เกาต์กับข้อเข่าเสื่อม ต่างกันอย่างไร
คงจะมีหลายคนเคยสงสัยเหมือนพี่หมอใช่มั้ยครับว่า โรคเกาต์และข้อเข่าเสื่อมใช่โรคเดียวกันหรือไม่ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า อาการที่เราเป็นอยู่นั้นเกิดจากโรคไหนกันแน่ 🧐🧐🧐
โรคเกาต์และโรคข้อเข่าเสื่อม จัดเป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งทั้งสองโรคนี้มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่คล้ายคลึงกัน เช่น อายุที่มากขึ้น โรคอ้วน รวมถึงภาวะโภชนาการ (ภาวะสุขภาพที่เป็นผลมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารของตัวเราเอง) ทั้งนี้พบว่า ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิง ส่วนผู้หญิงจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย
และแม้ว่าทั้งสองโรคจะมีอาการคล้ายๆ กัน เช่น ปวดข้อเข่า ข้อเข่าบวมหรือผิดรูป แถมยังสามารถกระตุ้นให้เกิดโรคของกันและกันได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งสองโรคนี้มีความแตกต่างกันอยู่ แต่จะต่างกันตรงไหนและอย่างไรบ้าง พี่หมอไปหาคำตอบมาให้แล้วครับ
ความแตกต่างของโรคเก๊าท์และโรคข้อเข่าเสื่อม
กลุ่มเสี่ยง
🔴 เกาต์ : พบบ่อยทั้งในผู้ชายและผู้หญิง
🔵 ข้อเข่าเสื่อม : พบบ่อยในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากปัจจัยด้านฮอร์โมน กระดูกและกล้ามเนื้อ
สาเหตุ
🔴 เกาต์ : เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) และไม่สามารถขับกรดยูริกส่วนเกินออกมาได้ จึงเกิดการสะสมและตกผลึกตามข้อต่อและอวัยวะต่าง ๆ
🔵 ข้อเข่าเสื่อม : เกิดจากภาวะกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อเข่าสึกหรอ ฉีกขาด และเสื่อมสภาพตามอายุและปัจจัยหลายๆ ด้าน เมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อเข่าสึกหรอมากขึ้น จึงเกิดอาการปวดเข่า และยังไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในข้อเข่าอีกด้วย
อาการ
🔴 เกาต์ :
- ปวด บวม แดง ร้อนบริเวณข้อต่ออย่างรุนแรงและเฉียบพลัน สามารถเกิดกับข้อต่อต่างๆ ได้ เช่น ข้อเท้า ข้อศอก ข้อเข่า และข้อมือ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า โดยจะปวดที่ข้อเดียว ไม่ปวดพร้อมกันหลายๆ ข้อ
- อาการจะเป็นๆ หายๆ ในระยะแรกแรก แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะปวดบ่อยขึ้นและนานขึ้น จนกลายเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น โรคไต ไตวาย เป็นต้น
- ปวดข้างใดข้างหนึ่ง
🔵 ข้อเข่าเสื่อม :
- มีอาการปวดเข่า ข้อเข่าติด ฝืด ตึง น้อยกว่า 30 นาทีหลังตื่นนอน มีเสียงดังในข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว มีจุดกดเจ็บบริเวณข้อเข่า ข้อเข่าผิดรูป บวม โดยอาการต่างๆ จะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเรื้อรังมากกว่า 6 เดือน
- อาการจะเป็นๆ หายๆ หรือมีอาการปวดหลังจากที่ทำกิจกรรมที่มีแรงกดต่อผิวข้อเข่าเยอะๆ หรือเดินไกลๆ หากเป็นข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก หลังทำกิจกรรมนั้นแล้ว อาการปวดจะอยู่ไม่นานและหายไปเอง แต่หากเป็นระยะปานกลางขึ้นไปอาการปวดจะเป็นต่อเนื่อง และถึงแม้จะไม่ได้ใช้งานข้อเข่าก็ยังมีอาการปวด และไม่สามารถหายเองได้ หรือหากหายก็ไม่หายขาด
- มักปวด 2 ข้างพร้อมกัน
การรักษา
🔴 เกาต์ : สามารถรักษาและควบคุมไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำได้ด้วยการใช้ยาละลายผลึกกรดยูริก โดยต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด เพื่อเป็นการรักษาอาการแบบเฉียบพลัน และป้องกันการสะสมใหม่ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
🔵 ข้อเข่าเสื่อม :
สามารถรักษาตามระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ดังนี้
1. การให้ยาแก้ปวดหรือยาต้านการอักเสบ
2. การทำกายภาพบำบัด
3. การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าเทียม หรือการฉีด PRP (Platelet Rich Plasma) ซึ่งเป็นการรักษาด้วยเกล็ดเลือดของผู้ป่วยเอง
4. การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง
5. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
