ของแพงไม่หยุด ‘พ่อค้า-แม่ค้า’ บ่นยกตลาด ต้นทุนสูง-ลูกค้ากระเป๋าแฟบทำรายได้วูบ
https://www.matichon.co.th/economy/news_3254806
ของแพงไม่หยุด ‘พ่อค้า-แม่ค้า’ บ่นยกตลาด ต้นทุนสูง-ลูกค้ากระเป๋าแฟบทำรายได้วูบ
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจราคาสินค้าของสดและของแห้งในตลาดสด อาทิ ย่านสะพานใหม่ ประชาชื่น บางพลัด ลาดพร้าว เป็นต้น โดยได้สอบถามเจ้าของร้านค้า พบว่า ผู้ค้าส่วนใหญ่ พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สินค้าอุปโภคบริโภคยังปรับราคาขึ้นทุกอย่าง ทั้งราคาขายส่งระหว่างผู้ผลิตกับร้านยี่ปั๊วซาปั๊ว (ขายส่ง) และราคาขายปลีกถึงผู้บริโภค รวมถึงเสียงบ่นจากผู้ค้าว่ากำไรต่อการขายลดลงมาก และลดในอัตราที่เพิ่มกว่าในอดีตมาก
นาย
บัญชา คำกิ่ง เจ้าของร้านบุญชูบัญชา จำหน่ายอาหารแห้ง กล่าวว่า ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา สินค้าทยอยขึ้นราคาทุกอย่าง และการขายไม่ค่อยดีนัก เพราะเมื่อราคาของแพงขึ้น ลูกค้าซื้อยากขึ้น หรือเปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นแทนสินค้าที่มีราคาแพง ส่งผลต่อยอดขายของร้านลดลง จากเดิมเคยมีรายได้ 20,000 บาทต่อวัน เหลือเพียง 15,000 บาทต่อวัน และมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ถือเป็นการทำการค้าที่ยากลำบากขึ้น
นาย
บัญชาระบุว่า สินค้าที่ขึ้นราคามาอย่างต่อเนื่องในตอนนี้ อาทิ น้ำมันพืชปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง ปรับขึ้นมาแล้ว 2-3 รอบในรอบ 3 เดือน ครั้งล่าสุดขึ้นอีก 20 บาทต่อลัง (12 ขวด) หรือขึ้น 3 บาทต่อขวด จากขายปลีก 65 บาท (ขวด 1 ลิตร) เป็น 68 บาท ทำให้ทางร้านต้องลดการสต๊อกสินค้าน้อยลง เพื่อลดการแบกรับภาระต้นทุนสินค้า หรือแป้งทอดอเนกประสงค์ทุกชนิดขึ้น 20 บาทต่อลัง (12 ถุง) นมสดขึ้นกว่า 100 บาทต่อลัง (48 กระป๋อง) หรือ 2 บาทต่อกระป๋อง ปลากระป๋องขึ้น 100 บาทต่อลัง (100 กระป๋อง) หรือ 1 บาทต่อกระป๋อง ผงชูรสขึ้น 20 บาท จาก 75 บาทต่อ กก. เป็น 95 บาทต่อ กก. หากเป็นถุง (500 กรัม) จาก 45 บาท เป็น 50 บาทต่อถุง
อีกทั้งกลุ่มเครื่องปรุงอาหารก็ปรับขึ้น อาทิ ซอสปรุงรส ขึ้น 20 บาทต่อลัง (12 ขวด) หรือ 1 บาทต่อขวด จาก 24 บาท เป็น 25 บาท ผงปรุงรสเฉพาะรสหมู ทางผู้ผลิตขึ้นราคาขายส่งแล้ว 10-20 บาทต่อแพค (10 ซอง) แต่ราคาขายปลีกยังเท่าเดิม 27 บาทต่อซอง น้ำมะนาวขวดขนาด 1 กก. จาก 20 บาท เป็น 25 บาท เส้นหมี่บรรจุถุง (500 กรัม) จาก 50 บาท เป็น 60 บาท ถั่วเหลืองทำน้ำเต้าหู้บรรจุถุง (1 กก.) ขึ้น 3 บาท จาก 32 บาท เป็น 35 บาท น้ำตาลขึ้นราคาขายส่ง 10 บาท ส่วนราคาขายปลีกยัง 25 บาทต่อถุง (1 กก.) ส่วนน้ำปลาและกะทิกล่องยังไม่ปรับราคา
