“ชนชาติสยาม” มีความเป็นมายาวนานหลายยุคหลายสมัย โลดแล่นมีชื่อระบือไกลจนต่างชาติผู้เจริญต่างพากันรู้จักนาม “สยาม” อันเกรียงไกรนี้ จึงอยากเรียนให้รู้ไว้เป็นปฐมบทว่า “สยาม” มีความรุ่งเรืองไม่น้อยหน้าอารยธรรมที่เจริญแล้วอื่นๆ ในโลกนี้เลย
"สยาม" ได้กลายเป็นชื่อเรียกประเทศอย่างเป็นทางการในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
คำว่า "สยาม" นั้น โดยรากศัพท์แล้ว มีที่มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า สฺยาม (Shyam) แปลว่า มีสีดำ สีทอง หรือสีครามหม่น หรือสีเขียว หรือสีออกคล้ำ ความหมายเดียวกับ พระกฤษณะ (Krishna) กษัตริย์ผู้สถาปนาเมือง ทวารกา (Dwarka) หรือ ทวารวดี (Dvaravati) และตรงกับคำภาษาบาลีว่า สามะ (Sama) คำนี้ได้กลายไปเป็นเสียงอื่นในภาษาของชนเพื่อนบ้านและชาวต่างประเทศ ชาวเขมรและชาวรามัญเรียกคนสยามว่า "เสียม" คนต่างชาติอื่นๆ เช่น มลายู จีน เรียกคนสยามว่า "เสียม" ตามเขมรและรามัญ
อ.พิริยะ ชี้ว่าที่ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ คือศูนย์กลาง “อาณาจักรทวารวดี” และเป็นที่มาของคำว่า “สยาม” โดยแท้จริง
นอกจากนั้นได้มีการสืบค้นที่มาของคำนี้จากภายนอก ซึ่งถ้าว่ากันตามจริงแล้วคำว่า "สยาม" นั้น เก่าแก่ไปถึงต้นคริสตกาล เพราะปรากฎคำว่า "เสียม" ในบันทึกจีนสมัยราชวงศ์ถัง ร่วมสมัยกับฟูนัน ดังต่อไปนี้
“คำว่า “เสียม” หรือ “สยาม” มีประวัติความเป็นมาแรกเริ่มปรากฏในจดหมายเหตุจีนบันทึกไว้ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๑ พระเจ้ากรุงธนบุรีหรือพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งมีเชื้อสายชาวจีน ทรงกอบกู้บ้านเมืองมีชัยชนะต่อกองทัพอังวะแล้ว พระองค์ทรงส่งราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการและพระราชสาส์นแด่พระจักรพรรดิ “เฉินหลง” องค์จักรพรรดิจึงรับสั่งให้เจ้ากรมพิธีการทูต ตรวจสอบเรื่องราวของประเทศสยาม เจ้ากรมพิธีการทูตรายงานว่า
“ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้ตรวจดูเรื่อง “เสียม-หลัว-กั่ว” หรือ “เสียมหลอก๊ก” แล้ว เห็นมีต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ครั้งราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง สมัยโน้นเรียกว่า ประเทศ “ซื่อ-ถู-กั่ว” (หรือ เชียะโท้ว หรือ เฉตู) ด้วยครั้งพระเจ้าสุยทางเต้ พระเจ้าสุยเอียงเต้ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปีอิดทิ้ว ขุนนางสุนถังจู้ ชื่อเสียงจุ่น ได้จดความไว้ว่า ซื่อ-ถั่ว-กั่ว-อ๋อง นับถือศาสนาพุทธ ชาวเสียม-หลั่ว-กั่ว ประเทศนี้ตั้งอยู่ริมทะเลทางทิศใต้”
