘ป้ายหาเสียง’ที่ญี่ปุ่นเป็นระเบียบ

หมู ขึ้นราคาอีก 10 บาท/ก.ก. มีผลทันที ดันราคาแตะโลละ 192 บ. รับสงกรานต์ความต้องการบริโภคเพิ่ม
https://www.khaosod.co.th/economics/news_6975362
 
 
หมู ขึ้นราคา อีก 10บาท/ก.ก. มีผลวันนี้ รับสงกรานต์ความต้องการบริโภคเพิ่ม -ต้นทุนอาหารสัตว์พุ่ง

รายงานข่าวจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกกรแห่งชาติ แจ้งว่าสภาวะตลาดสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม (สัปดาห์ที่ 11/2565) ประจำวันพระที่ 1เม.ย.2565ว่า สมาคมฯได้ปรับขึ้นราคาลูกสุกรขุนหน้าฟาร์มทุกภาค โดย
 
ภาคตะวันออกปรับขึ้น 4 บาท/ก.ก. เป็น 92 บาท/ก.ก. ทำให้ราคาขายส่งห้างสรรพสินค้า ปรับเพิ่มขึ้น 7 บาท/ก.ก. เป็น147 บาท/ก.ก. ส่วนราคาขายปลีกทั่วไป ปรับเพิ่มขึ้น 8 บาท/ก.ก. เป็น 182-184บาท/ก.ก.
  
ภาคตะวันออก ปรับขึ้น 4 บาท/ก.ก. เป็น 94บาท/ก.ก. ขายส่งห้างสรรพสินค้า ปรับเพิ่มขึ้น 6 บาท/ก.ก. เป็น 150 บาท/ก.ก. ส่วนราคาขายปลีกทั่วไป ปรับเพิ่มขึ้น8 บาท/ก.ก. เช่นกัน เป็น 186-188บาท/ก.ก.
 
ภาค อีสาน ปรับขึ้น 2บาท/ก.ก. เป็น 92บาท/ก.ก. ทำให้ราคาขายส่งห้างสรรพสินค้า ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาท/ก.ก. เป็น 147 บาท/ก.ก. ส่วนราคาขายปลีกทั่วไป ปรับเพิ่มขึ้น 4 บาท/ก.ก. เป็น182-184 บาท/ก.ก.
 
ภาคเหนือ ปรับขึ้น 5 บาท /ก.ก. ปรับ เป็น 96บาท/ก.ก. ทำให้ราคาขายส่งห้างสรรพสินค้า ปรับเพิ่มขึ้น 8 บาท/ก.ก. เป็น 153 บาท/ก.ก. ส่วนราคาขายปลีกทั่วไป ปรับเพิ่มขึ้น 10 บาท/ก.ก. เป็น190-192 บาท/ก.ก.
 
และภาคใต้ ปรับขึ้น 2 บาท/ก.ก. เป็น92บาท /ก.ก. ทำให้ราคาขายส่งห้างสรรพสินค้า ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาท/ก.ก. เป็น 147 บาท/ก.ก. ส่วนราคาขายปลีกทั่วไป ปรับเพิ่มขึ้น 4บาท/ก.ก. เป็น182-184 บาท/ก.ก.
 
รายงานข่าวจากสมาคมฯแจ้งว่า ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องทะยอยขยับราคาสุกรขุนหน้าฟาร์มตามต้นทุนการเลี้ยงที่ยังสูงกว่าราคาจำหน่าย โดยช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือ ปีใหม่ไทยที่เป็นเทศกาลท่องเที่ยวจะสร้างปัจจัยบวกให้ความต้องการบริโภคมากขึ้น ขณะที่ด้านต้นทุนอาหารสัตว์ที่รอการตัดสินใจของภาครัฐ ที่แทบไม่มีทางเลือก เหลือเพียงการลดข้อจำกัดในการนำเข้าข้าวโพดตามกรอบ WTO ที่ควรนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตใหญ่ อย่าง สหรัฐอเมริกา บราซิล หรือ อาร์เจนตินา ได้อย่างเสรี หรือ กำหนดปริมาณก็ตาม ก็จะทำให้มีทางเลือกเพิ่ม ในการจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ
 
ปัจจุบันโรงงานอาหารสัตว์ไล่ราคาตามซื้อข้าวโพดภายในประเทศที่มีจำนวนจำกัด ทำให้ภาคอาหารสัตว์ ภาคปศุสัตว์ในช่วงวิกฤต ต้องแบกต้นทุนหนักขึ้น การปรับราคาจำหน่ายปลีกตามต้นทุนทำได้ไม่มาก เพราะแรงซื้อของตลาดชิ้นส่วนเนื้อสุกรต้องค่อยเป็นค่อยไป
 


