🧡💚มาลาริน🇹🇭24ก.พ.ไทยไม่ติดTop10โลก/ป่วย23,557คน หายป่วย16,131คน ตาย38คน/ย้ำ"โควิด"ไร้อาการ ไม่ต้องใช้ฟาวิพิราเวียร์


https://www.bangkokbiznews.com/news/990116



https://travel.trueid.net/detail/gA37LpN8JwGA?utm_source=web-trueid&utm_medium=ctw&utm_term=clicklink&utm_campaign=travel_EpwDxDy0Jd17_relatecontent_travel_gA37LpN8JwGA_28/12/2020

เพี้ยนปักหมุดยาไม่ใช่ขนม!! ย้ำ "โควิด" ไร้อาการ ไม่ต้องใช้ฟาวิพิราเวียร์ จ่ายเท่าที่จำเป็นตามดุลยพินิจหมอ หวั่นทำตับอักเสบ



สธ.ย้ำจ่าย "ยาฟาวิพิราเวียร์" ผู้ป่วยโควิดที่มีอาการ ชี้ยาไม่ใช่ขนม จ่ายยาเท่าที่จำเป็นตามดุลยพินิจแพทย์ ระบุโอมิครอนส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องรับยา หรือรักษาตามอาการได้ ชี้ฟาวิฯ มีผลข้างเคียง ทั้งตับอักเสบ ตาเรืองแสง ยิ่งไม่ควรกินคู่ฟ้าทะลายโจร ยิ่งทำผลข้างเคียงมากขึ้น

เมื่อวันที่ 24 ก.พ. นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความจำเป็นเรื่องยาฟาวิพิราเวียร์ในกลุ่มโควิดที่ไม่มีอาการ ว่า ขณะนี้มีการปรับการดูแลรักษา โดยหากไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งไปตามลักษณะของทั่วโลก โดยเราจะจ่ายให้กับผู้ที่มีอาการปานกลางขึ้นไป เป็นไกด์ไลน์ใหม่ของกรมการแพทย์

เมื่อถามถึงผู้ติดเชื้อไม่มีอาการแต่อยากได้ยาฟาวิพิราเวียร์ นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า การจ่ายยาขอให้แพทย์เป็นผู้พิจารณา และทำความเข้าใจกับคนไข้ ยาคือยา ต่างจากขนม ยาทานเข้าไปแล้วก็มีผลดี ผลข้างเคียงและผลเสีย จึงต้องรับประทานที่จำเป็นจริงๆ เราน่าจะเป็นการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์มากที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะเราใช้หลายสิบล้านเม็ด แต่ต้องพิจารณาข้อดีข้อเสีย

ด้าน นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์กล่าวว่า การที่ให้รักษา HI First เพราะเราฉีดวัคซีนเยอะกว่า 80% คนเฝ้าระวัง ใส่ใจตัวเองมากขึ้น โรคก็เบาลง โดยจะมีเครื่องมือ อุปกรณ์ อาหาร ยาไปดูแล แพทย์ติดตามอาการทุกวัน โดยย้ำว่าไม่มีอาการไม่ต้องรับยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ หากมีอาการหรือความเสี่ยงจะอยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์ ส่วนกรณีมีอาการเปลี่ยนแปลง เช่น ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียสนานเกิน 24 ชั่วโมง หายใจเร็วเกิน 25 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่ ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 94% บางคนมีโรคร่วม เช่น โรคไต หัวใจ ความดัน อาการกำเริบ กลุ่มนี้ก็จะพิจารณานำเข้า รพ. ส่วนเด็กเล็กสังเกตอาการยากขึ้น วัดออกซิเจนปลายนิ้วอาจลำบาก เพราะอุปกรณ์ไม่พอดี ให้ดูการหายใจลำบาก ไม่กินนม ไม่กินข้าว ซึมลง ซึ่งกรณีมีอาการฉุกเฉินสามารถโทร 1669 ได้