การดูแลตัวเอง
🔴 เกาต์ : นอกจากการรับประทานยาแล้ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น หน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกะหล่ำ ผักโขม สะตอ ดื่มน้ำมากๆ เพื่อขับกรดยูริกออกจากร่างกาย ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หากมีอาการปวดสามารถใช้การประคบเย็นที่ข้อเข่าได้
🔵 ข้อเข่าเสื่อม : นอกจากการรักษาข้างต้นแล้ว การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การดูแลเรื่องอาหารการกิน และการออกกำลังกายก็เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งจะช่วยลดปัจจัยที่จะทำให้เกิดอาการปวดเข่าและการพัฒนาของข้อเข่าเสื่อมได้
อาการของโรคเกาต์และโรคข้อเข่าเสื่อมก่อให้เกิดความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อผู้ป่วย นอกจากนี้ ถ้าเป็นมากๆ ก็อาจจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำได้ ดังนั้น ถ้ามีอาการดังกล่าวข้างต้น หรือสงสัยว่าตัวเองอาจจะเป็นเกาต์หรือข้อเข่าเสื่อม ควรรีบไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพราะโรคเกาต์สามารถควบคุมและรักษาให้หายได้โดยการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ส่วนข้อเข้าเสื่อม แม้จะเป็นโรคที่มาพร้อมกับอายุ แต่ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยจนอาการของโรครุนแรง เพราะถ้าเราได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ก็จะสามารถบรรเทาความเจ็บปวดและกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้
ที่สำคัญ นอกจากการรักษาก็คือ การใส่ใจดูแลตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนัก ควรควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีคุณค่าทางโภชนาการ การออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ และการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพียงเท่านี้ ก็สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายได้แล้ว 💪💪💪
เกาต์กับข้อเข่าเสื่อม ต่างกันอย่างไร
คงจะมีหลายคนเคยสงสัยเหมือนพี่หมอใช่มั้ยครับว่า โรคเกาต์และข้อเข่าเสื่อมใช่โรคเดียวกันหรือไม่ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า อาการที่เราเป็นอยู่นั้นเกิดจากโรคไหนกันแน่ 🧐🧐🧐
โรคเกาต์และโรคข้อเข่าเสื่อม จัดเป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งทั้งสองโรคนี้มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่คล้ายคลึงกัน เช่น อายุที่มากขึ้น โรคอ้วน รวมถึงภาวะโภชนาการ (ภาวะสุขภาพที่เป็นผลมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารของตัวเราเอง) ทั้งนี้พบว่า ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิง ส่วนผู้หญิงจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย
และแม้ว่าทั้งสองโรคจะมีอาการคล้ายๆ กัน เช่น ปวดข้อเข่า ข้อเข่าบวมหรือผิดรูป แถมยังสามารถกระตุ้นให้เกิดโรคของกันและกันได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งสองโรคนี้มีความแตกต่างกันอยู่ แต่จะต่างกันตรงไหนและอย่างไรบ้าง พี่หมอไปหาคำตอบมาให้แล้วครับ
ความแตกต่างของโรคเก๊าท์และโรคข้อเข่าเสื่อม
กลุ่มเสี่ยง
🔴 เกาต์ : พบบ่อยทั้งในผู้ชายและผู้หญิง
🔵 ข้อเข่าเสื่อม : พบบ่อยในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากปัจจัยด้านฮอร์โมน กระดูกและกล้ามเนื้อ
สาเหตุ
🔴 เกาต์ : เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) และไม่สามารถขับกรดยูริกส่วนเกินออกมาได้ จึงเกิดการสะสมและตกผลึกตามข้อต่อและอวัยวะต่าง ๆ
🔵 ข้อเข่าเสื่อม : เกิดจากภาวะกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อเข่าสึกหรอ ฉีกขาด และเสื่อมสภาพตามอายุและปัจจัยหลายๆ ด้าน เมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อเข่าสึกหรอมากขึ้น จึงเกิดอาการปวดเข่า และยังไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในข้อเข่าอีกด้วย
อาการ
🔴 เกาต์ :
