ประวัติศาสตร์ชนชาติไทย

คนไทยมีดินแดนใหญ่กว่าจีนและมีประวัติศาสตร์เก่าแก่กว่าครับ

คนไทไม่ได้ย้ายมาจากใหน และไม่ได้ย้ายไปใหนครับ เราอยู่ที่นี่มานานแล้ว เชียงรุ่งไม่ใช่จีนตอนใต้ครับ แต่คือ ไทยตอนเหนือ

ได้เวลายึดอัลไตคืนจากจีนแล้ว

ชาวไท
https://th.wikipedia.org/wiki/ชาวไท
ชาวไท เป็นชื่อเรียกโดยรวมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดกลุ่มภาษาไท[1] กระจายตัวอยู่ในภูมิภาคอุษาคเนย์ รับประทานข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก นิยมปลูกเรือนเสาสูง มีใต้ถุน
...
ต้นกำเนิดของชาวไท
     ในรายงานตีพิมพ์เมื่อปี 2004 นักภาษาศาสตร์ Laurent Sagart ตั้งสมมติฐานว่าภาษาไท-กะไดเริ่มแรกกำเนิดจากภาษาออสโตนีเซียน ซึ่งผู้อพยพนำติดตัวจากไต้หวันไปถึงจีนแผ่นดินใหญ่ หลังจากนั้นภาษานี้ก็ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากภาษาพื้นเมืองต่างๆตั้งแต่จีน-ทิเบต, ม้ง-เมี่ยน จนถึงตระกูลภาษาอื่นๆ โดยรับคำศัพท์เข้ามาจำนวนมากและค่อยๆกลายโครงสร้างภาษามาคล้ายกัน ปัจจุบันเมื่อไม่นานมานี้กลุ่มคนบางกลุ่มที่พูดภาษาไทได้อพยพไปทางทิศใต้ผ่านเทือกเขาต่างๆเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจจะทันทีโดยการมาถึงของชาวจีนฮั่นไปจีนตอนใต้
...
จากการตรวจสอบโครโมโซมแล้วลักษณะร่วมของกลุ่มผู้พูดภาษาตระกูลไท-ไตคือY-DNA haplogroup O1aซึ่งพบมากในแถบจีนตะวันออกเฉียงใต้ทำให้เป็นหนึ่งในเหตุผลที่โอกาสในทฤษฎีที่กล่าวว่าคนไทมาจากประเทศจีนตอนใต้นั้นมีความเป็นไปได้มากที่สุดในขณะนี้


https://ppantip.com/topic/38242220
อัลไต ที่ค้างคาใจคนมานาน
CR Page วิเคราะห์ประวัติศาสตร์






อ่านแล้วก็คล้อยๆตามครับ แล้วเรื่องที่ทำให้ความคิดนี้ตกไปเริ่มตอนใหนด้วยเหตุผลอะไรบ้างครับ

*********************เนื้อหา***************************


"ก่อนศึกษาประวัติศาสตร์เรารับรู้ว่าคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต"

"เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์เรารับรู้ว่าคนไทยไม่ได้มาจากเทือกเขาอัลไต"

"เมื่อรู้ลึกประวัติศาสตร์เราจะชัดเจนว่า"ไท"รวมถึงเทือกเขาอัลไต"

3 ประโยคนี้ผมอาจจะจำได้ไม่เปะๆ แต่รู้ว่าตอนที่เริ่มสนใจเรื่อง ปวศ. แล้วอาจารย์ผมแกพูดไว้ ใจความคงเป็นการพูดล้อเลียนการศึกษานิกายเซ็น ทีนี้มาเข้าเรื่องโดยย่อ ผมก็เป็นคนนึงทีเดียวที่ว่าพวกเชื่อว่าเรามาจากอัลไตเป็นพวกไร้สาระไม่พัฒนา เชื่ออย่างนั้นมาหลายสิบปี โดยเฉพาะเรื่องนี้ได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์สุจิต ด้วยแล้วผมก็เชื่ออย่างไม่สงสัยเลยว่าเราไม่ได้มาจากเทือกเขาอัลไต

จนใน 4 ปีที่แล้วได้เริ่มอ่านต้นตอ และหนังสือหลายๆเล่มของความเชื่อนี้ และจึงได้เข้าใจว่าแท้ที่จริงแล้ว อ.สุจิตอาจจะเข้าใจไม่ตรงกับผู้ประพันธ์ก็ได้ หลายครั้งที่ อ.สุจิต มักบอกว่าคนไทเราอยู่ที่นี่ที่ตรงนี้ ซึ่งในความหมายแกก็คืออยู่มาหลายพันปีแล้ว ซึ่งถูกมากๆ และถ้าใครบอกคนไทเดินมาจากเขาอัลไตในช่วง 1 พันปีนี้ก็เป็นพวกเชื่อถือไม่ได้

