ไทย-ลาว เป็นการตั้งชื่อประเทศที่ผิดพลาดทำให้คนที่ไม่สนใจประวัติศาสตร์สับสน

เมื่อไม่นานมานี้มีประเด็นโต้เถียงกันในโลกโซเชียลเนื่องจากมีดีเจทางฝั่งประเทศลาวได้บอกว่าเพลง "ลาวดวงเดือน" เป็นเพลงของคนลาวที่ถูกไทยเคลมไปเป็นเพลงของไทย  โดยเธอฟันธงว่าบรรดาเพลงต่างๆ ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "ลาว" ซึ่งมีเยอะแยะมากมายเป็นเพลงของชนชาติลาว?

เรื่องของเพลงหาข้อมูลได้ไม่ยากแต่วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับชื่อประเทศ "ไทย-ลาว" ที่ทำให้ผู้คนสับสนเข้าใจผิด

เริ่มต้นที่ไทยก่อน เดิมใช้ชื่อว่า "สยาม" โดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 4 ก่อนหน้านี้ สยาม เป็นชื่อที่ต่างชาติเรียกส่วนราชสำนักอยุธยา-ธนบุรี-รัตนโกสินทร์ ก็ใช้บ้าง ไม่ใช้บ้างจึงถือว่าใช้ชื่อสยามไม่เป็นทางการ  ต่อมาสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2482 ได้มีการเปลี่ยนชื่อจากประเทศสยามเป็นประเทศไทย  ตอนประชุมได้มีการโต้เถียงกันในสภาผู้แทนราษฎรอย่างกว้างขวางแต่ก็ผ่านการโหวตมาได้แบบเฉียดฉิวจึงได้เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย  นับแต่นั้นมาคนไท/ไตจึงไม่ใช่คนไทย  คนไทยมีประมาณ 70 ล้านคนแต่คนไทมีมากกว่า 100 ล้านคนเพราะมีคนไท/ไตในเวียดนามเหนือ จีนตอนไต้ ลาว พม่า ไปจนถึงอินเดียตะวันออก

ส่วนลาวผมเคยตั้งกระทู้เกี่ยวกับประเด็นนี้ไปแล้วว่า "คนลาว" ในประวัติศาตร์ไม่ใช่คนลาวในประเทศ สปป.ลาว และไม่ใช่คนในภาคอีสาน" คือกระทู้นี้ https://ppantip.com/topic/42053170 กระทู้นั้นมีคนไม่เห็นด้วยโต้เถียงแต่ผมก็ไม่ได้เถียงกลับเพราะผมเห็นความหมายของคำว่า คนลาว ในหนังสือนั้นไม่ใช่คนในประเทศลาวและไม่ใช่คนอีสานแต่หมายถึงคนล้านนา   การใช้คำว่า ลาว  มีมาแต่สมัยสุโขทัยแล้ว สยามเคยมีชื่อมณฑลลาวในสมัยรัชกาลที่ 5 ลาวเฉียง ลาวพวน ลาวกาว ก็เห็นอยู่ชัดๆ ว่าเรียกพื้นที่ภาคเหนือและอีสานไม่เกี่ยวกับประเทศลาว  เพลงไทยเดิมที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ลาว ก็หมายถึงลาวเหนือ ลาวอีสาน ไม่ใช่ ลาว ใน สปป.ลาว

ในปัจจุบันคนแก่ในภาคเหนือ-อีสาน เห็นคนพูดภาษากลางก็ยังเรียกว่า "เว้าไท"  เรียกคนภาคกลางว่า "คนไท" เพลงประกอบภาพยนตร์ "เทพธิดาดอย" ที่เล่าเรื่องถึงสาวแม้วไม่รักหนุ่มคนบ้านเดียวกันแต่หลงรักหนุ่มคนไท นั้นหมายถึงหลงรักหนุ่มที่มาจากภาคกลาง  เมื่อพบคำว่า ไท-ลาว ในหนังสือประวัติศาสตร์หรือในบทประพันธ์ต่างๆ ต้องดีความให้ถูกต้องตามยุคสมัยนั้นๆ โดยถือเอายุคสมัยเป็นสำคัญจึงจะได้ความหมายอย่างแท้จริง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่