ยอดโควิดวันนี้ 20,420 ราย ดับนิวไฮ 43
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3208612
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เผยแพร่ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนรวม 20,420 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 20,249 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 171 ราย ผู้ป่วยสะสม 688,912 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 18,297 ราย หายป่วยสะสม 505,152 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 215,725 ราย และเสียชีวิต 43 ราย
กลุ่มค้าปลีก ชง 4 ข้อ จี้รัฐตรึงราคาสินค้าแก้ปัญหาปากท้องประชาชน
https://www.prachachat.net/marketing/news-876037
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย และภาคีเครือข่าย ชง 4 มาตรการ รัฐแก้ไขปัญหาสินปากท้องประชาชนทั้งตรึงราคาสินค้า-สต็อกสินค้าอุปโภค บริโภค-แก้ไขกลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและออกมาตรการควบคุมราคา หลังอ่วมต้นทุน 8-10% พร้อมขนทัพสินค้าจำเป็น 500 รายตรึงราคาจนสิ้นสุดไตรมาส 1
วันที่ 1 มีนาคม 2565 นาย
ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาที่เกิดจากราคาพลังงานและอาหารสดที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนทุกคน และทุกระดับ โดยเฉพาะ ผู้ที่มีรายได้น้อยที่เจอผลกระทบ 2 เด้ง ทั้งในเรื่องของค่าครองชีพสูงขึ้น และรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัวจากโควิด-19 การตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจะเป็นการช่วยเหลือประชาชนได้อย่างตรงจุด
โดยตลอดเวลาที่ผ่านมาสมาคมฯ มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์รายใหญ่กว่า 30 ราย เพื่อตรึงราคาให้ครอบคลุมสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันกว่า 500 รายการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 จนถึงจบไตรมาสที่หนึ่งของปี 2565 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด โดยได้ทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์อย่างใกล้ชิดในการตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น รวมถึงสมาชิกและภาคีเครือข่ายของสมาคมฯ ยังคงรักษาอัตราการจ้างงานที่มีจำนวนกว่า 1.1 ล้านอัตราให้คงเดิม
ซึ่งในการประชุมครั้งล่าสุดของสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ยังคงยืนยันที่จะพยายามตรึงราคาสินค้าอุปโภคและบริโภค เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนอยู่มากต้องประเมินเป็นรายไตรมาส โดยเฉพาะราคาพลังงานและอาหารสดซึ่งเป็นปัจจัยหลักของปัญหาค่าครองชีพของประชาชนในขณะนี้
ทั้งนี้ขอนำเสนอมาตรการเพื่อที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในภาวะที่ค่าครองชีพสูงและเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย
1. ตรึงราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น ซึ่งสมาคมฯ และซัพพลายเออร์ในภาคีเครือข่ายยืนยันที่จะตรึงราคาสินค้าฯ จนถึงจบไตรมาสที่หนึ่งของปี 2565 ทั้งนี้ นโยบายการตรึงราคาจะมีการประเมินเป็นรายไตรมาส
2. เตรียมสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นให้กับประชาชน เพื่อเตรียมสต๊อกสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
3. ช่วยฟื้นฟู SMEs ไทย สมาคมฯ และภาคีเครือข่ายจะเร่งขยายในเรื่องการจัดหาแหล่งเงินทุนให้ SMEs ไทยนอกจากนี้ สมาคมฯ ยังคงยืนยันที่จะพยุงการจ้างงานในระบบค้าปลีกให้อยู่ที่ 1.1 ล้านอัตรา
โดยขอให้ภาครัฐเร่งผลักดันมาตรการมาตรการเพื่อฟื้นเศรษฐกิจในหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการ
1. เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายของภาครัฐ ที่มีวงเงินงบประมาณถึง 3.1 ล้านล้านบาท ให้มีการอนุมัติและดำเนินการเพื่อให้เม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว
2. การพยุงราคาพลังงานให้คงที่ โดยการใช้ทุกมาตรการเพื่อพยุงราคาพลังงานให้นานที่สุด ถึงแม้รัฐบาลได้มีมาตรการพยุงราคาน้ำมันปรับลดภาษีอัตราน้ำมันดีเซลสรรพสามิตและน้ำมันอื่นๆ 3 บาท ต่อลิตรเป็นระยะเวลา 3 เดือนแล้ว อาจจะยังไม่เพียงพอ จึงควรพิจารณามาตรการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และการออกมาตรการควบคุมราคาค่าขนส่งซึ่งค่าขนส่งถือว่ามีสัดส่วนถึง 8-10% ของต้นทุนสินค้า และ
3. กระตุ้นกำลังซื้อของประชาชน โดยคงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการ“คนละครึ่ง” และ โครงการ “ช้อปดีมีคืน” ที่ภาครัฐดำเนินการได้ดีอยู่แล้วในการกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชน
และเพื่อเป็นการอัดฉีดเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบจากผู้ที่ยังมีกำลังซื้ออยู่ ขอให้ภาครัฐพิจารณาโครงการ “ช้อปดีมีคืน” เฟสสองเพิ่มเติม และให้ยืดทั้งระยะเวลาโครงการ รวมถึงวงเงิน ที่สามารถใช้จ่าย โดยเพิ่มจาก 30,000 บาท เป็น 100,000 บาท ทั้ง 2 โครงการจะเป็นการเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ ประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดได้ต่อไป
กรุงเทพฯ เช้านี้ ฝุ่นพิษเกินค่ามาตรฐาน 38 พื้นที่
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3208623
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ประจำวันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2565 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
ตรวจวัดได้ 36-66 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 38 พื้นที่ คือ
1.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 66 มคก./ลบ.ม.
