รู้จัก “ลูกบาศก์ทังสเตน” ของสะสมเศรษฐีคริปโต เมื่อมนุษย์ยังโหยหาสิ่งที่จับต้องได้
By Pattarat -December 29, 2021
ตลาดเทรดเงินคริปโตยังคงร้อนแรงต่อเนื่องในปี 2021 สร้างเศรษฐีคริปโตรายใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ความร่ำรวยและการเทรดทั้งหมดจะเกิดขึ้นในโลกดิจิทัล แต่ทว่าเศรษฐีเหล่านี้ยังต้องการสิ่งที่จับต้องได้ในโลกจริง จนทำให้ของสะสมอย่าง “ลูกบาศก์ทังสเตน” กลายเป็นของเล่นใหม่สุดฮิตในวงการ
เศรษฐีเอเชียนในรูปแบบการค้ายุคเก่านิยมวางรูปปั้นสำเภาทองไว้ประดับห้อง แต่เศรษฐีคริปโตยุคใหม่ ของสะสมที่นิยมกลับเป็น “ลูกบาศก์ทังสเตน” ซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องได้จริงๆ ไม่ใช่งานศิลปะในโลกดิจิทัลที่พวกเขาลงทุนกันอยู่
กระแสฮิตสะสมลูกบาศก์ทังสเตนพุ่งขึ้นจุดสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2021 ปั่นจนยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 300% สร้างแรงกระเพื่อมจนทังสเตนขาดตลาดไประยะหนึ่ง ซึ่งส่งผลต่อเนื่องถึงอุตสาหกรรมอื่นที่ต้องใช้ทังสเตนผลิตวัตถุดิบ เช่น ส่วนประกอบเครื่องบิน แผ่นเอกซเรย์ (แน่นอนว่าอุตสาหกรรมอื่นย่อมไม่พอใจ เพราะเหล่าเศรษฐีคริปโตซื้อลูกบาศก์ทังสเตนไปเก็บสะสมไว้เฉยๆ ไม่ได้ใช้ประโยชน์)
ลูกบาศก์ทังสเตนคืออะไร? มันคือแร่ธาตุทังสเตนที่ถูกนำมาขึ้นรูปเป็นลูกบาศก์เกลี้ยงๆ ความพิเศษของมันคือ ทังสเตนเป็นหนึ่งในแร่ธาตุที่มีมวลหนักที่สุดในโลก ยกตัวอย่างลูกบาศก์ทังสเตนขนาด 4×4 นิ้ว ซึ่งสามารถวางไว้บนฝ่ามือได้พอดี กลับมีน้ำหนักถึง 18.6 กิโลกรัม เมื่อคนเราหยิบลูกบาศก์ทังสเตนขึ้นมาจึงรู้สึกว่ามันขัดหลักฟิสิกส์ เพราะของที่เล็กแค่นี้ไม่ควรจะหนักได้ถึงขนาดนี้
ความรู้สึกแปลกพิศวงนี้เองทำให้ลูกบาศก์ทังสเตนกลายเป็นของพิเศษจนบรรดาเศรษฐีคริปโตแห่ซื้อ แม้กระทั่ง Jack Dorsey อดีตซีอีโอ Twitter เมื่อย้ายมาทำงานกับ Block (ชื่อเดิม Square) เขาก็จัดการเปลี่ยนชื่อบริษัทโดยมีที่มาส่วนหนึ่งจากลูกบาศก์ทังสเตนนี้ด้วย
ลึกๆ แล้วมนุษย์ก็ยังโหยหาสิ่งที่จับต้องได้
จุดเริ่มต้นกระแสฮิตนี้มาจาก Nic Carter เขาเป็นพาร์ตเนอร์คนหนึ่งในบริษัท Castle Island Ventures บริษัทเวนเจอร์แคปปิตอลที่ลงทุนในเทคโนโลยีบล็อกเชน เขานิยามตัวเองว่าเป็นเหมือน ‘ผู้ป่วยหมายเลข 0’ ของวงการลูกบาศก์ทังสเตน เนื่องจาก Carter เริ่มซื้อของสะสมนี้มาตั้งแต่ 4 ปีก่อน โดยซื้อให้ตัวเองและส่งเป็นของขวัญให้คนอื่นด้วย
“มันเป็นอะไรที่คลาสสิกเหมือนเรื่องคริปโตเลย วงการนี้ยอมรับคอนเซ็ปต์ตลกๆ มาใช้จริง และกลายเป็นเอาจริงเอาจังกับมุกตลกนี้เข้าจนได้” Carter กล่าว