- ปวด บวม แดง ร้อนบริเวณข้อต่ออย่างรุนแรงและเฉียบพลัน สามารถเกิดกับข้อต่อต่างๆ ได้ เช่น ข้อเท้า ข้อศอก ข้อเข่า และข้อมือ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า โดยจะปวดที่ข้อเดียว ไม่ปวดพร้อมกันหลายๆ ข้อ
- อาการจะเป็นๆ หายๆ ในระยะแรกแรก แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะปวดบ่อยขึ้นและนานขึ้น จนกลายเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น โรคไต ไตวาย เป็นต้น
- ปวดข้างใดข้างหนึ่ง
🔵 ข้อเข่าเสื่อม :
- มีอาการปวดเข่า ข้อเข่าติด ฝืด ตึง น้อยกว่า 30 นาทีหลังตื่นนอน มีเสียงดังในข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว มีจุดกดเจ็บบริเวณข้อเข่า ข้อเข่าผิดรูป บวม โดยอาการต่างๆ จะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเรื้อรังมากกว่า 6 เดือน
- อาการจะเป็นๆ หายๆ หรือมีอาการปวดหลังจากที่ทำกิจกรรมที่มีแรงกดต่อผิวข้อเข่าเยอะๆ หรือเดินไกลๆ หากเป็นข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก หลังทำกิจกรรมนั้นแล้ว อาการปวดจะอยู่ไม่นานและหายไปเอง แต่หากเป็นระยะปานกลางขึ้นไปอาการปวดจะเป็นต่อเนื่อง และถึงแม้จะไม่ได้ใช้งานข้อเข่าก็ยังมีอาการปวด และไม่สามารถหายเองได้ หรือหากหายก็ไม่หายขาด
- มักปวด 2 ข้างพร้อมกัน
การรักษา
🔴 เกาต์ : สามารถรักษาและควบคุมไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำได้ด้วยการใช้ยาละลายผลึกกรดยูริก โดยต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด เพื่อเป็นการรักษาอาการแบบเฉียบพลัน และป้องกันการสะสมใหม่ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
🔵 ข้อเข่าเสื่อม :
สามารถรักษาตามระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ดังนี้
1. การให้ยาแก้ปวดหรือยาต้านการอักเสบ
2. การทำกายภาพบำบัด
3. การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าเทียม หรือการฉีด PRP (Platelet Rich Plasma) ซึ่งเป็นการรักษาด้วยเกล็ดเลือดของผู้ป่วยเอง
4. การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง
5. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
การดูแลตัวเอง
🔴 เกาต์ : นอกจากการรับประทานยาแล้ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น หน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกะหล่ำ ผักโขม สะตอ ดื่มน้ำมากๆ เพื่อขับกรดยูริกออกจากร่างกาย ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หากมีอาการปวดสามารถใช้การประคบเย็นที่ข้อเข่าได้
🔵 ข้อเข่าเสื่อม : นอกจากการรักษาข้างต้นแล้ว การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การดูแลเรื่องอาหารการกิน และการออกกำลังกายก็เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งจะช่วยลดปัจจัยที่จะทำให้เกิดอาการปวดเข่าและการพัฒนาของข้อเข่าเสื่อมได้
อาการของโรคเกาต์และโรคข้อเข่าเสื่อมก่อให้เกิดความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อผู้ป่วย นอกจากนี้ ถ้าเป็นมากๆ ก็อาจจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำได้ ดังนั้น ถ้ามีอาการดังกล่าวข้างต้น หรือสงสัยว่าตัวเองอาจจะเป็นเกาต์หรือข้อเข่าเสื่อม ควรรีบไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพราะโรคเกาต์สามารถควบคุมและรักษาให้หายได้โดยการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ส่วนข้อเข้าเสื่อม แม้จะเป็นโรคที่มาพร้อมกับอายุ แต่ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยจนอาการของโรครุนแรง เพราะถ้าเราได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ก็จะสามารถบรรเทาความเจ็บปวดและกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้
ที่สำคัญ นอกจากการรักษาก็คือ การใส่ใจดูแลตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนัก ควรควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีคุณค่าทางโภชนาการ การออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ และการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพียงเท่านี้ ก็สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายได้แล้ว 💪💪💪