JJNY : คาดศก.ไตรมาส2แผ่ว│3ด.ยอดแป้ก ธุรกิจกุมขมับ│‘พท.’ชู‘เทวลัยพิฆเนศ-ตลาดดึกห้วยขวาง’ดูดนทท.│วิโรจน์ ลุยตลาดบางกะปิ

คาดเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 แผ่ว จากค่าครองชีพแพงกระทบจับจ่ายในประเทศ
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/171326
 
 
อุปสงค์ต่างประเทศช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรก แต่แรงกดดันด้านราคาที่เร่งขึ้นอาจกระทบการใช้จ่ายในประเทศในระยะถัดไป

แม้มูลค่าส่งออกเดือนมีนาคมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 28.9 พันล้านดอลลาร์ ขยายตัว 19.5% YoY แต่ไม่ค่อยกระจายตัวจึงมีแนวโน้มอาจแผ่วลงได้ในไตรมาส 2 และหากหักทองคำออกมูลค่าส่งออกเดือนนี้จะเติบโต 9.5% ชะลอลงจาก 13.2% เดือนกุมภาพันธ์
 
ด้านตลาดส่งออกพบว่าตลาดหลักโดยเฉพาะสหรัฐฯ และอาเซียน-5 เติบโตดี ด้านตลาดยุโรป จีน ญี่ปุ่น และ CLMV เติบโตได้เพียงเล็กน้อย ส่วนด้านตลาดรัสเซียและยูเครนหดตัวลงมาก

ตลาดส่งออกสินค้าไทย
 
กลุ่มสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ i) สินค้าที่ได้รับอานิสงส์จากราคาพลังงานและโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ii) สินค้าเกษตรและอาหาร อาทิ ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย และ iii) สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงาน
 
มูลค่าส่งออกเดือนมีนาคมที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้ในไตรมาสแรกของปีมีมูลค่าส่งออกรวม 73.6 พันล้านดอลลาร์ ขยายตัว 14.9% (หากหักทองคำ ส่งออกขยายตัว 10.1%)
 
สำหรับแนวโน้มการส่งออกในไตรมาส 2 วิจัยกรุงศรีประเมินอาจจะขยายตัวชะลอลง เนื่องจากมีสัญญาณการกระจายตัวน้อยลงของการส่งออกทั้งในรายตลาดและรายสินค้า โดยสินค้าที่มีการส่งออกหดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยางพารา และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ประกอบกับยังต้องเผชิญกับปัจจัยลบจาก
  
•  เศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางชะลอตัวลงจากผลกระทบของสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ซึ่งล่าสุด IMF ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP โลกในปี 2565 เหลือ 3.6% จากเดิมคาด 4.4%
• มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียอาจกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานในหลายอุตสาหกรรม เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบสำคัญรายใหญ่
• ต้นทุนการผลิตและการขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่พุ่งขึ้น
• มาตรการปิดเมืองสำคัญของจีนที่มีแนวโน้มขยายกว้างขึ้น อาจกระทบต่อความต้องการสินค้าและเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญ  

เศรษฐกิจเดือนมีนาคมได้แรงหนุนจากภาคส่งออกและท่องเที่ยว ขณะที่อุปสงค์ในประเทศซบเซา โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเติบโตเพียงเล็กน้อย (+0.5% YoY) ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอยู่ในระดับสูง และภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน
 
ด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อน (+1.9%) ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่ยังไม่เข้มแข็ง และยังต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจยังได้แรงหนุนจากการขยายตัวของภาคส่งออก และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากมีการทยอยผ่อนคลายมาตรการ
 
เศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้ยังคงเติบโตต่อเนื่องแม้จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโอมิครอน และแรงกดดันจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่ยังพอมีปัจจัยบวกจากมาตรการรัฐเพื่อช่วยพยุงกำลังซื้อ และการเติบโตของภาคส่งออกและท่องเที่ยว
 
อย่างไรก็ตาม ในระยะข้างหน้า แม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะได้รับปัจจัยหนุนจากมาตรการที่ผ่อนคลายมากขึ้น และการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัวสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ แต่คาดว่าเศรษฐกิจอาจได้รับผลเชิงบวกไม่เต็มที่ เนื่องจากปัจจัยลบจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ กระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยชะลอลง และยังส่งผลให้ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้น
 
โดยตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ราคาน้ำมันดีเซลในประเทศถูกปรับขึ้นเป็น 32 บาทต่อลิตร และอาจมีการทยอยปรับขึ้นแบบขั้นบันไดจนถึงกรอบเพดานที่ 35 บาทต่อลิตร จึงอาจสร้างแรงกดดันต่อต้นทุนการผลิตและบั่นทอนกำลังซื้อของภาคครัวเรือนโดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อย แม้ภาครัฐจะทยอยออกมาตรการเพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพในบางกลุ่มเพิ่มเติม ล่าสุดเพิ่มเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุอีกเดือนละ 100-250 บาท เป็นเวลา 6 เดือน (เมษายน-กันยายน) วงเงินรวมกว่า 8 พันล้านบาท
 

