อารัมภบท
หากย้อนกลับไปสมัยอดีต คุณเคยได้ยินคำนี้ไหมครับ "ยักษ์วัดแจ้ง แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์ " เป็นคำพูดติดปากของคน รุ่นปู่ รุ่นย่า รุ่นตา รุ่นยาย และตามความเชื่อที่ว่า " เปรต " คือคนที่ทำบาปกรรมไว้เช่น ด่าพ่อด่าแม่ ตีพ่อตีแม่ เมื่อตายไปแล้วจะเกิดเป็นเปรตเพื่อชดใช้กรรม ปากจะเท่ารูเข็ม มือจะใหญ่เท่าใบลาน ซึ่งตามความเชื่อเหล่านี้ถูกล่าวขานไว้ที่วัดแห่งนี้ ได้ชื่อว่าเปรตวัดสุทัศน์เพราะอะไรนั้นหนะเหรอ...เราจะพาไปหาคำตอบกันครับ...
ประวัติ
วัดสุทัศนเทพวราราม วัดเก่าแก่อายุมากกว่า ๒๐๐ ปี เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ประเภทราชวรมหาวิหาร ซึ่งเป็น ๑ ใน ๖ วัดของเมืองไทย และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๘ (พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร )
วัดนี้สร้างขึ้นช่วงตอนต้นของสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในพื้นที่พระนครชั้นใน เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ใช้เวลาสร้างถึง ๓ รัชกาลเลยทีเดียว โดยเริ่มจากรัชกาลที่ ๑ มีพระราชประสงค์โปรดเกล้าให้สร้างพระวิหารให้มีขนาดใหญ่เท่ากับพระวิหารวัดพนัญเชิง โดยเริ่มสร้างพระวิหารขึ้นเป็นอันดับแรกเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย และให้ชื่อว่า “วัดมหาสุทธาวาส”แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน
จนในรัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่จะมีการก่อสร้างเสร็จ ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียกกันว่า วัดพระโต, วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้า ตามพระประธานในวิหาร จนกระทั้งในสมัยรัชกาลที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๙๐ จึงโปรดเกล้าให้สร้างจนแล้วเสร็จและในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า "พระศรีศากยมุนี", "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ "พระพุทธเสรฏฐมุนี" และพระราชทานชื่อใหม่ว่า " วัดสุทัศน์เทพวราราม"
วัดสุทัศน์ สามารถเดินทางมาได้หลายวิธี ส่วนเรานั้นลงสนามหลวงและเดินชมวิวตามตรอกซอยมาเรื่อย ๆ (ความชอบส่วนตัว) หาแลนด์มาร์ค ที่โดดเด่นเห็นชัดนั่นก็คือ เสาร์ชิงช้า สีแดงสูงเด่นตระการตาตั้งอยู่ที่บริเวณหน้าวัดนั่นเอง
พระวิหารหลวง
เมื่อเดินเข้าประตูมาเราจะพบกับ พระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม ถือเป็นวิหารที่มีขนาดใหญ่อย่างมาก มีความกว้าง ๒๓.๘๔ เมตร ยาว ๒๖.๒๕ เมตร ลักษณะอาคารแบบประเพณีนิยม มีศิลปะแบบช่างในสมัยรัชกาลที่ ๒ คือหลังคาซ้อนชั้น เครื่องลำยองประกอบด้วย ป้านลมเป็นนาคลำยอง หรือนาคสะดุ้ง มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (posttoday : สมาน, 2562)
ที่สำคัญบริเวณหน้าบันพระวิหารเป็น พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และหน้าบันมุขที่รองลงมาเป็นรูปพระนารายทรงครุฑในกรอบซุ้ม ซึ่งสัมพันธ์กับชื่อวัดคือ สุทัศนเทพวราราม คือชื่อเมืองสุทัสสนนคร อันเป็นพระนครหลวงของพระอินทร์ที่ตั้งอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ภายในพระวิหาร มีจิตรกรรมเรื่องราวในไตรภูมิ โดยสเมือนว่าที่พระวิหารแห่งนี้ภายในอาคารคือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้านในพระวิหารหลวงมีพระประธานองค์สำคัญ คือ พระศรีศากยมุนี พระพุทธรูปสัมฤทธิที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (หากนับย้อนไปก่อนสมัย ๒๕๐๐) และที่ใต้ชุกชีหรือฐานพระพุทธรูป หากสังเกตบริเวณผ้าทิพย์สีน้ำเงิน ได้มีการบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ ๘) ไว้ด้วย
หนึ่งเดียวในโลก
สำหรับหลายท่านอาจจะมาวัดแหงนี้แล้วยังไม่รู้ ด้านหลังของพระประธานบริเวณฐานชุกชีมีแผ่นศิลาโบราณสลักนูนต่ำปิดทอง มีอายุตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ -๑๓ เป็นศิลปะสมัยทวารวดี โดยภาพด้านบนสุดเป็น ปางประทานเทศนา โปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปางถัดลงมาเป็น ปางยมกปาฏิหาริย์ และล่างสุดเป็นปางที่ลัทธินอกศาสนามาท้าพระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์