ด้านนาย
สมยศ เจ้าของร้านค้าส่งในตลาด กล่าวเสริมถึงราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคว่า ที่ผ่านมามีสินค้าปรับราคาขึ้นแทบจะทุกรายการ เช่น เครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อดังขึ้น 2 บาทต่อขวด อีกยี่ห้อขึ้นราคาขายส่ง 10 บาทต่อลัง (50 ขวด) นมข้นหวานขึ้น 1 บาทต่อกระป๋อง จาก 23 บาท เป็น 24 บาท น้ำอัดลมขึ้นราคาขายส่ง 5 บาทต่อโหล ผ้าอนามัยทุกยี่ห้อขึ้นราคาขายส่ง 5-10 บาทต่อโหล ส่วนน้ำมันพืชทั้งปาล์มและถั่วเหลืองตอนนี้ราคาขายอยู่ที่ 65-68 บาทต่อขวด และบางยี่ห้อขาดตลาดแล้ว ด้านขนมยูโร่ คัสตาร์ดเค้กขึ้น 50 สตางค์ต่อกล่อง
สำหรับอาหารสด จากการสอบถาม นาง
สุรกัญญา วรรณฤทธิ์ แม่ค้าขายไข่รายหนึ่ง กล่าวว่า หลังราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มปรับราคา 3.40 บาท/ฟอง ส่งผลต่อต้นทุนราคาขายปลีกต้องปรับขึ้น ปัจจุบันไข่ไก่ 10 ฟอง (เบอร์ 0) อยู่ที่ 46 บาท หรือ 4.6 บาท/ฟอง ไข่ไก่ (เบอร์ 1) อยู่ที่ 43 บาท หรือ 4.3 บาท/ฟอง ไข่ไก่ (เบอร์ 2) อยู่ที่ 42 บาท หรือ 4.2 บาท/ฟอง ไข่ไก่ (เบอร์ 3) อยู่ที่ 40 บาท หรือ 4 บาท/ฟอง ไข่ไก่ (เบอร์ 4) อยู่ที่ 38 บาท หรือ 3.8 บาท/ฟอง หากซื้อยกแผง (30 ฟอง) ราคาต่อฟองจะถูกกว่า ซึ่งไข่ไก่ (เบอร์ 0) แผงละ 135 บาท ไข่ไก่ (เบอร์ 1) แผงละ 125 บาท ไข่ไก่ (เบอร์ 2) แผงละ 120 บาท ไข่ไก่ (เบอร์ 3) แผงละ 115 บาท ไข่ไก่ (เบอร์ 4) แผงละ 110 บาท ส่วนไข่เป็ด 10 ฟอง อยู่ที่ 50 บาท หรือ 5 บาท/ฟอง โดยไข่เป็ดเพิ่งปรับราคาจาก 120 บาท เป็น 135 บาท/แผง
“ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ไข่ไก่ปรับราคาขายมาแล้ว 2-3 ครั้ง จากต้นทุนที่สูงขึ้น ขณะที่ลูกค้าหันมาซื้อไข่เบอร์เล็กลงเพื่อประหยัด ทำให้ไข่เบอร์เล็กขายดี” นาง
สุรกัญญากล่าว
นาง
กาญจนา แม่ค้าขายหมู กล่าวว่า ช่วงนี้ยังไม่ปรับขึ้นราคาหมู แม้ต้นทุนสูงขึ้น เช่น เนื้อแดงอยู่ที่ 160 บาท/กิโลกรัม (กก.) สามชั้น 190 บาท/กก. หมูบด 80-100 บาท/กก. ซี่โครง 180 บาท/กก. เนื่องจากกำลังซื้อไม่มี คนซื้อน้อยลง ทำให้ต้องแข่งขันการลดราคาเพื่อรักษาลูกค้า ส่งผลต่อรายได้ลดลงเหลือวันละ 6 หมื่นบาท จากเดิมวันละ 1 แสนบาท
สอดคล้องกับนาง
จินตนา แม่ค้าขายเนื้อไก่ บอกว่า ช่วงนี้ราคาไก่ทรงตัว เช่น เนื้ออก 85 บาท/กก. เนื้อสันใน 90 บาท/กก. สะโพก 75 บาท/กก. น่อง 70 บาท/กก. เช่นเดียวกับเจ้าของร้านเนื้อวัวรายหนึ่งกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ปรับราคาขาย แม้ต้นทุนจะสูง เพราะเศรษฐกิจไม่ดี คนมีกำลังซื้อน้อย ทำให้ค้าขายยากขึ้น ตอนนี้เนื้อแดงขาย 240-250 บาท/กก. สันใน 300 บาท/กก. สามชั้น 220 บาท/กก.
