สี่-นี้-โป่ย-โจ่ย (ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับ 8 เทศกาล ปี 2565)
ep.1 สาร์ทที่ 1 วันตรุษจีน และความเชื่อเรื่องการส่งเสด็จเจ้าขึ้นสวรรค์ (ซิ้งเจี่ยที)
เทศกาลตรุษจีนปีนี้ตรงกับวันที่ 1 กพ. ของไหว้ตรุษจีนนอกจากชุดซาแซ โหง่วแซ (เนื้อสัตว์ 3 อย่าง 5 อย่าง)
และอาหารคาวหวานชื่อมงคล รวมทั้งกระดาษเงิน กระดาษทองต่างๆ ที่จัดเตรียมไว้สำหรับไหว้ตี่จู้ (เจ้าที่) และ บรรพบุรุษแล้ว
"ชือคั้กก้วย..ฉื่อคั้กก้วย" ก็เป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยที่มักจะถูกจัดขึ้นโต๊ะไหว้ด้วยค่ะ
แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบของ "ขนมเทียน" แต่ใส่ "ชือขัก" ชื่อของหญ้าสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณทางยา
ให้ความหอมนุ่มอร่อยเวลานำลงนวดพร้อมกับตัวแป้ง แต่บางแห่งก็ยังทำ "ฉื่อคั้กก้วย" แบบแต้จิ๋วแท้ๆขายอยู่นะคะ
ถ้าถามแม่นันว่ารู้จัก "ฉื่อคั้กก้วย" ของดั้งเดิมดีแค่ไหน แม่นันเพิ่งมารู้จักเมื่อปีที่แล้วค่ะ โดยการเสิร์ซหา
ทั้งโทรถามคนรุ่นเก่าๆที่รู้จัก และอาหยี่แจ้ อาตั่วแจ้ของตัวเอง ซึ่งอายุ 72 และ 74 แล้ว อาตั่วแจ้เล่าว่า
สมัยก่อน อาป๊ะ (คุณพ่อ) ก็ทำ "ชือคักก้วย" เองค่ะ ทำใส่แป้นพิมพ์เหมือนอั่งถ่อก้วย อาตั่วแจ้บอกว่า
อาป๊ะทำอาหารเก่ง เก่งทุกอย่างทั้งภาษาจีน (ที่พูดได้ตั้งหลายสำเนียง) ทั้งงานไม้ งานช่าง และการทำอาหาร อาอึ้ม (คุณแม่) ซะอีก
ที่นั่งเป็นคุณนาย ทำอะไรก็ไม่เป็น ก็อาอึ้มของแม่นันเป็นคุณหนูที่อาป๊ะพามาจากสิงคโปร์นี่คะ
(เรืองราวการจีบสาวของอาป๊ะ เล่าต่อๆกันมาให้เรียกเสียงหัวเราะได้ตลอดค่ะ) แต่อาหยี่แจ้ (พี่สาวคนที่สอง)
เล่าถึงอาอึ้มว่า " "บ้ะจ่างและไช้เถ่าก้วย (ขนมผักกาด) ของบ้านเราน่ะ ต้นตำหรับมาจากอาอึ้ม (คุณหนูสิงคโปร์ของเรา) นะจะบอกให้"
อาตั่วแจ้เล่าอีกว่าคนสมัยโบราณมีความเชื่อว่า วันส่งเจ้าขึ้นสวรรค์ ก่อนวันตรุษจีน หรือเรียกว่าวัน "ซิ้งเจี่ยที"
(ปีนี้ตรงกับวันที่ 26 มค. เทพเจ้าทุกองค์ที่คอยคุ้มครองมนุษย์โลก จะต้องขึ้นไปรายงานแก่เง็กเซียนฮ่องเต้บนสวรรค์ว่า
ระหว่างที่อยู่ปกป้องมนูษย์บนโลกนี้ มนุษย์โลกได้ทำความดีความชอบ หรือความชั่วอะไรไว้บ้าง
ในวันนั้นเราจึงทำ "ชือคั้กก้วย" อย่างสุดฝีมือ ซึ่งนอกจาก "ชือคั้กก้วย" ที่อาป๊ะทำแล้ว อาป๊ะยังเตรียมน้ำชา ผลไม้ และม้ากระดาษ (จั๋วแบ้)
