ข่าวจาก pptv
17:20น. 22 พ.ย. 2559
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.pptvthailand.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/39903
น่ากังวลสำหรับบ่อกักเก็บน้ำกากส่า ที่ขณะนี้จะเห็นว่าหากไม่รีบเร่งระบายก๊าซออกจากบ่อ จะเสี่ยงต่อการระเบิด ปัญหานี้มีจุดเริ่มต้นอย่างไร และจะมีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นเราจะพาไปทำความรู้จักกับ บ่อเก็บกักน้ำกากส่า หรือ ภูเขาก๊าซไข่เน่านี้
บ่อกักเก็บน้ำกากส่าที่มีปัญหานี้ มีพื้นที่ ขนาด 220 เมตร คูณ 100 เมตร ลึก 7 เมตร ใช้เก็บน้ำกากส่า ที่เหลือจากโรงงานเอทานอล 350,000 ลูกบาศก์เมตร โดยการกักเก็บทางโรงงาน ใช้ผ้าใบพลาสติกสีดำคลุมไว้ ปรากฎว่าเมื่อช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีน้ำฝนไหลลงไปในบ่อ ก่อให้เกิดการหมักหมม มีจุลินทรีย์เกิดขึ้น ซึ่งจุลินทรีย์นี้ ทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์นั้นก็คือน้ำกากส่า โดยไม่ใช้ออกซิเจน ก่อให้เกิดก๊าซตามมา หลักๆประกอบด้วยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซค์ มีเทน และไฮโดรเจนซัลไฟด์ และนี้เป็นสาเหตุให้ผ้าใบพลาสติกโป่งพองขึ้นสูงกว่า 10 เมตร กลายเป็นภูเขาก๊าซไข่เน่าขนาดใหญ่
เมื่อเป็นเช่นนี้ ทางโรงงานพยายามแก้ปัญหา ด้วยการต่อท่อและเผาก๊าซทิ้ง ปัจจุบันต่อท่อ เล็กๆออกมา 4 ท่อ เรียงกันทางด้านขวาของบ่อ โดย เผาก๊าซทิ้งได้วันละ3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน จากปริมาณก๊าซสะสมทั้งหมดในบ่อ 200,000 ลูกบาศก์เมตร และยังมีก๊าซเกิดใหม่ทุกชั่วโมงๆละ 3,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งโรงงานพยายามเผาก๊าซทิ้งตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา แต่ปริมาณก๊าซก็ยังไม่ลดลง การเผาก๊าซทิ้งนี่เอง ที่ทำให้เกิดมลภาวะสร้างปัญหาเรื่องกลิ่นกับชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียง ขณะที่อุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี มีคำสั่งห้ามโรงงานเผาก๊าซอีก
จึงเกิดคำถามตามมาว่า แล้วจะแก้ปัญหานี้อย่างไร โดยโรงงานบอกว่าหากไม่ระบายก๊าซออกก็เสี่ยงที่ ภูเขาก๊าซไข่เน่านี้จะระเบิด อุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี จึงแนะนำให้โรงงานต่อท่อเพิ่มเป็น 6 ท่อ และนำก๊าซในบ่อนี้ ย้ายไปยังบ่อบำบัดก๊าซของโรงงาน โดยต้องระบายก๊าซตลอด 24 ชั่วโมง เฉลี่ยชั่วโมงละ 4,200 ลูกบาศก์เมตร คาดว่า ภายใน 2 เดือน ภูเขาก๊าซแห่งนี้จะยุบลง ก๊าซส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้ผลิตไฟฟ้า ส่วนหนึ่งหลังการบำบัดจะถูกปล่อยทิ้ง ซึ่งมาตรการนี้ทางโรงงานระบุว่าจะสามารถเริ่มทำได้ในวันพฤหัสฯนี้
เป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง สำหรับปัญหาภูเขาก๊าซไข่เน่าของโรงงานเอทานอลแห่งหนึ่งในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังส่งผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียงในขณะนี้แล้ว ภูเขาก๊าซไข่เน่าที่ว่า ก็มีโอกาสสูงที่จะเกิดระเบิดขึ้นหากไม่ได้รับการจัดการที่ดี
