ถ้าให้ประเมินการสนทนากันระหว่างพระเจ้ามิลินท์กับพระนาคเสนเฉพาะในส่วนของ นามปัญหานี้ ผู้เขียนมองว่า พระเจ้ามิลินท์ได้เสนอประเด็นปัญหาหลายเรื่องได้อย่างน่าสนใจ เช่น ปัญหาเรื่องบัญญัติกับความจริงที่อยู่เบื้องหลังบัญญัติ ปัญหาเรื่องอนัตตากับการทำกรรมและการรับผลของกรรม
ปัญหาเรื่องอนัตตาแตกต่างอย่างไรกับอุจเฉททิฏฐิ รวมทั้งการเสนอวิธีพิสูจน์ความมีอยู่อัตตา
ในส่วนของพระนาคเสนก็เช่นเดียวกัน ดูเหมือนว่าการตอบปัญหาของท่านทั้งหมดจะมุ่งตอบเฉพาะประเด็นปัญหาเรื่องบัญญัติ (สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา) กับความจริงที่อยู่เบื้องหลังบัญญัติ (อนัตตา/ขันธ์ ๕) แม้การอุปมาเปรียบเทียบบัญญัติกับคำว่า “รถ” และเปรียบเทียบความจริงกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของรถ ก็เป็นส่วนของความพยายามที่จะอธิบายความหมายของบัญญัติและความจริงเท่านั้น
ส่
วนประเด็นปัญหาที่เกิดจากการเสนอคำอธิบายแบบนี้ เช่น เมื่อเสนอว่าไม่มีอัตตาแล้วจะอธิบายประเด็นเรื่องผู้ทำและผู้รับผลของกรรมอย่างไร
ดูเหมือนว่าท่านพระนาคเสนจะยังไม่ได้ตอบปัญหานี้
อย่างไรก็ตาม การที่พระนาคเสนไม่ได้ตอบปัญหาข้อนี้ไว้ในการสนทนาครั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะท่านมองว่าเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับกับการสนทนาครั้งนี้ก็เป็นได้จึงได้ยกยอดไปตอบในการสนทนาครั้งต่อ ๆ เช่น ในการสนทนาเรื่องสันตติ และเรื่องการถือปฏิสนธิของนามรูป เป็นต้น ท่านได้ใช้แนวคิดเรื่อง “ธรรมสันตติ” สำหรับตอบปัญหานี้ แนวคิดนี้มองว่า แม้ในขันธ์ ๕ หรือนามรูปของเราจะไม่มีอัตตา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไรเป็นผู้ทำกรรมและผู้รับผิดชอบต่อผลกรรม นามรูปของเราที่อยู่ในรูปกระแสความสืบเนื่องแห่งเหตุปัจจัยนี้เองเป็นผู้ทำกรรมและเป็นผู้รับผลกรรม เราในฐานะผู้ทำกรรมในวันนี้กับเราในฐานะผู้รับผลกรรมในวันข้างหน้า จะบอกว่าเป็นคนเดียวกันก็ไม่ใช่ จะบอกว่าเป็นคนอื่นก็ไม่ใช่ ดังการสนทนาต่อไปนี้
(บทสนทนาจากธรรมสันตติปัญหา)
พระเจ้ามิลินท์ “ผู้ใดเกิดก็เป็นผู้นั้น หรือว่ากลายเป็นคนอื่น”
พระนาคเสน “ไม่ใช่ผู้นั้น และไม่ใช่ผู้อื่น ( น จ โส, น จ อญฺโญ)
(บทสนทนาจากนามรูปปฏิสนธิคณหปัญหา)
พระเจ้ามิลินท์ “นามรูปนี้หรือปฏิสนธิ”
พระนาคเสน “นามรูปนี้ไม่ได้ปฏิสนธิ แต่ว่าบุคคลทำกรรมดีหรือกรรมไม่ดีด้วยนามรูปนี้ นามรูปอื่นก็ปฏิสนธิด้วยกรรมนั้น”
พระเจ้ามิลินท์ “ถ้านามรูปนี้ไม่ปฏิสนธิ ผู้นั้นก็จัดพ้นจากบาปกรรมทั้งหลายไม่ใช่หรือ”
พระนาคเสน “บุคคลทำกรรมดีหรือชั่ว อันใดไว้ด้วยนามรูปนี้ แล้วนามรูปอื่นก็ปฏิสนธิสืบต่อกันด้วยกรรมนั้น เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่พ้นจากบาปกรรม”
บทสนทนานี้แสดงให้เห็นว่า พระนาคเสนได้ตอบปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำกรรมและผู้รับผลกรรมด้วยทฤษฎี “ธรรมสันตติ” หรือทฤษฎีกระแสความสืบเนื่องแห่งเหตุปัจจัย เพื่อโต้แย้งแนวคิดเกี่ยวกับผู้ทำกรรมและผู้รับผลกรรมในรูปของอัตตาที่เที่ยงแท้ถาวรของพระเจ้ามิลินท์
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร (2548)
http://oldweb.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=413&articlegroup_id=102
