🇹🇭มาลาริน💚30มี.ค.ไทยไม่ติดTop10โลก/ป่วย25,389คน หาย26,084คน ตาย87คน/นายกฯยัน "ยาฟาวิฯ" เพียงพอ มีสต็อคทั่วประเทศ


https://www.sanook.com/news/8539486/

https://www.bangkokbiznews.com/news/996463

เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 65 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามการบริหารจัดการเวชภัณฑ์ที่ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด – 19 พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนให้สามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
 
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขยืนยัน “ยาฟาวิพิราเวียร์” มีเพียงพอสำหรับใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด – 19 โดยช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2565 องค์การเภสัชกรรมได้ผลิตและจัดหายาฟาวิพิราเวียร์เข้ามารวม 128.1 ล้านเม็ด โดยในช่วงวันที่ 1 - 28 มีนาคม 2565 มีการผลิตและจัดหายาจำนวน 73.9 ล้านเม็ด และได้มีการกระจายยาให้ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทยจำนวน 72.52 ล้านเม็ด
 
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังยืนยันว่า นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ยังสนับสนุนให้มีการใช้ยารักษาผู้ป่วยโควิด 19 หลายชนิด ทั้งยาฟ้าทะลายโจร ฟาวิพิราเวียร์ เรมดิซิเวียร์ และโมลนูพิราเวียร์ ล่าสุดคณะรัฐมนตรียังอนุมัติเห็นชอบให้มีการจัดหายาแพกซ์โลวิดเข้ามาเพิ่มเติม

โดยในส่วนของยาฟาวิพิราเวียร์ ข้อมูลวันที่ 28 มีนาคม 2565 มียาคงคลังทั่วประเทศ 25 ล้านเม็ด อยู่ในส่วนกลาง 2.2 ล้านเม็ด ในโรงพยาบาลต่าง ๆ 22.8 ล้านเม็ด
 
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียืนยันไทยมีระบบสาธารณสุข ที่มีสมรรถนะในการบริการประชาชนและเตรียมพร้อมในการรองรับทุกสถานการณ์ด้วยแล้ว

https://www.posttoday.com/politic/news/679414

ปูเสื่อ ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ

ยินดีหายป่วยมากกว่าป่วยใหม่  แต่การติดเชื้อยังสูงอยู่

.....พาพันไฟท์ติ้ง
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 20

นพ.ยง เผย "โควิด-19" มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มาตลอด และติดง่ายขึ้น “โอกาสติดเชื้อซ้ำจึงมากขึ้นอีก” ต้องมีการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 เมื่อมีภูมิต้านทานขึ้นแล้ว ถึงแม้จะติดเชื้อ อาการก็จะน้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยมีภูมิต้านทานมาก่อน

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผย ข้อมูลการติดเชื้อซ้ำของไวรัสโควิด-19 หรือ Reinfection ผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัวว่า

"การติดเชื้อซ้ำของ covid 19 พบได้เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น โรคหวัด RSV ไข้หวัดใหญ่

การระบาดในอิตาลี ระลอกแรก ในปี 2020 มีการติดตามผู้ที่ติดเชื้อแล้ว 1579 คน เวลาเฉลี่ย 280 วันพบติดเชื้อซ้ำ 5 ราย ซึ่งในช่วงนั้นก็ไม่ได้มีการระบาดมากเท่าสายพันธุ์ไอมิครอน

เมื่อเชื้อโควิด 19 มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มาตลอด และติดง่ายขึ้น โอกาสติดเชื้อซ้ำจึงมากขึ้นอีก

การติดเชื้อโควิด 19 จะทำให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นระดับหนึ่ง และเมื่อภูมิต้านทานลดลงก็จะติดเชื้อซ้ำ การติดเชื้อครั้งซ้ำหรือครั้งที่ 2 อาการจะลดลงกว่าการติดเชื้อครั้งแรก การติดเชื้อครั้งที่ 3 และ 4 ต่อไป อีกอาการจะยิ่งลดลง ยกตัวอย่างเช่นเดียวกับ RSV ที่เป็นครั้งแรก อาการจะมากที่สุด และครั้งต่อๆไปอาการจะลดลง เมื่อเด็กยิ่งโตขึ้น การติดเชื้อจะเป็นแบบไม่มีอาการ