"ย้ำว่าไม่มีอาการไม่ต้องรับยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ ทุกวันนี้มีการเข้าใจผิด มีประชาชนและจิตอาสามาขอยาให้ประชาชน อยากบอกว่าแนวทางการรักษาในปัจจุบันออกมาว่า ผู้ป่วยไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องได้ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ หากมีอาการหรือความเสี่ยงก็อีกเรื่อง แต่อาจพิจารณาให้ฟ้าทะลายโจรได้ แต่หากรับฟ้าทะลายโจรแล้วก็ไม่ควรรับฟาวิพิราเวียร์มารับประทานร่วมกัน อาจเกิดภาวะตับอักเสบได้ ถ้าอาการมากขึ้นจะมียาตัวอื่น หรือส่งเข้า รพ.รักษาตามระบบตามปกติ" นพ.ณัฐพงศ์กล่าว

นพ.ณัฐพงศ์กล่าวว่า ข้อบ่งชี้การรับยานั้น ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการเลย ไม่จำเป็นต้องรับยา ถ้ามีอาการแม้แต่เล็กน้อย จะเป็นดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา ว่าจำเป็นมากน้อยแค่ไหน บางท่านเสี่ยงแพ้ยาได้ หรืออาการข้างเคียงจากการกินยาร่วมกัน โดยผู้ป่วยปอดบวมควรได้ยา แต่ถ้ายาตัวใดตัวหนึ่งอาจมีอาการข้างเคียงก็จะเปลี่ยนอีกตัวหนึ่ง อย่างคนท้องเราไม่ให้ฟาวิพิราเวียร์ ต้องเป็นเรมดิซีเวียร์ ถ้ามีอาการดุลยพินิจของแพทย์ เช่น ไข้ไอเหนื่อยหอบเหมือนมีปอดบวม 3 วันไข้ไม่ลง ถือว่ามีข้อบ่งชี้

เมื่อถามว่า ผู้ติดเชื้อโควิดที่ไม่มีอาการ แล้วรับยาฟาวิพิราเวียร์จะส่งผลอย่างไร นพ.ณัฐพงศ์ กล่าวว่า การกินยาฟาวิพิราเวียร์มีโอกาสเกิดผลข้างเคียง ที่กลัวคือ ตับอักเสบ แม้จะไม่เกิดขึ้นมาก แต่ก็เกิดได้ รวมถึงกรณีที่มีดวงตาเปลี่ยนเป็นสีฟ้า ฉะนั้น หากไม่มีอาการก็ไม่มีความจำเป็น ยิ่งกินคู่กับฟ้าทะลายโจรทำให้มีอาการขึ้นมา ฉะนั้น ต้องซักประวัติก่อนว่า รับยาฟ้าทะลายโจรมาแล้วหรือไม่ ต้องหยุดก่อน ไม่กินคู่กัน

เมื่อถามว่า ผู้ติดเชื้อกลุ่มเขียวที่ไม่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์มีโอกาสที่อาการจะมากขึ้นหรือไม่ นพ.ณัฐพงศ์ กล่าวว่า สำหรับคนไม่มีอาการและไม่ได้รับยา ถ้าแพทย์วินิจฉัยเร็วก็ต้องรอดูอาการอีก 2-3 วัน หากยังไม่มีอาการ ก็ไม่จำเป็นต้องรับยาฟาวิราเวียร์ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ไปมาก ทำให้คนเข้าใจว่าต้องกินยา คนเรียกร้องเข้ามาผ่าน 1330 เพราะต้องการยา ทั้งที่ไม่มีความจำเป็น ซึ่งยังเน้นย้ำว่า หากเป็นอาการเล็กน้อยให้รักษาตามอาการ ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดหายเองได้ ไวรัสวันนี้เหมือนไข้หวัด แต่ที่ผ่านมา เดลตามีความรุนแรง ไม่มีภูมิต้านทาน ก็ลงปอด ยิ่งมีโรคประจำตัว ก็แย่ลง พอติดเชื้อแจ้งเข้ามาส่วนใหญ่ก้มีอาการจึงจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ แต่ช่วงนี้โรคมีความรุนแรงลดลง ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ พอมี ATK ก้ตรวจรู้ผลเร็ว ไม่มีอาการ จึงไม่ได้จ่ายยา

https://mgronline.com/qol/detail/9650000018899

เพี้ยนปักหมุด ติดตามข่าวโควิดวันนี้และย้อนหลังวานนี้ค่ะ

ติดงานสำคัญเมื่อวานนี้ ไม่ได้ลงกระทู้ ควบสองวันเลยนะคะ

......เพี้ยนแข็งแรง
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 29

ผู้ว่าฯ กทม.ระบุมีศูนย์พักคอยเพียงพอ รองรับผู้ป่วยโควิด-19 โทรแจ้งที่ศูนย์เอราวัณ หลังเฉลี่ยผู้ติดเชื้อ กทม.ประมาณ 3,000 คน

