อธิบดีกรมการแพทย์เตือนผู้ป่วย อย่าหลงเชื่อโซเชียลฯ ขาย “ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอ้างรักษาโรคสะเก็ดเงิน” แต่ผสมสเตียรอยด์ ที่ต้องควบคุมการใช้โดยแพทย์ ก่อผลกระทบตั้งแต่น้อย คือ ไม่หาย จนมากมีผลต่อตับไต หรือกระตุ้นอาการกำเริบรุนแรง เตรียมศึกษาการรักษาผสมผสานระหว่างแพทย์ตะวันตกและแพทย์แผนไทย หวังเสริมการรักษาดีขึ้น
จากกรณี อธิบดีกรมการแพทย์ เผยถึงความร่วมมือในการศึกษาร่วมกันระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนตะวันออกในการดูแลรักษา “ผู้ป่วยสะเก็ดเงิน” แบบผสมผสาน ภายในงานวันสะเก็ดเงินโลก (World Psoriasis Day 2024) ซึ่งมีการจัดกิจกรรมทุกวันที่ 29 ตุลาคมของทุกปี แต่ปรากฎว่าขณะนี้กลับมีร้านค้า สื่อสังคมออนไลน์ออกมาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบ้าง อวดอ้างเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรรักษาโรคสะเก็ดเงินได้ จนส่งผลให้มีคนหลงเชื่อนั้น
(ข่าวเกี่ยวข้อง : ไทยป่วยโรคสะเก็ดเงินกว่า 1.7 ล้านคน ดื้อยา 30 % ผลักดัน “ยาฉีดชีวโมเลกุล” เข้าบัญชียาหลักฯ)
เมื่อเร็วๆนี้ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ให้ข้อมูลว่า ต้องเตือนก่อนว่า ทุกอย่างในโซเชียลมีเดีย ส่วนใหญ่เป็นการโฆษณา หากไม่มีการการันตี หรือผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) รับรอง สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นไม่มีใครรับรองทั้งสิ้น เป็นการใช้ด้วยความเสี่ยงของผู้บริโภค แม้ราคาถูก หรือแพง หรือใช้วิธีใดๆที่ทำให้น่าเชื่อถือ แต่หากไม่มีการรับรองจาก อย. การบริโภคย่อมมีความเสี่ยง ตั้งแต่น้อย คือ อาการป่วยไม่หาย จนอาการมาก คือ ก่อผลข้างเคียงต่ออวัยวะสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นตับ ไต หรืออาจกระตุ้นอาการสะเก็ดเงินเพิ่มขึ้น หรือรุนแรงขึ้นได้ ดังนั้น การรักษาโรคควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
“จริงๆโรคสะเก็ดเงินดีขึ้นด้วยการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีสเตียรอยด์ โดยต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมภายใต้การควบคุมการใช้ของแพทย์ แต่ปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อในโซเชียลมีเดียต่างๆ อ้างว่าเป็นสมุนไพร แต่เคยมีการตรวจพบการผสมของสเตียรอยด์ ทำให้คนใช้มีอาการดีขึ้นจากสเตียรอยด์ ซึ่งไม่แตกต่างจากการพบแพทย์ แต่เมื่อใช้นานๆ หรือขาดการควบคุม ย่อมมีผลกระทบ” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
เมื่อถามย้ำว่าผู้ป่วยสามารถรักษาโรคควบคู่ระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทยได้หรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ต้องมีความจำเป็นในการศึกษาให้เป็นระบบ ซึ่งการแพทย์แผนตะวันตก ประเทศไทยยึดถือและวางเป็นรากฐาน มีผลการศึกษา ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานเดิม ดังนั้น หลักการรักษาเป็นที่ยอมรับของวิชาชีพยังเป็นแพทย์แผนตะวันตก แต่แพทย์แผนไทยที่จะมาเติมเสริมนั้น ก็เป็นหน้าที่ของสองวิชาชีพต้องมาหารือกัน ว่าจะผสมผสานการรักษาพร้อมกันอย่างไร เช่น ยากินของแพทย์แผนตะวันตก จะอนุญาตให้ใช้ยาทาของแพทย์แผนตะวันออกได้หรือไม่ ซึ่งหากศึกษาหรือดูแล้วว่า ไม่ได้มีผลต่อการทำงานหนักของตับไต ก็ตกลงร่วมกันเชิงวิชาชีพได้ หรือจะยากินด้วยกันหากมีผลศึกษาอย่างดีแล้ว
“สิ่งสำคัญทั้งหมดต้องผ่านการศึกษาอย่างดีก่อนนำมาใช้กับประชาชนในวงกว้าง..” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
สะเก็ดเงิน รักษาไม่หายขาด แต่โรคสงบได้
อนึ่ง ข้อมูลจากสถาบันโรคผิวหนัง อธิบาย โรคสะเก็ดเงิน ว่า เป็นโรคผิวหนังที่ไม่ติดต่อ พบได้ทุกเพศทุกวัย และ พบได้ในคนทุกเชื้อชาติทั่วโลก สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่า มีความผิดปกติของภูมิคุ้มกันทำให้การแบ่งตัวของ เซลล์ผิวหนังเร็วกว่าปกติ การเจริญเติบโต และ การพัฒนาการของผิวหนังจึงไม่สมบูรณ์ อีกทั้ง เป็นโรคผิวหนังที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และ กระตุ้นโดยสิ่งแวดล้อม เช่น เป็นไข้หวัด ความเครียด
อาการ
สำหรับอาการ เป็นผื่นแดงหนาขอบเขตชัดเจนมีสะเก็ดเงินปกคลุม เมื่อขูดลอกสะเก็ดเงินออกจะพบจุดเลือดเล็กๆ ใต้ผิวหนัง มักเป็นบริเวณข้อศอก หัวเข่า หน้าแข้ง ผื่นมีขนาดเล็ก หรือใหญ่ กระจายทั่วร่างกาย ที่ศีรษะมีผื่นแดงลอกเป็นขุยขาวคล้ายรังแค มีการเปลี่ยนแปลงส่วนอื่นของร่างกาย เช่น หนังผิวผุกร่อน ลอกเป็นขุยขาว หรือหลุมเล็กๆ บริเวณผิวเล็บ อาจมีอาการปวดข้อร่วมด้วย
ปัจจัยที่ทำให้ โรคสะเก็ดเงินกำเริบ
บาดแผลบนผิวหนังผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ถ้าถูกของ มีคมเป็นแผลหรือแม้แต่เกิดรอยแยกเล็กน้อย อาจทำให้เกิดผื่นของโรคที่บริเวณนั้น การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น ในช่วงฤดูร้อน เพราะได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต และอาการจะกำเริบในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากอากาศแห้ง
สภาพจิตใจ ถ้าผู้ป่วยได้รับความกระทบกระเทือนใจ หรือเครียดอาการของโรคอาจกำเริบขึ้น การติดเชื้อในร่างกาย เช่น เป็นไข้หวัด มีส่วนทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น และการระคายเคืองต่อผิวหนัง เช่น การแพ้ยาทาต่างๆ สบู่ ผงซักฟอก จะทำให้คันมากขึ้น
การรักษา
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด การรักษาต้องวางแผนระยะยาวและรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการกำเริบของโรค แนะนำควรพบแพทย์ ซึ่งจะมีทั้งยาทาภายนอก ยารับประทาน การฉายแสงอัลตราไวโอเลต ยาฉีดชีวโมเลกุล อย่างไรก็ตาม การใช้ยามีผลข้างเคียง ไม่ควรซื้อมาทา หรือรับประทานเอง ส่วนที่เป็นผืนหนังศีรษะ ควรใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของ TAR ร่วมกับ ยาทา แต่สิ่งสำคัญควรพบแพทย์
https://www.hfocus.org/content/2024/11/32140
อย่าหลงเชื่อ! โซเชียลฯ อ้างขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร รักษา ‘โรคสะเก็ดเงิน’ หาย
จากกรณี อธิบดีกรมการแพทย์ เผยถึงความร่วมมือในการศึกษาร่วมกันระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนตะวันออกในการดูแลรักษา “ผู้ป่วยสะเก็ดเงิน” แบบผสมผสาน ภายในงานวันสะเก็ดเงินโลก (World Psoriasis Day 2024) ซึ่งมีการจัดกิจกรรมทุกวันที่ 29 ตุลาคมของทุกปี แต่ปรากฎว่าขณะนี้กลับมีร้านค้า สื่อสังคมออนไลน์ออกมาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบ้าง อวดอ้างเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรรักษาโรคสะเก็ดเงินได้ จนส่งผลให้มีคนหลงเชื่อนั้น
(ข่าวเกี่ยวข้อง : ไทยป่วยโรคสะเก็ดเงินกว่า 1.7 ล้านคน ดื้อยา 30 % ผลักดัน “ยาฉีดชีวโมเลกุล” เข้าบัญชียาหลักฯ)
เมื่อเร็วๆนี้ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ให้ข้อมูลว่า ต้องเตือนก่อนว่า ทุกอย่างในโซเชียลมีเดีย ส่วนใหญ่เป็นการโฆษณา หากไม่มีการการันตี หรือผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) รับรอง สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นไม่มีใครรับรองทั้งสิ้น เป็นการใช้ด้วยความเสี่ยงของผู้บริโภค แม้ราคาถูก หรือแพง หรือใช้วิธีใดๆที่ทำให้น่าเชื่อถือ แต่หากไม่มีการรับรองจาก อย. การบริโภคย่อมมีความเสี่ยง ตั้งแต่น้อย คือ อาการป่วยไม่หาย จนอาการมาก คือ ก่อผลข้างเคียงต่ออวัยวะสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นตับ ไต หรืออาจกระตุ้นอาการสะเก็ดเงินเพิ่มขึ้น หรือรุนแรงขึ้นได้ ดังนั้น การรักษาโรคควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