เช่นเดียวกันการฉีดวัคซีนทำให้มีภูมิต้านทานส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะต่อหนามแหลมหรือสไปรท์ และเมื่อภูมิต้านทานลดลงก็มีโอกาสติดเชื้อได้อีก จึงต้องมีการกระตุ้นเข็มที่ 3 เมื่อมีภูมิต้านทานขึ้นแล้วถึงแม้จะติดเชื้อ อาการก็จะน้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยมีภูมิต้านทานมาก่อน หรือไม่เคยฉีดวัคซีน หรือฉีดวัคซีนไม่ครบ"
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/1154304725402256


รมว.กระทรวงสาธารณสุข เป็นห่วงการตั้งวงดื่มสุราช่วงสงกรานต์ เพิ่มโอกาสเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 เร่งรณรงค์ลด ละ เลิก เล็งปรับ กม.รับมือ‼

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เป็นประธานการประชุม ระบุว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ ประชาชนจำนวนมากเดินทางกลับภูมิลำเนา อาจมีการสังสรรค์ ตั้งวงดื่มสุรา ทำให้เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขอให้ สสส.รณรงค์ให้เกิดการลด ละ เลิก บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ควบคู่กับรณรงค์ “ดื่มไม่ขับ” เพื่อป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน

ในส่วนของ สธ.จะเร่งพิจารณาร่างปรับปรุงพระราชบัญญัติ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 เรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการโฆษณา / การซื้อ-ขาย / สถานที่ห้ามดื่ม-ห้ามขาย และวันห้ามขาย เพื่อให้เกิดบังคับใช้กับภาคประชาชน ธุรกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/338697698292574


องค์การเภสัชส่งยาฟาวิพิราเวียร์ครบตามแผน 110 ล้านเม็ด เม.ย.นี้ ส่วนยาโมลนูพิราเวียร์อยู่ระหว่างเจรจาราคาและวันส่งมอบ

องค์การเภสัชกรรม ได้ทยอยจัดส่งยาฟาวิพิราเวียร์ไปแล้วจำนวน 80 ล้านเม็ด และจะส่งจนครบ 110 ล้านเม็ด ประมาณกลางเดือนเมษายน 2565 โดยจัดสรรให้กับหน่วยบริการแม่ข่ายในแต่ละพื้นที่อย่างต่อเนื่องตามแผนกระจายยาของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) เพื่อให้ผู้ป่วยโควิด19 ได้เข้าถึงยาอย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นไปตามแผนความต้องการเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ของกระทรวงสาธาณสุข

ส่วนความคืบหน้าการจัดหายาโมลนูพิราเวียร์ สำหรับรักษาผู้ป่วยโควิดกลุ่มเสี่ยงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ไม่ฉีดวัคซีนโควิดหรือฉีดเพียง 1 เข็ม ขณะนี้ องค์การเภสัชกรรมได้คัดเลือกแหล่งที่มีคุณภาพไว้แล้ว อยู่ระหว่างเจรจากำหนดส่งมอบและราคา ซึ่งผู้ผลิตมีความพร้อมในการส่งมอบ คาดว่าประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากทำสัญญา จะสามารถจัดส่งยาล็อตแรกได้ประมาณ 10 ล้านแคปซูล
https://www.facebook.com/Rachadaspoke/posts/392990726164316


กองวัณโรค เปิดให้บริการตรวจหาเชื้อ #โควิด19 ด้วยวิธี RT-PCR ราคา 1,000 บาท และวิธี ATK ราคา 100 บาท พร้อมใบรับรองผลตรวจจากห้องปฏิบัติการ รู้ผลเร็วสุดภายใน 3 ชั่วโมง

เปิดให้บริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ เเละวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 09.00 – 11.30 น. ณ อาคารดารานนท์ กองวัณโรค

รับทั้ง Walk in และลงทะเบียนออนไลน์วันละ 200 คนต่อวัน (จองคิวออนไลน์ด้วยการสแกน QR-Code ตามภาพ) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร.02-212-2279 ต่อ 1260, 1280
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/393119559484766


