คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
หยุดบูลลี่!! กรมการแพทย์แจงประสิทธิผลการใช้ยาฟาวิฯ ผู้ป่วยโควิด-19 จากผลศึกษาในต่างประเทศ - ประเทศไทย ชี้เปรียบเทียบไม่ได้ หลายปัจจัย กลุ่ม วิธีการแตกต่างกัน
กรณีมีประเด็นนำเสนอข้อมูลว่า การใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ไม่ได้ผลในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยอ้างอิงจากการศึกษาวิจัยแบบหลายสถาบัน จำนวน 40 แห่ง ในทวีปอเมริกาเหนือ (3 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และบราซิล) อาสาสมัครในโครงการวิจัย 1,187 คน (เป็นป่วยอ้วน ร้อยละ 70 ผู้ป่วยสูงอายุ ร้อยละ 15) ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
● ใช้ยาฟาวิฯ โดยปรับขนาดยาตามน้ำหนักตัวผู้ป่วย
● ผู้ป่วยเกือบทุกรายได้รับยาประมาณวันที่ 3 หลังเริ่มมีอาการ
● ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยเคยได้รับวัคซีน หรือเคยป่วยเป็นโควิด-19 มาก่อน
● การประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยด้วยเกณฑ์ที่แตกต่างกับที่ใช้ในประเทศไทย
● รายงานผลลัพธ์ โดยผู้ป่วยเป็นผู้รายงานเองผ่านระบบโทรศัพท์ ซึ่งมิได้เป็นการวัดด้วยเครื่องมือเฉพาะโดยบุคลากรทางการแพทย์ อาจส่งผลต่อการวัดประสิทธิผลของยาฟาวิฯได้
(https://academic.oup.com/cid/advance-article/doi/10.1093/cid/ciac712/6692456)
สำหรับประเทศไทยได้ศึกษาเปรียบเทียบการใช้ยาฟาวิฯ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
● มีผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 93 คน (รพ. 3 แห่ง)
● ทุกคนอายุน้อยกว่า 60 ปี ไม่มีโรคประจำตัว เป็นผู้ป่วยที่อ้วนร้อยละ 25
● ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งได้รับยาฟาวิฯ ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มมีอาการ ไม่มีผู้ที่เคยเป็นโควิด-19หรือได้รับวัคซีนมาก่อน
● ทุกคนมีอาการเล็กน้อยหรือปานกลาง ไม่มีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
● ผู้ป่วยได้รับการรักษาและติดตามอาการใน รพ.
● วัดประสิทธิผลของยาฟาวิฯ ด้วยระบบ NEWS (ประกอบ ด้วยอัตราการหายใจ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด การให้ออกซิเจน อุณหภูมิ ความดันซิสโตลิก อัตราการเต้นของหัวใจ ระดับความรู้สึกตัว)
● ประเมินโดยบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ใช้การประเมินตามความรู้สึกของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์วัด
“พบว่า ยาฟาวิฯ ทำให้อาการรุนแรงของการประเมินด้วย NEWS ของผู้ป่วยดีขึ้น ได้เร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างชัดเจน (ครึ่งหนึ่งดีขึ้นใน 2 วัน เมื่อได้รับยา เปรียบเทียบกับ 14 วัน ในกลุ่มควบคุม) ผลการศึกษาทั้งสองยังพบว่า ยาฟาวิฯ มิได้ช่วยลดปริมาณไวรัสลง หรือทำให้ไวรัสหายไปได้เร็วขึ้นแต่อย่างใด และไม่สามารถเห็นประสิทธิผลเมื่อประเมินอาการจากความรู้สึกผู้ป่วย (อาการอ่อนเพลีย ไอ) รวมถึงพบว่า ยาฟาวิฯ มีความปลอดภัย แม้จะพบระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นแบบไม่มีอาการก็ตาม” (https://academic.oup.com/cid/advance-article/doi/10.1093/cid/ciac712/6692456)
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ชี้แจงว่า
● ไม่สามารถเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาฟาวิฯ จาก 2 การศึกษานี้ได้ เนื่องจากรายละเอียดและวิธีการศึกษามีความแตกต่างกัน