ภูเขาก๊าซโรงงานเอทานอล จ.สุพรรณบุรี เสี่ยงระเบิด (คลิป)
โรงงานเอทานอล ของบริษัทไทย อะโกร เอ็นเนอร์ยี่ มีบ่อกักเก็บน้ำกากส่าหรือน้ำเสีย 5 บ่อ ทุกบ่อถูกคลุมด้วยแผ่นพลาสติก ความหนา 1.2 มิลลิเมตรเพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นรั่วไหลออกมา ใน 5 บ่อ มี 1 บ่อ ที่เกิดปัญหา จากการหมักหมมจนเกิดก๊าซสะสม ทำให้พลาสติกโป่งพอง สูงกว่า 20 เมตร
สำหรับโรงงานรู้ดีว่านี่เป็นปัญหาใหญ่ หากไม่เร่งระบายก๊าซ ก็เสี่ยงที่จะเกิดการระเบิดขึ้น โรงงานจึงเลือกใช้วิธีระบายก๊าซออกมาเผาทิ้ง โดยยอมรับว่า เป็นวิธีที่ผิดแต่จำเป็นต้องทำ และนั้นก่อให้เกิดมลภาวะเรื่องกลิ่นเพิ่มขึ้นอีก
นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม มองว่า ภูเขาก๊าซลูกนี้มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะระเบิดหรือลุกติดไฟ เพราะก๊าซด้านในเป็นก๊าซติดไฟง่าย โดยจากขนาดของภูเขา คาดว่าจะส่งผลกระทบในวงกว้าง หากระบายออกไม่ถูกวิธี
ชาวตำบลแจงงาม ชุมชนใกล้เคียง คือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง นอกจากมลภาวะทางกลิ่นที่พวกเขาต้องทนมาตลอดหลายปี ขณะนี้ยังเกิดความกังวลว่า ภูเขาก๊าซลูกนี้อาจระเบิดขึ้นมาเมื่อใดก็ได้ จึงจะนัดรวมตัวกันในวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายนนี้ เพื่อเรียกร้องให้โรงงานหยุดการผลิต จนกว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้
ข่าวจาก pptv
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.pptvthailand.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/39902
ภูเขาก๊าซ(ไข่เน่า) โรงงานเอทานอล จ.สุพรรณบุรี มีสิทธิระเบิดได้ไหมครับ ?
17:20น. 22 พ.ย. 2559
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
น่ากังวลสำหรับบ่อกักเก็บน้ำกากส่า ที่ขณะนี้จะเห็นว่าหากไม่รีบเร่งระบายก๊าซออกจากบ่อ จะเสี่ยงต่อการระเบิด ปัญหานี้มีจุดเริ่มต้นอย่างไร และจะมีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นเราจะพาไปทำความรู้จักกับ บ่อเก็บกักน้ำกากส่า หรือ ภูเขาก๊าซไข่เน่านี้
บ่อกักเก็บน้ำกากส่าที่มีปัญหานี้ มีพื้นที่ ขนาด 220 เมตร คูณ 100 เมตร ลึก 7 เมตร ใช้เก็บน้ำกากส่า ที่เหลือจากโรงงานเอทานอล 350,000 ลูกบาศก์เมตร โดยการกักเก็บทางโรงงาน ใช้ผ้าใบพลาสติกสีดำคลุมไว้ ปรากฎว่าเมื่อช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีน้ำฝนไหลลงไปในบ่อ ก่อให้เกิดการหมักหมม มีจุลินทรีย์เกิดขึ้น ซึ่งจุลินทรีย์นี้ ทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์นั้นก็คือน้ำกากส่า โดยไม่ใช้ออกซิเจน ก่อให้เกิดก๊าซตามมา หลักๆประกอบด้วยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซค์ มีเทน และไฮโดรเจนซัลไฟด์ และนี้เป็นสาเหตุให้ผ้าใบพลาสติกโป่งพองขึ้นสูงกว่า 10 เมตร กลายเป็นภูเขาก๊าซไข่เน่าขนาดใหญ่