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
"อว. เผยฉีดวัคซีนของไทย ณ วันที่ 29 มีนาคม 2565 ฉีดวัคซีนแล้ว 128,882,039 โดส และทั่วโลกแล้ว 11,228 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 1,038.8 ล้านโดส

(29 มีนาคม 2565) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 11,228 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 18.5 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 559 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 217 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว"

ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 1,038.8 ล้านโดส โดยบรูไนฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (95% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 376.5 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 29 มีนาคม 2565 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า  128,882,039 โดส

ในการฉีดวัคซีน จำนวน 11,228 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ

1) ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 29 มีนาคม 2565  
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม  128,882,039 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 55,353,039 โดส (83.6% ของประชากร)
-เข็มสอง 50,257,501 โดส (75.9% ของประชากร)
-เข็มสาม 23,271,499 โดส (35.2% ของประชากร)

2) อัตราการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ. 64 – 29 มี.ค. 65 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว  128,882,039 โดส ฉีดเพิ่มขึ้น 121,596 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 199,002 โดส/วัน

3) อัตราการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย
วัคซีน Sinovac
- เข็มที่ 1 22,915,251 โดส
- เข็มที่ 2 3,602,389 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน AstraZeneca
- เข็มที่ 1 13,982,944 โดส
- เข็มที่ 2 28,549,838 โดส
- เข็มที่ 3 5,453,381 โดส

วัคซีน Sinopharm
- เข็มที่ 1 7,563,087 โดส
- เข็มที่ 2 7,256,125 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน Pfizer
- เข็มที่ 1 10,119,106 โดส
- เข็มที่ 2 9,954,778 โดส
- เข็มที่ 3 14,181,413  โดส

วัคซีน Moderna
- เข็มที่ 1 772,651 โดส
- เข็มที่ 2 894,371 โดส
- เข็มที่ 3 3,636,705 โดส

4) ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 1,038,866,488 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 376,546,207 โดส (71.1%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
2. เวียดนาม จำนวน 205,216,774 โดส (82%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm
3. ฟิลิปปินส์ จำนวน 147,986,939 โดส (63.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca  
4. ไทย จำนวน  128,882,039 โดส (83.6%* ของประชากร)  ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
5. มาเลเซีย จำนวน 68,745,333 โดส (84.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac  
6. พม่า จำนวน 48,708,905 โดส (47.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
7. กัมพูชา จำนวน 37,872,891 โดส (87.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
8. สิงคโปร์ จำนวน 13,780,673 โดส (93%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
9.  ลาว จำนวน 10,058,259 โดส (76%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
10. บรูไน จำนวน 1,068,468 โดส (95%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร อย่างน้อย 1 เข็ม

5) จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 69.77%
2. ยุโรป 9.92%
3. อเมริกาเหนือ 8.46%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 7.21%
5. แอฟริกา 4.02%
6. โอเชียเนีย 0.62%

6) ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 5 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 3,254.98 ล้านโดส (230.1% ของจำนวนโดสที่ฉีดต่อประชากร)
2. อินเดีย จำนวน 1,834.32 ล้านโดส (133.1%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 559.48 ล้านโดส (166.9%)
4. บราซิล จำนวน 411.55 ล้านโดส (194.4%)
5. อินโดนีเซีย  จำนวน 376.55 ล้านโดส (136.5%)

7) ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. คิวบา (311.7%) (ฉีดวัคซีนของ  Abdala และ Soberana02)
2. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (263.8%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
3. ชิลี (259.9%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, CanSino, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
4. กาตาร์ (245.8%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderma)
5. มัลดีฟส์ (245.2%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinopharm)
6. บรูไน (242.3%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford และ Sinopharm)  
7. ภูฏาน (240%) (ฉีดวัคซีนของ Sinopharm Pfizer/BioNTech AstraZeneca/Oxford และ  Sputnik V)
8. ฝรั่งเศส (236.6%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech, Moderna, J&J และ AstraZeneca/Oxford)
9. เกาหลีใต้  (235.7%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech J&J AstraZeneca/Oxford และ  Moderna)
10. สิงคโปร์ (234.1%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ Sinovac)

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/286450687009704
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่