● การศึกษาในทวีปอเมริกาแสดงให้เห็นว่า การเริ่มให้ยาช้าในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง มีอาการรุนแรง และมีน้ำหนักมากโดยไม่มีการปรับขนาดยา อาจมีผลทำให้การรักษาไม่ได้ผล
● หรือเป็นเพราะการประเมินผล ส่วนหนึ่งได้จากความรู้สึกอาการของผู้ป่วย อาจทำให้ผลการศึกษาไม่ตรงกัน
● ข้อมูลจากการศึกษาในประเทศไทย พบว่า ยาฟาวิฯ ให้ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำที่ไม่รุนแรง มีอาการดีขึ้นได้เร็วขึ้น
● แต่การศึกษาในประเทศไทยไม่มีข้อมูลประสิทธิผลของยาฟาวิฯ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปอดบวม หรือลดการเสียชีวิต
● กรมการแพทย์ ยินดีรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้ ความรู้เชิงประจักษ์ที่มีมากขึ้นจากการศึกษาจะช่วยในการปรับแนวทางการรักษาให้เหมาะสม
https://web.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid036CkzMmjjR9QtX3AA8pKZdWxxNESZydME4s438W9EVZ6nLbdiCPGuYENkUEZR4p6ml
สิทธิข้าราชการป่วยโควิด รับยาที่ร้านยาร่วมกับ สปสช.ได้แล้ววันนี้!
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แจ้งผู้ใช้สิทธิข้าราชการ หากป่วย โควิด19 สามารถรับยาที่ร้านยาที่เข้าร่วมกับ สปสช.ได้แล้ววันนี้ ! ครอบคลุมทุกสิทธิรักษาทั้ง บัตรทอง และ ประกันสังคม ด้วย โดยมีขั้นตอนการรับยาที่ร้านยาดังนี้
1. เมื่อตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด อาการไม่รุนแรง เป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว ไม่ใช่กลุ่ม 608 ไม่ตั้งครรภ์ ไม่เป็นคนพิการและไม่เป็นผู้ป่วยติดเตียง
2. โทร.ติดต่อร้านยาที่เข้าร่วมโครงการกับ สปสช. ดูรายชื่อร้านยาและเบอร์โทรที่ https://www.nhso.go.th/downloads/197 ร้านยาจะให้แอดไลน์ เพื่อส่งผลตรวจ ATK คู่กับบัตรประชาชน (ไม่จำเป็นต้องมาที่ร้านยา)
3. ร้านยาจะซักประวัติข้อมูลทั่วไป แนะนำและให้คำปรึกษาการใช้ยา
4. ไม่มีการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ ผู้ป่วยไม่ควรมารับยาที่ร้านเอง แนะนำให้ญาติหรือคนอื่นมารับแทน
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid0EzLSu6mZtoPzUPNKG4YoGU2vMPEUCbuHdqzYo1zYPQ3gAVmM237rr4fBF5H514yKl
หยุดบูลลี่!! กรมการแพทย์แจงประสิทธิผลการใช้ยาฟาวิฯ ผู้ป่วยโควิด-19 จากผลศึกษาในต่างประเทศ - ประเทศไทย ชี้เปรียบเทียบไม่ได้ หลายปัจจัย กลุ่ม วิธีการแตกต่างกัน
กรณีมีประเด็นนำเสนอข้อมูลว่า การใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ไม่ได้ผลในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยอ้างอิงจากการศึกษาวิจัยแบบหลายสถาบัน จำนวน 40 แห่ง ในทวีปอเมริกาเหนือ (3 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และบราซิล) อาสาสมัครในโครงการวิจัย 1,187 คน (เป็นป่วยอ้วน ร้อยละ 70 ผู้ป่วยสูงอายุ ร้อยละ 15) ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
● ใช้ยาฟาวิฯ โดยปรับขนาดยาตามน้ำหนักตัวผู้ป่วย
● ผู้ป่วยเกือบทุกรายได้รับยาประมาณวันที่ 3 หลังเริ่มมีอาการ
● ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยเคยได้รับวัคซีน หรือเคยป่วยเป็นโควิด-19 มาก่อน
● การประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยด้วยเกณฑ์ที่แตกต่างกับที่ใช้ในประเทศไทย
