เตรียมแพงทั้งแผ่นดิน! น้ำมันโลกพุ่งแรง เอกชนขึ้นราคาสินค้า จากเดิมจ่ออั้น 2-3 เดือน
https://www.matichon.co.th/economy/news_3217180
เตรียมแพงทั้งแผ่นดิน! น้ำมันโลกพุ่งแรง เอกชนจ่อขึ้นราคาสินค้าเร็วขึ้น จากเดิมจ่ออั้น 2-3 เดือน
นาย
สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากความขัดแย้งของรัสเซียกับยูเครนที่มีแนวโน้มรุนแรงและยืดเยื้อ ทำให้ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากราคาพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ที่ปรับตัวสูงขึ้น และคาดว่ามีโอกาสสูงถึง 120 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ไปอีก 20-30 วัน ดังนั้น การที่รัฐบาลประกาศตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตร ถึง 31 มีนาคมนี้ ถือเป็นเรื่องที่ดีและควรทำ และควรตรึงราคาพลังงานเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้มภายในประเทศอย่างต่อเนื่องด้วย
“
ส่วนเรื่องการลดภาษีน้ำมัน มองว่าในสถานการณ์เช่นนี้รัฐบาลคงปรับลดภาษีไม่ไหว เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวขึ้นสูง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ราคาน้ำมันโลกปรับขึ้นมาเกือบ 2 เท่าตัว จากเดิมอยู่ที่ 30-40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เรื่องนี้ถือเป็นตัวเร่งให้ภาคเอกชนปรับขึ้นราคาสินค้าเพิ่มเร็วกว่าเดิมที่คาดว่าจะตรึงราคาไว้ที่ 2-3 เดือน หลังจากนี้คงจะได้เห็นภาคเอกชนทยอยปรับราคาสินค้าขึ้น อาจจะไม่ได้ปรับขึ้นทีเดียวเพราะเกรงว่าจะกระทบกับประชาชน เห็นใจภาครัฐที่เหนื่อย และยังไม่รู้จะหาทางออกช่วยภาคเอกชนได้อย่างไร” นาย
สุพันธุ์กล่าว
ไอเอ็มเอฟเตือน สงครามยูเครนจะยิ่งซ้ำเติมศก.โลกให้เสียหายหนัก หากความขัดแย้งขยายวง
https://www.matichon.co.th/foreign/news_3217928
ไอเอ็มเอฟเตือน สงครามยูเครนจะยิ่งซ้ำเติมศก.โลกให้เสียหายหนัก หากความขัดแย้งขยายวง
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกแถลงการณ์เตือนเมื่อวันที่ 5 มีนาคมว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจโลกที่รุนแรงอยู่แล้วจากสงครามในยูเครน จะยิ่งเสียหายรุนแรงมากขึ้นหากความขัดแย้งถูกยกระดับขยายวง โดยแม้ว่าการคาดการณ์ยังคงอยู่ภายใต้ความไม่แน่นอนเกินปกติ แต่ผลที่เกิดขึ้นตามมาทางเศรษฐกิจจากการรุกรานชาติเพื่อนบ้านของรัสเซีย เป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก
ไอเอ็มเอฟระบุว่า ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งสูงขึ้น โดยที่ราคาน้ำมันขณะนี้อยู่ใกล้ระดับ 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล นั้นได้สุมรวมกับอัตราเงินเฟ้อสูงที่โลกกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ขณะที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19
“หากความขัดแย้งรุนแรงขึ้น ความเสียหายทางเศรษฐกิจจะยิ่งเลวร้ายลง ภาวะช็อกด้านราคาจะส่งผลกระทบทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคครัวเรือนที่ยากจน ซึ่งอาหารและเชื้อเพลิงเป็นสัดส่วนของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น” ไอเอ็มเอฟระบุในแถลงการณ์ที่มีขึ้นหลังจากมีการประชุมของคณะกรรมการบริหารไอเอ็มเอฟเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสงครามเมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา
ไอเอ็มเอฟระบุต่อว่า ในยูเครน ความเสียหายทางเศรษฐกิจมีมากมายอยู่แล้ว โดยระบบโครงสร้างพื้นฐานปิดตัวลง เสียหายหรือถูกทำลาย ซึ่งยูเครนจะเผชิญกับการมีต้นทุนของการฟื้นตัวและการฟื้นฟูอย่างมีนัยสำคัญ
ไอเอ็มเอฟระบุว่าความช่วยเหลือฉุกเฉินทางการเงินที่ยูเครนร้องขอ ซึ่งมีรายงานเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ มีมูลค่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคำขอนี้จะมีการนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารไอเอ็มเอฟได้เร็วที่สุดในสัปดาห์หน้า
นอกจากนี้ มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงิน โดยจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญไปยังประเทศอื่นๆ ด้วย โดยราคาสินทรัพย์และอัตราแลกเปลี่ยนเงินรูเบิลของรัสเซียลดลงอย่างรวดเร็ว จากผลกระทบของมาตรการคว่ำบาตรที่ “ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนั้น ไดเส่งผลกระทบที่เร็วเกินคาด
ไอเอ็มเอฟเตือนอีกว่า ความขาดแคลนและการหยุดชะงักของอุปทานอาจรุนแรงโดยเฉพาะสำหรับประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับยูเครนและรัสเซีย ทั้งนี้ ประเทศมอลโดวาซึ่งมีพรมแดนติดกับยูเครน ได้ขอให้มีการเสริมและปรับโครงการสนับสนุนจากไอเอ็มเอฟที่มีอยู่แล้วเพื่อช่วยรองรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์ในปัจจุบัน