“จริงๆโรคสะเก็ดเงินดีขึ้นด้วยการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีสเตียรอยด์ โดยต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมภายใต้การควบคุมการใช้ของแพทย์ แต่ปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อในโซเชียลมีเดียต่างๆ อ้างว่าเป็นสมุนไพร แต่เคยมีการตรวจพบการผสมของสเตียรอยด์ ทำให้คนใช้มีอาการดีขึ้นจากสเตียรอยด์ ซึ่งไม่แตกต่างจากการพบแพทย์ แต่เมื่อใช้นานๆ หรือขาดการควบคุม ย่อมมีผลกระทบ” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
เมื่อถามย้ำว่าผู้ป่วยสามารถรักษาโรคควบคู่ระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทยได้หรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ต้องมีความจำเป็นในการศึกษาให้เป็นระบบ ซึ่งการแพทย์แผนตะวันตก ประเทศไทยยึดถือและวางเป็นรากฐาน มีผลการศึกษา ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานเดิม ดังนั้น หลักการรักษาเป็นที่ยอมรับของวิชาชีพยังเป็นแพทย์แผนตะวันตก แต่แพทย์แผนไทยที่จะมาเติมเสริมนั้น ก็เป็นหน้าที่ของสองวิชาชีพต้องมาหารือกัน ว่าจะผสมผสานการรักษาพร้อมกันอย่างไร เช่น ยากินของแพทย์แผนตะวันตก จะอนุญาตให้ใช้ยาทาของแพทย์แผนตะวันออกได้หรือไม่ ซึ่งหากศึกษาหรือดูแล้วว่า ไม่ได้มีผลต่อการทำงานหนักของตับไต ก็ตกลงร่วมกันเชิงวิชาชีพได้ หรือจะยากินด้วยกันหากมีผลศึกษาอย่างดีแล้ว
“สิ่งสำคัญทั้งหมดต้องผ่านการศึกษาอย่างดีก่อนนำมาใช้กับประชาชนในวงกว้าง..” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
สะเก็ดเงิน รักษาไม่หายขาด แต่โรคสงบได้
อนึ่ง ข้อมูลจากสถาบันโรคผิวหนัง อธิบาย โรคสะเก็ดเงิน ว่า เป็นโรคผิวหนังที่ไม่ติดต่อ พบได้ทุกเพศทุกวัย และ พบได้ในคนทุกเชื้อชาติทั่วโลก สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่า มีความผิดปกติของภูมิคุ้มกันทำให้การแบ่งตัวของ เซลล์ผิวหนังเร็วกว่าปกติ การเจริญเติบโต และ การพัฒนาการของผิวหนังจึงไม่สมบูรณ์ อีกทั้ง เป็นโรคผิวหนังที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และ กระตุ้นโดยสิ่งแวดล้อม เช่น เป็นไข้หวัด ความเครียด
อาการ
สำหรับอาการ เป็นผื่นแดงหนาขอบเขตชัดเจนมีสะเก็ดเงินปกคลุม เมื่อขูดลอกสะเก็ดเงินออกจะพบจุดเลือดเล็กๆ ใต้ผิวหนัง มักเป็นบริเวณข้อศอก หัวเข่า หน้าแข้ง ผื่นมีขนาดเล็ก หรือใหญ่ กระจายทั่วร่างกาย ที่ศีรษะมีผื่นแดงลอกเป็นขุยขาวคล้ายรังแค มีการเปลี่ยนแปลงส่วนอื่นของร่างกาย เช่น หนังผิวผุกร่อน ลอกเป็นขุยขาว หรือหลุมเล็กๆ บริเวณผิวเล็บ อาจมีอาการปวดข้อร่วมด้วย
ปัจจัยที่ทำให้ โรคสะเก็ดเงินกำเริบ
บาดแผลบนผิวหนังผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ถ้าถูกของ มีคมเป็นแผลหรือแม้แต่เกิดรอยแยกเล็กน้อย อาจทำให้เกิดผื่นของโรคที่บริเวณนั้น การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น ในช่วงฤดูร้อน เพราะได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต และอาการจะกำเริบในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากอากาศแห้ง
สภาพจิตใจ ถ้าผู้ป่วยได้รับความกระทบกระเทือนใจ หรือเครียดอาการของโรคอาจกำเริบขึ้น การติดเชื้อในร่างกาย เช่น เป็นไข้หวัด มีส่วนทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น และการระคายเคืองต่อผิวหนัง เช่น การแพ้ยาทาต่างๆ สบู่ ผงซักฟอก จะทำให้คันมากขึ้น
การรักษา
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด การรักษาต้องวางแผนระยะยาวและรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการกำเริบของโรค แนะนำควรพบแพทย์ ซึ่งจะมีทั้งยาทาภายนอก ยารับประทาน การฉายแสงอัลตราไวโอเลต ยาฉีดชีวโมเลกุล อย่างไรก็ตาม การใช้ยามีผลข้างเคียง ไม่ควรซื้อมาทา หรือรับประทานเอง ส่วนที่เป็นผืนหนังศีรษะ ควรใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของ TAR ร่วมกับ ยาทา แต่สิ่งสำคัญควรพบแพทย์
https://www.hfocus.org/content/2024/11/32140