ช่วงนี้มีดราม่าคนลาวมาเป็นระลอกในโซเชี่ยลไม่หยุดหย่อน ผมเข้าไปอ่านคอมเมนต์อ้างอดีต อ้างประวัติศาตร์ต่างๆ นาๆ มีคนอีสานเข้าไปคอมเมนต์บอกว่าตนเองเป็นคนชาติพันธุ์ลาว พูดภาษาลาว แต่บางคนก็แย้งว่าอีสานไม่ใช่ลาวแม้ดินแดนอีสานบางส่วนเคยเป็นดินแดนของอาณาจักรล้านช้างมาก่อนแต่ตอนนั้นไม่มีลาวอีสานจึงไม่ใช่ลาว เรื่องนี้เอาไว้แค่นี้ก่อนเพราะไม่ใช่ประเด็นที่จะนำเสนอวันนี้
ลาวที่ไม่ใช่ลาว
ไม่มีใครทราบว่าคําว่า “ลาว” ที่หมายถึงมนุษย์เผ่าหนึ่งนั้นมีใช้ในภาษาพูดมาตั้งแต่เมื่อไร แต่ในสมัยสุโขทัยก็มีกล่าวถึงชาวลาวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงแล้ว แต่ลาวในสมัยกรุงสุโขทัยและสมัยกรุงศรีอยุธยาจะไม่ใช่ดินแดนประเทศลาวในปัจจุบัน และไม่ใช่ดินแดนภาคอีสานด้วย แต่เป็นดินแดนภาคเหนือที่เป็นอาณาจักรล้านนาต่างหากที่ถูกเรียกว่าเป็นลาว เท่าที่ผมไล่อ่านดูหลาย ๆแหล่ง สยามเรียกล้านนาว่าลาวตลอดมาแต่ไม่เคยเรียกล้านช้างว่าเป็นลาว จารึกพระธาตุศรีสองรักที่ประกาศราชไมตรีต่อกันระหว่างกรุงศรีอยุธยา และกรุงศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทร์) ก็ไม่ปรากฏคำว่าลาวจนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 จึงเรียกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงว่า ลาว และเรียกเมืองในภาคอีสานที่ขึ้นกับเวียงจันทร์ว่าเป็นลาวไปด้วย ส่วนคำว่า คนไท ที่ใช้เรียกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันพบหลักฐานในสมัยอยุธยาตอนปลายตอนนั้นทั้งฝรั่ง แขก จีน เรียกดินแดนนี้ว่าสยาม แต่ราชสำนักเวียดนามเหนือ(จำชื่อราชวงศ์ไม่ได้)เรียกว่าไท ล้านช้างสมัยเจ้าอนุวงศ์ก็เรียกว่าไทเรียกก่อนที่เราจะเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นไทยเสียอีก
คำว่า ลาว นักปราชน์ นักประวัติศาตร์ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน บางคนเชื่อว่าเพี้ยนมาจากคำว่า ลัวะ เป็นกลุ่มคนชาติพันธ์หนึ่งพูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร แต่หลายคนเชื่อว่าเป็นการสร้างคำขึ้นมาเพื่อให้แตกต่าง เลาหรือลาว แปลว่า ใหญ่ ผู้เป็นใหญ่ ในภาษาอีสาน "เลามาแต่ไส" แปลว่า ท่านมาจากไหน เป็นการให้เกียรติใช้คำสรรพนามที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้นเมื่อนำมาตั้งเป็นชื่อประเทศน่าจะหมายถึง ชาติที่ยิ่งใหญ่ บรรดาเจ้านายในเจ้านายตระกูล “ณ เชียงใหม่” หลายคนที่ใช้คําว่า เลา นําหน้าหลายพระองค์ ดังนั้นการอ่านหนังสือเกียวกับประวัติศาตร์เจอคำว่า ลาว ต้องระมัดระวังด้วยว่าหมายถึงที่ใด
"คนลาว" ในประวัติศาตร์ไม่ใช่คนลาวในประเทศ สปป.ลาว และไม่ใช่คนในภาคอีสาน
ลาวที่ไม่ใช่ลาว
ไม่มีใครทราบว่าคําว่า “ลาว” ที่หมายถึงมนุษย์เผ่าหนึ่งนั้นมีใช้ในภาษาพูดมาตั้งแต่เมื่อไร แต่ในสมัยสุโขทัยก็มีกล่าวถึงชาวลาวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงแล้ว แต่ลาวในสมัยกรุงสุโขทัยและสมัยกรุงศรีอยุธยาจะไม่ใช่ดินแดนประเทศลาวในปัจจุบัน และไม่ใช่ดินแดนภาคอีสานด้วย แต่เป็นดินแดนภาคเหนือที่เป็นอาณาจักรล้านนาต่างหากที่ถูกเรียกว่าเป็นลาว เท่าที่ผมไล่อ่านดูหลาย ๆแหล่ง สยามเรียกล้านนาว่าลาวตลอดมาแต่ไม่เคยเรียกล้านช้างว่าเป็นลาว จารึกพระธาตุศรีสองรักที่ประกาศราชไมตรีต่อกันระหว่างกรุงศรีอยุธยา และกรุงศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทร์) ก็ไม่ปรากฏคำว่าลาวจนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 จึงเรียกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงว่า ลาว และเรียกเมืองในภาคอีสานที่ขึ้นกับเวียงจันทร์ว่าเป็นลาวไปด้วย ส่วนคำว่า คนไท ที่ใช้เรียกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันพบหลักฐานในสมัยอยุธยาตอนปลายตอนนั้นทั้งฝรั่ง แขก จีน เรียกดินแดนนี้ว่าสยาม แต่ราชสำนักเวียดนามเหนือ(จำชื่อราชวงศ์ไม่ได้)เรียกว่าไท ล้านช้างสมัยเจ้าอนุวงศ์ก็เรียกว่าไทเรียกก่อนที่เราจะเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นไทยเสียอีก
คำว่า ลาว นักปราชน์ นักประวัติศาตร์ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน บางคนเชื่อว่าเพี้ยนมาจากคำว่า ลัวะ เป็นกลุ่มคนชาติพันธ์หนึ่งพูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร แต่หลายคนเชื่อว่าเป็นการสร้างคำขึ้นมาเพื่อให้แตกต่าง เลาหรือลาว แปลว่า ใหญ่ ผู้เป็นใหญ่ ในภาษาอีสาน "เลามาแต่ไส" แปลว่า ท่านมาจากไหน เป็นการให้เกียรติใช้คำสรรพนามที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้นเมื่อนำมาตั้งเป็นชื่อประเทศน่าจะหมายถึง ชาติที่ยิ่งใหญ่ บรรดาเจ้านายในเจ้านายตระกูล “ณ เชียงใหม่” หลายคนที่ใช้คําว่า เลา นําหน้าหลายพระองค์ ดังนั้นการอ่านหนังสือเกียวกับประวัติศาตร์เจอคำว่า ลาว ต้องระมัดระวังด้วยว่าหมายถึงที่ใด