2.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 64 มคก./ลบ.ม.
3.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 64 มคก./ลบ.ม.
4.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.
5.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
6.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมันเอสโซ่ ซอยลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
7.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
8.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
9.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
10.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
11.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
12.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
13.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
14.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
15.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
16.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
17.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
18.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
19.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
20.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
21.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
22.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
23.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
24.เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
25.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอยถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
26.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
27.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
28.สวนหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
29.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
30.เขตบางนา บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
31.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
32.เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
33.เขตบางกะปิ ข้างป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงานเขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
34.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
35.เขตราชเทวี ภายในสำนักงานเขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
36.เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
37.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
38.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศเริ่มมีผลต่อสุขภาพ
JJNY : วันนี้20,420 ดับนิวไฮ43│กลุ่มค้าปลีกจี้รัฐตรึงราคาสินค้า│กรุงเทพฯเช้านี้ ฝุ่นเกิน38ที่│ยูเครนเจรจารอบแรกไม่คืบ
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3208612
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เผยแพร่ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนรวม 20,420 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 20,249 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 171 ราย ผู้ป่วยสะสม 688,912 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 18,297 ราย หายป่วยสะสม 505,152 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 215,725 ราย และเสียชีวิต 43 ราย
กลุ่มค้าปลีก ชง 4 ข้อ จี้รัฐตรึงราคาสินค้าแก้ปัญหาปากท้องประชาชน
https://www.prachachat.net/marketing/news-876037
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย และภาคีเครือข่าย ชง 4 มาตรการ รัฐแก้ไขปัญหาสินปากท้องประชาชนทั้งตรึงราคาสินค้า-สต็อกสินค้าอุปโภค บริโภค-แก้ไขกลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและออกมาตรการควบคุมราคา หลังอ่วมต้นทุน 8-10% พร้อมขนทัพสินค้าจำเป็น 500 รายตรึงราคาจนสิ้นสุดไตรมาส 1
วันที่ 1 มีนาคม 2565 นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาที่เกิดจากราคาพลังงานและอาหารสดที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนทุกคน และทุกระดับ โดยเฉพาะ ผู้ที่มีรายได้น้อยที่เจอผลกระทบ 2 เด้ง ทั้งในเรื่องของค่าครองชีพสูงขึ้น และรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัวจากโควิด-19 การตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจะเป็นการช่วยเหลือประชาชนได้อย่างตรงจุด
โดยตลอดเวลาที่ผ่านมาสมาคมฯ มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์รายใหญ่กว่า 30 ราย เพื่อตรึงราคาให้ครอบคลุมสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันกว่า 500 รายการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 จนถึงจบไตรมาสที่หนึ่งของปี 2565 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด โดยได้ทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์อย่างใกล้ชิดในการตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น รวมถึงสมาชิกและภาคีเครือข่ายของสมาคมฯ ยังคงรักษาอัตราการจ้างงานที่มีจำนวนกว่า 1.1 ล้านอัตราให้คงเดิม
ซึ่งในการประชุมครั้งล่าสุดของสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ยังคงยืนยันที่จะพยายามตรึงราคาสินค้าอุปโภคและบริโภค เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนอยู่มากต้องประเมินเป็นรายไตรมาส โดยเฉพาะราคาพลังงานและอาหารสดซึ่งเป็นปัจจัยหลักของปัญหาค่าครองชีพของประชาชนในขณะนี้