● รายงานผลลัพธ์ โดยผู้ป่วยเป็นผู้รายงานเองผ่านระบบโทรศัพท์ ซึ่งมิได้เป็นการวัดด้วยเครื่องมือเฉพาะโดยบุคลากรทางการแพทย์ อาจส่งผลต่อการวัดประสิทธิผลของยาฟาวิฯได้
(https://academic.oup.com/cid/advance-article/doi/10.1093/cid/ciac712/6692456)
สำหรับประเทศไทยได้ศึกษาเปรียบเทียบการใช้ยาฟาวิฯ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
● มีผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 93 คน (รพ. 3 แห่ง)
● ทุกคนอายุน้อยกว่า 60 ปี ไม่มีโรคประจำตัว เป็นผู้ป่วยที่อ้วนร้อยละ 25
● ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งได้รับยาฟาวิฯ ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มมีอาการ ไม่มีผู้ที่เคยเป็นโควิด-19หรือได้รับวัคซีนมาก่อน
● ทุกคนมีอาการเล็กน้อยหรือปานกลาง ไม่มีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
● ผู้ป่วยได้รับการรักษาและติดตามอาการใน รพ.
● วัดประสิทธิผลของยาฟาวิฯ ด้วยระบบ NEWS (ประกอบ ด้วยอัตราการหายใจ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด การให้ออกซิเจน อุณหภูมิ ความดันซิสโตลิก อัตราการเต้นของหัวใจ ระดับความรู้สึกตัว)
● ประเมินโดยบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ใช้การประเมินตามความรู้สึกของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์วัด
“พบว่า ยาฟาวิฯ ทำให้อาการรุนแรงของการประเมินด้วย NEWS ของผู้ป่วยดีขึ้น ได้เร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างชัดเจน (ครึ่งหนึ่งดีขึ้นใน 2 วัน เมื่อได้รับยา เปรียบเทียบกับ 14 วัน ในกลุ่มควบคุม) ผลการศึกษาทั้งสองยังพบว่า ยาฟาวิฯ มิได้ช่วยลดปริมาณไวรัสลง หรือทำให้ไวรัสหายไปได้เร็วขึ้นแต่อย่างใด และไม่สามารถเห็นประสิทธิผลเมื่อประเมินอาการจากความรู้สึกผู้ป่วย (อาการอ่อนเพลีย ไอ) รวมถึงพบว่า ยาฟาวิฯ มีความปลอดภัย แม้จะพบระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นแบบไม่มีอาการก็ตาม” (https://academic.oup.com/cid/advance-article/doi/10.1093/cid/ciac712/6692456)
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ชี้แจงว่า
● ไม่สามารถเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาฟาวิฯ จาก 2 การศึกษานี้ได้ เนื่องจากรายละเอียดและวิธีการศึกษามีความแตกต่างกัน
● การศึกษาในทวีปอเมริกาแสดงให้เห็นว่า การเริ่มให้ยาช้าในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง มีอาการรุนแรง และมีน้ำหนักมากโดยไม่มีการปรับขนาดยา อาจมีผลทำให้การรักษาไม่ได้ผล
● หรือเป็นเพราะการประเมินผล ส่วนหนึ่งได้จากความรู้สึกอาการของผู้ป่วย อาจทำให้ผลการศึกษาไม่ตรงกัน
● ข้อมูลจากการศึกษาในประเทศไทย พบว่า ยาฟาวิฯ ให้ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำที่ไม่รุนแรง มีอาการดีขึ้นได้เร็วขึ้น
● แต่การศึกษาในประเทศไทยไม่มีข้อมูลประสิทธิผลของยาฟาวิฯ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปอดบวม หรือลดการเสียชีวิต
● กรมการแพทย์ ยินดีรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้ ความรู้เชิงประจักษ์ที่มีมากขึ้นจากการศึกษาจะช่วยในการปรับแนวทางการรักษาให้เหมาะสม
https://web.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid036CkzMmjjR9QtX3AA8pKZdWxxNESZydME4s438W9EVZ6nLbdiCPGuYENkUEZR4p6ml
สิทธิข้าราชการป่วยโควิด รับยาที่ร้านยาร่วมกับ สปสช.ได้แล้ววันนี้!