นาง
อารยา เจ้าของแผงผักสด กล่าวว่า ช่วงนี้มีการปรับขึ้นราคา ได้แก่ กระเทียมแกะ ขึ้น 5-10 บาท/กก.เป็น 55 บาท หอมแดงใหญ่ขึ้น 15 บาท/กก. เป็น 25-30 บาท หอมใหญ่ขึ้น 3 บาท/กก. เป็น 35 บาท พริกสดราคาขึ้นๆ ลงๆ อยู่ประมาณ 10-15 บาท/กก. ส่วนมะนาวลูกละ 5-7 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด น้ำมะนาวคั้นสดปรับราคาขึ้นตามมะนาว จากถุงละ (1 กก.) 60 บาท เป็น 80 บาท
นาง
ถิราภรณ์ ยุกติรัตน์ แม่ค้าขายกะหรี่ปั๊บไส้ไก่ กล่าวว่า ตอนนี้ต้นทุนวัตถุดิบปรับขึ้นทุกตัว ยกเว้นน้ำตาล เช่น แป้งสาลีอเนกประสงค์ขึ้นถุงละ 5 บาท สันในไก่ที่ใช้ทำไส้ จากปี 2564 อยู่ที่ 60 บาท/กก. เป็น 95 บาท/กก. ส่วนบรรจุภัณฑ์ก็ปรับขึ้น เช่น ถุงพลาสติกใสแพคละ 100 ถุง ขึ้นราคา 7-8 บาท ส่วนกล่องแพคละ 100 ชิ้น ปรับขึ้น 15-20 บาท ทำให้ต้องปรับราคาขาย 5 บาท จากชิ้นละ 10 บาท เป็น 2 ชิ้น 25 บาท ซึ่งก็ไม่ได้กำไร เพราะเมื่อของแพงลูกค้าก็ซื้อน้อยลง
ชาวสวนมะม่วงพิจิตรขน ‘ฟ้าลั่น’ ทิ้งอีกกว่า 10 ตัน อัดรัฐไม่จริงใจช่วย โอดให้ลิงกินยังไม่กิน
https://www.matichon.co.th/region/news_3256050
เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ต.ทับไทร อ.สากเหล็ก ขนมะม่วงเททิ้งอีกกว่า 10 ตัน ชี้ภาครัฐไม่จริงใจ ช่วยล่าช้า อัดพานิชย์จังหวัดพิจิตรช่วยซื้อแค่วันละ 5 ตัน เพื่ออะไร
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.พิจิตร กรณีมะม่วงราคาตกต่ำ ราคากิโลกรัมละ 1-2 บาท ทำให้เกษตรกรชาวสวนมะม่วงเดือดร้อนหนัก นำมะม่วงใส่รถไปเททิ้งกว่า 100 ตัน ล่าสุด ชาวสวนนำมะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่นคุณภาพดีเบอร์เล็กมาเททิ้งอีกกว่า 4-10 ตัน เนื่องจากการช่วยเหลือของราชการล่าช้า ประกอบกับไม่มีผู้ซื้อ หากนำไปขายไม่คุ้มค่าขนส่ง จึงนำมาเททิ้ง เพราะไม่รู้ว่าจะเอาไปไว้ที่ไหน
นาย
ดลพิษิฐ บัวผัน เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงและผู้ค้าส่งมะม่วง ชาว ต.วังทับไทร อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร กล่าวว่า ตนเป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ทั้งฟ้าลั่นและเพชรบ้านราช และเป็นผู้รับซื้อด้วย เพื่อส่งประเทศเวียดนาม ขณะนี้มีปัญหาอย่างหนัก เนื่องจากตลาดเวียดนามเต็ม รับไม่ไหว ประกอบกับกำลังซื้อไม่มี ซึ่งเบอร์ใหญ่ที่ส่งไปขายเวียดนามได้ราคาเพียง 4-5 บาท ส่วนเบอร์เล็กขายไม่ได้ เพราะไม่มีใครรับซื้อ
ชี้ 10 มาตรการบิ๊กตู่ ไม่พอช่วยเหลือความเดือดร้อนประชาชน
https://www.posttoday.com/economy/news/679185
นักวิชาการ ประเมิน 10 มาตรการบิ๊กตู่ ไม่พอช่วยเหลือความร้อนประชาชนจากสงคราม ชี้มาตรการผิดวิธีและสั้นเกินไป
ดร.
อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ม. รังสิต เปิดเผยว่า 10 มาตรการล่าสุดรัฐบาลออกมาช่วยเหลือค่าครองชีพประชนที่ได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย ยูเครน นั้นไม่เพียงพอ และ มาตรการครอบคลุมเวลา 3 เดือน ซึ่งสั้นเกินไป ส่วนใหญ่เป็นมาตรการบรรเทาผลกระทบจากพลังงานและน้ำมันแพงเป็นหลักตั้งแต่มาตราที่ 1 ถึงมาตราที่ 8 มุ่งไปที่กลุ่มคนรายได้น้อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระมอเตอร์ไซด์รับจ้างและผู้ขับขี่แท็กซี่ แต่ยังไม่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบอื่นๆ ส่วนระยะเวลาของมาตรการอาจสั้นเกิน อย่างต่ำต้อง 6 เดือน เพราะคาดการณ์ได้อยู่แล้วว่า สงครามยืดเยื้อและผลกระทบจากสงครามจะส่งผลยาวนาน
ทั้งนี้ มาตรการเฉพาะหน้าระยะสั้นรับมือปัญหาได้เพียงชั่วคราว ต้องเน้นไปที่มาตราการแก้ปัญหาเชิงระบบ เช่นต้องดึงแรงงานนอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบประกันสังคมให้มากที่สุดเพื่อให้ทุกคนได้รับการคุ้มครองอย่างทั่วถึงถ้วนหน้า ส่วนเรื่องพลังงานก็ต้องลงทุนพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ลดการพึ่งพาพลังงานและน้ำมันนำเข้าลง มียุทธศาสตร์ในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้ชัดเจน ไฟฟ้าต้องเปิดให้มีการแข่งขันเสรี จะได้ดึงราคาลงมาได้
ส่วนราคา NGV และ ราคาน้ำมันดีเซลถึงที่สุดแล้ว อุ้มไม่ไหวต้องปล่อยลอยตัว เพราะอุ้มหรืออุดหนุนแล้วฝืนจะสร้างปัญหามากกว่า จะตามมาด้วยวิกฤติทางการคลังต่อไป
ส่วนอีก 2 มาตรา มาตราที่ 9 และมาตราที่ 10 เป็นการลดภาระการจ่ายสมทบของผู้ประกันตนและผู้ประกอบการซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อฐานะความมั่นคงทางการเงินของกองทุนในอนาคตได้ รัฐบาลไม่ควรใช้มาตราในลักษณะนี้บ่อย ตอนล็อกดาวน์โควิดก็ใช้มาตรานี้ เหมือนไปล้วงเงินอนาคตของนายจ้างลูกจ้าง ทั้งที่เงินส่วนนี้ควรจะสบทบสำหรับสวัสดิการในอนาคตของผู้ประกันตน
หากรัฐบาลเดินหน้าใช้มาตรการลดการจ่ายสมทบ รัฐบาลควรต้องจัดสรรงบประมาณชดเชยเท่ากับเงินสมทบที่ลดลง ยืนยันว่า หากยังใช้วิธีการลดการจ่ายสบทบเช่นนี้จะกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของกองทุนชราภาพแน่นอน จะทำให้ปัญหาสังคมผู้สูงวัยของไทยมีความซับซ้อนขึ้นไปอีก
หากจะก่อหนี้สาธารณะเพิ่มควรต้องมุ่งไปที่การออกมาตรการลดความเสี่ยง สร้างงาน สร้างรายได้ ขยายโอกาสเพิ่ม มาตรการลดความเสี่ยงในบางลักษณะไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณ เพียงแค่เปลี่ยนแปลงกฎระเบียบบางอย่าง เพียงแค่เปิดเสรี ลดอำนาจผูกขาด ขยายเพดานโค้วต้าการนำเข้า ก็จะช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งแล้ว อย่างเช่น ราคาปุ๋ย ราคาพลังงาน ราคาผลิตภัณฑ์เหล็กต่างๆ วัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ เปิดให้มีการนำเข้าแรงงานต่างด้าวให้เพียงพอต่อภาวะการขาดแคลนแรงงานในภาคผลิต ไม่ใช่ปล่อยให้มีการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายด้วยการจ่ายค่าหัวคิวติดสินบนเจ้าหน้าที่
"ชลน่าน" เผยเตรียมยื่นซักฟอกเร็วที่สุดทันทีที่เปิดประชุมสภา
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_312807/
“ชลน่าน” เผยเตรียมยื่นซักฟอกเร็วที่สุดทันทีที่เปิดประชุมสภา เกรงวิกฤตทางการเมืองจะทำให้นายกฯยุบสภาหนีก่อน