ทั้งนี้ขอนำเสนอมาตรการเพื่อที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในภาวะที่ค่าครองชีพสูงและเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย
1. ตรึงราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น ซึ่งสมาคมฯ และซัพพลายเออร์ในภาคีเครือข่ายยืนยันที่จะตรึงราคาสินค้าฯ จนถึงจบไตรมาสที่หนึ่งของปี 2565 ทั้งนี้ นโยบายการตรึงราคาจะมีการประเมินเป็นรายไตรมาส
2. เตรียมสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นให้กับประชาชน เพื่อเตรียมสต๊อกสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
3. ช่วยฟื้นฟู SMEs ไทย สมาคมฯ และภาคีเครือข่ายจะเร่งขยายในเรื่องการจัดหาแหล่งเงินทุนให้ SMEs ไทยนอกจากนี้ สมาคมฯ ยังคงยืนยันที่จะพยุงการจ้างงานในระบบค้าปลีกให้อยู่ที่ 1.1 ล้านอัตรา
โดยขอให้ภาครัฐเร่งผลักดันมาตรการมาตรการเพื่อฟื้นเศรษฐกิจในหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการ
1. เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายของภาครัฐ ที่มีวงเงินงบประมาณถึง 3.1 ล้านล้านบาท ให้มีการอนุมัติและดำเนินการเพื่อให้เม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว
2. การพยุงราคาพลังงานให้คงที่ โดยการใช้ทุกมาตรการเพื่อพยุงราคาพลังงานให้นานที่สุด ถึงแม้รัฐบาลได้มีมาตรการพยุงราคาน้ำมันปรับลดภาษีอัตราน้ำมันดีเซลสรรพสามิตและน้ำมันอื่นๆ 3 บาท ต่อลิตรเป็นระยะเวลา 3 เดือนแล้ว อาจจะยังไม่เพียงพอ จึงควรพิจารณามาตรการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และการออกมาตรการควบคุมราคาค่าขนส่งซึ่งค่าขนส่งถือว่ามีสัดส่วนถึง 8-10% ของต้นทุนสินค้า และ
3. กระตุ้นกำลังซื้อของประชาชน โดยคงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการ“คนละครึ่ง” และ โครงการ “ช้อปดีมีคืน” ที่ภาครัฐดำเนินการได้ดีอยู่แล้วในการกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชน
และเพื่อเป็นการอัดฉีดเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบจากผู้ที่ยังมีกำลังซื้ออยู่ ขอให้ภาครัฐพิจารณาโครงการ “ช้อปดีมีคืน” เฟสสองเพิ่มเติม และให้ยืดทั้งระยะเวลาโครงการ รวมถึงวงเงิน ที่สามารถใช้จ่าย โดยเพิ่มจาก 30,000 บาท เป็น 100,000 บาท ทั้ง 2 โครงการจะเป็นการเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ ประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดได้ต่อไป
กรุงเทพฯ เช้านี้ ฝุ่นพิษเกินค่ามาตรฐาน 38 พื้นที่
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3208623
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ประจำวันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2565 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
ตรวจวัดได้ 36-66 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 38 พื้นที่ คือ
1.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 66 มคก./ลบ.ม.
2.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 64 มคก./ลบ.ม.
3.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 64 มคก./ลบ.ม.
4.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.
5.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
6.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมันเอสโซ่ ซอยลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
7.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
8.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
9.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
10.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
11.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
12.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
13.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
14.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
15.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
16.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
17.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
18.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
19.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
20.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
21.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
22.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
23.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
24.เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
25.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอยถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
26.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
27.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
28.สวนหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
29.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
30.เขตบางนา บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
31.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
32.เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
33.เขตบางกะปิ ข้างป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงานเขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
34.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
35.เขตราชเทวี ภายในสำนักงานเขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
36.เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
37.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
38.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศเริ่มมีผลต่อสุขภาพ