แนว คิดที่ ว่า เปลี่ยน ชื่อ ประเทศไทย กลับไปเป็น สยาม หรือ กรุงศรีอโยธยา จะมีความเป็นไปได้ไหมครับ

เพราะแนวคิดชื่อ ประเทศไทย จาก จอมพล แปลกฯ  ให้หมายถึงดินแดนของคนไท นั้น
ซึ่งตามจริงคนเผ่าไท มีเพียงหยิบมือ คือ คนทางเหนือ กับอิสานบางส่วน (ถ้าแยกกันตามยีนส์ O3 กับ O2(ออสโตรเอชียติก,ออสโตรนีเซียน)  และยีนของทางดราวิเดียน)
ส่วนคนในประเทศไทยจริงๆตามยีน O2 เป็นหลัก คือ ละว้า ละโว้ ลั่วะ ลอหู(ล่อหวา,ล่อหัว,หลาวอัว)  หรือ ก็คือ ลาว
แต่น่าจะเรียกว่า เขมรมอญ(ลาวผสมทมิฬ) มากกว่า เพราะมียีนส์ของทางดราวิเดียนผสมด้วย

เราจึงควรให้น้ำหนักบรรพบุรุษที่เป็นชาวขอม(อินเดียใต้) หรือ ชาวทมิฬ เป็นหนึ่งในบรรพบุรุษด้วย ไม่เพียงแต่ชาวจ้วง ยูนนาน หรือชาวทิเบตเท่านั้น
เพราะยีนคนในประเทศไทยส่วนใหญ่ชี้ไปที่ มอญเขมร หรือ ลูกหลานชาวทมิฬ


ไม่ว่าภาษาที่ใช้  ซึ่งตามจริงอาจเกิดจากการให้น้ำหนักของนักวิชาการที่เป็นคนไท ยกว่า รากภาษาของประเทศไทยมาจากชนเผ่าไท
แต่ถ้ามองถึงการใช้งาน รากภาษาของประเทศไทย จะเป็นภาษาสันสกฤต,เขมร  มากกว่าจะเป็นภาษาตระกูลไทกะได  ถ้าเอาจ้วงกับสิบสองปันนาเป็นตัวตั้ง(ได้รับอิทธิพลของภาษาจีน-พม่า-ทิเบต)  แต่ถ้าเอาสิบสองจุไทเป็นตัวตั้ง(สิบสองจุไทจะได้รับอิทธิพลของภาษาเวียดนาม แต้จิ๋ว และของทางเขมรมาค่อนข้างเยอะ )
ภาษาไตกะได ซึ่งเป็นภาษาไม่ออกเสียงท้ายพยางค์(คล้ายภาษาฮานีของเวียด หรือ โลโล-ทิเบต ภาษาของพวกอาข่า ภาษาที่อยู่ในตระกูล จีน-พม่า-ทิเบต)  และไม่เน้นเสียงคำควบกล้ำ ท้ายพยางค์มีเสียงเอื้อนขึ้นจมูก(เสียงวรรณยุกต์ )  ต่างกับภาษา มอญเขมร ใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญอย่างภาษาสันสกฤต ลั่นลิ้นและควบกล้ำตัวอักษรอย่างชาวทมิฬ  
แน่นอนว่า การหยิบยืมของภาษา มีการถ่ายเทกันตลอดเวลา(พลวัตของภาษา)  เช่น ภาษาจ้วง ใช้คำว่า รา(ลา) แทนตัวเอง  หรือ   ฮา  หล้า(ลา)  เฮา เลา(ลาว)  เรา(ราว)   และคำว่า  เกา(โข,เขา,กู) จากความหมายของบุคคลที่ 3 นำมาใช้แทนตัวเอง นั้น  คำว่า กู ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาของกลุ่มออสโตรนีเซียน  เช่น อากู(ฟิลิปปินส์และใต้หวันดั้งเดิม) , ตนกู ตวนกู (ภาษามลายู )  เป็นต้น

ตัวอักษรในสมัยอยุธยา ก็ได้รับอิทธิพลมาจากอักษรพ่อขุนรามฯ และ อักษรเขมร ที่รับจากปัลลาวะของชาวทมิฬมาอีกที ภาษาและความหมายในตัวอักษรอยุธยา ก็เป็นคำสันสกฤตและเขมร มากกว่าจะเรียกว่าเป็นคำและความหมายในภาษาไตกะได  มีคำว่า กรุงไทย (กรุงเป็นภาษาเขมร,เริ่มต้นเมืองก็เป็นเมืองเขมรแล้ว) ไทย คำนี้ไม่น่าจะหมายถึงชนเผ่าไท (แต่ความหมายน่าจะคลุมไปถึงกลุ่มคนที่เป็นอิสระจากจักรวรรดิเขมร ที่นิยามคำว่า ไทย แปลว่าอิสระ นั้นเอง) ตีความหมายได้อีกทางก็คือ เมืองเขมรที่ได้รับอิสระจากพวกขอม(จักรวรรดิขอมเขมร) นั้นเอง
ตัวอักษรแบบไตกะใดเอง ถ้านับแบบเริ่มแรก ควรนับที่ตัวอักษรชาวสุ่ย(อักษรภาพกำแพง,ชุยชู,ชุยสือ) ชาวจ้วง และตัวอักษรสือดิบผู้จ่อง ที่รับของจีนมาใช้

ภาษาของประเทศไทย จึง ควรนับเป็นภาษาของชาวทมิฬ(ปัลลาวะ)มากกว่าภาษาของชนเผ่าไท   เพราะลักษณะการใช้งาน คำสันสกฤต คำเขมร คำทมิฬ มากกว่าคำไท จนเห็นได้ชัด อีกทั้งการออกเสียงควบกล้ำ และโทนเสียงสามัญ แบบเขมรสันสกฤต จะบอกภาษาไทเป็นรากภาษาของประเทศไทยมันก็ดูย้อนแย้งอยู่ดี

ฉะนั้นความคิดที่เปลี่ยนชื่อ กลับไปเป็นสยาม น่าจะครอบคลุมทุก ชนเผ่าในประเทศไทย มากกว่ากลุ่มชนเผ่าไท เผ่าเดียว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่