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เผย จำนวนเฉลี่ยผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใน กทม. อยู่ที่ประมาณ 3,000 คน โดยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้เพิ่มศูนย์รองรับอีก ร้อยละ 50 เพื่อทดแทนส่วนที่ใช้ไป

“ยืนยันว่าศูนย์พักคอยมีเพียงพอแน่นอน แต่ส่วนของโรงพยาบาลค่อนข้างเหลือน้อย แต่ยังไม่น่าหนักใจ เนื่องจากเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวจำนวนมาก ยืนยัน ไม่มีภาพผู้ป่วยในกทม.ไม่ได้รับการรักษา โดยผู้ป่วยสามารถโทรแจ้งได้ เพราะศูนย์เอราวัณ มีรถรับส่ง พร้อมขอให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวรักษาตัวที่บ้าน จะมีบุคลากรทางการแพทย์ค่อยส่งยาให้ ดูแลอย่างทั่วถึง” ผู้ว่า กทม. ระบุ
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/314714437357567


Save เก็บไว้เลย!! กทม. อัปเดตเบอร์โทรแจ้งผู้ป่วยโควิด เข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลในกรุงเทพฯ
- สายด่วน สปสช. 1330 กด 14
- สายด่วน 1669 กด 2
- สายด่วนโควิด (EOC) 50 เขต

ที่มา : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/314674190694925


ศบค. ปรับลดวงเงินประกันนักท่องเที่ยวเข้าประเทศเหลือ 2 หมื่นเหรียญฯ เริ่ม 1 มีนาคมนี้ ช่วยฟื้นฟูการท่องเที่ยว

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข เผยว่า ศบค.ปรับลดวงเงินประกันนักท่องเที่ยว จาก 50,000 เหรียญสหรัฐ เหลือ 20,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยว ซึ่งเพียงพอต่อการดูแลนักท่องเที่ยว โดยเฉลี่ยการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ไม่เกิน 3 แสนบาทต่อราย การมีวงเงินประกัน 20,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7 แสนบาท ถือว่าเพียงพอ และไม่ได้ใช้งบประมาณหรือกระทบกับภาษีของประชาชน อีกทั้งจะทำให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเข้าประเทศได้ง่ายขึ้น ประกอบกับตัวเลขผู้ติดเชื้อที่มาจากต่างประเทศลดลงมากประมาณ 1 ต่อ 1,000 คน ดังนั้น การติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ การตัดสินใจลดวงเงินประกันจึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในประเทศ

นอกจากนี้ จะไม่มีการตรวจ RT-PCR ในวันที่ 5 ของการเข้ามาของนักท่องเที่ยว แต่จะใช้วิธีตรวจ ATK แทน เชื่อว่ามีความแม่นยำในระดับหนึ่ง และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ วันที่ 1 มีนาคม นี้

ทั้งนี้ จะเร่งปรับปรุงและเพิ่มคู่สาย สปสช.1330 (3,000 คู่สาย) และอาจต้องเพิ่มเจ้าหน้าที่รับสายด้วย ขณะที่โรงพยาบาลสนามมีความพร้อมทุกด้าน หากจำเป็นสามารถดำเนินการได้ทันที

ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่า มีการรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อจำนวนจริงสูงกว่าที่มีการรายงานให้ประชาชนทราบถึง 5 เท่า รมว.สาธารณสุข ยืนยัน ไม่เป็นความจริง เพราะข้อมูลปกปิดไม่ได้
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/314883190674025


องค์การอนามัยโลกชี้ โควิดสายพันธุ์โอมิครอน BA.2 “อาการไม่รุนแรง” แต่แพร่ได้ง่ายกว่า BA.1