เพื่อเป็นยานพาหนะให้เทพเจ้าขี่ไปรายงานความดีความชอบของพวกเราแก่เง็กเซียนฮ่องเต้บนสวรรค์ด้วย
อาตั่วแจ้เล่าติดตลกว่า ช่วงที่เป็นสะใภ้อยู่ที่บ้านสามี ระหว่างที่จัดเตรียมของไหว้ในวันนั้น
คนในบ้านมักจะตะโกนขึ้นมาว่า "อย่าลืมหาอะไรเหนียวๆอีกหนึ่งอย่างไว้ปิดปากเจ้าด้วยนะ" อาตั่วแจ้สงสัยจึงถามขึ้น
ก็ได้ความว่า เวลาเจ้าได้ทานขนมเหนียวๆนี้ จะทำให้รายงานเง็กเซียนฮ่องเต้ได้ไม่ค่อยถนัดเพราะขนมติดปากอยู่
อย่างน้อยก็ปกปิดสิ่งที่เราทำไม่ดีไว้ได้บ้าง อาตั่วแจ้เล่าว่า
ขณะนั้นตั่วเองนึกอยู่ในใจว่า "งั้นทำไมไม่กวนแป้งเปียกส่งไปด้วยล่ะจะได้ปิดได้ทุกเรื่อง" ฮ่าฮ่า
*พอพูดถึงขนมเหนียวๆที่บางคนคิดจะไหว้ปิดปากเจ้า ทำให้นึกถึงขนมเข่ง คนโบราณเวลาทำขนมเข่งจะโม่แป้งเองด้วยแป้นที่เป็นหิน
ปลายทึ่โม่ใส่ถุงแป้งที่เป็นผ้าครอบไว้ โม่เสร็จเอาที่โม่ทับจนน้ำแป้งซึมออกจนเหลือแต่แป้ง
หลังจากนั้นก็นวดแป้งกับน้ำตาลทรายด้วยมือจนเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ใส่ในพิมพ์ที่สั่งทำเท่ากับขนาดซึ้งที่นึ่ง
ด้านบนโรยงาขาวกับพุทราจีน นึ่งเสร็จจะเป็นสีออกน้ำตาล ไม่มีขึ้นรา อร่อยสุดยิ่งเอาไปชุบไข่ทอด อร่อยเกินบรรยาย
(เวลาตัดขนมเข่งใช้ด้ายขาวตัด) คลาสสิคสุดๆค่ะ *ข้อความนี้แม่นันขออนุญาติคัดลอกมาจากคอมเมนต์แฟนเพจ คุณ Duangduen Eiammongkolsakul ขอบคุณที่ช่วยให้รำลึกถึงนะคะ กว่าจะได้ทานนี่คนทำเหนื่อยเป็นวัน
กลับมาที่ "ชือคักก้วย" ค่ะ อาแจ้เล่ากันมาขนาดนี้ ยิ่งทำให้แม่นันอยากรู้จัก "ชือคักก้วยแบบดั้งเดิม" มาก
ปีที่แล้วแม่นันถึงกับเสิร์ซหาข้อมูล และโทรไปสั่งล่วงหน้ากับร้าน "โกเจง" ที่ จ.พิษณุโลก
ต้นตำหรับที่ทำขายทุกปีในช่วงตรุษจีนมาชิมด้วยค่ะ แม่นันสั่งแบบแม่พิมพ์กลมๆ และแบบอั่งถ่อก้วย (ตามรูปเลยค่ะ)
แพ็คแบบฟรีมาเลย แล้วเรามาอุ่นเอา เนื้อแป้งบางมาก ไส้ในเป็นไส้งาปนถั่วปนน้ำตาล อร่อยมากค่ะ เยาวราชก็มีขายค่ะ
อาหยี่แจ้บอกเคยซื้อมากินเหมือนกัน แต่ชือขักที่ทำใส่ในขนมเทียนจะออกเผ็ดเค็ม เพราะใส่พริกไทยด้วย
ปีที่แล้วแม่นันได้ไปช่วยมาม้าบุญธรรมทำ "ขนมเทียน" แต่ตัวแป้งผสม "ชือคักเฮียะ" (ใบชือขัก) ลงไปด้วย
