สวัสดีครับ วันหยุดนี้ขอพาเที่ยววัดอีกครั้งครับ วัดนี้ผมประทับใจมากในแง่จินตนาการของจิตรกรชาวเพชรบุรีที่แสดงออกในภาพเขียนที่วัดเกาะ เพชรบุรี
วัดเกาะแห่งเพชรบุรี วัดเล็ก ๆ สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.2275-2301) เนื่องจากมีหลักฐานจากภาพเขียนภายในพระอุโบสถว่าเขียนเมื่อพ.ศ. 2277 ยุคนั้นการสร้างวัดได้เปลี่ยนแนวทางจากการสร้างพระปรางค์องค์ใหญ่อันเป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุที่เป็นศูนย์กลางจักรวาล มาเน้นพระอุโบสถแทน พระปรางค์และเจดีย์ประธานลดความสำคัญและลดขนาดลงจนอาจไม่มีเลย (ชัดเจนตั้งแต่สมัยพระเพทราชา) ในขณะที่อุโบสถมีความสำคัญแทนในฐานะศูนย์กลางของชมพูทวีป
พิจารณาจาก
คัมภีร์โลกสัณฐานโชตรตนคัณฐีในสมัยอยุธยาตอนปลายได้จารึกว่า
“ตรงกลางของชมพูทวีปนั้น มีรัตนบัลลังก์และต้นโพธิ์ประดิษฐานอยู่ ถัดจากนั้นออกไปมีสถานที่ 6 แห่ง เหล่านี้คือ ต้นอชปาลนิโครธ ต้นมุจลินทร์ ต้นราชายตนะ อนิมิสกะเจดีย์ และรัตนฆรเจดีย์ ต่อจากนั้นออกไปมีแคว้นใหญ่ ๆ 16 แคว้น แวดล้อมมหาโพธิ์อยู่ ต่อจากนั้นมีเมืองเล็ก ๆ แวดล้อมต่อไปอีก เมืองเหล่านั้น ตั้งรายรอบมหาโพธิ์นั้น ท่านเรียกว่า มัชฌิมประเทศ”
มาดูกันครับว่าจิตรกรสมัยนั้นตีความและสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์อย่างไรจึงทำให้วัดเกาะกลายเป็นศูนย์กลางของชมพูทวีปได้
วัดเกาะมีลักษณะเฉพาะที่ค่อนข้างแปลกไม่เหมือนวัดส่วนใหญ่คือภาพเขียนที่ผนังสกัดหน้าพระประธานเป็นภาพจักรวาล (ตามคติไตรภูมิ) ส่วนหลังพระประธานเป็นภาพมารผจญ ซึ่งตรงข้ามกับวัดอื่น ๆ ที่นิยมวาดภาพมารผจญที่ผนังสกัดด้านหน้าและภาพจักรวาลที่ผนังสกัดด้านหลังพระประธาน ยิ่งไปกว่านั้นภาพเขียนที่ผนังแปทั้ง 2 ด้านยังแสดงเป็นภาพสัตตมหาสถานและอัฏฐมหาสถานด้วยลักษณะงานศิลปะที่มีความหมายและงดงามยิ่ง ผนังแปของวัดนี้ไม่เจาะช่องหน้าต่าง จิตรกรจึงสามารถวาดภาพได้อย่างสวยงามเต็มพื้นที่ การเขียนภาพแบ่งเนื้อหาเป็นช่องเป็นภาพเจดีย์สลับกับฉัตร
เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว ระบายสีลงบนพื้นปูนที่แห้งสนิทแล้ว สีสันของภาพจิตรกรรมฝาผนังของที่นี่เน้นโทนสีแดง วาดลงบนพื้นสีขาว มีสีเขียวแต่งแต้มตามรูปภาพจุดต่างๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย
[CR] วัดเกาะ เพชรบุรี: มัชฌิมประเทศแห่งชมพูทวีป
สวัสดีครับ วันหยุดนี้ขอพาเที่ยววัดอีกครั้งครับ วัดนี้ผมประทับใจมากในแง่จินตนาการของจิตรกรชาวเพชรบุรีที่แสดงออกในภาพเขียนที่วัดเกาะ เพชรบุรี
วัดเกาะแห่งเพชรบุรี วัดเล็ก ๆ สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.2275-2301) เนื่องจากมีหลักฐานจากภาพเขียนภายในพระอุโบสถว่าเขียนเมื่อพ.ศ. 2277 ยุคนั้นการสร้างวัดได้เปลี่ยนแนวทางจากการสร้างพระปรางค์องค์ใหญ่อันเป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุที่เป็นศูนย์กลางจักรวาล มาเน้นพระอุโบสถแทน พระปรางค์และเจดีย์ประธานลดความสำคัญและลดขนาดลงจนอาจไม่มีเลย (ชัดเจนตั้งแต่สมัยพระเพทราชา) ในขณะที่อุโบสถมีความสำคัญแทนในฐานะศูนย์กลางของชมพูทวีป
พิจารณาจากคัมภีร์โลกสัณฐานโชตรตนคัณฐีในสมัยอยุธยาตอนปลายได้จารึกว่า
“ตรงกลางของชมพูทวีปนั้น มีรัตนบัลลังก์และต้นโพธิ์ประดิษฐานอยู่ ถัดจากนั้นออกไปมีสถานที่ 6 แห่ง เหล่านี้คือ ต้นอชปาลนิโครธ ต้นมุจลินทร์ ต้นราชายตนะ อนิมิสกะเจดีย์ และรัตนฆรเจดีย์ ต่อจากนั้นออกไปมีแคว้นใหญ่ ๆ 16 แคว้น แวดล้อมมหาโพธิ์อยู่ ต่อจากนั้นมีเมืองเล็ก ๆ แวดล้อมต่อไปอีก เมืองเหล่านั้น ตั้งรายรอบมหาโพธิ์นั้น ท่านเรียกว่า มัชฌิมประเทศ”
มาดูกันครับว่าจิตรกรสมัยนั้นตีความและสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์อย่างไรจึงทำให้วัดเกาะกลายเป็นศูนย์กลางของชมพูทวีปได้
วัดเกาะมีลักษณะเฉพาะที่ค่อนข้างแปลกไม่เหมือนวัดส่วนใหญ่คือภาพเขียนที่ผนังสกัดหน้าพระประธานเป็นภาพจักรวาล (ตามคติไตรภูมิ) ส่วนหลังพระประธานเป็นภาพมารผจญ ซึ่งตรงข้ามกับวัดอื่น ๆ ที่นิยมวาดภาพมารผจญที่ผนังสกัดด้านหน้าและภาพจักรวาลที่ผนังสกัดด้านหลังพระประธาน ยิ่งไปกว่านั้นภาพเขียนที่ผนังแปทั้ง 2 ด้านยังแสดงเป็นภาพสัตตมหาสถานและอัฏฐมหาสถานด้วยลักษณะงานศิลปะที่มีความหมายและงดงามยิ่ง ผนังแปของวัดนี้ไม่เจาะช่องหน้าต่าง จิตรกรจึงสามารถวาดภาพได้อย่างสวยงามเต็มพื้นที่ การเขียนภาพแบ่งเนื้อหาเป็นช่องเป็นภาพเจดีย์สลับกับฉัตร
เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว ระบายสีลงบนพื้นปูนที่แห้งสนิทแล้ว สีสันของภาพจิตรกรรมฝาผนังของที่นี่เน้นโทนสีแดง วาดลงบนพื้นสีขาว มีสีเขียวแต่งแต้มตามรูปภาพจุดต่างๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้