โดยนับจากที่รัสเซียเริ่มทำสงครามบุกโจมตียูเครน องค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น)ระบุว่ามีประชาชนที่หนีภัยสู้รบออกจากยูเครนแล้วเกือบ 1.4 ล้านคน โดยออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่รวมถึงมอลโดวาด้วย
‘เนติวิทย์’ โพสต์จดหมายจากม.ฮาร์วาร์ด กังวลเรื่องปลดพ้นตำแหน่งนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3217937
‘เนติวิทย์’ โพสต์จดหมายจากม.ฮาร์วาร์ด กังวลเรื่องปลดพ้นตำแหน่งนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม
เนติวิทย์ ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก
Netiwit Ntw พร้อมข้อความภาษาอังกฤษ “
Thank you Harvard University Asia Center for supporting student rights and freedom of expression” เป็นการแสดงความขอบคุณศูนย์เอเเชียของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ที่ให้การสนับสนุนสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของนักศึกษา และได้โพสต์จดหมายของศูนย์เอเชีย มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
(อ่านข่าว
จุฬาฯ สั่งปลด ‘เนติวิทย์’ พ้นนายกอบจ. รับไม่ได้เชิญ ‘เพนกวิน-รุ้ง-ปวิน’ ไลฟ์สดงานนิสิตใหม่)
เป็นจดหมายที่ออกมาเมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา มีเนื้อแสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับการสั่งปลดนาย
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล พ้นจากตำแหน่งนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ ว่า อาจจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อชื่อเสียงของประเทศไทย ในเรื่องของโครงการแลกเปลี่ยนและเรื่องของทุนการศึกษา ดังนั้นจึงขอให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และหาทางเจรจามากกว่าที่จะเผชิญหน้ากัน และเชื่อว่า ผลประโยชน์ของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่องที่ใหญ่กว่าเรื่องของทุนการศึกษาและการเรียนรู้ จะได้รับผลดีที่สุดจากเรื่องนี้
https://www.facebook.com/Netiwitntw/posts/494463642046364?__tn__=%2CO*F
JJNY : เตรียมแพงทั้งแผ่นดิน!│IMFเตือนสงครามยูเครนยิ่งซ้ำเติมศก.โลก│‘เนติวิทย์’โพสต์จม.จากม.ฮาร์วาร์ด│จีนค้านเติมเชื้อไฟ
https://www.matichon.co.th/economy/news_3217180
เตรียมแพงทั้งแผ่นดิน! น้ำมันโลกพุ่งแรง เอกชนจ่อขึ้นราคาสินค้าเร็วขึ้น จากเดิมจ่ออั้น 2-3 เดือน
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากความขัดแย้งของรัสเซียกับยูเครนที่มีแนวโน้มรุนแรงและยืดเยื้อ ทำให้ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากราคาพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ที่ปรับตัวสูงขึ้น และคาดว่ามีโอกาสสูงถึง 120 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ไปอีก 20-30 วัน ดังนั้น การที่รัฐบาลประกาศตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตร ถึง 31 มีนาคมนี้ ถือเป็นเรื่องที่ดีและควรทำ และควรตรึงราคาพลังงานเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้มภายในประเทศอย่างต่อเนื่องด้วย
“ส่วนเรื่องการลดภาษีน้ำมัน มองว่าในสถานการณ์เช่นนี้รัฐบาลคงปรับลดภาษีไม่ไหว เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวขึ้นสูง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ราคาน้ำมันโลกปรับขึ้นมาเกือบ 2 เท่าตัว จากเดิมอยู่ที่ 30-40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เรื่องนี้ถือเป็นตัวเร่งให้ภาคเอกชนปรับขึ้นราคาสินค้าเพิ่มเร็วกว่าเดิมที่คาดว่าจะตรึงราคาไว้ที่ 2-3 เดือน หลังจากนี้คงจะได้เห็นภาคเอกชนทยอยปรับราคาสินค้าขึ้น อาจจะไม่ได้ปรับขึ้นทีเดียวเพราะเกรงว่าจะกระทบกับประชาชน เห็นใจภาครัฐที่เหนื่อย และยังไม่รู้จะหาทางออกช่วยภาคเอกชนได้อย่างไร” นายสุพันธุ์กล่าว
ไอเอ็มเอฟเตือน สงครามยูเครนจะยิ่งซ้ำเติมศก.โลกให้เสียหายหนัก หากความขัดแย้งขยายวง
https://www.matichon.co.th/foreign/news_3217928
ไอเอ็มเอฟเตือน สงครามยูเครนจะยิ่งซ้ำเติมศก.โลกให้เสียหายหนัก หากความขัดแย้งขยายวง
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกแถลงการณ์เตือนเมื่อวันที่ 5 มีนาคมว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจโลกที่รุนแรงอยู่แล้วจากสงครามในยูเครน จะยิ่งเสียหายรุนแรงมากขึ้นหากความขัดแย้งถูกยกระดับขยายวง โดยแม้ว่าการคาดการณ์ยังคงอยู่ภายใต้ความไม่แน่นอนเกินปกติ แต่ผลที่เกิดขึ้นตามมาทางเศรษฐกิจจากการรุกรานชาติเพื่อนบ้านของรัสเซีย เป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก
ไอเอ็มเอฟระบุว่า ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งสูงขึ้น โดยที่ราคาน้ำมันขณะนี้อยู่ใกล้ระดับ 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล นั้นได้สุมรวมกับอัตราเงินเฟ้อสูงที่โลกกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ขณะที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19
“หากความขัดแย้งรุนแรงขึ้น ความเสียหายทางเศรษฐกิจจะยิ่งเลวร้ายลง ภาวะช็อกด้านราคาจะส่งผลกระทบทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคครัวเรือนที่ยากจน ซึ่งอาหารและเชื้อเพลิงเป็นสัดส่วนของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น” ไอเอ็มเอฟระบุในแถลงการณ์ที่มีขึ้นหลังจากมีการประชุมของคณะกรรมการบริหารไอเอ็มเอฟเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสงครามเมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา
ไอเอ็มเอฟระบุต่อว่า ในยูเครน ความเสียหายทางเศรษฐกิจมีมากมายอยู่แล้ว โดยระบบโครงสร้างพื้นฐานปิดตัวลง เสียหายหรือถูกทำลาย ซึ่งยูเครนจะเผชิญกับการมีต้นทุนของการฟื้นตัวและการฟื้นฟูอย่างมีนัยสำคัญ
ไอเอ็มเอฟระบุว่าความช่วยเหลือฉุกเฉินทางการเงินที่ยูเครนร้องขอ ซึ่งมีรายงานเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ มีมูลค่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคำขอนี้จะมีการนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารไอเอ็มเอฟได้เร็วที่สุดในสัปดาห์หน้า
นอกจากนี้ มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงิน โดยจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญไปยังประเทศอื่นๆ ด้วย โดยราคาสินทรัพย์และอัตราแลกเปลี่ยนเงินรูเบิลของรัสเซียลดลงอย่างรวดเร็ว จากผลกระทบของมาตรการคว่ำบาตรที่ “ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนั้น ไดเส่งผลกระทบที่เร็วเกินคาด
ไอเอ็มเอฟเตือนอีกว่า ความขาดแคลนและการหยุดชะงักของอุปทานอาจรุนแรงโดยเฉพาะสำหรับประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับยูเครนและรัสเซีย ทั้งนี้ ประเทศมอลโดวาซึ่งมีพรมแดนติดกับยูเครน ได้ขอให้มีการเสริมและปรับโครงการสนับสนุนจากไอเอ็มเอฟที่มีอยู่แล้วเพื่อช่วยรองรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์ในปัจจุบัน
โดยนับจากที่รัสเซียเริ่มทำสงครามบุกโจมตียูเครน องค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น)ระบุว่ามีประชาชนที่หนีภัยสู้รบออกจากยูเครนแล้วเกือบ 1.4 ล้านคน โดยออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่รวมถึงมอลโดวาด้วย
‘เนติวิทย์’ โพสต์จดหมายจากม.ฮาร์วาร์ด กังวลเรื่องปลดพ้นตำแหน่งนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3217937
‘เนติวิทย์’ โพสต์จดหมายจากม.ฮาร์วาร์ด กังวลเรื่องปลดพ้นตำแหน่งนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม เนติวิทย์ ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Netiwit Ntw พร้อมข้อความภาษาอังกฤษ “Thank you Harvard University Asia Center for supporting student rights and freedom of expression” เป็นการแสดงความขอบคุณศูนย์เอเเชียของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ที่ให้การสนับสนุนสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของนักศึกษา และได้โพสต์จดหมายของศูนย์เอเชีย มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
(อ่านข่าว จุฬาฯ สั่งปลด ‘เนติวิทย์’ พ้นนายกอบจ. รับไม่ได้เชิญ ‘เพนกวิน-รุ้ง-ปวิน’ ไลฟ์สดงานนิสิตใหม่)
เป็นจดหมายที่ออกมาเมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา มีเนื้อแสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับการสั่งปลดนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล พ้นจากตำแหน่งนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ ว่า อาจจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อชื่อเสียงของประเทศไทย ในเรื่องของโครงการแลกเปลี่ยนและเรื่องของทุนการศึกษา ดังนั้นจึงขอให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และหาทางเจรจามากกว่าที่จะเผชิญหน้ากัน และเชื่อว่า ผลประโยชน์ของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่องที่ใหญ่กว่าเรื่องของทุนการศึกษาและการเรียนรู้ จะได้รับผลดีที่สุดจากเรื่องนี้
https://www.facebook.com/Netiwitntw/posts/494463642046364?__tn__=%2CO*F