อร่อยมากค่ะ ยิ่งตัวไส้เต่าซาเผ็ดนำ มาม้าทำอร่อยอยู่แล้ว ยิ่งเพิ่มความอร่อยเข้าไปอีก ปีนี้ถ้าไม่ติดอะไรคงได้เข้าไปช่วยอีกค่ะ
มาดูขั้นตอนการทำที่ไม่ง่ายกันมั้ยคะ
ก่อนอื่นต้องเตรียมต้มใบ "ชือขัก" ก่อนค่ะ ใบชือขักหาซื้อได้ตามตลาดชุมชนชาวจีนค่ะ ล้างและต้มจนนิ่ม บางที่ก็นำไปบดเลยค่ะ
ต้มผสมด้วยน้ำตาลปี๊บ/น้ำตาลก้อนจนเข้าเนื้อกัน และที่ต้องใช้สองคนช่วยกันทำคือ ตัวไส้เต่าซาค่ะ
คนหนึ่งกวน คนหนึ่งจับหูกระทะ ซูฮก (ขอคารวะ) มาม้า ท่านอายุ 75 แล้ว แต่แข็งแรงกว่าแม่นันมาก แต่ปีนี้มาม้าล้าไปเยอะค่ะ
- จากนั้นนำมานวดให้เข้ากับแป้งข้าวเหนียว คอยหยอดน้ำตามขณะนวด นวดจนเนียนเข้าเนื้อกัน ขั้นตอนนี้เหนื่อยนะคะ
เพราะต้องนวดจนตัวแป้งนิ่มหยดเป็นสายน้ำได้ค่ะ ทีนี้ก็แล้วแต่ว่าจะให้นิ่ม หนืดขนาดไหนก็หยุดนวดที่ตรงนั้นค่ะ
- เสร็จแล้วนำตัวแป้งมาหยอดลงบนใบตอง (ตัดเป็นสามเหลี่ยมมนๆ) ตามด้วยไส้เต่าซาปั้นเป็นกลมๆ
ห่อใบตองให้เป็นรูปทรงปิรามิดเก็บปลายใบตองให้สนิท ห่อสวยไม่สวยดูตรงนม (ยอดแหลมของปิรามิดค่ะ)
ว่าเอียง ตรง หรือแฟบ เหมือนคนห่อ (อิอิ)
- ขั้นตอนสุดท้ายนำไปนึ่งได้เลยค่า ถ้าเป็นคนจีนก็จะบอกให้นึ่งนานครึ่งธูป หรือหนึ่งธูปดับ
แต่ถ้าเอาหลักสากลก็ประมาณสิบห้านาทีค่ะ แม่นันตั้งจับเวลาให้มาม้า
แม่นันตั้งคำถาม.... แต่... ไม่มีใครตอบแม่นันได้เลยว่า
ขนมเทียนที่ถูกนำมาไหว้ในช่วงเทศกาลกันอย่างแพร่หลาย ประวัติเป็นมาอย่างไร ใครทราบช่วยไขข้อข้องใจแม่นันทีค่ะ
บ้างก็ว่าเป็นขนมไทย บ้างก็ว่าเป็นขนมจีน
ถ้าให้แม่นันไล่เรียงตามที่อาแจ้และมาม้าบุญธรรมเล่ามา
"ขนมเทียน" เป็นขนมไทย แล้วคนจีนนำมาดัดแปลง โดยการใส่ใบ "ชือขัก" ผสมลงไปในเนื้อแป้งด้วย
และเปลี่ยนไส้เป็นเต่าซารสชาติเผ็ดเค็ม
หรือ
"ขนมเทียน" เป็น "ชือคั้กก้วย" ของคนจีน ที่เปลี่ยนรูปทรง จากทรงโบราณ มาเป็นสามเหลี่ยนปิรามิดแทน
แล้วคนไทยนำมาดัดแปลงโดยการตัดใบ "ชือขัก" ออก และเปลี่ยนไส้เป็นไส้หวาน ไส้เค็ม และไส้อื่นๆ ให้ถูกปากคนไทย
ตรุษจีนปีนี้ที่บ้านจะทำ ชือคักก้วย มั้ย รอแจ้งนะคะ ขึ้นอยู่กับว่ามีลูกมือพอรึเปล่าค่ะ เพราะแป้งเราก็โม่เอง ทุกอย่างทำมือหมดค่ะ
ข้อดีและข้อเสียของบรรพบุรุษก็คือตรงนี้ล่ะค่ะ เพื่อคงความสดและอร่อย จะไม่ยอมลดขั้นตอนด้วยการซื้อวัตถุดิบสำเร็จรูปเด็ดขาด
แต่มันทำให้เหนื่อยล้ามากๆ ....บรรพบุรุษ..บางครั้ง ดื้อ...มากกก