นายแพทย์
ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคฝ่ายค้าน ว่า จะยื่นให้เร็วที่สุดทันทีที่เปิดประชุมสภา เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดภาวะวิกฤตทางการเมือง นายกรัฐมนตรี อาจประกาศยุบสภาก่อนที่จะยื่นญัตติ ถ้าเป็นเช่นนั้นจะไม่ส่งผลดีต่อประเทศ เพราะร่างกฎหมายลูก 2 ฉบับยังค้างอยู่ในสภา อยู่ในการพิจารณาของกรรมาธิการ หากเกิดยุบสภาไปจะเกิดภาวะเดดล็อค หรือ สูญญากาศทางการเมือง
ซึ่งฝ่ายค้านได้ประเมินสถานการณ์ตลอดเวลา ถ้ารัฐบาลคิดสั้นทำลายประเทศด้วยการยุบสภา การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจก็จะเป็นแนวทางหนึ่ง ที่จะทำให้นายกรัฐมนตรีไม่มีสิทธิ์ยุบสภาในช่วงเวลาดังกล่าวเพราะพรรคฝ่ายค้านอยากจะผลักดันกฎหมายลูกให้แล้วเสร็จ ซึ่งอยากให้เป็นไปตามไทม์ไลน์ ที่จะต้องแล้วเสร็จได้ภายในเดือนกรกฎาคม นี้ก็จะรู้สึกโล่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าใจของรัฐบาลอยากจะอยู่ในอำนาจให้นานที่สุด อย่างน้อยก็หลังการประชุมเอเปคและการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566
JJNY : 4in1 ของแพงไม่หยุด│ขน‘ฟ้าลั่น’ทิ้งอีก│ชี้10มาตรการไม่พอช่วยปชช.│ชลน่านเผยเตรียมยื่นซักฟอก│ไบเดนซัดปูตินเป็นนักฆ่า
https://www.matichon.co.th/economy/news_3254806
ของแพงไม่หยุด ‘พ่อค้า-แม่ค้า’ บ่นยกตลาด ต้นทุนสูง-ลูกค้ากระเป๋าแฟบทำรายได้วูบ
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจราคาสินค้าของสดและของแห้งในตลาดสด อาทิ ย่านสะพานใหม่ ประชาชื่น บางพลัด ลาดพร้าว เป็นต้น โดยได้สอบถามเจ้าของร้านค้า พบว่า ผู้ค้าส่วนใหญ่ พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สินค้าอุปโภคบริโภคยังปรับราคาขึ้นทุกอย่าง ทั้งราคาขายส่งระหว่างผู้ผลิตกับร้านยี่ปั๊วซาปั๊ว (ขายส่ง) และราคาขายปลีกถึงผู้บริโภค รวมถึงเสียงบ่นจากผู้ค้าว่ากำไรต่อการขายลดลงมาก และลดในอัตราที่เพิ่มกว่าในอดีตมาก
นายบัญชา คำกิ่ง เจ้าของร้านบุญชูบัญชา จำหน่ายอาหารแห้ง กล่าวว่า ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา สินค้าทยอยขึ้นราคาทุกอย่าง และการขายไม่ค่อยดีนัก เพราะเมื่อราคาของแพงขึ้น ลูกค้าซื้อยากขึ้น หรือเปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นแทนสินค้าที่มีราคาแพง ส่งผลต่อยอดขายของร้านลดลง จากเดิมเคยมีรายได้ 20,000 บาทต่อวัน เหลือเพียง 15,000 บาทต่อวัน และมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ถือเป็นการทำการค้าที่ยากลำบากขึ้น
นายบัญชาระบุว่า สินค้าที่ขึ้นราคามาอย่างต่อเนื่องในตอนนี้ อาทิ น้ำมันพืชปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง ปรับขึ้นมาแล้ว 2-3 รอบในรอบ 3 เดือน ครั้งล่าสุดขึ้นอีก 20 บาทต่อลัง (12 ขวด) หรือขึ้น 3 บาทต่อขวด จากขายปลีก 65 บาท (ขวด 1 ลิตร) เป็น 68 บาท ทำให้ทางร้านต้องลดการสต๊อกสินค้าน้อยลง เพื่อลดการแบกรับภาระต้นทุนสินค้า หรือแป้งทอดอเนกประสงค์ทุกชนิดขึ้น 20 บาทต่อลัง (12 ถุง) นมสดขึ้นกว่า 100 บาทต่อลัง (48 กระป๋อง) หรือ 2 บาทต่อกระป๋อง ปลากระป๋องขึ้น 100 บาทต่อลัง (100 กระป๋อง) หรือ 1 บาทต่อกระป๋อง ผงชูรสขึ้น 20 บาท จาก 75 บาทต่อ กก. เป็น 95 บาทต่อ กก. หากเป็นถุง (500 กรัม) จาก 45 บาท เป็น 50 บาทต่อถุง