เมื่อเป็นเช่นนี้ ทางโรงงานพยายามแก้ปัญหา ด้วยการต่อท่อและเผาก๊าซทิ้ง ปัจจุบันต่อท่อ เล็กๆออกมา 4 ท่อ เรียงกันทางด้านขวาของบ่อ โดย เผาก๊าซทิ้งได้วันละ3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน จากปริมาณก๊าซสะสมทั้งหมดในบ่อ 200,000 ลูกบาศก์เมตร และยังมีก๊าซเกิดใหม่ทุกชั่วโมงๆละ 3,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งโรงงานพยายามเผาก๊าซทิ้งตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา แต่ปริมาณก๊าซก็ยังไม่ลดลง การเผาก๊าซทิ้งนี่เอง ที่ทำให้เกิดมลภาวะสร้างปัญหาเรื่องกลิ่นกับชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียง ขณะที่อุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี มีคำสั่งห้ามโรงงานเผาก๊าซอีก
จึงเกิดคำถามตามมาว่า แล้วจะแก้ปัญหานี้อย่างไร โดยโรงงานบอกว่าหากไม่ระบายก๊าซออกก็เสี่ยงที่ ภูเขาก๊าซไข่เน่านี้จะระเบิด อุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี จึงแนะนำให้โรงงานต่อท่อเพิ่มเป็น 6 ท่อ และนำก๊าซในบ่อนี้ ย้ายไปยังบ่อบำบัดก๊าซของโรงงาน โดยต้องระบายก๊าซตลอด 24 ชั่วโมง เฉลี่ยชั่วโมงละ 4,200 ลูกบาศก์เมตร คาดว่า ภายใน 2 เดือน ภูเขาก๊าซแห่งนี้จะยุบลง ก๊าซส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้ผลิตไฟฟ้า ส่วนหนึ่งหลังการบำบัดจะถูกปล่อยทิ้ง ซึ่งมาตรการนี้ทางโรงงานระบุว่าจะสามารถเริ่มทำได้ในวันพฤหัสฯนี้
เป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง สำหรับปัญหาภูเขาก๊าซไข่เน่าของโรงงานเอทานอลแห่งหนึ่งในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังส่งผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียงในขณะนี้แล้ว ภูเขาก๊าซไข่เน่าที่ว่า ก็มีโอกาสสูงที่จะเกิดระเบิดขึ้นหากไม่ได้รับการจัดการที่ดี
ภูเขาก๊าซโรงงานเอทานอล จ.สุพรรณบุรี เสี่ยงระเบิด (คลิป)
โรงงานเอทานอล ของบริษัทไทย อะโกร เอ็นเนอร์ยี่ มีบ่อกักเก็บน้ำกากส่าหรือน้ำเสีย 5 บ่อ ทุกบ่อถูกคลุมด้วยแผ่นพลาสติก ความหนา 1.2 มิลลิเมตรเพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นรั่วไหลออกมา ใน 5 บ่อ มี 1 บ่อ ที่เกิดปัญหา จากการหมักหมมจนเกิดก๊าซสะสม ทำให้พลาสติกโป่งพอง สูงกว่า 20 เมตร
สำหรับโรงงานรู้ดีว่านี่เป็นปัญหาใหญ่ หากไม่เร่งระบายก๊าซ ก็เสี่ยงที่จะเกิดการระเบิดขึ้น โรงงานจึงเลือกใช้วิธีระบายก๊าซออกมาเผาทิ้ง โดยยอมรับว่า เป็นวิธีที่ผิดแต่จำเป็นต้องทำ และนั้นก่อให้เกิดมลภาวะเรื่องกลิ่นเพิ่มขึ้นอีก
นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม มองว่า ภูเขาก๊าซลูกนี้มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะระเบิดหรือลุกติดไฟ เพราะก๊าซด้านในเป็นก๊าซติดไฟง่าย โดยจากขนาดของภูเขา คาดว่าจะส่งผลกระทบในวงกว้าง หากระบายออกไม่ถูกวิธี
ชาวตำบลแจงงาม ชุมชนใกล้เคียง คือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง นอกจากมลภาวะทางกลิ่นที่พวกเขาต้องทนมาตลอดหลายปี ขณะนี้ยังเกิดความกังวลว่า ภูเขาก๊าซลูกนี้อาจระเบิดขึ้นมาเมื่อใดก็ได้ จึงจะนัดรวมตัวกันในวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายนนี้ เพื่อเรียกร้องให้โรงงานหยุดการผลิต จนกว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้
ข่าวจาก pptv
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้