เขายังอธิบายถึงความชื่นชอบในลูกบาศก์ทังสเตนว่า เป็นเพราะคุณสมบัติเชิงอะตอมของมัน ความหนาแน่น ความแข็งแกร่งที่ดึงดูดใจ “เราทำงานกับโลกเสมือนจริงที่จับต้องไม่ได้ หรือที่เรียกกันว่าเมตาเวิร์ส เราทำงานกับสินค้าโภคภัณฑ์ที่สังเคราะห์สร้างขึ้น ทำงานกับ NFT ที่มีมูลค่าทางการเงินแต่จับต้องไม่ได้โดยสิ้นเชิง ดังนั้น มันจึงรู้สึกดีที่ได้จับต้องสิ่งที่มีอะตอมอยู่จริงๆ บ้าง” Carter กล่าว
ผู้ชนะในเกมนี้: MTS ผู้ผลิต ‘ลูกบาศก์ทังสเตน’
ราคาของลูกบาศก์ทังสเตนนั้นสูงพอสมควร ถ้าเป็นชิ้นขนาด 1×1 ซม. เล็กเพียงปลายนิ้วมือ ก็มีราคาถึง 29.99 เหรียญสหรัฐแล้ว (ประมาณ 1,000 บาท) ส่วนขนาดยอดฮิตคือ 4×4 นิ้ว ตีราคาไว้ที่ 3,499 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 117,000 บาท)
โดยผู้ผลิตรายใหญ่สำหรับสินค้าของสะสมเหล่านี้คือ Midwest Tungsten Service (MTS) โรงงานอุตสาหกรรมใกล้กับเมืองชิคาโก ซึ่งบริษัทนี้เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบทังสเตนให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ อยู่แล้ว และเคยได้รับออร์เดอร์ล้นหลามเป็นครั้งคราว เมื่อใดก็ตามที่ใน YouTube เกิดมีช่องทดลองทางวิทยาศาสตร์เล่นกับลูกบาศก์ทังสเตนและมียอดวิวสูง
แต่ครั้งนี้ Sean Murray ผู้อำนวยการฝ่ายอีคอมเมิร์ซของ MTS ให้สัมภาษณ์ Business Insider ว่า ยอดขายยังสูงต่อเนื่องแม้ผ่านไปแล้ว 3 วัน ทำให้พวกเขารู้ว่าต้องเร่งผลิตสต็อกออกมาให้ทันความต้องการ รีบขี่กระแสที่เกิดขึ้นนี้ นอกจากจะเร่งผลิตแล้ว MTS ยังรีบเปิดระบบชำระเงินยอมรับสกุลเงินบิตคอยน์ด้วย
พวกเขายังเปิดขายลูกบาศก์ทังสเตนที่ใหญ่ที่สุดที่เคยทำมา คือขนาด 14.5×14.5 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 900 กิโลกรัม แต่ว่าเป็นการขายเป็นชิ้นงานศิลปะแบบ NFT ล้อไปกับเทรนด์ความฮิตที่เกิดในหมู่เศรษฐีคริปโต ผู้ชนะในการเปิดขายคือกลุ่ม TungstenDAO ซึ่งประมูลไปในราคา 57ETH (เท่ากับมูลค่าประมาณ 8.29 ล้านบาท ณ เวลานั้น) สาเหตุที่ไม่ได้ขายชิ้นงานจริงเพราะจะขนส่งลำบาก แต่มีการเปิดให้เจ้าของมันในโลก NFT สามารถติดต่อเข้ามาชมและถ่ายรูปกับลูกบาศก์ทังสเตนยักษ์ชิ้นนี้ได้ปีละครั้งที่โรงงาน MTS
Murray ระบุว่าจุดพีคสุดในการขายลูกบาศก์ทังสเตนเมื่อเดือนตุลาคมได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่คำสั่งซื้อก็ยังไม่ได้หายไปโดยสิ้นเชิง เพราะบริษัทเทคฯ ก็ยังสนุกกับการแจกของสะสมนี้ โดยระยะหลังเริ่มมีคำสั่งบิ๊กลอตให้บริษัทผลิตลูกบาศก์ทังสเตนแบบสลักชื่อพนักงาน เพื่อบริษัทจะนำไปแจกเป็นของขวัญ
โดยสรุปแล้ว กระแสลูกบาศก์ทังสเตนกลายเป็นอีกข้อพิสูจน์หนึ่งว่าเมื่อมนุษย์มีความเชื่อและชอบพร้อมๆ กัน ของบางอย่างก็กลายเป็นของสะสมที่มีค่าทางใจขึ้นมาได้ และยังพิสูจน์ได้อีกอย่างหนึ่งว่า แม้ว่าโลกเราจะมีเมตาเวิร์ส มีสกุลเงินดิจิทัล มีศิลปะ NFT แต่ลึกๆ แล้วมนุษย์ยังต้องการสิ่งที่จับต้องได้มาถ่วงสมดุลกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้ในโลกดิจิทัล
Source: GQ, Business Insider
https://positioningmag.com/1369081
ของสะสมของ เศรษฐีคริปโต
By Pattarat -December 29, 2021
ตลาดเทรดเงินคริปโตยังคงร้อนแรงต่อเนื่องในปี 2021 สร้างเศรษฐีคริปโตรายใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ความร่ำรวยและการเทรดทั้งหมดจะเกิดขึ้นในโลกดิจิทัล แต่ทว่าเศรษฐีเหล่านี้ยังต้องการสิ่งที่จับต้องได้ในโลกจริง จนทำให้ของสะสมอย่าง “ลูกบาศก์ทังสเตน” กลายเป็นของเล่นใหม่สุดฮิตในวงการ
เศรษฐีเอเชียนในรูปแบบการค้ายุคเก่านิยมวางรูปปั้นสำเภาทองไว้ประดับห้อง แต่เศรษฐีคริปโตยุคใหม่ ของสะสมที่นิยมกลับเป็น “ลูกบาศก์ทังสเตน” ซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องได้จริงๆ ไม่ใช่งานศิลปะในโลกดิจิทัลที่พวกเขาลงทุนกันอยู่
กระแสฮิตสะสมลูกบาศก์ทังสเตนพุ่งขึ้นจุดสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2021 ปั่นจนยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 300% สร้างแรงกระเพื่อมจนทังสเตนขาดตลาดไประยะหนึ่ง ซึ่งส่งผลต่อเนื่องถึงอุตสาหกรรมอื่นที่ต้องใช้ทังสเตนผลิตวัตถุดิบ เช่น ส่วนประกอบเครื่องบิน แผ่นเอกซเรย์ (แน่นอนว่าอุตสาหกรรมอื่นย่อมไม่พอใจ เพราะเหล่าเศรษฐีคริปโตซื้อลูกบาศก์ทังสเตนไปเก็บสะสมไว้เฉยๆ ไม่ได้ใช้ประโยชน์)
ลูกบาศก์ทังสเตนคืออะไร? มันคือแร่ธาตุทังสเตนที่ถูกนำมาขึ้นรูปเป็นลูกบาศก์เกลี้ยงๆ ความพิเศษของมันคือ ทังสเตนเป็นหนึ่งในแร่ธาตุที่มีมวลหนักที่สุดในโลก ยกตัวอย่างลูกบาศก์ทังสเตนขนาด 4×4 นิ้ว ซึ่งสามารถวางไว้บนฝ่ามือได้พอดี กลับมีน้ำหนักถึง 18.6 กิโลกรัม เมื่อคนเราหยิบลูกบาศก์ทังสเตนขึ้นมาจึงรู้สึกว่ามันขัดหลักฟิสิกส์ เพราะของที่เล็กแค่นี้ไม่ควรจะหนักได้ถึงขนาดนี้
ความรู้สึกแปลกพิศวงนี้เองทำให้ลูกบาศก์ทังสเตนกลายเป็นของพิเศษจนบรรดาเศรษฐีคริปโตแห่ซื้อ แม้กระทั่ง Jack Dorsey อดีตซีอีโอ Twitter เมื่อย้ายมาทำงานกับ Block (ชื่อเดิม Square) เขาก็จัดการเปลี่ยนชื่อบริษัทโดยมีที่มาส่วนหนึ่งจากลูกบาศก์ทังสเตนนี้ด้วย
ลึกๆ แล้วมนุษย์ก็ยังโหยหาสิ่งที่จับต้องได้
จุดเริ่มต้นกระแสฮิตนี้มาจาก Nic Carter เขาเป็นพาร์ตเนอร์คนหนึ่งในบริษัท Castle Island Ventures บริษัทเวนเจอร์แคปปิตอลที่ลงทุนในเทคโนโลยีบล็อกเชน เขานิยามตัวเองว่าเป็นเหมือน ‘ผู้ป่วยหมายเลข 0’ ของวงการลูกบาศก์ทังสเตน เนื่องจาก Carter เริ่มซื้อของสะสมนี้มาตั้งแต่ 4 ปีก่อน โดยซื้อให้ตัวเองและส่งเป็นของขวัญให้คนอื่นด้วย
“มันเป็นอะไรที่คลาสสิกเหมือนเรื่องคริปโตเลย วงการนี้ยอมรับคอนเซ็ปต์ตลกๆ มาใช้จริง และกลายเป็นเอาจริงเอาจังกับมุกตลกนี้เข้าจนได้” Carter กล่าว
เขายังอธิบายถึงความชื่นชอบในลูกบาศก์ทังสเตนว่า เป็นเพราะคุณสมบัติเชิงอะตอมของมัน ความหนาแน่น ความแข็งแกร่งที่ดึงดูดใจ “เราทำงานกับโลกเสมือนจริงที่จับต้องไม่ได้ หรือที่เรียกกันว่าเมตาเวิร์ส เราทำงานกับสินค้าโภคภัณฑ์ที่สังเคราะห์สร้างขึ้น ทำงานกับ NFT ที่มีมูลค่าทางการเงินแต่จับต้องไม่ได้โดยสิ้นเชิง ดังนั้น มันจึงรู้สึกดีที่ได้จับต้องสิ่งที่มีอะตอมอยู่จริงๆ บ้าง” Carter กล่าว
