ส.ว.-ส.ส.รัฐบาล" ตีตก ร่างพ.ร.ป.พรรคการเมือง ของ "ฝ่ายค้าน" ทุกฉบับ
รัฐสภา" ตีตก 3ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ของพรรคฝ่ายค้าน ทุกฉบับ คาดเป็นเสียงส.ส.รวมกับส.ส.รัฐบาล ใช้กมธ.ชุดเดียวกับ ร่างพ.ร.ป.ส.ส.
เมื่อเวลา 19.28 น. ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ได้เข้าสู่การลงมติในวาระแรก ว่าจะรับหลักการ หรือไม่รับหลักการ ขอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... ซึ่งมีผู้เสนอรวม 6 ฉบับ โดยใช้การลงมติทีละฉบับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผลการลงมติพบว่า ที่ประชุมรัฐสภาเสียงข้างมาก รับร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง (ฉบับที่...) พ.ศ... จำนวน 3 ฉบับ
ได้แก่ ฉบับ คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับหลักการ 598 เสียง ต่อ 11 เสียง และงดออกเสียง 14 เสียง
ฉบับของนายวิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ รับหลักการ 578 เสียง ไม่รับหลักการ 19 เสียง และงดออเสียง 26 เสียง
และ ฉบับของนายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐ เสนอ รับหลักการ 408 เสียง ไม่รับหลักการ 184 เสียง และงดออกเสียง 28 เสียง
ขณะที่อีก 3 ฉบับ ของพรรคร่วมฝ่ายค้าน มติที่ประชุมเสียงข้างมากไม่รับหลักการ ได้แก่
ฉบับ ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคประชาชาติ รับหลักการ 207 เสียง ต่อ 375 เสียง งดออกเสียง 37 เสียง
ฉบับ ของ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย รับหลักการ 221 เสียง ไม่รับหลักการ 371 เสียง และงดออกเสียง 30 เสียง
และ ฉบับของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล รับหลักการ 205 เสียง ไม่รับหลักการ 380 เสียง งดออกเสียง 34 เสียง
สำหรับเสียงของการลงมติไม่รับหลักการร่างพ.ร.ป.ดังกล่าว ของพรรคฝ่ายค้าน ทั้ง 3 ฉบับนั้น คาดว่าจะมาจากเสียง ฝั่งส.ว. และส.ส.ฝั่งรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับการตั้งกมธ.นั้น มติที่ประชุมได้ใช้กมธ.ชุดเดียวกับ การพิจารณาร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. แต่ได้เปลี่ยนแปลงรายชื่อ 1 คน จากสัดส่วนของ ครม. จากนายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ เป็น นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่
อย่างไรก็ดีในการพิจารณาว่าจะใช้ร่างฉบับใดเป็นหลัก พบว่า ส.ส.พรรครัฐบาล เสนอให้ใช้ฉบับของนายวิเชียรเป็นหลัก แต่นายกล้าณรงค์ จันทิก ส.ว.เสนอให้ใช้ฉบับของครม. เป็นหลัก ทำให้ต้องใช้มติตัดสิน โดยเสียงข้างมากให้ใช้ฉบับของนายวิเชียรเป็นหลักในการพิจารณาวาระที่สอง
https://www.bangkokbiznews.com/politics/990525
ร่าง พรป.พรรคการเมืองของนายพิธา
มีคนรับหลักการน้อยที่สุด
💙มาลาริน/ข่าวนี้ดี้ดีค่ะ...ส.ว.-ส.ส.รัฐบาล" ตีตก ร่างพ.ร.ป.พรรคการเมือง ของ "ฝ่ายค้าน" ทุกฉบับ
รัฐสภา" ตีตก 3ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ของพรรคฝ่ายค้าน ทุกฉบับ คาดเป็นเสียงส.ส.รวมกับส.ส.รัฐบาล ใช้กมธ.ชุดเดียวกับ ร่างพ.ร.ป.ส.ส.
เมื่อเวลา 19.28 น. ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ได้เข้าสู่การลงมติในวาระแรก ว่าจะรับหลักการ หรือไม่รับหลักการ ขอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... ซึ่งมีผู้เสนอรวม 6 ฉบับ โดยใช้การลงมติทีละฉบับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผลการลงมติพบว่า ที่ประชุมรัฐสภาเสียงข้างมาก รับร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง (ฉบับที่...) พ.ศ... จำนวน 3 ฉบับ
ได้แก่ ฉบับ คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับหลักการ 598 เสียง ต่อ 11 เสียง และงดออกเสียง 14 เสียง
ฉบับของนายวิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ รับหลักการ 578 เสียง ไม่รับหลักการ 19 เสียง และงดออเสียง 26 เสียง
และ ฉบับของนายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐ เสนอ รับหลักการ 408 เสียง ไม่รับหลักการ 184 เสียง และงดออกเสียง 28 เสียง
ขณะที่อีก 3 ฉบับ ของพรรคร่วมฝ่ายค้าน มติที่ประชุมเสียงข้างมากไม่รับหลักการ ได้แก่
ฉบับ ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคประชาชาติ รับหลักการ 207 เสียง ต่อ 375 เสียง งดออกเสียง 37 เสียง
ฉบับ ของ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย รับหลักการ 221 เสียง ไม่รับหลักการ 371 เสียง และงดออกเสียง 30 เสียง
และ ฉบับของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล รับหลักการ 205 เสียง ไม่รับหลักการ 380 เสียง งดออกเสียง 34 เสียง
สำหรับเสียงของการลงมติไม่รับหลักการร่างพ.ร.ป.ดังกล่าว ของพรรคฝ่ายค้าน ทั้ง 3 ฉบับนั้น คาดว่าจะมาจากเสียง ฝั่งส.ว. และส.ส.ฝั่งรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับการตั้งกมธ.นั้น มติที่ประชุมได้ใช้กมธ.ชุดเดียวกับ การพิจารณาร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. แต่ได้เปลี่ยนแปลงรายชื่อ 1 คน จากสัดส่วนของ ครม. จากนายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ เป็น นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่
อย่างไรก็ดีในการพิจารณาว่าจะใช้ร่างฉบับใดเป็นหลัก พบว่า ส.ส.พรรครัฐบาล เสนอให้ใช้ฉบับของนายวิเชียรเป็นหลัก แต่นายกล้าณรงค์ จันทิก ส.ว.เสนอให้ใช้ฉบับของครม. เป็นหลัก ทำให้ต้องใช้มติตัดสิน โดยเสียงข้างมากให้ใช้ฉบับของนายวิเชียรเป็นหลักในการพิจารณาวาระที่สอง
https://www.bangkokbiznews.com/politics/990525
ร่าง พรป.พรรคการเมืองของนายพิธา
มีคนรับหลักการน้อยที่สุด