อีกทั้งกลุ่มเครื่องปรุงอาหารก็ปรับขึ้น อาทิ ซอสปรุงรส ขึ้น 20 บาทต่อลัง (12 ขวด) หรือ 1 บาทต่อขวด จาก 24 บาท เป็น 25 บาท ผงปรุงรสเฉพาะรสหมู ทางผู้ผลิตขึ้นราคาขายส่งแล้ว 10-20 บาทต่อแพค (10 ซอง) แต่ราคาขายปลีกยังเท่าเดิม 27 บาทต่อซอง น้ำมะนาวขวดขนาด 1 กก. จาก 20 บาท เป็น 25 บาท เส้นหมี่บรรจุถุง (500 กรัม) จาก 50 บาท เป็น 60 บาท ถั่วเหลืองทำน้ำเต้าหู้บรรจุถุง (1 กก.) ขึ้น 3 บาท จาก 32 บาท เป็น 35 บาท น้ำตาลขึ้นราคาขายส่ง 10 บาท ส่วนราคาขายปลีกยัง 25 บาทต่อถุง (1 กก.) ส่วนน้ำปลาและกะทิกล่องยังไม่ปรับราคา
ด้านนายสมยศ เจ้าของร้านค้าส่งในตลาด กล่าวเสริมถึงราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคว่า ที่ผ่านมามีสินค้าปรับราคาขึ้นแทบจะทุกรายการ เช่น เครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อดังขึ้น 2 บาทต่อขวด อีกยี่ห้อขึ้นราคาขายส่ง 10 บาทต่อลัง (50 ขวด) นมข้นหวานขึ้น 1 บาทต่อกระป๋อง จาก 23 บาท เป็น 24 บาท น้ำอัดลมขึ้นราคาขายส่ง 5 บาทต่อโหล ผ้าอนามัยทุกยี่ห้อขึ้นราคาขายส่ง 5-10 บาทต่อโหล ส่วนน้ำมันพืชทั้งปาล์มและถั่วเหลืองตอนนี้ราคาขายอยู่ที่ 65-68 บาทต่อขวด และบางยี่ห้อขาดตลาดแล้ว ด้านขนมยูโร่ คัสตาร์ดเค้กขึ้น 50 สตางค์ต่อกล่อง
สำหรับอาหารสด จากการสอบถาม นางสุรกัญญา วรรณฤทธิ์ แม่ค้าขายไข่รายหนึ่ง กล่าวว่า หลังราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มปรับราคา 3.40 บาท/ฟอง ส่งผลต่อต้นทุนราคาขายปลีกต้องปรับขึ้น ปัจจุบันไข่ไก่ 10 ฟอง (เบอร์ 0) อยู่ที่ 46 บาท หรือ 4.6 บาท/ฟอง ไข่ไก่ (เบอร์ 1) อยู่ที่ 43 บาท หรือ 4.3 บาท/ฟอง ไข่ไก่ (เบอร์ 2) อยู่ที่ 42 บาท หรือ 4.2 บาท/ฟอง ไข่ไก่ (เบอร์ 3) อยู่ที่ 40 บาท หรือ 4 บาท/ฟอง ไข่ไก่ (เบอร์ 4) อยู่ที่ 38 บาท หรือ 3.8 บาท/ฟอง หากซื้อยกแผง (30 ฟอง) ราคาต่อฟองจะถูกกว่า ซึ่งไข่ไก่ (เบอร์ 0) แผงละ 135 บาท ไข่ไก่ (เบอร์ 1) แผงละ 125 บาท ไข่ไก่ (เบอร์ 2) แผงละ 120 บาท ไข่ไก่ (เบอร์ 3) แผงละ 115 บาท ไข่ไก่ (เบอร์ 4) แผงละ 110 บาท ส่วนไข่เป็ด 10 ฟอง อยู่ที่ 50 บาท หรือ 5 บาท/ฟอง โดยไข่เป็ดเพิ่งปรับราคาจาก 120 บาท เป็น 135 บาท/แผง
“ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ไข่ไก่ปรับราคาขายมาแล้ว 2-3 ครั้ง จากต้นทุนที่สูงขึ้น ขณะที่ลูกค้าหันมาซื้อไข่เบอร์เล็กลงเพื่อประหยัด ทำให้ไข่เบอร์เล็กขายดี” นางสุรกัญญากล่าว
นางกาญจนา แม่ค้าขายหมู กล่าวว่า ช่วงนี้ยังไม่ปรับขึ้นราคาหมู แม้ต้นทุนสูงขึ้น เช่น เนื้อแดงอยู่ที่ 160 บาท/กิโลกรัม (กก.) สามชั้น 190 บาท/กก. หมูบด 80-100 บาท/กก. ซี่โครง 180 บาท/กก. เนื่องจากกำลังซื้อไม่มี คนซื้อน้อยลง ทำให้ต้องแข่งขันการลดราคาเพื่อรักษาลูกค้า ส่งผลต่อรายได้ลดลงเหลือวันละ 6 หมื่นบาท จากเดิมวันละ 1 แสนบาท
สอดคล้องกับนางจินตนา แม่ค้าขายเนื้อไก่ บอกว่า ช่วงนี้ราคาไก่ทรงตัว เช่น เนื้ออก 85 บาท/กก. เนื้อสันใน 90 บาท/กก. สะโพก 75 บาท/กก. น่อง 70 บาท/กก. เช่นเดียวกับเจ้าของร้านเนื้อวัวรายหนึ่งกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ปรับราคาขาย แม้ต้นทุนจะสูง เพราะเศรษฐกิจไม่ดี คนมีกำลังซื้อน้อย ทำให้ค้าขายยากขึ้น ตอนนี้เนื้อแดงขาย 240-250 บาท/กก. สันใน 300 บาท/กก. สามชั้น 220 บาท/กก.