หนี้สาธารณะไทยพุ่ง 60.17% ก้อนใหญ่กู้ในประเทศ
https://www.prachachat.net/finance/news-901077
 
สบน.อัพเดทหนี้สาธารณะสิ้นเดือน ก.พ.65 พุ่ง 60.17% ส่วนใหญ่กู้ในประเทศ 98.22% คาดสิ้นปีงบ’65 ทะลุ 62%
 
วันที่ 1 เมษายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้อัพเดทสถานการณ์หนี้สาธารณะ ณ วันที่ 28 ก.พ.65 โดยหนี้สาธารณะอยู่ที่ระดับ 60.17% ต่อจีดีพี มูลค่ากว่า 9,828,268.17 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนเป็นหนี้ในประเทศกว่า 98.22% และหนี้ต่างประเทศอีก 1.78%
 
ทั้งนี้ องค์ประกอบของหนี้ ได้แก่ รัฐบาลกู้โดยตรง 8,024,375.24 ล้านบาท, รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายของ FIDF 696,554.50 ล้านบาท, รัฐวิสาหกิจ 843,328.46 ล้านบาท, รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจในภาคการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 256,944.52 ล้านบาท, และหน่วยงานของรัฐ 7,065.45 ล้านบาท
 
ก่อนหน้านี้ สบน. คาดว่าสิ้นปีงบประมาณ 2565 หนี้สาธารณะ จะอยู่ที่ระดับ 62% ภายใต้สมมติฐานจีดีพีขยายตัวได้ 3.5-4.5% ซึ่งยังอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลัง ที่กำหนดให้หนี้สาธารณะมีสัดส่วนไม่เกิน 70% ต่อจีดีพี อย่างไรก็ดี หากการขยายตัวของจีดีพีดีขึ้น สัดส่วนหนี้สาธารณะก็ปรับลดลงได้
  

 
นพ.ธีระ ฟาดแรง นโยบายตามคำแนะนำที่ไม่ถูกต้องจะนำไปสู่หายนะ
https://www.nationtv.tv/news/378868709

นพ.ธีระ ฟาดแรง นโยบายตามคำแนะนำที่ไม่ถูกต้องจะนำไปสู่หายนะ ชี้ เศรษฐกิจเดินได้ แต่สุขภาพคนในประเทศเละเทะ แนะ ควรสร้างนโยบายและมาตรการควบคุมป้องกันโรคให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ใช่ปล่อยไปตามเดิม

1 เมษายน 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก "https://www.facebook.com/thirawThira Woratanarat" ชี้ การดำเนินนโยบายตามคำแนะนำที่ไม่ถูกต้องจะนำไปสู่หายนะ ระบุว่า 
 
สถานะปัจจุบันเกี่ยวกับโรคโควิด-19 วัคซีนที่มีนั้นลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้จำกัด แม้จะป้องกันป่วยรุนแรง ป้องกันการเสียชีวิตได้ แต่ประสิทธิภาพก็ลดน้อยถอยลงตามกาลเวลา
 
ยาที่ใช้กันในประเทศไทยนั้นมีจำกัด และชนิดของยาที่ใช้เป็นหลักนั้นก็มีความแตกต่างจากประเทศพัฒนาแล้ว แม้จะมีความพยายามนำยาใหม่เข้ามา แต่ก็ค่อนข้างช้ากว่าสถานการณ์ และปริมาณจำกัด เนื่องจากราคาแพง

คำกล่าวอ้างว่า เศรษฐกิจยอบแยบ ต้องเปิดให้เดินหน้า ณ จุดนี้คงไม่มีใครขวาง เพราะที่ผ่านมาระลอกสอง สาม และสี่ในปัจจุบัน ควบคุมป้องกันโรคได้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จนการระบาดกระจายไปทั่ว เกินกว่ามาตรการเดิมแบบระลอกแรกจะได้ผล
 
แต่คำกล่าวอ้างว่า คนเดินทางจากต่างประเทศตรวจพบติดเชื้อหลักสิบ เมื่อเทียบกับการติดเชื้อในประเทศหลายหมื่นต่อวัน ดังนั้นการเปิดประเทศให้เศรษฐกิจเดินหน้านั้น จึงต้องทำและดำเนินต่อไปนั้นยังไม่ใช่ตรรกะที่ถูกต้อง แต่ปรากฏการณ์ข้างต้น โดยแท้จริงแล้วกลับสะท้อนว่า สถานการณ์ระบาดในประเทศรุนแรง สิ่งที่ควรทำคือการสร้างนโยบายและมาตรการที่ควบคุมป้องกันโรคในประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ใช่ปล่อยไปตามเดิม โดยเศรษฐกิจเดินได้ แต่สุขภาพคนในประเทศเละเทะ

