ทุกท่านคงจะเคยรู้มาว่า ชื่อ ไทย อาจมาจากคำว่า ไท ที่แปลว่า อิสระ หรือมาจาก ไต้ ที่เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว แปลว่า ยิ่งใหญ่ แต่ในที่นี้จะเสนอที่มาซึ่งทุกท่านจะไม่เคยได้รู้มาก่อน แต่ก่อนอื่นเรามาเริ่มที่มาของคำว่า จีน กันก่อนครับ
1. ที่มาของคำว่า จีน ในภาษาไทย เริ่มจากเมื่อครั้งอดีต อาณาจักรเขมรครอบครองดินแดนในภูมิภาคนี้ ราชทูตจากจีนเมื่อมาติดต่อ สาส์นจากฮ่องเต้จะแทนตนเองว่า เจิ้น ชาวเขมรจึงเรียกคนจากเมืองจีน ว่า เจิ้น โดยเขียนในรูปดังนี้
ซึ่งต่อมาเมื่อชาวสยามมาอ่านถอดอักขระเขมรแปลเป็นไทย จะถอดมาได้ เป็น จิน แต่เนื่องจากเวลาอ่านชื่อชนชาติจะอยู่ท้าย ทำให้เสียงหนักท้าย อ่านปากต่อปากทำให้กลายเป็น จีน มาตั้งแต่นั้นมา
2. ที่มาที่เราเรียกตนเองว่า ไทย มาจากเมื่อครั้งอดีตสมัยอยุธยา ชาวมอญ เรียกไทยว่าอยุธยา โดยใช้อักษรมอญในรูปต่อไปนี้
ซึ่งเมื่อแปลงอักษรเป็นอักษรไทย จะได้ตามรูปนี้
มาจากหนังสือ พจนานุกรมมอญ-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมานราชธน พ.ศ.2531 โดย นายบรรจบ พันธุเมธา
แต่เนื่องจากในอดีต การเขียนเป็นตัวหวัด ทำให้มอง สระโอ ด้านหน้าเป็น สระไอ หรืออาจเป็นเพราะคนอ่านปักใจเชื่อว่าต้องอ่านว่า ไท จึงทำให้ เวลาอ่านแบบภาษาไทย อ่านได้เป็น ไทยทยา และเข้าใจว่าหมายถึง ประเทศไทย ดังนั้น คนไทยเวลาติดต่อกับมอญ จึงเรียกตนเองว่า ไทย มาตลอด ทำให้กลายเป็นคำเรียกชนชาติ ต่อจากคำว่า สยาม และเป็นสาเหตุที่แท้จริงว่า ทำไม ไทย ถึงต้องมี ย.ยักษ์
3. จากอักษรมอญที่หมายถึง อยุธยา ตามรูปนี้
จะเห็นว่ามีตัวอักษรคล้ายเลข 3 อารบิก อยู่ 2 ตัว ดังนั้นผู้แปลบางคนที่แปลคำนี้ไม่ถูก จะเลี่ยงไปอ่านว่า สามเทศา บ้าง ไตรตรึงษ์บ้าง ( ไตรตรึงษ์ หมายถึงสามสิบสาม )
สรุป ส่งท้าย เขมรนำคำเรียกชื่อขององค์ฮ่องเต้จีนว่า เจิ้น มาใช้เรียกเป็นชื่อประเทศจีน ซึ่งเมื่อถอดรูปเป็นอักษรไทยจะอ่านว่า จิน และเมื่ออ่านเป็นคำสุดท้ายจะเน้นเสียงหนักกลายเป็น จีน คำว่า ไทย มาจากการถอดอักขระมอญคำว่า อยุธยา โดยเมื่อถอดรูปออกมาจะได้คำว่า โทยทยา ซึ่งเข้าใจกันว่า อ่านว่า ไทยทยาหรือประเทศไทย คนไทยจึงนำมาใช้เป็นชื่อเรียกตนเองว่า ไทย อีกชื่อหนึ่งนอกเหนือจาก สยาม อักขระมอญคำว่า อยุธยา นั้น จะมีตัวอักษรคล้ายเลข 3 อารบิคอยู่ 2 ตัว ทำให้ มีการอ่านชื่ออยุธยาจากอักขระมอญเป็น สามเทศาบ้าง ไตรตรึงษ์บ้าง