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แจ้งผู้ใช้สิทธิข้าราชการ หากป่วย โควิด19 สามารถรับยาที่ร้านยาที่เข้าร่วมกับ สปสช.ได้แล้ววันนี้ ! ครอบคลุมทุกสิทธิรักษาทั้ง บัตรทอง และ ประกันสังคม ด้วย โดยมีขั้นตอนการรับยาที่ร้านยาดังนี้
1. เมื่อตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด อาการไม่รุนแรง เป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว ไม่ใช่กลุ่ม 608 ไม่ตั้งครรภ์ ไม่เป็นคนพิการและไม่เป็นผู้ป่วยติดเตียง
2. โทร.ติดต่อร้านยาที่เข้าร่วมโครงการกับ สปสช. ดูรายชื่อร้านยาและเบอร์โทรที่ https://www.nhso.go.th/downloads/197 ร้านยาจะให้แอดไลน์ เพื่อส่งผลตรวจ ATK คู่กับบัตรประชาชน (ไม่จำเป็นต้องมาที่ร้านยา)
3. ร้านยาจะซักประวัติข้อมูลทั่วไป แนะนำและให้คำปรึกษาการใช้ยา
4. ไม่มีการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ ผู้ป่วยไม่ควรมารับยาที่ร้านเอง แนะนำให้ญาติหรือคนอื่นมารับแทน
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid0EzLSu6mZtoPzUPNKG4YoGU2vMPEUCbuHdqzYo1zYPQ3gAVmM237rr4fBF5H514yKl
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭💛มาลาริน💛🇹🇭12ก.ย.โควิดไทยขาลงป่วยใหม่ต่ำกว่าพัน ป่วย698คน หาย1,966คน เสียชีวิต15คน/ยันรักษาโควิดมีวิชาการรองรับ
https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1026155
อนุทิน" ยันแนวทางรักษา "โควิด" มีวิชาการรองรับ หลังถูกวงนอกจี้ถอดยาฟาวิฯ สธ.ยันกลุ่มไร้ปัจจัยเสี่ยง ช่วยอาการดีขึ้นเร็ว
"อนุทิน" แจงปมนักวิชาการวงนอกจี้ถอดใช้ "ยาฟาวิพิราเวียร์" รักษาโควิด ย้ำแนวทางรักษามีคณะกรรมการและหลักวิชาการรองรับ ไม่ได้มาจาก รมต.สธ. ต้องเชื่อถือผู้ที่เกี่ยวข้อง หน้างานรักษาเป็นล้านก็หายทุกคน อธิบดีกรมการแพทย์ย้ำรับฟังทุกความเห็น แต่ข้อมูลจากต่างประเทศศึกษาต่างกัน ผลย่อมไม่เหมือนกัน พบไม่มีปัจจัยเสี่ยง อาการน้อยช่วยหายเร็วขึ้น พบไกด์ไลน์ก็กำหนดให้ใช้ในกลุ่มไม่มีปัจจัยเสี่ยง
เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ รพ.ราชวิถี 2 (รังสิต) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนักวิชาการหลายคนแสดงความเห็นถึงงานวิจัยในต่างประเทศการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์รักษาผู้ป่วยโควิด 19 ไม่ช่วยลดความรุนแรงและไม่แนะนำให้ใช้ เสนอให้ถอดออกจากแนวทางการรักษาในไทย ว่า สธ. มีคณะกรรมการวิชาการด้านการใช้ยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ โดยออกมาเป็นแนวทางการใช้ยาตามหลักวิชาการด้านการแพทย์ เพื่อการนำมาปฏิบัติ ดังนั้น สธ.ยืนยันว่าการรักษาโดยยา เวชภัณฑ์ต่างๆ เป็นสิ่งที่มีหลักวิชาการ มีการรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการแพทย์ ไม่ใช่มาจาก รมว.สธ.อย่างแน่นอน
“ไม่ทราบว่าจะไปต่อล้อต่อเถียงกับคนไม่เกี่ยวข้องอย่างไร เราต้องเชื่อถือคนที่เกี่ยวข้อง รักษาจริงที่หน้างาน ช่วงก่อนที่ไม่มียาโมลนูพิราเวียร์ ยาแพกซ์โลวิด ยาเรมเดซิเวียร์ ทุกคนก็ร้องหาแต่ยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งจะได้ผลหรือไม่ได้ผลก็แล้วแต่ แต่หน้างานก็ยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นล้านๆ คน เมื่อได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ตั้งแต่เริ่มมีอาการก็หายทุกคน แม้กระทั่งยาปัจจุบันที่รักษาโควิด 19 แต่หากอาการบานปลายไปแล้ว ก็ไม่ใช่รักษาได้ทุกคน” นายอนุทินกล่าว
ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์ยินดีรับทุกความเห็น โดยเฉพาะที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ แนวทางรักษาผู้ป่วยโควิดของไทยมีผู้เชี่ยวชาญที่กรมฯ ได้เชิญมา เช่น คณะแพทย์ที่เกี่ยวข้อง สมาคมโรคติดเชื้อ สมาคมอุรเวชช์ฯ ซึ่งเรามีข้อมูลวิชาการที่ รพ.ศิริราช ทำไว้แล้ว ทั้งนี้ ข้อมูลจากต่างประเทศที่สรุปมานั้นมีวิธีศึกษาต่างกัน โดยต่างประเทศเป็นการให้ผู้ป่วยประเมินเอง มีความหลากหลายของผู้ป่วย และให้ยาช้า แต่ประเทศไทยใช้บุคลากรแพทย์ประเมิน ทำการศึกษาในกลุ่มที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ใน 24 ชั่วโมงแรกกับกลุ่มไม่ได้รับ ดังนั้น วิธีการวัดผลจึงต่างกัน อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ของไทย พบว่า แม้ไม่ได้ช่วยลดความรุนแรงของโรคหรือลดจำนวนไวรัส แต่การใช้ในกลุ่มผู้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงและมีอาการน้อยๆ อาการหายเร็วขึ้น เปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรคไข้หวัดที่สามารถใช้ยาแก้ไข้ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัส
“พบว่าคนไม่มีปัจจัยเสี่ยง อาการน้อยๆ อาการหายเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้รับยา กรมฯ ไม่ได้จะแย้งใคร แต่จะให้ข้อมูลว่า ทุกครั้งที่มีการคุยในกลุ่มผุ้เชี่ยวชาญ นำข้อมูลทุกอย่างมาคุยกัน ซึ่งตอนนี้กำลังปรับแนวทางต่อไป ซึ่งผมก็พูดไม่ได้ว่ายาฟาวิพิราเวียร์จะอยู่หรือไม่ เพราะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญระดมความคิดกัน” นพ.สมศักดิ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามแนวทางเวชปฏิบัติการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 24 วันที่ 11 ก.ค. 2565 แนะนำให้กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญและภาพถ่ายรังสีปอดปกติ อาจพิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์โดยเร็วที่สุด ตามดุลยพินิจแพทย์ หากตรวจพบเชื้อเมื่อผู้ป่วยมีอาการมา 5 วันแล้วและผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยอาจไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส เพราะผู้ป่วยจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ขณะที่ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบเล็กน้อย ยังแนะนำยาฟาวิพิราเวียร์ แต่หากมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหือมีโรคร่วม 1 ข้อ แนะนำยาโมลนูพิราเวียร์เป็นตัวแรก หากมีปัจจัยเสี่ยง 2 ข้อจะแนะนำยาเรมเดซิเวียร์เป็นตัวแรก จะเห็นว่ายาฟาวิพิราเวียร์ในกลุ่มที่มีอาการหรือมีปัจจัยเสี่ยงจะไม่ใช่ตัวเลือกแรกในการให้การรักษาแล้ว แต่ลดมาให้ในกลุ่มที่ไม่มีอาการ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง หรือหากเริ่มให้ยาช้าก็ไม่จำเป็นต้องรับยาเพราะสามารถหายเองได้
https://mgronline.com/qol/detail/9650000087483
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ.....