นอกจากนั้นยังมีรูปปั้น ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่แสดงอาการเต๊ะท่าอยู่ เสมือนว่าตอนนั้นเมื่อพบพระพุทธเจ้าหลังจากพระองค์บรรลุธรรมและได้กลับมาโปรด (ตอนนั้นปัญจวัคคีย์คิดว่าพระพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้จึงแสดงอาการดังกล่าว)
ความลับ
อย่างที่บอกไปข้างต้น วัดแห่งนี้ที่ได้ชื่อว่า เปรตวัดสุทัศน์ ที่แท้จริงแล้วมาจากภาพจิตรกรรมที่เสาในพระวิหารหลวง ที่วาดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เป็น รูปเปรตตนหนึ่งนอนพาดกายอยู่และมีพระสงฆ์กำลังยืนพิจารณาสังขาร ซึ่งภาพนี้มีชื่อเสียงมากเป็นที่ร่ำลือกันว่าหากใครได้มีโอกาสมายังวิหารหลวงนี้แล้ว ต้องไปดูรูปจิตรกรรม "เปรตวัดสุทัศน์" ตามคำกล่าวที่คล้องจองกันว่า "แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์" ยังไงลองไปเดินตามหากันดูนะว่าอยู่ที่เสาไหนภายในพระวิหาร และจงทำดีเข้าไว้ตายไปจะได้ไม่เป็นเปรต
ก่อเกิดสมาธิและปัญญา
นอกจากนี้ภายในพระวิหารหลวง หากเข้ามาจากประตูหน้า เมื่อเดินเข้าไปด้านในสุดทางด้านขวา ยังมีอีกหนึ่งไฮไลท์ คือ พระสุนทรีวาณี เป็นเทพธิดาตามคติในศาสนาพุทธในประเทศไทย มีหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาพระธรรมและพระไตรปิฎก (มีที่วัดแห่งนี้เป็นที่แรก) โดยสมัยรัชกาลที่ ๕ อดีตเจ้าอาวาสสมเด็จพระวันรัต (แดง) ได้นิมิตฝันและให้จิตรกรหลวงเขียนรูปขึ้น (ปัจจุบันภาพถูกเก็บไว้ที่วัด) ว่ากันว่าหากเราหมั่นสวดมนต์พระคาถานี้อย่างสม่ำเสมอจะทำให้เกิดปัญญาและสมาธิ
มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรี
ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง
โบสถ์สุริยันต์จันทรา
พระอุโบสถนั้นตั้งอยู่ทางด้านหลังของพระวิหารหลวง ซึ่งหากจะวัดความยาวแล้วพระอุโบสถของวัดสุทัศน์ ได้รับการยกย่องว่าเป็น พระอุโบสถที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความกว้างประมาณ ๒๓ เมตร และมีความยาวถึง ๗๓ เมตรเลยทีเดียว ตั้งขวางเสมือนเป็นฉากหลังของพระวิหารหลวง และบริเวณหน้าบันของพระอุโบสถแห่งนี้ทางด้านตะวันตกเป็นตราพระจันทร์ ส่วนด้านตะวันออกเป็นตราพระอาทิตย์ เสมือนว่าดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์มีการโคจรรอบโลก หรือรอบเขาพระสุเมรุนั้นเอง โบสถ์นี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า โบสถ์สุริยันต์จันทรา (รายการศักดิ์สิทธิ์คงกระพัน, 2563)
พระประธาน
เมื่อถึงแล้วภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานเป็นองค์ประธาน มีพระนามว่า พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่ทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระมา และบริเวณหน้าพระประธานมีรูปปั้นพระสาวกอยู่ ๘๐ องค์เรียกว่า พระอสีติมหาสาวก ซึ่งจำลองเป็นตัวแทนพระเถรผู้ใหญ่รุ่นแรก ๆ ที่ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าสมัยพระองค์ยังมีพระชนชีพอยู่ และหากมองไปรอบ ๆ บริเวณผนังด้านในของพระอุโบสถมีภาพจิตกรรมฝาผนังที่วิจิตรสวยงามเป็นอย่างมากซึ่งเป็นฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ ๓ อีกด้วย
สายมูห้ามพลาด
และอีกจุดที่เราจะพาทุกท่านไป สายมูจะพลาดไม่ได้ เน้นพลาดไม่ได้ เมื่อกราบพระประธานในพระอุโบสถเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้เดินเลี้ยวมาด้านหลังพระอุโบสถ ยังมีอีก ๓ - ๔ ไฮไลท์สำคัญที่จะต้องแวะก่อนกลับนั่นก็คือ พระกริ่งใหญ่ องค์ท้าวเวสสุวรรณ พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา และรูปหล่อหมอชีวก
พระกริ่งใหญ่
พระกริ่งใหญ่องค์นี้ได้มีการสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) มีอายุครบ ๖๐ ปี โดยในการจัดสร้างพระกริ่งนั้นให้มีขนาดเท่ากับ ๖๐ นิ้วมือท่านสมเด็จ ฯ ที่วัดลงบนกระดาษ และอีกทั้งวัดสุทัศน์ยังมีเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระกริ่งมาช้านานโดยมีเรื่องเล่าว่า
สมัยก่อนสมเด็จพระวันรัต (แดง) ได้อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้าวัดบวร กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ครั้งยังทรงเป็นกรมหมื่น) เสด็จมาเยี่ยม รับสั่งถามถึงอาการของโรคจึงสอบถามว่าที่วัดมีพระกริ่งไหม เนื่องจากที่วัดในตอนนั้นไม่มีพระกริ่ง ท่านจึงรับสั่งให้ไปอัญเชิญพระกริ่งปวเรศฯ ของวัดบวรนิเวศ มาแล้วอาราธนาอธิษฐานแช่น้ำพระพุทธมนต์ และให้สมเด็จพระวันรัต (แดง) ท่านฉัน ซึ่งเป็นเรื่องปาฏิหาริย์เมื่อฉันแล้วโรคอหิวาต์ก็บรรเทาหายเป็นปกติ (komchadluek, 2554)
[CR] เปรต - วัดสุทัศน์
วัดนี้สร้างขึ้นช่วงตอนต้นของสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในพื้นที่พระนครชั้นใน เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ใช้เวลาสร้างถึง ๓ รัชกาลเลยทีเดียว โดยเริ่มจากรัชกาลที่ ๑ มีพระราชประสงค์โปรดเกล้าให้สร้างพระวิหารให้มีขนาดใหญ่เท่ากับพระวิหารวัดพนัญเชิง โดยเริ่มสร้างพระวิหารขึ้นเป็นอันดับแรกเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย และให้ชื่อว่า “วัดมหาสุทธาวาส”แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน
จนในรัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่จะมีการก่อสร้างเสร็จ ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียกกันว่า วัดพระโต, วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้า ตามพระประธานในวิหาร จนกระทั้งในสมัยรัชกาลที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๙๐ จึงโปรดเกล้าให้สร้างจนแล้วเสร็จและในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า "พระศรีศากยมุนี", "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ "พระพุทธเสรฏฐมุนี" และพระราชทานชื่อใหม่ว่า " วัดสุทัศน์เทพวราราม"
วัดสุทัศน์ สามารถเดินทางมาได้หลายวิธี ส่วนเรานั้นลงสนามหลวงและเดินชมวิวตามตรอกซอยมาเรื่อย ๆ (ความชอบส่วนตัว) หาแลนด์มาร์ค ที่โดดเด่นเห็นชัดนั่นก็คือ เสาร์ชิงช้า สีแดงสูงเด่นตระการตาตั้งอยู่ที่บริเวณหน้าวัดนั่นเอง
ที่สำคัญบริเวณหน้าบันพระวิหารเป็น พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และหน้าบันมุขที่รองลงมาเป็นรูปพระนารายทรงครุฑในกรอบซุ้ม ซึ่งสัมพันธ์กับชื่อวัดคือ สุทัศนเทพวราราม คือชื่อเมืองสุทัสสนนคร อันเป็นพระนครหลวงของพระอินทร์ที่ตั้งอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ภายในพระวิหาร มีจิตรกรรมเรื่องราวในไตรภูมิ โดยสเมือนว่าที่พระวิหารแห่งนี้ภายในอาคารคือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้านในพระวิหารหลวงมีพระประธานองค์สำคัญ คือ พระศรีศากยมุนี พระพุทธรูปสัมฤทธิที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (หากนับย้อนไปก่อนสมัย ๒๕๐๐) และที่ใต้ชุกชีหรือฐานพระพุทธรูป หากสังเกตบริเวณผ้าทิพย์สีน้ำเงิน ได้มีการบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ ๘) ไว้ด้วย
นอกจากนั้นยังมีรูปปั้น ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่แสดงอาการเต๊ะท่าอยู่ เสมือนว่าตอนนั้นเมื่อพบพระพุทธเจ้าหลังจากพระองค์บรรลุธรรมและได้กลับมาโปรด (ตอนนั้นปัญจวัคคีย์คิดว่าพระพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้จึงแสดงอาการดังกล่าว)
สมัยก่อนสมเด็จพระวันรัต (แดง) ได้อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้าวัดบวร กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ครั้งยังทรงเป็นกรมหมื่น) เสด็จมาเยี่ยม รับสั่งถามถึงอาการของโรคจึงสอบถามว่าที่วัดมีพระกริ่งไหม เนื่องจากที่วัดในตอนนั้นไม่มีพระกริ่ง ท่านจึงรับสั่งให้ไปอัญเชิญพระกริ่งปวเรศฯ ของวัดบวรนิเวศ มาแล้วอาราธนาอธิษฐานแช่น้ำพระพุทธมนต์ และให้สมเด็จพระวันรัต (แดง) ท่านฉัน ซึ่งเป็นเรื่องปาฏิหาริย์เมื่อฉันแล้วโรคอหิวาต์ก็บรรเทาหายเป็นปกติ (komchadluek, 2554)
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้