โฆษกกระทรวงสาธารณสุข รายงานข้อมูลล่าสุด (22 ก.พ.65) จากองค์การอนามัยโลก (WHO)  ระบุว่า ไวรัสโควิด19 สายพันธุ์โอมิครอน  BA.2 อาการไม่รุนแรงมากไปกว่าโอมิครอนดั้งเดิมหรือ BA.1 แต่สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายกว่า

ขณะนี้ ข้อมูลเชื้อไวรัสโควิด 19 สอดคล้องกับการปรับตัวเป็น “โรคประจำถิ่น หรือโรคติดต่อตามฤดูกาล” คือความรุนแรงลดลงมาก พบผู้เสียชีวิตน้อยกว่า 1 รายต่อผู้ติดเชื้อ 1,000 ราย และผู้ที่มีอาการรุนแรง น้อยกว่า 5 รายในผู้ป่วยติดเชื้อ 1,000 ราย

อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนยังคงมาตรการป้องกันตนเองและเข้ารับวัคซีน โควิด#19 เข็มกระตุ้นด้วย
https://www.facebook.com/Rachadaspoke/posts/368389688624420


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
"อว. เผยฉีดวัคซีนของไทย ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ฉีดวัคซีนแล้ว 121,915,999 โดส และทั่วโลกแล้ว 10,605 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 956.9 ล้านโดส โดยกรุงเทพฯ ยังเป็นพื้นที่ฉีดวัคซีนเข็ม 1 มากสุด (112.9%)

(22 กุมภาพันธ์ 2565) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 10,605 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 29.2 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 550 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 215 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว"

ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 956.9 ล้านโดส โดยบรูไนฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (94.9% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 340.1 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 121,915,999 โดส

ในการฉีดวัคซีน จำนวน 10,605 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ

1) ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565  
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม  121,915,999 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 53,163,555 โดส (80.3% ของประชากร)
-เข็มสอง 49,496,871 โดส (74.8% ของประชากร)
-เข็มสาม 19,255,573 โดส (29.1% ของประชากร)

2) อัตราการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ. 64 – 22 ก.พ. 65 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 121,915,999 โดส ฉีดเพิ่มขึ้น 190,673 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 242,687 โดส/วัน

3) ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 956,946,901 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 340,183,405 โดส (68.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
2. เวียดนาม จำนวน 191,667,067 โดส (81.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm
3. ฟิลิปปินส์ 134,332,014 โดส (55.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca  
4. ไทย จำนวน 121,915,999 โดส (80.3%* ของประชากร)  ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
5. มาเลเซีย จำนวน 66,289,382 โดส (81.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac  
6. พม่า จำนวน 43,951,296 โดส (42.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
7. กัมพูชา จำนวน 35,437,340 โดส (85.1%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
8. สิงคโปร์ จำนวน 13,049,391 โดส (92%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
9.  ลาว จำนวน 9,115,834 โดส (65.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
10. บรูไน จำนวน 1,005,173 โดส (94.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร อย่างน้อย 1 เข็ม

4) จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 69.55%
2. ยุโรป 10.22%
3. อเมริกาเหนือ 8.68%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 7.19%
5. แอฟริกา 3.72%
6. โอเชียเนีย 0.63%

5) ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 5 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 3,084.71 ล้านโดส (218.1% ของจำนวนโดสที่ฉีดต่อประชากร)
2. อินเดีย จำนวน 1,758.18 ล้านโดส (127.5%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 549.98 ล้านโดส (164%)
4. บราซิล จำนวน 385.41 ล้านโดส (182%)
5. อินโดนีเซีย  จำนวน 340.18 ล้านโดส (123.3%)

6) ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. คิวบา (307.5%) (ฉีดวัคซีนของ  Abdala และ Soberana02)
2. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (258.9%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
3. ชิลี (245.7%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, CanSino, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
4. มัลดีฟส์ (234.7%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinopharm)
5. กาตาร์ (231%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderma)
6. บาห์เรน (230.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
7. เกาหลีใต้  (229.7%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech J&J AstraZeneca/Oxford และ  Moderna)
8. บรูไน (228%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford และ Sinopharm)  
9. เดนมาร์ก (226%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ J&J)
10. อิตาลี (223.5%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna J&J และ AstraZeneca/Oxford)

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/262949009359872
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่