นางอารยา เจ้าของแผงผักสด กล่าวว่า ช่วงนี้มีการปรับขึ้นราคา ได้แก่ กระเทียมแกะ ขึ้น 5-10 บาท/กก.เป็น 55 บาท หอมแดงใหญ่ขึ้น 15 บาท/กก. เป็น 25-30 บาท หอมใหญ่ขึ้น 3 บาท/กก. เป็น 35 บาท พริกสดราคาขึ้นๆ ลงๆ อยู่ประมาณ 10-15 บาท/กก. ส่วนมะนาวลูกละ 5-7 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด น้ำมะนาวคั้นสดปรับราคาขึ้นตามมะนาว จากถุงละ (1 กก.) 60 บาท เป็น 80 บาท
นางถิราภรณ์ ยุกติรัตน์ แม่ค้าขายกะหรี่ปั๊บไส้ไก่ กล่าวว่า ตอนนี้ต้นทุนวัตถุดิบปรับขึ้นทุกตัว ยกเว้นน้ำตาล เช่น แป้งสาลีอเนกประสงค์ขึ้นถุงละ 5 บาท สันในไก่ที่ใช้ทำไส้ จากปี 2564 อยู่ที่ 60 บาท/กก. เป็น 95 บาท/กก. ส่วนบรรจุภัณฑ์ก็ปรับขึ้น เช่น ถุงพลาสติกใสแพคละ 100 ถุง ขึ้นราคา 7-8 บาท ส่วนกล่องแพคละ 100 ชิ้น ปรับขึ้น 15-20 บาท ทำให้ต้องปรับราคาขาย 5 บาท จากชิ้นละ 10 บาท เป็น 2 ชิ้น 25 บาท ซึ่งก็ไม่ได้กำไร เพราะเมื่อของแพงลูกค้าก็ซื้อน้อยลง
ชาวสวนมะม่วงพิจิตรขน ‘ฟ้าลั่น’ ทิ้งอีกกว่า 10 ตัน อัดรัฐไม่จริงใจช่วย โอดให้ลิงกินยังไม่กิน
https://www.matichon.co.th/region/news_3256050
เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ต.ทับไทร อ.สากเหล็ก ขนมะม่วงเททิ้งอีกกว่า 10 ตัน ชี้ภาครัฐไม่จริงใจ ช่วยล่าช้า อัดพานิชย์จังหวัดพิจิตรช่วยซื้อแค่วันละ 5 ตัน เพื่ออะไร
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.พิจิตร กรณีมะม่วงราคาตกต่ำ ราคากิโลกรัมละ 1-2 บาท ทำให้เกษตรกรชาวสวนมะม่วงเดือดร้อนหนัก นำมะม่วงใส่รถไปเททิ้งกว่า 100 ตัน ล่าสุด ชาวสวนนำมะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่นคุณภาพดีเบอร์เล็กมาเททิ้งอีกกว่า 4-10 ตัน เนื่องจากการช่วยเหลือของราชการล่าช้า ประกอบกับไม่มีผู้ซื้อ หากนำไปขายไม่คุ้มค่าขนส่ง จึงนำมาเททิ้ง เพราะไม่รู้ว่าจะเอาไปไว้ที่ไหน
นายดลพิษิฐ บัวผัน เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงและผู้ค้าส่งมะม่วง ชาว ต.วังทับไทร อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร กล่าวว่า ตนเป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ทั้งฟ้าลั่นและเพชรบ้านราช และเป็นผู้รับซื้อด้วย เพื่อส่งประเทศเวียดนาม ขณะนี้มีปัญหาอย่างหนัก เนื่องจากตลาดเวียดนามเต็ม รับไม่ไหว ประกอบกับกำลังซื้อไม่มี ซึ่งเบอร์ใหญ่ที่ส่งไปขายเวียดนามได้ราคาเพียง 4-5 บาท ส่วนเบอร์เล็กขายไม่ได้ เพราะไม่มีใครรับซื้อ
ชี้ 10 มาตรการบิ๊กตู่ ไม่พอช่วยเหลือความเดือดร้อนประชาชน
https://www.posttoday.com/economy/news/679185
นักวิชาการ ประเมิน 10 มาตรการบิ๊กตู่ ไม่พอช่วยเหลือความร้อนประชาชนจากสงคราม ชี้มาตรการผิดวิธีและสั้นเกินไป
ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ม. รังสิต เปิดเผยว่า 10 มาตรการล่าสุดรัฐบาลออกมาช่วยเหลือค่าครองชีพประชนที่ได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย ยูเครน นั้นไม่เพียงพอ และ มาตรการครอบคลุมเวลา 3 เดือน ซึ่งสั้นเกินไป ส่วนใหญ่เป็นมาตรการบรรเทาผลกระทบจากพลังงานและน้ำมันแพงเป็นหลักตั้งแต่มาตราที่ 1 ถึงมาตราที่ 8 มุ่งไปที่กลุ่มคนรายได้น้อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระมอเตอร์ไซด์รับจ้างและผู้ขับขี่แท็กซี่ แต่ยังไม่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบอื่นๆ ส่วนระยะเวลาของมาตรการอาจสั้นเกิน อย่างต่ำต้อง 6 เดือน เพราะคาดการณ์ได้อยู่แล้วว่า สงครามยืดเยื้อและผลกระทบจากสงครามจะส่งผลยาวนาน
ทั้งนี้ มาตรการเฉพาะหน้าระยะสั้นรับมือปัญหาได้เพียงชั่วคราว ต้องเน้นไปที่มาตราการแก้ปัญหาเชิงระบบ เช่นต้องดึงแรงงานนอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบประกันสังคมให้มากที่สุดเพื่อให้ทุกคนได้รับการคุ้มครองอย่างทั่วถึงถ้วนหน้า ส่วนเรื่องพลังงานก็ต้องลงทุนพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ลดการพึ่งพาพลังงานและน้ำมันนำเข้าลง มียุทธศาสตร์ในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้ชัดเจน ไฟฟ้าต้องเปิดให้มีการแข่งขันเสรี จะได้ดึงราคาลงมาได้
ส่วนราคา NGV และ ราคาน้ำมันดีเซลถึงที่สุดแล้ว อุ้มไม่ไหวต้องปล่อยลอยตัว เพราะอุ้มหรืออุดหนุนแล้วฝืนจะสร้างปัญหามากกว่า จะตามมาด้วยวิกฤติทางการคลังต่อไป
ส่วนอีก 2 มาตรา มาตราที่ 9 และมาตราที่ 10 เป็นการลดภาระการจ่ายสมทบของผู้ประกันตนและผู้ประกอบการซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อฐานะความมั่นคงทางการเงินของกองทุนในอนาคตได้ รัฐบาลไม่ควรใช้มาตราในลักษณะนี้บ่อย ตอนล็อกดาวน์โควิดก็ใช้มาตรานี้ เหมือนไปล้วงเงินอนาคตของนายจ้างลูกจ้าง ทั้งที่เงินส่วนนี้ควรจะสบทบสำหรับสวัสดิการในอนาคตของผู้ประกันตน
หากรัฐบาลเดินหน้าใช้มาตรการลดการจ่ายสมทบ รัฐบาลควรต้องจัดสรรงบประมาณชดเชยเท่ากับเงินสมทบที่ลดลง ยืนยันว่า หากยังใช้วิธีการลดการจ่ายสบทบเช่นนี้จะกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของกองทุนชราภาพแน่นอน จะทำให้ปัญหาสังคมผู้สูงวัยของไทยมีความซับซ้อนขึ้นไปอีก
หากจะก่อหนี้สาธารณะเพิ่มควรต้องมุ่งไปที่การออกมาตรการลดความเสี่ยง สร้างงาน สร้างรายได้ ขยายโอกาสเพิ่ม มาตรการลดความเสี่ยงในบางลักษณะไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณ เพียงแค่เปลี่ยนแปลงกฎระเบียบบางอย่าง เพียงแค่เปิดเสรี ลดอำนาจผูกขาด ขยายเพดานโค้วต้าการนำเข้า ก็จะช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งแล้ว อย่างเช่น ราคาปุ๋ย ราคาพลังงาน ราคาผลิตภัณฑ์เหล็กต่างๆ วัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ เปิดให้มีการนำเข้าแรงงานต่างด้าวให้เพียงพอต่อภาวะการขาดแคลนแรงงานในภาคผลิต ไม่ใช่ปล่อยให้มีการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายด้วยการจ่ายค่าหัวคิวติดสินบนเจ้าหน้าที่
"ชลน่าน" เผยเตรียมยื่นซักฟอกเร็วที่สุดทันทีที่เปิดประชุมสภา
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_312807/
“ชลน่าน” เผยเตรียมยื่นซักฟอกเร็วที่สุดทันทีที่เปิดประชุมสภา เกรงวิกฤตทางการเมืองจะทำให้นายกฯยุบสภาหนีก่อน
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคฝ่ายค้าน ว่า จะยื่นให้เร็วที่สุดทันทีที่เปิดประชุมสภา เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดภาวะวิกฤตทางการเมือง นายกรัฐมนตรี อาจประกาศยุบสภาก่อนที่จะยื่นญัตติ ถ้าเป็นเช่นนั้นจะไม่ส่งผลดีต่อประเทศ เพราะร่างกฎหมายลูก 2 ฉบับยังค้างอยู่ในสภา อยู่ในการพิจารณาของกรรมาธิการ หากเกิดยุบสภาไปจะเกิดภาวะเดดล็อค หรือ สูญญากาศทางการเมือง
ซึ่งฝ่ายค้านได้ประเมินสถานการณ์ตลอดเวลา ถ้ารัฐบาลคิดสั้นทำลายประเทศด้วยการยุบสภา การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจก็จะเป็นแนวทางหนึ่ง ที่จะทำให้นายกรัฐมนตรีไม่มีสิทธิ์ยุบสภาในช่วงเวลาดังกล่าวเพราะพรรคฝ่ายค้านอยากจะผลักดันกฎหมายลูกให้แล้วเสร็จ ซึ่งอยากให้เป็นไปตามไทม์ไลน์ ที่จะต้องแล้วเสร็จได้ภายในเดือนกรกฎาคม นี้ก็จะรู้สึกโล่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าใจของรัฐบาลอยากจะอยู่ในอำนาจให้นานที่สุด อย่างน้อยก็หลังการประชุมเอเปคและการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566