กินไก่แล้วเป็นโรคเก๊าท์
ยังคงเป็นความเชื่อที่ติดอยู่ในใจใครหลายคนแน่ๆ
แต่แท้จริงแล้วเนื้อไก่หรือสัตว์ปีกเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่อาจทำให้เกิดอาการเก๊าท์กำเริบ
สาเหตุที่แท้จริงของโรคเก๊าท์เกิดจาก
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ สาเหตุ...โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์ หรือ Gout คือ โรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของผลึกยูริค
(Uric acid ) ภายในข้อ เนื่องจากมีการสะสมจนเกิดภาวะยูริคเกินในเลือด (hyperuricemia)
และทำให้มีการสะสมของผลึกยูริคในเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ ข้อ จนทำใหhเกิดปุ่มโทไฟ (tophi)
หรืออาจพบนิ่วของกรดยูริคในทางเดินปัสสาวะในบางรายได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ได้นั้น เรามักพบได้ 2 สาเหตุหลักๆ คือ
1. ร่างกายสร้างกรดยูริกในปริมาณที่มากกว่าปริมาณที่ขับออก
กรดยูริกเป็นผลผลิตจากกระบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกาย ซึ่งเป็นสารองค์ประกอบของสารพันธุกรรมที่เรียกว่า กรดนิวคลีอิก
โดยหากผู้ป่วยมีเอนไซม์ในกระบวนการย่อยสลายสารพิวรีนผิดปกติจะทำให้เกิดกรดยูริกสูงตามมาได้
หรือผู้ป่วยบางคนได้รับอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์กรดยูริก
เช่น อาหารจำพวกเครื่องในทุกชนิด หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะทำให้ร่างกายมีกระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์
ทำให้ได้รับสารพิวรีนเพิ่มขึ้นและทำให้กรดยูริกสูงตามมา
2. ร่างกายสร้างกรดยูริกเป็นปกติ แต่ขับออกจากร่างกายได้ลดลง
ในสภาวะปกติร่างกายจะขับกรดยูริกที่สร้างขึ้นออกทางไตประมาณ 2 ใน 3 และที่เหลือ 1 ใน 3
จะขับออกทางระบบทางเดินอาหาร จากการศึกษาในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ พบว่าประมาณร้อยละ 90
เกิดจากร่างกายมีความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงนั่นเอง
ในผู้ชาย Uric ไม่ควรที่จะเกิน 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ในผู้หญิงยูริค ไม่ควรเกิน 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โรคนี้สามารถติดต่อได้ทางกรรมพันธุ์
ปัจจัยที่กระตุ้นให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงจนตกตะกอนเป็นผลึก
การรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตส
อาการเจ็บป่วยที่มีผลต่อการสร้างเซลล์เพิ่มขึ้น เช่น โรคมะเร็ง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) โรคสะเก็ดเงิน
อาการเจ็บป่วยที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างกรดยูริกขึ้นมามากกว่าปกติ
ขณะเดียวกันก็ลดความสามารถในการกำจัดกรดยูริกออกจากร่างกาย
เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไต
การใช้ยาบางชนิด ที่ส่งผลให้ไตขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะได้น้อ
ผู้ป่วยโรคเกาต์อาจมีปัญหาที่รุนแรงตามมา เช่น เป็นโรคเกาต์ที่กำเริบขึ้นซ้ำ ๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ ยาอาจป้องกันการเกิดโรคเกาต์ซ้ำ ๆ ได้ แต่หากละเลยไม่ได้รับการรักษา
อาจทำให้ข้อต่อถูกกันกร่อนทำลายจนเกิดความเสียหายที่รุนแรงได้
นอกจากนี้อาจมีการสะสมของผลึกยูเรต ใต้ผิวหนังเป็นก้อนที่เรียกว่า Tophi ซึ่งก้อน Tophi
สามารถพบได้ทั้งบริเวณนิ้ว มือ เท้า ข้อศอก และเอ็นร้อยหวายหลังข้อเท้า
โดยทั่วไปแล้วก้อน Tophi ใม่มีอาการเจ็บ แต่อาจเกิดอาการบวมและเจ็บขึ้นเมื่อโรคเกาต์กำเริบ
อาการของโรคเกาต์ ปวด บวม แดง ร้อน โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ซึ่งเป็นข้อที่พบบ่อยสุด
โดยมากปวดข้อเดียวแต่ก็ปวดหลายข้อได้ อาการของเกาต์ปวดเป็นๆ หายๆ หรือเรื้อรัง
ข้อที่ปวดเกาต์พบได้ทุกข้อ แต่พบมากข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อนิ้ว และข้อศอก
พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในรายที่เป็นเกาต์มานานอาจพบนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
มักปวดตอนกลางคืน อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ มักจะมีปัจจัยกระตุ้นได้แก่
การรับประทานอาหารที่มียูริกสูง ดื่มสุรา หรือความเครียด
ข้อที่พบการอักเสบของเกาต์ได้บ่อย ได้แก่ ข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ และข้อศอกเรียงตามลำดับ
พบว่าข้อที่เป็นจะบวม แดง กดเจ็บ ในรายที่เป็นเรื้อรังจะมีการรวมตัวของกรดยูริกเกิดเป็นก้อนที่ข้อ
ยารักษาโรคเกาต์มี 2 ประเภท โดยแต่ละประเภทมีเป้าหมายในการรักษาที่แตกต่างกัน
1.ยาประเภทแรกช่วยลดการอักเสบและความรู้สึกไม่สบายตัวที่มาพร้อมกับโรคเกาต์
2.ยาประเภทที่สองช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเกาต์โดยลดระดับกรดยูริกในเลือดให้สมดุล
ทั้งนี้ชนิดยาที่ควรรับประทานนั้นขึ้นอยู่กับความถี่และความรุนแรงของอาการที่เป็น
ช่วงที่คนไข้ปวดให้พักและดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการตกตะกอนของกรดยุริก ให้นอนพัก ยกเท้าสูง
หลีกเลี่ยงการยืนหรือการเดิน ห้ามบีบนวดข้อที่อักเสบ
รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ซี่งรับประทานติดต่อกันเป็นปีๆ จนกว่าจะไม่มีการตกตะกอนของกรดยูริก
หากมีอาการท้องเดินปวดท้องหรือถ่ายยา ควรรีบปรึกษาแพทย์
ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ และลดความเข้มข้นของปัสสาวะ
ควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะทำให้ “กรดยูริก” ถูกขับออกจากร่างกายไม่ได้ดี และทำให้ตับสร้าง “กรดยูริก” มากขึ้น
ทำให้มีการสะสมของ “กรดยูริก” มากขึ้น
งดอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ เพราะ “กรดยูริก” เป็นส่วนหนึ่งของสารพิวรีน ที่พบมากใน ตับ ไต สมอง หัวใจ
และกระเพาะอาหารของสัตว์ มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการ รักษาหรือลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
สาเหตุ..โรคเก๊าท์
แต่แท้จริงแล้วเนื้อไก่หรือสัตว์ปีกเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่อาจทำให้เกิดอาการเก๊าท์กำเริบ
สาเหตุที่แท้จริงของโรคเก๊าท์เกิดจาก
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ สาเหตุ...โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์ หรือ Gout คือ โรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของผลึกยูริค
(Uric acid ) ภายในข้อ เนื่องจากมีการสะสมจนเกิดภาวะยูริคเกินในเลือด (hyperuricemia)
และทำให้มีการสะสมของผลึกยูริคในเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ ข้อ จนทำใหhเกิดปุ่มโทไฟ (tophi)
หรืออาจพบนิ่วของกรดยูริคในทางเดินปัสสาวะในบางรายได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ได้นั้น เรามักพบได้ 2 สาเหตุหลักๆ คือ
1. ร่างกายสร้างกรดยูริกในปริมาณที่มากกว่าปริมาณที่ขับออก
กรดยูริกเป็นผลผลิตจากกระบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกาย ซึ่งเป็นสารองค์ประกอบของสารพันธุกรรมที่เรียกว่า กรดนิวคลีอิก
โดยหากผู้ป่วยมีเอนไซม์ในกระบวนการย่อยสลายสารพิวรีนผิดปกติจะทำให้เกิดกรดยูริกสูงตามมาได้
หรือผู้ป่วยบางคนได้รับอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์กรดยูริก
เช่น อาหารจำพวกเครื่องในทุกชนิด หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะทำให้ร่างกายมีกระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์
ทำให้ได้รับสารพิวรีนเพิ่มขึ้นและทำให้กรดยูริกสูงตามมา
2. ร่างกายสร้างกรดยูริกเป็นปกติ แต่ขับออกจากร่างกายได้ลดลง
ในสภาวะปกติร่างกายจะขับกรดยูริกที่สร้างขึ้นออกทางไตประมาณ 2 ใน 3 และที่เหลือ 1 ใน 3
จะขับออกทางระบบทางเดินอาหาร จากการศึกษาในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ พบว่าประมาณร้อยละ 90
เกิดจากร่างกายมีความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงนั่นเอง