หลังพุทธกาล พุทธศาสนาถูกพราหมณ์พยายามจะกลืน ในขณะที่ลัทธิอื่นก็พยายามโจมตี จึงต้องพยายามหาทางอธิบายให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างพุทธศาสนากับ ลัทธิอื่นให้ได้
''ปัญหาเรื่องกรรมกับอนัตตาในพระพุทธศาสนา''
ปัญหาเรื่องอนัตตาแตกต่างอย่างไรกับอุจเฉททิฏฐิ รวมทั้งการเสนอวิธีพิสูจน์ความมีอยู่อัตตา
ในส่วนของพระนาคเสนก็เช่นเดียวกัน ดูเหมือนว่าการตอบปัญหาของท่านทั้งหมดจะมุ่งตอบเฉพาะประเด็นปัญหาเรื่องบัญญัติ (สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา) กับความจริงที่อยู่เบื้องหลังบัญญัติ (อนัตตา/ขันธ์ ๕) แม้การอุปมาเปรียบเทียบบัญญัติกับคำว่า “รถ” และเปรียบเทียบความจริงกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของรถ ก็เป็นส่วนของความพยายามที่จะอธิบายความหมายของบัญญัติและความจริงเท่านั้น
ส่วนประเด็นปัญหาที่เกิดจากการเสนอคำอธิบายแบบนี้ เช่น เมื่อเสนอว่าไม่มีอัตตาแล้วจะอธิบายประเด็นเรื่องผู้ทำและผู้รับผลของกรรมอย่างไร
ดูเหมือนว่าท่านพระนาคเสนจะยังไม่ได้ตอบปัญหานี้
อย่างไรก็ตาม การที่พระนาคเสนไม่ได้ตอบปัญหาข้อนี้ไว้ในการสนทนาครั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะท่านมองว่าเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับกับการสนทนาครั้งนี้ก็เป็นได้จึงได้ยกยอดไปตอบในการสนทนาครั้งต่อ ๆ เช่น ในการสนทนาเรื่องสันตติ และเรื่องการถือปฏิสนธิของนามรูป เป็นต้น ท่านได้ใช้แนวคิดเรื่อง “ธรรมสันตติ” สำหรับตอบปัญหานี้ แนวคิดนี้มองว่า แม้ในขันธ์ ๕ หรือนามรูปของเราจะไม่มีอัตตา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไรเป็นผู้ทำกรรมและผู้รับผิดชอบต่อผลกรรม นามรูปของเราที่อยู่ในรูปกระแสความสืบเนื่องแห่งเหตุปัจจัยนี้เองเป็นผู้ทำกรรมและเป็นผู้รับผลกรรม เราในฐานะผู้ทำกรรมในวันนี้กับเราในฐานะผู้รับผลกรรมในวันข้างหน้า จะบอกว่าเป็นคนเดียวกันก็ไม่ใช่ จะบอกว่าเป็นคนอื่นก็ไม่ใช่ ดังการสนทนาต่อไปนี้
(บทสนทนาจากธรรมสันตติปัญหา)
พระเจ้ามิลินท์ “ผู้ใดเกิดก็เป็นผู้นั้น หรือว่ากลายเป็นคนอื่น”
พระนาคเสน “ไม่ใช่ผู้นั้น และไม่ใช่ผู้อื่น ( น จ โส, น จ อญฺโญ)
(บทสนทนาจากนามรูปปฏิสนธิคณหปัญหา)
พระเจ้ามิลินท์ “นามรูปนี้หรือปฏิสนธิ”
พระนาคเสน “นามรูปนี้ไม่ได้ปฏิสนธิ แต่ว่าบุคคลทำกรรมดีหรือกรรมไม่ดีด้วยนามรูปนี้ นามรูปอื่นก็ปฏิสนธิด้วยกรรมนั้น”
พระเจ้ามิลินท์ “ถ้านามรูปนี้ไม่ปฏิสนธิ ผู้นั้นก็จัดพ้นจากบาปกรรมทั้งหลายไม่ใช่หรือ”
พระนาคเสน “บุคคลทำกรรมดีหรือชั่ว อันใดไว้ด้วยนามรูปนี้ แล้วนามรูปอื่นก็ปฏิสนธิสืบต่อกันด้วยกรรมนั้น เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่พ้นจากบาปกรรม”
บทสนทนานี้แสดงให้เห็นว่า พระนาคเสนได้ตอบปัญหาเกี่ยวกับผู้ทำกรรมและผู้รับผลกรรมด้วยทฤษฎี “ธรรมสันตติ” หรือทฤษฎีกระแสความสืบเนื่องแห่งเหตุปัจจัย เพื่อโต้แย้งแนวคิดเกี่ยวกับผู้ทำกรรมและผู้รับผลกรรมในรูปของอัตตาที่เที่ยงแท้ถาวรของพระเจ้ามิลินท์
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร (2548)
http://oldweb.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=413&articlegroup_id=102
หลังพุทธกาล พุทธศาสนาถูกพราหมณ์พยายามจะกลืน ในขณะที่ลัทธิอื่นก็พยายามโจมตี จึงต้องพยายามหาทางอธิบายให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างพุทธศาสนากับ ลัทธิอื่นให้ได้