 
3 เดือนยอดแป้ก ธุรกิจกุมขมับ ของแพงทุบซ้ำกำลังซื้อ-โอกาสฟื้นยาก
https://www.prachachat.net/marketing/news-922593

อาการน่าเป็นห่วง ! ธุรกิจบ่นอุบ 3 เดือนแรกยอดขายสุดอืด ค้าปลีกทั่วทิศประสานเสียงตัวเลขร่วงระนาว พิษกำลังซื้อดำดิ่ง-ผู้บริโภคชะลอจับจ่าย หวั่นของแพง-เงินเฟ้อ ทุบซ้ำ แนะรัฐอัดงบฯกระตุ้นจับจ่าย
 
“สหพัฒน์” ชี้ ก.พ.สินค้าอุปโภคบริโภค ติดลบกว่า 6% แถมเจอต้นทุนวัตถุดิบพุ่ง-ของขาดขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้ายอมรับสภาพดีมานด์ลดทั้งตลาด ก.พ.-มี.ค.แผ่วหนัก
 
แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการค้าปลีก เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกช่วงไตรมาส 1/2565 ที่ผ่านมาลดลง 10-12% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 4/2564 โดยในส่วนของค้าปลีกในตลาดต่างจังหวัด หรือห้างภูธร
 
แม้จะมียอดขายที่ดีและสามารถเติบโตได้ในระดับหนึ่งในช่วงปลายปี 2564 จากมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ แต่ในปีนี้มาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลงไปเช่นเดียวกับผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ในภาคกลาง ที่มีอัตราการเติบโตยังคงทรงตัว
 
เนื่องจากไม่ได้รับอานิสงส์จากมาตรการการกระตุ้นการจับจ่ายของรัฐบาลมากนัก ซึ่งในภาพรวมของอุตสาหกรรมค้าปลีกที่มียอดลดลงดังกล่าว ปัจจัยหลักมาจากปัญหากำลังซื้อผู้บริโภคลดลงและชะลอการจับจ่าย
 
ค้าปลีกโอดยอดขายสะดุด
 
แหล่งข่าวรายนี้ยังระบุด้วยว่า ที่ผ่านมายอดขายของโครงการคนละครึ่งในภาคค้าปลีกมีสัดส่วน 20% ของมูลค่าทั้งหมด แต่พอมาตรการนี้สิ้นสุดลงก็เท่ากับว่าตัวเลขเม็ดเงินก็จะหายไปจากระบบ 20% เช่นกัน
 
ขณะเดียวกัน ก็สะท้อนว่าการมีมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อในแต่ละครั้งแต่ละเฟสสามารถช่วยปลุกกำลังซื้อและทำให้มีเม็ดเงินสะพัดได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ในช่วงครึ่งปีหลังที่เหลือซึ่งภาพรวมเศรษฐกิจยังมีปัญหา
 
โดยเฉพาะค่าครองชีพต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น แต่รายได้มีเท่าเดิมหรือลดลง รวมทั้งปัจจัยภายนอก ปัญหาสงคราม ราคาน้ำมัน ฯลฯ ที่จะส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจและกำลังซื้อ ภาครัฐควรจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาเพื่อปลุกกำลังซื้ออีกครั้ง
 
“ขณะนี้แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายเปิดประเทศ และเริ่มไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา และส่งผลต่อบรรยากาศให้ดูคึกคักและมีสีสันมากขึ้นแต่ปัจจัยลบในเรื่องของผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง
 
ค่าครองชีพสูงขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อจะยังเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ภาพรวมกำลังซื้อในช่วงไตรมาส 2/2565 ยังชะลอตัว ธุรกิจการค้ายังเหนื่อยและไม่ง่ายที่จะฟื้นตัว”
 
สอดคล้องกับแหล่งข่าวระดับสูงจากวงการค้าปลีกค้าส่งรายใหญ่อีกรายหนึ่งที่แสดงความเห็นเรื่องนี้ว่า ขณะนี้ภาพรวมของยอดขายสินค้าต่าง ๆโดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคยังอยู่ในภาวะที่ชะลอตัวและมีตัวเลขที่ลดลง
 
จากช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ยอดขายร่วง 10% ผลจากกำลังซื้อในภาพรวมที่ยังเป็นปัญหา โครงการคนละครึ่งสิ้นสุดลง ประกอบกับที่ผ่านมาสินค้าหลาย ๆ อย่างได้มีการปรับขึ้นราคาจากปัญหาต้นทุนการดำเนินงานต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา
และผู้บริโภคระมัดระวังการจับจ่ายจากค่าครองชีพต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น และซื้อเฉพาะสินค้าที่จำเป็นเนื่องจากกำลังซื้อหรือรายได้ที่ลดลง
 