ในผู้ชาย Uric ไม่ควรที่จะเกิน 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ในผู้หญิงยูริค ไม่ควรเกิน 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โรคนี้สามารถติดต่อได้ทางกรรมพันธุ์
ปัจจัยที่กระตุ้นให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงจนตกตะกอนเป็นผลึก
การรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตส
อาการเจ็บป่วยที่มีผลต่อการสร้างเซลล์เพิ่มขึ้น เช่น โรคมะเร็ง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) โรคสะเก็ดเงิน
อาการเจ็บป่วยที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างกรดยูริกขึ้นมามากกว่าปกติ
ขณะเดียวกันก็ลดความสามารถในการกำจัดกรดยูริกออกจากร่างกาย
เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไต
การใช้ยาบางชนิด ที่ส่งผลให้ไตขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะได้น้อ
ผู้ป่วยโรคเกาต์อาจมีปัญหาที่รุนแรงตามมา เช่น เป็นโรคเกาต์ที่กำเริบขึ้นซ้ำ ๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ ยาอาจป้องกันการเกิดโรคเกาต์ซ้ำ ๆ ได้ แต่หากละเลยไม่ได้รับการรักษา
อาจทำให้ข้อต่อถูกกันกร่อนทำลายจนเกิดความเสียหายที่รุนแรงได้
นอกจากนี้อาจมีการสะสมของผลึกยูเรต ใต้ผิวหนังเป็นก้อนที่เรียกว่า Tophi ซึ่งก้อน Tophi
สามารถพบได้ทั้งบริเวณนิ้ว มือ เท้า ข้อศอก และเอ็นร้อยหวายหลังข้อเท้า
โดยทั่วไปแล้วก้อน Tophi ใม่มีอาการเจ็บ แต่อาจเกิดอาการบวมและเจ็บขึ้นเมื่อโรคเกาต์กำเริบ
อาการของโรคเกาต์ ปวด บวม แดง ร้อน โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ซึ่งเป็นข้อที่พบบ่อยสุด
โดยมากปวดข้อเดียวแต่ก็ปวดหลายข้อได้ อาการของเกาต์ปวดเป็นๆ หายๆ หรือเรื้อรัง
ข้อที่ปวดเกาต์พบได้ทุกข้อ แต่พบมากข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อนิ้ว และข้อศอก
พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในรายที่เป็นเกาต์มานานอาจพบนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
มักปวดตอนกลางคืน อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ มักจะมีปัจจัยกระตุ้นได้แก่
การรับประทานอาหารที่มียูริกสูง ดื่มสุรา หรือความเครียด
ข้อที่พบการอักเสบของเกาต์ได้บ่อย ได้แก่ ข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ และข้อศอกเรียงตามลำดับ
พบว่าข้อที่เป็นจะบวม แดง กดเจ็บ ในรายที่เป็นเรื้อรังจะมีการรวมตัวของกรดยูริกเกิดเป็นก้อนที่ข้อ
ยารักษาโรคเกาต์มี 2 ประเภท โดยแต่ละประเภทมีเป้าหมายในการรักษาที่แตกต่างกัน
1.ยาประเภทแรกช่วยลดการอักเสบและความรู้สึกไม่สบายตัวที่มาพร้อมกับโรคเกาต์
2.ยาประเภทที่สองช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเกาต์โดยลดระดับกรดยูริกในเลือดให้สมดุล
ทั้งนี้ชนิดยาที่ควรรับประทานนั้นขึ้นอยู่กับความถี่และความรุนแรงของอาการที่เป็น
ช่วงที่คนไข้ปวดให้พักและดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการตกตะกอนของกรดยุริก ให้นอนพัก ยกเท้าสูง
หลีกเลี่ยงการยืนหรือการเดิน ห้ามบีบนวดข้อที่อักเสบ
รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ซี่งรับประทานติดต่อกันเป็นปีๆ จนกว่าจะไม่มีการตกตะกอนของกรดยูริก
หากมีอาการท้องเดินปวดท้องหรือถ่ายยา ควรรีบปรึกษาแพทย์
ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ และลดความเข้มข้นของปัสสาวะ
ควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะทำให้ “กรดยูริก” ถูกขับออกจากร่างกายไม่ได้ดี และทำให้ตับสร้าง “กรดยูริก” มากขึ้น
ทำให้มีการสะสมของ “กรดยูริก” มากขึ้น
งดอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ เพราะ “กรดยูริก” เป็นส่วนหนึ่งของสารพิวรีน ที่พบมากใน ตับ ไต สมอง หัวใจ
และกระเพาะอาหารของสัตว์ มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการ รักษาหรือลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน