เปิดผลวิจัย ทำไมในไทย ซีรีย์จีน ดาราจีน ถึงมาแรงแซงซีรีย์เกาหลี ดาราเกาหลี

1-2 ปีนี้ คอนเทนต์เกาหลีดูจะแผ่วลงมาก แต่ขณะนี้อุตสาหกรรมเกาหลีกำลังเผชิญสภาวะถดถอย กระแสของหลายเรื่องตกแม้จะใช้นักแสดงระดับซูเปอร์สตาร์ก็ตาม ในทางตรงกันข้าม ซีรีส์จีนกลับมาแรงต่อเนื่อง ผู้ชมหันไปเสพคอนเทนต์จากฝั่งแดนมังกรมากขึ้น แม้แต่ในเกาหลีเอง ซีรีส์จีนก็ไปทลายกำแพง จนมีหลายเรื่องได้รับความนิยมในเกาหลี

🟥 ซีรีส์จีนยึดอันดับ 1 ความนิยมในไทยแซงหน้าโอปป้า
คอนเทนต์จีนกำลังได้รับความนิยมทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ความต้องการละครจีนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป็นเพราะแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งที่แพร่กระจายไปในหลายประเทศ ดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก

ในไทยซีรีส์จีนได้รับความนิยมมากกว่าซีรีส์เกาหลีใต้แล้ว ตามมาด้วยซีรีส์ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรป ความนิยมสะท้อนจาก WeTV มียอดดาวน์โหลดทั่วโลกประมาณ 150 ล้านครั้ง โดย 30 ล้านครั้งมาจากประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรน้อยกว่า 70 ล้านคน ด้วยซีรีส์ที่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน รสนิยมหรือบรรทัดฐานในการใช้ชีวิตคู่ของทั้งสองประเทศมีความคล้ายคลึงกันมาก จึงทำให้ผู้ชมไทยเข้าใจเนื้อหาสไตล์จีนได้ไม่ยาก

จากรายงานของ Media Partners Asia ระบุว่า WeTV มีส่วนแบ่งตลาดสตรีมมิ่งในประเทศไทยถึง 22% ขณะที่ Netflix มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 24% สูสีกันอย่างมาก แพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ชั้นนำของจีนอื่น ๆ เช่น iQiyi, Youku และ Mango TV ก็เปิดตัวบริการในต่างประเทศเช่นกัน และเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ

🟥 ซีรีส์เทพเซียนปราบมาร แข่งสู้กำลังภายในกลับขายดี

เป็นที่น่าสนใจว่า ซีรีส์จีนกำลังภายใน หรือเทพเซียนเหาะเหินเดินอากาศ จะได้กระแสตอบรับดีเสมอ เรียกได้ว่าปังทุกเรื่อง ทำให้หานักลงทุนได้ง่ายกว่าซีรีส์แนวอื่น และนักแสดงระดับซูเปอร์สตาร์ก็มักจะรับเล่นแนวนี้ทุกคน เพราะเป็นซีรีส์สเกลใหญ่ ที่มีการลงทุนสูง ดังนั้น นักแสดงจะได้โชว์ฝีมือการแสดงมากกว่าซีรีส์แนวอื่น ทั้งยังได้รับค่าเหนื่อยสูง

จนกลายมาเป็นซิกเนเจอร์ซีรีส์ของจีน ที่ประเทศอื่นลองทำอย่างไรก็ไม่ได้อรรถรสเท่า เนื่องจากซีรีส์แนวเทพเซียน-ย้อนยุคกำลังภายใน ต้องอาศัยโปรดักชันสเกลใหญ่ งบลงทุนสูง จีนที่มีเงินทุนหนาจึงทำออกมาได้โดดเด่น ครบรสกว่า

แม้ว่าการนำซีรีส์จีนมารีเมคเป็นสไตล์เกาหลีจะมีให้เห็นบ้าง แต่นั่นก็เป็นซีรีส์รุ่นเก่า ๆ แต่การรีเมคซีรีส์จีนสมัยใหม่ยังไม่มีให้เห็น เรื่องนี้นับว่าเป็นเรื่องแรก เนื่องจากคนเกาหลีรุ่นใหม่สนใจละครแนวโรแมนติกจีนยุคใหม่และละครเยาวชนมากขึ้น

🟥 เกาหลีแบกไม่ไหว หลังเจอวิกฤตต้นทุน

ต้องยอมรับว่าซีรีส์เกาหลีมีทุกวันนี้ได้ เพราะงานโปรดักชันที่ทำออกมาไม่ได้ด้อยไปกว่าฝั่งฮอลลีวูด จนทั่วโลกยอมรับ แต่เมื่อแข่งกันผลิตซีรีส์ออกมาจนล้นตลาด ทำให้รายได้จากการโฆษณาสวนทาง นักลงทุนเริ่มเคร่งครัดในการลงทุนกับซีรีส์เรื่องหนึ่ง เม็ดเงินจากการโฆษณาก็ลดฮวบ ทำให้หลายโปรเจกต์ต้องเผชิญกับปัญหาเบื้องหลังมากมาย

อีกหนึ่งปัญหาต้นทุนใหญ่ คือ ค่าตัวนักแสดง เห็นได้ชัดว่าเมื่อซีรีส์ฉายบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งระดับโลก เมื่อได้รับความนิยมทีหนึ่ง กระแสมันไปในวงกว้าง นักแสดงโด่งดังได้ชั่วข้ามคืน เมื่อเห็นโอกาสเช่นนั้น มีซูเปอร์สตาร์หลายคนที่อัปค่าตอบแทนแบบก้าวกระโดด โดยนักแสดงบางคนได้รับเงินมากถึง 1 พันล้านวอนต่อตอน จนกลายเป็นประเด็นร้อนที่ผู้ผลิตออกมาบ่นว่า อุตสาหกรรมเอนเตอร์เทนเมนต์เกาหลีเติบโตก็จริง แต่มีเพียงนักแสดงไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์จากตรงนี้ ผู้ผลิตจึงต้องแก้ปัญหาด้วยการลดการใช้นักแสดงตัวทอป ที่ค่าตัวสูงลิ่ว

การหดตัวของอุตสาหกรรมละครเกาหลี เป็นปัญหาใหญ่ที่ทั้งสมาคมการผลิตละครเกาหลี ผู้แพร่ภาพกระจายเสียง แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง รัฐบาล และบริษัทจัดการ ต่างกำลังพยายามหาทางออกร่วมกัน

ตามรายงานของสมาคมการผลิตละครเกาหลี จำนวนละครที่ออกอากาศหรือเผยแพร่โดยสถานีโทรทัศน์ในประเทศและบริการสตรีมมิ่งวิดีโอออนไลน์ลดลงประมาณ 7.4% ในปี 2023 จาก 135 เรื่องเหลือ 125 เรื่อง





ช่วงนี้กระแสจีนเบียดเกาหลี มีมาให้เห็นบ่อยมาก สังเกตง่าย ๆ คือ สัดส่วนซีรีย์จีนสตรีมมิ่งในไทยเยอะมาก และ ดาราจีน ก็มาออกอีเว้นท์ที่ไทย จำนวนไม่ได้น้อยกว่าเกาหลีซักเลยค่ะ นานาเรียนนี่มองว่าไม่ใช่แค่รสนิยมของคนไทยนะ แต่กระแสแบนเกาหลีก็คงมีผลเยอะอยู่เพี้ยนเผือกศึกษา
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่