ผู้ชนะในเกมนี้: MTS ผู้ผลิต ‘ลูกบาศก์ทังสเตน’
ราคาของลูกบาศก์ทังสเตนนั้นสูงพอสมควร ถ้าเป็นชิ้นขนาด 1×1 ซม. เล็กเพียงปลายนิ้วมือ ก็มีราคาถึง 29.99 เหรียญสหรัฐแล้ว (ประมาณ 1,000 บาท) ส่วนขนาดยอดฮิตคือ 4×4 นิ้ว ตีราคาไว้ที่ 3,499 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 117,000 บาท)
โดยผู้ผลิตรายใหญ่สำหรับสินค้าของสะสมเหล่านี้คือ Midwest Tungsten Service (MTS) โรงงานอุตสาหกรรมใกล้กับเมืองชิคาโก ซึ่งบริษัทนี้เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบทังสเตนให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ อยู่แล้ว และเคยได้รับออร์เดอร์ล้นหลามเป็นครั้งคราว เมื่อใดก็ตามที่ใน YouTube เกิดมีช่องทดลองทางวิทยาศาสตร์เล่นกับลูกบาศก์ทังสเตนและมียอดวิวสูง
แต่ครั้งนี้ Sean Murray ผู้อำนวยการฝ่ายอีคอมเมิร์ซของ MTS ให้สัมภาษณ์ Business Insider ว่า ยอดขายยังสูงต่อเนื่องแม้ผ่านไปแล้ว 3 วัน ทำให้พวกเขารู้ว่าต้องเร่งผลิตสต็อกออกมาให้ทันความต้องการ รีบขี่กระแสที่เกิดขึ้นนี้ นอกจากจะเร่งผลิตแล้ว MTS ยังรีบเปิดระบบชำระเงินยอมรับสกุลเงินบิตคอยน์ด้วย
พวกเขายังเปิดขายลูกบาศก์ทังสเตนที่ใหญ่ที่สุดที่เคยทำมา คือขนาด 14.5×14.5 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 900 กิโลกรัม แต่ว่าเป็นการขายเป็นชิ้นงานศิลปะแบบ NFT ล้อไปกับเทรนด์ความฮิตที่เกิดในหมู่เศรษฐีคริปโต ผู้ชนะในการเปิดขายคือกลุ่ม TungstenDAO ซึ่งประมูลไปในราคา 57ETH (เท่ากับมูลค่าประมาณ 8.29 ล้านบาท ณ เวลานั้น) สาเหตุที่ไม่ได้ขายชิ้นงานจริงเพราะจะขนส่งลำบาก แต่มีการเปิดให้เจ้าของมันในโลก NFT สามารถติดต่อเข้ามาชมและถ่ายรูปกับลูกบาศก์ทังสเตนยักษ์ชิ้นนี้ได้ปีละครั้งที่โรงงาน MTS
Murray ระบุว่าจุดพีคสุดในการขายลูกบาศก์ทังสเตนเมื่อเดือนตุลาคมได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่คำสั่งซื้อก็ยังไม่ได้หายไปโดยสิ้นเชิง เพราะบริษัทเทคฯ ก็ยังสนุกกับการแจกของสะสมนี้ โดยระยะหลังเริ่มมีคำสั่งบิ๊กลอตให้บริษัทผลิตลูกบาศก์ทังสเตนแบบสลักชื่อพนักงาน เพื่อบริษัทจะนำไปแจกเป็นของขวัญ
โดยสรุปแล้ว กระแสลูกบาศก์ทังสเตนกลายเป็นอีกข้อพิสูจน์หนึ่งว่าเมื่อมนุษย์มีความเชื่อและชอบพร้อมๆ กัน ของบางอย่างก็กลายเป็นของสะสมที่มีค่าทางใจขึ้นมาได้ และยังพิสูจน์ได้อีกอย่างหนึ่งว่า แม้ว่าโลกเราจะมีเมตาเวิร์ส มีสกุลเงินดิจิทัล มีศิลปะ NFT แต่ลึกๆ แล้วมนุษย์ยังต้องการสิ่งที่จับต้องได้มาถ่วงสมดุลกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้ในโลกดิจิทัล
Source: GQ, Business Insider
https://positioningmag.com/1369081