เศรษฐกิจเดินได้ แต่ต้องปรับรูปแบบการทำงาน การดำเนินชีวิตในประเทศให้มีความระแวดระวังมากขึ้น ป้องกันตัวมากขึ้น ไม่ใช่สร้างคำคมคารมให้ประชาชนต้องก้มหน้าทนอยู่ในสภาพสังคมที่เสี่ยงต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิต
 
เหนืออื่นใด ภาวะ Long COVID คือหลุมดำ ที่ทั่วโลกมีความรู้ทางการแพทย์ชี้ชัดแล้วว่า เกิดขึ้นได้หลังการติดเชื้อ และมีโอกาสเป็นปัญหาหนักส่งผลกระทบระยะยาวในอนาคตทั้งต่อคนที่เป็น ครอบครัว และประเทศ โดยที่ยังไม่มีวิธีป้องกันหรือรักษาที่ชัดเจน นอกจากการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ แม้บางวิจัยจะพบว่าการฉีดวัคซีนอาจป้องกันได้บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก และประสิทธิภาพก็แตกต่างกันในแต่ละชนิดของวัคซีนที่ใช้ โดย mRNA vaccines มีประสิทธิภาพสูงกว่า viral vector vaccine  
 
การอยู่ร่วมกับโควิดนั้น เป็นสัจธรรม
แต่มิใช่ให้ทำใจรับกับความยับเยินไปเรื่อยๆ
 
สิ่งที่ต้องทำคือ
 
หนึ่ง นำเสนอสถานการณ์จริงให้คนในสังคมได้รับทราบว่าระบาดรุนแรง ตอนนี้เอาไม่อยู่ แต่สามารถช่วยกันได้ด้วยการใช้ชีวิตอย่างมีสติ ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ลืมเรื่องชีวิตเดิมในอดีต การถอดหน้ากากไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ในเวลาอันสั้นนับจากนี้
 
สอง Long COVID is real and that's why we should be cautious and protect ourselves โดยรัฐจำเป็นต้องเตรียมระบบบริการเพื่อตรวจ ดูแลรักษา และฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยอย่างครอบคลุมและทั่วถึง
 
สาม สร้างนโยบายและมาตรการที่เป็น real evidence-based ไม่ใช้ความเชื่อส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ตีขลุมจะผลักให้ยอมรับเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ทั้งๆ ที่ความรู้ ณ ปัจจุบันยังไม่สามารถฟันธงให้เป็นเช่นนั้นได้
 
สี่ ยกเลิกความคิดเดิมที่จะประกาศเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในเวลาอันสั้น
 
ห้า จัดระบบบริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยคนไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย เน้นการดูแลแบบทางไกล ไม่ใช่ให้ไปรพ.แบบเจอแจกจบ
 
หก ยารักษาโควิด-19 ควรใช้ตามแนวทางปฏิบัติของประเทศพัฒนาแล้ว ใช้ยาที่ผ่านการพิสูจน์ชัดเจนตามขั้นตอนมาตรฐานทางการแพทย์สากล
 
ทางเดินถัดจากนี้ ความปกติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในชีวิตจริงนั้นยากมากที่จะเป็นแบบอดีต แต่มีแนวโน้มสูงที่จะเป็นไปในแบบการใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องระมัดระวังตัว ทั้งชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ซึ่งเป็นไปได้ยากสำหรับทุกคน ดังนั้นจึงจะมีโอกาสติดเชื้อในกลุ่มที่หลุด หรือกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสถานที่ที่เกิดระบาด ก็ยังเป็นลักษณะเดิมคือ หากคนเยอะ แออัด ระบายอากาศไม่ดี หละหลวมไม่ป้องกัน ก็จะเกิดปัญหาไปซ้ำซาก
 
จุดอ่อนของระบบบริการดูแลรักษา ทั้งช่องทางเข้าถึง กระบวนการ รวมถึงหยูกยาที่มีนั้น จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเตรียมพร้อมรับมือไประยะยาว เพื่อลดความสูญเสียจากการติดเชื้อหรือเจ็บป่วย
 
เหนืออื่นใด สังคมควรมีความรู้เท่าทันสถานการณ์ เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ทำในสิ่งที่ควรทำ รักในชีวิตของตนเอง ทำมาหากินได้แต่ต้องทำด้วยความปลอดภัย ใช้ชีวิตได้เรียนได้อย่างปลอดภัยและระมัดระวัง ดำเนินชีวิตอย่างมีสติ และรับผิดชอบต่อสังคม
 
เช่นนี้จึงจะประคับประคองกันและกันไปได้อย่างตลอดรอดฝั่ง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

https://www.facebook.com/thiraw/posts/10224107957479178
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่