ทฤษฎีใหม่ ว่าด้วยที่มาของชื่อ เซี้ยม เจนละ ละโว้ สยาม ขอม ที่จะทำให้ข้อสงสัยในใจคนไทยคลี่คลายไปได้

หลังจากช่วงนี้มีเวลาว่างก็ได้ลองทำการศึกษาหาที่มาของชื่อ เซี้ยม เจนละ ละโว้ สยาม จนได้ข้อมูลพอจะสรุปได้ดังจะกล่าวต่อไปนี้นะครับ

1.      ที่มาของคำว่า เซี้ยม ในภาษาจีนเขียนว่า  暹  เป็นศัพท์จีนที่บัญญัติมาเพื่อเรียกคนไทยเท่านั้น ในอดีตอาณาจักรของคนไทยมักขึ้นต้นด้วย ศรี ชาวจีนจึงเขียนคำศัพท์ขึ้นมาใหม่จากคำว่า ศรี ในภาษาเขมร เพื่อเป็นชื่อใช้เรียกคนไทย ตามภาพเปรียบเทียบด้านล่าง  

โดยคำว่า ศรี ในภาษาเขมร เวลาเขมรอ่านออกเสียง จะอ่านเป็น สเรีย หรือ สเรียม หรือ สเยียม  ชาวจีนแต้จิ๋วเมื่อได้ฟังก็ นำมาอ่านว่า เซี้ยม  เมื่อนำมาเข้าหลักการแปลงเสียงจีนแต้จิ๋วเป็นเสียงจีนกลาง ตัว ม ท้าย เปลี่ยนเป็น ตัว น และลดเสียงเป็นเสียงสามัญ ก็จะได้คำว่า xian เสียน ออกมา       
แต่ชาวจีนทิ้งระยะเวลาในการมาเยือนชาวสยามแต่ละช่วงนานหลายปี บันทึกเรื่องราวในสมัยก่อน ก็ไม่ได้เผยแพร่กันแพร่หลาย เมื่อเวลาผ่านไป ชาวจีนจึงไม่รู้ว่าคำว่า暹 อ่านออกเสียงว่าอย่างไร
         ชาวจีนบางกลุ่มได้อ่านคำนี้ โดยแยกอ่านเป็น 2 คำ คือ 进 jin กับคำว่า 日 ri 
         และออกเสียงเป็น jin-ri  ซึ่งเมื่อฟังปากต่อปากก็เพี้ยนเป็น เจนละ จันละ เจนลี  ซึ่งผู้ฟังเองก็ไม่รู้ว่าคำว่า เจนละ จันละ เจนลี เขียนว่าอย่างไร จึงสร้างตัวอักษรมาใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับเสียง เช่น เจนละ chen-la เขียนใหม่เป็น 真臘 คำว่า จันละ zhan-la เขียนใหม่เป็น 占臘
          แต่ชาวจีนอีกกลุ่ม สามารถเข้าใจว่า คำว่า 暹 หมายถึงชาวไทย จึงเรียกชื่อตามเดิมที่เรียกว่า เซี้ยม หรือ เสียน  ทำให้ต่อมา เกิดความสับสนว่า เจนละ กับ เซี้ยม นี่คือคนละประเทศ   บางยุคก็นำ เจนละ ไปใช้เรียก ประเทศเขมร บางยุคก็นำชื่อ เจนลี ไปใช้เรียก ประเทศไทย  แต่แท้จริงแล้วที่มาก็จากอักษรตัวเดียวกันนั่นเอง

2.  ที่มาที่ชาวไทย เรียกตนเองว่า สยาม   ก็มาจาก  สมัยที่เขมรปกครองลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาภาคกลาง  คำว่า กรุงศรี เขมรที่มาปกครองอ่านเป็น ตี-กรง-สะ-เยียม  แต่คนไทยฟังเป็น ตี-กรง-สะยาม ซึ่งต่อมาเมื่อคนไทยขึ้นปกครองแทนเขมร จึงเรียกตนเองว่า สยาม ตามอย่างที่เขมรเรียก  
 
3.      คำที่เขมรเรียก เสียม ในบันทึกของโจวต้ากวน   คำว่า เสียม ในบันทึกโจวต้ากวน จะมีอยู่ 2 กลุ่ม  กลุ่มแรกคือกลุ่มที่ทอผ้าไหมเก่ง จะหมายถึงคนที่มาจาก ศรีโคตรบูรณ์ ซึ่งได้แก่ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ ขอนแก่น สกลนคร มุกดาหาร ซึ่งมีหลักฐานว่าลวดลายการทำผ้าไหมสืบทอดมาจากครั้งโบราณ   ส่วนเสียมอีกพวกที่อยู่ทาง ตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองพระนคร (เสียมเรียบในปัจจุบัน) ที่ทำสงครามกันอยู่ คือ เมืองศรีพโล ที่อยู่ใน ต.หนองไม้แดง เมืองชลบุรี    ซึ่งมีหลักฐานพบว่า มีถนนเชื่อมต่อจากเมืองศรีพโลไปยังเมืองพระรถ และเส้นทางเดินเรือไปเมืองศรีมโหสถ ก่อนเข้าสู่เขมร  โดยนักประวัติศาสตร์ไทยตั้งชื่อถนนนี้ว่า ถนนขอม

4.       คำว่า ขอม  แท้จริงแล้ว คือคำว่า เขมร  แต่คนไทยอ่านผิดว่า ขอม  ตามรูปด้านล่าง

โดยคนไทยมองเป็นคำ 3 พยางค์  เวลาเขียนเป็นอักษรเขียนตัวหน้าถ้าหางหวัดขึ้นจะกลายเป็นอักษร ข     ตัวกลางถ้าหางหวัดขึ้นมาชนจะกลายเป็นตัว อ.  และตัวสุดท้าย ถ้าหางหวัดลงจะกลายเป็นครึ่ง ม    คนไทยจึงอ่านคำนี้ว่า ขอม