แต่เมื่อเราเริ่มศึกษาถึงที่มาที่ไปแล้วกลับพบว่า "คนดึกดำบรรพ์" ในแผ่นดินนี้ที่มีมาช้านานนั้น ก็คือความหมายของ "คนไท" ของนักประวัติศาสตร์สมัยก่อนนั่นเอง และการที่บอกว่าคนไทมาจากอัลไตนั้นมันกินเวลาช้านานกว่า 5 พันปี ซึ่งท่านอาจจะไม่ต้องเชื่อถือบทความนี้ หรือลิ้งค์ที่แนะนำ แต่เมื่ออ่านแล้วขออย่าอ่านด้วยใจโน้มเอียงไปทางเชื่อหรือไม่เชื่อ ในข้อสงสัยหลายๆประการท่านสามารถค้นคว้าจาก google และหอสมุดแห่งชาติได้ หรือในเชิงวิทยาศาสตร์ก็สามารถ ศึกษาจากการเดินทางของมนุษย์โฮโม และนิอัลเดอร์ทัลที่สูญพันธุ์ โดยหลักฐานวิทยาศาสตร์ใหม่ล่าสุดในถ้ำเดนิสโซวัลในเทือกเขาอัลไตนั้น กลับสนับสนุนตำนานได้เป็นอย่างดี และจะทำให้ท่านรู้ว่าอากาศที่หนาวเหน็บแถบไซบีเรียในตอนนี้ ยุคก่อนกลับเป็นแผ่นดินทองของมนุษย์ดึกดำบรรภ์เลยทีเดียว

http://library.car.chula.ac.th/record=b1275359 เป็นลิ้งเปิดต่อๆไปเพื่ออ่านต่อนะครับ


https://ppantip.com/topic/31726779/comment4
*** The Wild Chronicles "อสุราอาหม" Part I: The Tribe ***
คนไทย

เมื่อพูดถึงบรรพบุรุษไทย คำถามแรกที่เรามักถามกันคือ “คนไทยมาจากไหน?”

มีทฤษฎีหลายทฤษฎีระบุถึงต้นกำเนิดของชาวไทย กลุ่มทฤษฎีหลักๆได้แก่:
1.    คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต
2.    คนไทยมาจากตอนใต้ของจีน
3.    คนไทยอยู่ตรงนี้แหละ
4.    คนไทยมาจากอินโดนีเซีย

ตามที่ผมศึกษามา ทฤษฎีคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตนั้นผิด ส่วนผิดอย่างไร และทำไมผิดไปเช่นนั้นจะเก็บไว้กล่าวในตอนท้ายของสารคดีชุดนี้

นอกจากทฤษฎีเทือกเขาอัลไตแล้ว อีกสามทฤษฎีล้วนถูกในบางแง่มุมทั้งสิ้น ขึ้นกับคำนิยามของคำว่า “คนไทย” นั้นหมายถึงอะไร

ทฤษฎีคนไทยมาจากตอนใต้ของจีนจะอธิบายได้ดี หาก “คนไทย” หมายถึงคนที่พูดภาษาตระกูลไตกะได

เนื่องจากปัจจุบันมีชนเผ่าที่พูดภาษาตระกูลนี้กระจายอยู่ทั่วไปในจีนตอนใต้ตลอดไปจนถึงเกาะไหหลำ ชนเผ่าเหล่านี้มีประเพณี เทคโนโลยี และระบบการเมืองบางอย่างใกล้เคียงกันทำให้น่าเชื่อว่าเป็นเผ่าเดียวกันมาก่อน

ด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ เช่นบันทึกของอาณาจักรโบราณต่างๆเกี่ยวกับคนไทย และตำนานการอพยพของคนไทยที่ตกทอดกันมา ล้วนแต่สนับสนุนว่าคนไทยอพยพจากเหนือลงใต้ มิใช่ใต้ขึ้นเหนือ (มีบันทึกเรื่องคนไทยในตอนใต้ของจีน ก่อนดินแดนสุวรรณภูมินานมาก)

โดยคนไทยที่อพยพมาจากตอนใต้ของจีนนั้นแบ่งเป็นสองสายหลัก สายหนึ่งไปทางพม่าเรียกว่าพวกไทใหญ่ (ไทยอาหมนั้นจัดเป็นไทใหญ่กลุ่มหนึ่ง) อีกสายไปทางลาวและประเทศไทยเรียกว่าพวกไทน้อย (คนในประเทศไทยส่วนมากจัดเป็นไทน้อยกลุ่มหนึ่ง)

การกระจายตัวของคนไทย

ทฤษฎีคนไทยอยู่ตรงนี้จะอธิบายได้ดี หาก “คนไทย” หมายถึงคนที่มีวัฒนธรรมแบบในประเทศไทยปัจจุบัน

ทั้งนี้พึงระลึกว่าในประเทศไทยประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ เช่น ไทย จีน เขมร พม่า มลายู แต่ละชาติก็มีวัฒนธรรมเป็นของตนเองมาก่อน เมื่อมาผสมปนเปกันในดินแดนแหลมทองแล้วก็เกิดวัฒนธรรมใหม่ เรียกว่า “วัฒนธรรมอุษาคเนย์”

วัฒนธรรมชุดนี้ทั้ง ไทย จีน เขมร พม่า มลายูในดินแดนแหลมทองต่างรับมาใช้คล้ายกันสิ้น มีเอกลักษณ์แปลกจากวัฒนธรรมในภูมิภาคอื่นๆของโลก ดังนั้นหากถามว่า “คนไทยนั้นมาจากไหน?” ก็ต้องตอบว่าร้อยพ่อพันแม่ แต่หากถามว่า “คนไทยเกิดที่ใด?” ก็ต้องตอบว่าเกิดขึ้นที่ประเทศไทยนี้ หาใช่ที่อื่นไม่

ทฤษฎีคนไทยมาจากอินโดนีเซียจะอธิบายได้ดี หาก “คนไทย” หมายถึงยีนส์

มีการศึกษาพบว่ากลุ่มเลือดของคนไทยคล้ายคลึงกับคนอินโดนีเซีย และคนไทยมีหน้าตาคล้ายคลึงกับคนอินโดนีเซียและคนฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม ซึ่งถ้าพูดถึงยีนส์แล้ว คนไทยก็มีความคล้ายกับลาว เขมร พม่าด้วย
http://oknation.nationtv.tv/blog/kwandao/2007/11/09/entry-1


คนไทยและคนฟิลิปปินส์
ปล. ดูไม่ออกเลยว่าคนใหนไทยหรือฟิลิปปินส์

ปัจจุบันผู้ศึกษาเรื่องชนชาติไทยจะนับถือทฤษฎีคนไทยมาจากตอนใต้ของจีนเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะหากนับตามวัฒนธรรมอุษาคเนย์แล้ว ก็จะไม่สามารถแยกเอกลักษณ์ของพม่า เขมร ไทย ฯลฯ ออกจากกันได้ และหากนับตามสายเลือด คนในประเทศเพื่อนบ้านย่อมมีการผสมปนเปแต่งงานข้ามไปมาอยู่แล้ว เหมือนชาวทมิฬศรีลังกามีสายเลือดใกล้เคียงกับชาวสิงหล มากกว่าชาวทมิฬอินเดีย

สำหรับชื่อชนชาตินั้น นักประวัติศาสตร์มักเชื่อว่าชื่อแนวซาม-เซียม นั้นเป็นชื่อที่ชนชาติอื่นเรียกคนไทย กล่าวคือ:
•    คนจีนเรียกคนไทยว่า “เสียม”
•    คนมอญเรียกคนไทยว่า “เซม”
•    คนเขมรเรียกคนไทยว่า “ซีเอม”
•    คนมลายูเรียกคนไทยว่า “ซีแย”
•    คนพม่าเรียกคนไทยว่า “เซี๊ยน” ภาษาอังกฤษเขียนเป็น Shan และคนไทยอ่านตามภาษาอังกฤษว่า “ฉาน”
•    คนอินเดียเรียกคนไทยว่า “สยาม”
•    พอคนไทยอพยพไปดินแดนตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียก็ถูกเรียกเพี้ยนจากสยามเป็น “อาหม” และจากอาหมก็เพี้ยนเป็น “อัสสัม”

คนไทยในจีน

ส่วนคนไทยนั้นไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็เรียกตัวเองว่า ไต-ไท มาตลอด แต่รับการเรียกแนว ซาม-เซียม มาจากชาติอื่นเช่นกัน

•    ในยุคที่ประเทศไทยเปลี่ยนเป็นรัฐชาติ รัชกาลที่สี่เลือกใช้คำว่าสยามซึ่งเป็นคำที่อินเดียเรียกไทยมาเป็นชื่อประเทศ เพราะเห็นว่าภาษาอินเดียเป็นภาษาสูง
•    ต่อมาจอมพล ป. เปลี่ยนชื่อสยามเป็นไทย เพราะต้องการเชิดชูเชื้อชาติไทย
•    คำว่า “ไท” และ “ไทย” เป็นคำเดียวกัน สาเหตุที่เราสะกดคำว่า “ไทย” มี “ย.ยักษ์” เพราะเราอยากสะกดแบบอินเดีย คือภาษาอินเดียนั้นไม่มีสระไอ ใกล้เคียงที่สุดต้องเขียนเป็น “เทยยะ” จึงกลายเป็นสะกดว่า “ไทย” ในที่สุด


https://ppantip.com/topic/36493469/comment2
ชาวจ้วง กลุ่มชนโบราณผู้ให้กำเนิดภาษาและวัฒนธรรม "ไท"

ปัจจัย 1 การเกิดขึ้นของภาษาไทย และวัฒนธรรมไทยโบราณ

- แต่เดิม คนโบราณในดินแดนไทยปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายเผ่า ต่างก็พูดภาษาโบราณประจำเผ่าของตัวเอง
- และคนโบราณเหล่านั้น ก็มีประเพณีแยกย่อย ไปตามชนเผ่าของตัวเอง เช่นนับถือผี บูชายัญ
- จนเมื่อราว 3,000 – 4,000 ปีก่อน มีการกำเนิดของสิ่งที่สำคัญมาก ๆ อย่างหนึ่งขึ้นมา คือ ภาษาไทย และ วัฒนธรรมไทยแท้
และใครเป็นผู้ให้กำเนิดภาษไทยและวัฒนธรรมไทย ? เขาอยู่ที่ไหน ?
เขาคือ "จ้วง" ครับ จ้วงเป็นใคร เรามาทำความรู้จักกันครับ

รูป : สาวชาวจ้วง ในเมืองต้าซิน มณฑลกว่างซี ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน

3,000 ปีก่อนในดินแดนจีนตะวันออกเฉียงใต้ ในมณฑลกวางสี มีคนโบราณกลุ่มหนึ่ง เรียกว่าชาว “จ้วง” ได้คิดค้นภาษาพูดขึ้นมา เป็นภาษาพูดโบราณมีลักษณะคล้ายภาษาไทยปัจจุบันมาก

ชาวจ้วงเป็นผู้ให้กำเนิดภาษาไทย จากการสำรวจและงายวิจัย ค้นพบว่าภาษาไทยที่ชาวจ้วงพูด เป็นภาษาไทยโบราณ มีการพูดกันมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี

หมายเหตุ : หนานหนิง เป็นชื่อเมืองหลวงของมณฑลกวางสี มี "สื่อ" จำนวนมากติดตามไปทำข่าว ได้พบชนชาติ "จ้วง" พูดภาษาไทยอยู่ที่นั่น
มณฑลกวางสีทางใต้ของจีน มีพรมแดนติดกับเวียดนาม (ทางเหนือ) มณฑลกวางสีกับมณฑลกวางตุ้งอยู่ติดกัน เป็นคน "เครือญาติ" พวกเดียวกันมาก่อนยุคสามก๊ก (ราว 2,000 ปีมาแล้ว) ความหมายของชื่อมณฑลก็อย่างเดียวกันคือ กวาง หมายถึงที่ราบหรือที่กว้าง สี หมายถึงทิศตะวันตก ตุ้ง หมายถึงทิศตะวันออก

มาดูภาษาที่จ้วงพูดกันครับ ว่ามีความคล้ายคลึงกับคำไทยแท้ในปัจจุบันอย่างไร
อย่างเช่นเราพูดว่า "ตะวัน" จ้วงก็พูดว่า "ท่าวัน", "พ่อ" จ้วงเรียก "ปอ", "ฟ้า" จ้วงเรียก "ฟ้า" หรือ "บ๋นฟ้า"
ลองดูรายละเอียดในรูปภาพนะครับ

คราวนี้มาดูประโยคคำพูดของจ้วงกันนะครับ ว่าคล้ายกับภาษาไทยเราขนาดไหน

คราวนี้มาดูเพลงจ้วงที่ผมเจอใน Youtube กันครับ ชื่อเพลง "มึนไค่ไป" หรือ มึนอย่าไปในภาษาไทย (คำว่ามึนของจ้วงไม่ใช่คำหยาบ หมายถึงเธอ) ลองฟังดูดี ๆ คล้ายภาษาไทยเหลือเกิน ลองดูเนื้อเพลิงภาษาไทยจ้วงนะครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
เนื้อเพลง
ฟ้ามีดาวอยู่กื่น(บน)นั้นเฉียว(ส่อง)ลงมา
กูอยู่นี้ อยู่นี้ตังมึนมา
นาน นานเท่าหลายมิได้กับกู่ด้วย,
กีซีจีได้เหลียวอันห้ายนี้กับมึน [เมื่อไรจะได้ดูทะเลกับมึน ]
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่