คิดว่า คงทำให้ความสงสัยของหลายๆท่าน คลี่คลายลงนะครับ
ทฤษฎีใหม่ว่าด้วยที่มาของคำว่า จีน ไทย สามเทศา ไตรตรึงษ์ ที่จะทำให้หลายท่านคลี่คลายความสงสัยในใจได้
1. ที่มาของคำว่า จีน ในภาษาไทย เริ่มจากเมื่อครั้งอดีต อาณาจักรเขมรครอบครองดินแดนในภูมิภาคนี้ ราชทูตจากจีนเมื่อมาติดต่อ สาส์นจากฮ่องเต้จะแทนตนเองว่า เจิ้น ชาวเขมรจึงเรียกคนจากเมืองจีน ว่า เจิ้น โดยเขียนในรูปดังนี้
ซึ่งต่อมาเมื่อชาวสยามมาอ่านถอดอักขระเขมรแปลเป็นไทย จะถอดมาได้ เป็น จิน แต่เนื่องจากเวลาอ่านชื่อชนชาติจะอยู่ท้าย ทำให้เสียงหนักท้าย อ่านปากต่อปากทำให้กลายเป็น จีน มาตั้งแต่นั้นมา
2. ที่มาที่เราเรียกตนเองว่า ไทย มาจากเมื่อครั้งอดีตสมัยอยุธยา ชาวมอญ เรียกไทยว่าอยุธยา โดยใช้อักษรมอญในรูปต่อไปนี้
ซึ่งเมื่อแปลงอักษรเป็นอักษรไทย จะได้ตามรูปนี้
มาจากหนังสือ พจนานุกรมมอญ-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมานราชธน พ.ศ.2531 โดย นายบรรจบ พันธุเมธา
แต่เนื่องจากในอดีต การเขียนเป็นตัวหวัด ทำให้มอง สระโอ ด้านหน้าเป็น สระไอ หรืออาจเป็นเพราะคนอ่านปักใจเชื่อว่าต้องอ่านว่า ไท จึงทำให้ เวลาอ่านแบบภาษาไทย อ่านได้เป็น ไทยทยา และเข้าใจว่าหมายถึง ประเทศไทย ดังนั้น คนไทยเวลาติดต่อกับมอญ จึงเรียกตนเองว่า ไทย มาตลอด ทำให้กลายเป็นคำเรียกชนชาติ ต่อจากคำว่า สยาม และเป็นสาเหตุที่แท้จริงว่า ทำไม ไทย ถึงต้องมี ย.ยักษ์
3. จากอักษรมอญที่หมายถึง อยุธยา ตามรูปนี้
จะเห็นว่ามีตัวอักษรคล้ายเลข 3 อารบิก อยู่ 2 ตัว ดังนั้นผู้แปลบางคนที่แปลคำนี้ไม่ถูก จะเลี่ยงไปอ่านว่า สามเทศา บ้าง ไตรตรึงษ์บ้าง ( ไตรตรึงษ์ หมายถึงสามสิบสาม )
สรุป ส่งท้าย เขมรนำคำเรียกชื่อขององค์ฮ่องเต้จีนว่า เจิ้น มาใช้เรียกเป็นชื่อประเทศจีน ซึ่งเมื่อถอดรูปเป็นอักษรไทยจะอ่านว่า จิน และเมื่ออ่านเป็นคำสุดท้ายจะเน้นเสียงหนักกลายเป็น จีน คำว่า ไทย มาจากการถอดอักขระมอญคำว่า อยุธยา โดยเมื่อถอดรูปออกมาจะได้คำว่า โทยทยา ซึ่งเข้าใจกันว่า อ่านว่า ไทยทยาหรือประเทศไทย คนไทยจึงนำมาใช้เป็นชื่อเรียกตนเองว่า ไทย อีกชื่อหนึ่งนอกเหนือจาก สยาม อักขระมอญคำว่า อยุธยา นั้น จะมีตัวอักษรคล้ายเลข 3 อารบิคอยู่ 2 ตัว ทำให้ มีการอ่านชื่ออยุธยาจากอักขระมอญเป็น สามเทศาบ้าง ไตรตรึงษ์บ้าง
คิดว่า คงทำให้ความสงสัยของหลายๆท่าน คลี่คลายลงนะครับ