5.      เขมรนั้น เมื่อเห็นไทยเรียกตนเองว่า สยาม แต่เขมรไม่รู้ว่า มาจากการฟังเสียงการออกเสียงคำว่า ศรี  ในภาษาเขมร  เขมรจึงใช้ศัพท์ตามรูป  

ซึ่งหมายถึงชาวสยาม กับคำว่า สยม ในสยมภูเท่านั้น  ที่ข้อมูลในวิกิแปลคำนี้ว่า ขโมย นั้น น่าจะเป็นความเข้าใจผิดของทางฝั่งไทยมากกว่า คำว่า โจร ขโมย ในเขมรไม่ได้ใช้คำนี้
       ส่วนชื่อเมืองเสียมเรียบ  ความหมายที่แท้จริงแปลว่า ระดับเดียวกับสยาม  ไม่ได้แปลว่าสยามพ่ายแพ้อย่างที่เขมรเข้าใจแต่อย่างใด  เพราะถ้าดูจากแผนที่ภูมิศาสตร์ google map จะพบว่า กรุงเทพ กับ เมืองเสียมเรียบ อยู่ในระดับความสูงในแผนที่ภูมิศาสตร์เท่ากันพอดี     

6. คำว่า โถโลโปตี  หลอโว หลอออ หลอหู หลอฮก ที่แต่เดิมเข้าใจกันว่าเป็นคำพ้องเสียงนั้น   ที่จริงแล้วเป็นคำที่หมายถึงพระปฐมเจดีย์    โดย โถโลโปตี  เขียนอักษรจีนว่า 墮羅缽底 แปลทีละตัวจะได้ว่า墮 แปลว่า ลง 羅 แปลว่า ครอบ 缽 แปลว่า บาตรพระ 底  แปลว่า ก้นล่าง    รวมคำจะแปลว่า ก้นล่างบาตรพระครอบลง   ซึ่งก็หมายถึงพระปฐมเจดีย์ในอดีต  ที่มีรูปทรงครึ่งวงกลมคว่ำ     ส่วน หลอโว อักษรจีนเขียนว่า 羅渦  อ่านสำเนียงแต้จิ๋วว่า หลอออ  ความหมายแปลทีละตัวได้ว่า羅 แปลว่า ครอบ   渦 แปลว่า เกลียว  รวมคำจะแปลว่า เกลียวครอบ  ก็หมายถึง พระปฐมเจดีย์ที่ ฐานเจดีย์เป็นรูปเกลียวล้อมรอบครอบลง    ส่วน หลอหู อักษรจีนเขียนว่า 羅斛  อ่านสำเนียงแต้จิ๋วว่า หลอฮก  ความหมายแปลทีละตัวได้ว่า羅 แปลว่า ครอบ   斛แปลว่า กระบวยตวงข้าวทรงครึ่งวงกลม  รวมคำจะแปลว่า กระบวยครึ่งวงกลมครอบ  ก็หมายถึง พระปฐมเจดีย์ ที่เป็นรูปครึ่งวงกลมครอบนั่นเอง

7.เมื่อ ละโว้ เป็นคำในภาษาจีน ที่มาจาก หลอโว ที่หมายถึงพระปฐมเจดีย์    ดังนั้นคำว่า สยมกุก ที่พบในปราสาทหิน ก็หมายถึง เสียมก็ก อย่างที่นักวิชาการเข้าใจไว้จริง

8.      ในช่วงปลายราชวงศ์หยวนของจีน คำว่า เซี้ยมหลอ มาจาก การรวมกันระหว่างคำว่า เซี้ยม ที่ให้เป็นสุโขทัยยุคหลังจากพระยาลิไทยึดอำนาจ กับคำว่า หลอ ที่เป็น หลอหู หรือ อยุธยาของพระเจ้าอู่ทอง   แต่ก่อนหน้านั้นหลายร้อยปี ก็พบปรากฏคำว่า เสียนหลิว อยู่ในบันทึกของคนจีน ซึ่งสันนิษฐานว่า เสียนหลิวยุคก่อนอยุธยา น่าจะอ่านตามชื่อเมือง ศรีพโล   
 
สรุปส่งท้าย     เซี้ยม ในภาษาจีน มาจากคำว่า ศรี ในภาษาเขมร  แต่ต่อมาคนจีนอ่านผิดเป็นคำ 2 พยางค์ กลายเป็น เจนละ จันละ เจนลี     คำว่า สยาม ที่คนไทยเรียกตนเอง มาจาก อ่านออกเสียงคำว่า ศรี ของชาวเขมรในยุคที่เขมรปกครองลุ่มน้ำเจ้าพระยา  เขมรเรียกคนไทยทั้งอีสานตอนกลาง ตลอดจนถึงภาคตะวันออกของไทยว่าเป็นชนชาติเดียวกัน  คำว่า ขอม คือ คำที่คนไทยอ่านคำว่า เขมร ผิด   เขมร ใช้คำว่า เสียม ตามชื่อ สยามที่คนไทยเรียกตนเอง   เมืองเสียมเรียบแปลว่า ระดับเดียวกับสยาม  คำว่า โถโลโปตี  หลอโว หลอออ หลอหู หลอฮก เป็นภาษาจีนที่หมายถึงพระปฐมเจดีย์  คำว่า เสียนหลิว ที่พบก่อนมีเมืองอยุธยา มาจากคำเรียกชื่อเมืองศรีพโล
 
คิดว่า ทฤษฎีที่แสดงไว้นี้คงคลี่คลายความสงสัยในใจของแต่ละท่านได้นะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่