#อาหารจีน #โป่ยโจ่ย #ตามหาของกิน #ขนมเทียน #ชือคักก้วย #อร่อย #NanthineeHomemade #ประวัติขนมเทียน #ประวัติชือคักก้วย
สี่-นี้-โป่ย-โจ่ย (ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับ 8 เทศกาล ปี 2565) ep.1 สาร์ทที่ 1 วันตรุษจีน และความเชื่อเรื่องการส่งเสด็จเจ้าข
ep.1 สาร์ทที่ 1 วันตรุษจีน และความเชื่อเรื่องการส่งเสด็จเจ้าขึ้นสวรรค์ (ซิ้งเจี่ยที)
"ชือคั้กก้วย..ฉื่อคั้กก้วย" ก็เป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยที่มักจะถูกจัดขึ้นโต๊ะไหว้ด้วยค่ะ
ถ้าถามแม่นันว่ารู้จัก "ฉื่อคั้กก้วย" ของดั้งเดิมดีแค่ไหน แม่นันเพิ่งมารู้จักเมื่อปีที่แล้วค่ะ โดยการเสิร์ซหา
อาตั่วแจ้เล่าอีกว่าคนสมัยโบราณมีความเชื่อว่า วันส่งเจ้าขึ้นสวรรค์ ก่อนวันตรุษจีน หรือเรียกว่าวัน "ซิ้งเจี่ยที"
อาตั่วแจ้เล่าติดตลกว่า ช่วงที่เป็นสะใภ้อยู่ที่บ้านสามี ระหว่างที่จัดเตรียมของไหว้ในวันนั้น
*พอพูดถึงขนมเหนียวๆที่บางคนคิดจะไหว้ปิดปากเจ้า ทำให้นึกถึงขนมเข่ง คนโบราณเวลาทำขนมเข่งจะโม่แป้งเองด้วยแป้นที่เป็นหิน
กลับมาที่ "ชือคักก้วย" ค่ะ อาแจ้เล่ากันมาขนาดนี้ ยิ่งทำให้แม่นันอยากรู้จัก "ชือคักก้วยแบบดั้งเดิม" มาก
ปีที่แล้วแม่นันได้ไปช่วยมาม้าบุญธรรมทำ "ขนมเทียน" แต่ตัวแป้งผสม "ชือคักเฮียะ" (ใบชือขัก) ลงไปด้วย
ก่อนอื่นต้องเตรียมต้มใบ "ชือขัก" ก่อนค่ะ ใบชือขักหาซื้อได้ตามตลาดชุมชนชาวจีนค่ะ ล้างและต้มจนนิ่ม บางที่ก็นำไปบดเลยค่ะ
- จากนั้นนำมานวดให้เข้ากับแป้งข้าวเหนียว คอยหยอดน้ำตามขณะนวด นวดจนเนียนเข้าเนื้อกัน ขั้นตอนนี้เหนื่อยนะคะ
- เสร็จแล้วนำตัวแป้งมาหยอดลงบนใบตอง (ตัดเป็นสามเหลี่ยมมนๆ) ตามด้วยไส้เต่าซาปั้นเป็นกลมๆ
- ขั้นตอนสุดท้ายนำไปนึ่งได้เลยค่า ถ้าเป็นคนจีนก็จะบอกให้นึ่งนานครึ่งธูป หรือหนึ่งธูปดับ
แม่นันตั้งคำถาม.... แต่... ไม่มีใครตอบแม่นันได้เลยว่า
ขนมเทียนที่ถูกนำมาไหว้ในช่วงเทศกาลกันอย่างแพร่หลาย ประวัติเป็นมาอย่างไร ใครทราบช่วยไขข้อข้องใจแม่นันทีค่ะ
ถ้าให้แม่นันไล่เรียงตามที่อาแจ้และมาม้าบุญธรรมเล่ามา
"ขนมเทียน" เป็นขนมไทย แล้วคนจีนนำมาดัดแปลง โดยการใส่ใบ "ชือขัก" ผสมลงไปในเนื้อแป้งด้วย
หรือ
"ขนมเทียน" เป็น "ชือคั้กก้วย" ของคนจีน ที่เปลี่ยนรูปทรง จากทรงโบราณ มาเป็นสามเหลี่ยนปิรามิดแทน