สินค้าอุปโภคบริโภคติดลบ
 
นายเวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ระบุว่า ช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ที่ผ่านมา สินค้าอุปโภคบริโภคในภาพรวมมียอดขายค่อนข้างทรงตัว
 
แต่ที่กระทบหนักคือเดือนกุมภาพันธ์ตลาดติดลบกว่า 6% ที่ตกมากที่สุดคือ กลุ่มสินค้าเพอร์ซันนอลแคร์และเคมิคอลหลังจากไตรมาส 1 เป็นต้นไปประเมินว่าตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคจะติดลบไปเรื่อย ๆ เพราะตอนนี้ไม่ใช่แค่ปัญหาวัตถุดิบที่มีราคาเพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ตอนนี้วัตถุดิบหลาย ๆ อย่างก็เริ่มขาดแคลนและไม่มี
 
“ปัญหาหลาย ๆ อย่างประกอบกัน และตอนนี้โรงงานหลาย ๆ แห่งก็มีปัญหาเรื่องการผลิตที่ไม่สามารถทำได้เต็มที่ ติด ๆ ขัด ๆ เนื่องจากพนักงานติดโควิดสำหรับสหพัฒน์ก็ค่อนข้างกังวลเรื่องภาวะต้นทุนที่สูงขึ้นต่อเนื่อง
 
และเน้นการบริหารจัดการด้านการทำตลาดเข้ามาช่วย หรือสินค้ากลุ่มไหนที่มีการแข่งขันสูงก็ต้องจัดโปรโมชั่นแรง 1 แถม 1 แต่ตอนนี้จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้ต้องลดโปรโมชั่นลงเพื่อให้พออยู่ได้
 
“เรากำลังวิเคราะห์อยู่ว่าสาเหตุหลักมาจากอะไร ในที่สุดต้องมองไปที่เรื่องกำลังซื้อ ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบขึ้นราคา ทำให้กลุ่มสินค้าไม่มีการจัดโปรโมชั่นแรง ๆ หรือลดความถี่ในการทำโปรโมชั่นลงนอกจากนี้
 
ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าประชาชนหรือผู้บริโภคทั่ว ๆ ไปไม่ซื้อสินค้าในปริมาณมากเหมือนเมื่อก่อน ซื้อเฉพาะของใช้ที่จำเป็น”
 
นายวิโรจน์ วชิรเดชกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่าขนมขบเคี้ยวรายใหญ่ อาทิ เจเล่, เบนโตะ, ขนมขาไก่โลตัส, ช็อคกี้เวเฟอร์ เป็นต้น
 
ยอมรับว่าช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาภาพรวมกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงค่อนข้างชัดเจน เป็นผลจากงบประมาณการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงที่มีมาตรการคนละครึ่งสามารถช่วยกระตุ้นยอดกลุ่มเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวให้เติบโตได้มาก ร้านค้าในต่างจังหวัดสต๊อกสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
 
หลังจากมาตรการหมดลงผู้ประกอบการทุกค่ายต่างต้องพยายามจัดโปรโมชั่นในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการจับจ่าย อย่างไรก็ตาม จากการสังเกตพบว่าจากปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้สินค้าหลาย ๆ อย่างมีการปรับขึ้นราคา
 
แต่เงินในกระเป๋าเท่าเดิม ทำให้ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าจำเป็นเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวคาดหวังว่าจากนโยบายการเปิดประเทศที่เพิ่งเริ่มไปเมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา
 
ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีนักท่องเที่ยวและชาวต่างประเทศทยอยเดินทางเข้ามาในประเทศมากขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเช่น โรงแรม ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยวรวมทั้งเศรษฐกิจในภาพรวมค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับมาในระยะถัดไป
 
เครื่องใช้ไฟฟ้าดีมานด์ลด
 
นายอำนาจ สิงห์จันทร์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในเรื่องนี้ว่า จากการติดตามภาพรวมตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาพบว่าดีมานด์ลดลงทั้งตลาดแม้เดือนมกราคมตลาดคึกคักมากกว่าที่คาด
 
แต่เริ่มแผ่วลงในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ต่อเนื่องจนถึงช่วงต้นเดือนเมษายน ปัจจัยหลักเป็นผลมาจากการระบาดของโอมิครอน และราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์สงคราม ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการเดินทางและการจับจ่ายในห้าง-งานแฟร์ต่าง ๆ
 
เช่นเดียวกับนายธวัช มานะวงศ์ กรรมการบริหาร บริษัท สเต็ป ฟอร์เวิร์ด กรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตนำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นเล็กแบรนด์ “สมาร์ทโฮม” กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า บรรยากาศการจับจ่ายช่วงไตรมาสแรกลดลงมากจากหลายปัจจัย ทั้งในแง่รายได้ที่ลดลง
 
แต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นของกินของใช้ที่มีการปรับขึ้นราคามาเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา สถานการณ์โรคระบาดที่ยาวนาน รวมไปถึงสงครามในยุโรปซึ่งกระทบการท่องเที่ยวและส่งออก ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะจับจ่ายแต่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่