เชียะโท้ว คือ เมืองสิงหปุระ อ.สิงหนคร จ.สงขลา (อ้างอิง: งานค้นคว้าของคุณประจิต ประเสริฐประสาสน์ : Srivijaya Yava)
ราชวงศ์สุย หรือซุย มีอายุอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๑๑๒๔-๑๑๖๑ และ ราชวงศ์ถังมีอายุระหว่าง พ.ศ. ๑๑๖๑-๑๔๕๐”
หนังสือ "บันทึกจดหมายเหตุทางพระราชไมตรี จีน-สยาม" ระบุไว้ชัดเจนว่า "สยาม" เป็นชนชาติเดียวกับชาวฮูหลำ/扶南 (ฟูนัน)
"ฟูนัน" คืออาณาจักรอารยธรรมแรกในสุวรรณภูมิ เป็นบรรพบุรุษของ เขมรเจนละ เขมรพระนคร และแน่นอนเป็นบรรพบุรุษของ "สยาม" ด้วย
คำว่า "สยำ" ยังมีปรากฎในจารึกของอาณาจักรพุกาม โดยลงศักราชในปี พ.ศ. ๑๖๖๓
คำเขียนในรูปของ "สยำ" ยังปรากฏอยู่ในจารึกโบราณของจามปา มีข้อความกล่าวถึงการจับได้เชลยศึก "ชาวสยาม" รวมกับเชลยศึก "ชาวเขมร" และอื่นๆ อ.กังวล อธิบายว่า จารึกนี้นับว่าเป็นการพบคำ "สยาม" ที่ใช้ในความหมายของ "ชนชาติสยาม" เป็นครั้งแรก ที่เทวสถาน “Po nagar” ในจารึกเรียกว่า “Pu nagar” ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองญาจาง “Nha trang” เวียดนามตอนใต้
จารึกจามปา พ.ศ. ๑๗๗๖
จารึกที่กรอบประตูปราสาทประธาน มี ๓ แห่ง จารึกกรอบด้านเหนือและด้านใต้ บอกเล่าเรื่องราวที่กษัตริย์จามปา คือ “ศรีชยปรเมศวรวรมเทวะ” ได้ถวายข้าทาสชาว "กฺวีร์" (เป็นคำที่จามเรียกเขมร) ชาวจามปา ชาวสยาม (สยำ) ชาวลาว (เลาว) และชาวพุกาม จำนวน ๔๕ คน แด่เทพเจ้าที่นี่ เมื่อศักราช ๑๑๕๕ ตรงกับ พ.ศ. ๑๗๗๖ (จารึกที่กรอบประตูด้านซ้ายขวา มีจารึกคำว่า "สฺยำ" ทั้งสองด้าน)
“พุกาม” และ “สยาม” ในจารึกจามปา พ.ศ. ๑๗๔๔
คำว่า "สยาม" หรือ "สยำ" ยังได้ปรากฏที่ภาพจำหลักนูนต่ำที่ปราสาทนครวัด ที่สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗ อันแสดงถึงกองทัพชาวสยามที่กำลังเดินขบวนคู่กับกองทัพละโว้ โดยจารึกสลักไว้ว่า “เนะ สยำ กุก” แปลว่า “นี่คือกองทัพสยาม”
เรื่อง “สยำ กุก” ที่ถูกสลักบนกำแพงนครวัดนี้ “จิตร ภูมิศักดิ์” ให้ความหมายว่าคือ “ชาวสยามแห่งลุ่มน้ำกก” แต่ความจริงนั้นจิตรคล้อยตามทฤษฎีของ “ศาสตราจารย์เซเดส์” เจ้าของทฤษฎีฝรั่งเศสผู้สอนประวัติศาสตร์ไทยว่า “ชนชาติสยาม” เพิ่งอพยพหนีการโจมตีของกุบไลข่าน มาสร้างอาณาจักรสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. ๑๗๘๑ แต่ภาพประวัติศาสตร์ที่ระเบียงภาพนครวัด เมื่อปี พ.ศ. ๑๖๙๓ ปรากฏภาพกองทัพสยามก่อนเกิดอาณาจักรสุโขทัยเกือบ ๑๐๐ ปี
ในปัจจุบันมีการตีความชาวสยามบนกำแพงนครวัดว่ามาจากที่ไหนเอาไว้ ๓ สถานที่ ดังนี้
๑.เป็นชาวสยามที่มาจาก "สุพรรณบุรี"
๒.เป็นชาวสยามที่มาจาก "เพชรบุรี"
๓.เป็นชาวสยามที่มาจาก "นครศรีธรรมราช"
จิตร ภูมิศักดิ์ นั้นศรัทธาและเชื่อถือในความปราดเปรื่องของชาวฝรั่งเศสเจ้าเล่ห์อย่าง “ศาสตราจารย์เซเดส์” ผู้นี้ จึงคิดเอาว่าเป็น “ชาวสยามแห่งลุ่มน้ำกก” เป็นสยามแห่งเงินยาง เชียงแสน เป็นชาวสยามจากเชียงราย โดยมองข้าม “ทวารวดี” ทางภาคกลางไปอย่างไม่ใยดี เพราะความจริงแล้วนั้น “ชาวสยาม” ไม่ได้อยู่ทางเหนือ ซึ่งที่ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ จะบอกให้ทุกท่านทราบว่าความหมายของ “สยาม” ที่แท้จริงคืออะไร
เขาคลังนอกศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์
จำลองเขาคลังนอกสภาพสมบูรณ์
จำลองโบราณสถานทุ่งเศรษฐีสภาพสมบูรณ์
เทวรูป “พระกฤษณะ” ที่ศรีเทพ
เมื่อพูดถึง "สยาม" ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับทวารวดีและพระกฤษณะ การจะตีความหมายของคำว่าสยามนั้น ต้องเอามาผูกกับทวารวดีและพระกฤษณะ เพราะสามคำนี้แยกออกจากกันไม่ได้ ตามตำนานฮินดู “พระกฤษณะ”ได้สถาปนาอาณาจักรที่ชื่อว่า "ทวารกา" หรือ "ทวารวดี" มาเป็นอาณาจักรของพระองค์ นี่คือสาเหตุแรกที่ทวารวดีกับพระกฤษณะย่อมมีความเกี่ยวข้องกัน แล้วสยามเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ยังไง ?
"Shyam is an enchanting name of Krishna used separately as well as in combination with other words like Radheshyam, Ghanshyam, Shyamsundar, Shyamgopal and many others. Krishna is called Shyam due to his dark complexion (the word Shyam means dark). The very term Krishna is suggestive of Black complexion."
พระกฤษณะนั้นมี ๒ ชื่อ ที่สามารถใช้เรียกพระองค์ได้ และทั้งสองชื่อนี้ก็มีความหมายเดียวกัน ชื่อแรกคือ "กฤษณะ" ชื่อที่สองคือ "สยัม"
๑.กฤษณะ (Krishna) หมายถึง สีดำคล้ำ สีทอง สีน้ำเงิน
๒.สยัม (Shyam) หมายถึง สีดำคล้ำ สีทอง สีน้ำเงิน
ซึ่งสองคำนี้สามารถยืนยันได้เลยว่าเป็นคำสันสกฤตชั้นสูง จึงถูกนำมาตั้งชื่อพระมหากษัตริย์หรือเทพเจ้า ถือเป็นคำมงคล
ในปัจจุบันชาวอินเดียส่วนมากนิยมใช้นามสกุลว่า Krishna และ Shyam ด้วยเหตุนี้ทำให้ยิ่งสามารถยืนยันได้เลยว่าสองคำนี้เป็นคำที่ดีและเป็นมงคลยิ่ง
การแปลความหมายของคำว่า “สยาม” ก็จะคล้ายกับชาวอินเดียที่เรียกแทนตนเองว่า “ชาวภารตะ” ซึ่งภารตะหมายถึง “ท้าวภรตะ” จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของชมพูทวีปโบราณ
“ภารตะ” แปลว่า "ลูกหลานของท้าวภรตะ" หรือ "แว่นแคว้นแห่งท้าวภรตะ" ท้าวภรตะเป็นวีรบุรุษในตำนานของอินเดีย ตามตำนานกล่าวว่าเป็นโอรสที่เกิดแต่ท้าวทุษยันต์กับนางศกุนตลา ท้าวภรตะเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ คนอินเดียภาคภูมิใจมาก จึงอ้างว่าคนอินเดียทั้งหลายเป็น "ลูกหลานของท้าวภรตะ"
ด้วยเหตุนี้ชาวอินเดียจึงนำคำว่า “ภรตะ” มาเรียกเป็นชื่อชนชาติของตนเองว่า "ชาวภารตะ" จนเราคุ้นหูกันถึงทุกวันนี้ ซึ่งหมายถึง "ลูกหลานของท้าวภรตะ" นั่นเอง
กลับกันชาวทวารวดี ก็นับถือพระกฤษณะมาก เพราะยุคนั้นมีแต่พราหมณ์-ฮินดู และคำว่าสยามก็เป็นอีกชื่อที่ใช้เรียกพระกฤษณะ ดังนั้น ถ้าจะให้แปลความหมายของคำว่า “สยาม” จะแปลสยามว่าหมายถึง "ลูกหลานของพระกฤษณะ" นอกจากนั้นคำว่าสยามยังแปลได้อีกหลายมุมมองดังนี้
สยาม = ลูกหลานพระกฤษณะ
สยาม = เหล่าผู้นับถือพระกฤษณะ
สยาม = ชาวทวารวดี
สมัยราชวงศ์หยวน พ.ศ. ๑๘๑๔-๑๙๑๑ มีนักเดินทางชาวตะวันตกชื่อ “มาร์โคโปโล” เดินรอนแรมจากเวนิสมาถึงต้าตู (ปักกิ่ง) รับใช้ราชสำนักมองโกลหลายปี ภายหลังเดินทางไปส่งเจ้าหญิงมองโกลที่อิหร่านแล้วกลับเวนิสบ้านเกิดโดยทางเรือ เขาได้บันทึกชื่อแว่นแคว้นต่างๆ ตามรายทาง มีชื่อประเทศหนึ่งบันทึกเอาไว้ว่า “Locach” อันหมายถึง “ละโว้” นั่นเอง
“มาร์โคโปโล” ได้กล่าวถึงสภาพของเมืองละโว้สมัยนั้นอย่างละเอียดไว้ว่า
“ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธ และมีภาษาพิเศษของเขาปกครองโดยกษัตริย์ของเขาเอง กษัตริย์ของเขาไม่ยอมส่งจิ้มก้อง (ส่งเครื่องบรรณาการ) กับประเทศใดประเทศหนึ่ง ลักษณะภูมิประเทศมีสภาพป้องกันการรุกรานจากข้าศึกได้เป็นอย่างดี ฉะนั้น ไม่มีศัตรูใดกล้ามาโจมตี ถ้าหากอาณาจักรนี้โจมตีง่าย “กุบไลข่าน” อาจจะเอาแผ่นดินนี้เป็นอาณาเขตของพระองค์อย่างไม่ลังเลในการตัดสินใจ สิ่งของสำคัญที่มีอยู่ในอาณาจักรนี้คือไม้ฝาง มีทองมากจนเหลือเชื่อได้ มีช้าง ไม่ว่าจะใช้สุนัขหรือนกไปล่าสัตว์ก็สามารถล่าสัตว์ได้อย่างมากมาย หินโมราที่ได้จากอาณาจักรนี้มีประกายงดงามแวววาวสวยงามมาก ดังที่ได้กล่าวมาแล้วจึงใช้หินโมรานี้แทนเงินตรากับต่างประเทศ อาณาจักรนี้มีภูเขาต่ำๆ สูงๆ และไม่ได้ปลูกต้นไม้ คนภายนอกไปท่องเที่ยวน้อย กษัตริย์ปกครองห้ามปรามบุคคลที่มาจากภายนอก เพราะไม่อยากให้ชาวต่างชาติรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทองและความลับของอาณาจักรนี้”
จากนั้นมาร์โคโปโลยังได้เขียนบันทึกไว้ว่าชนถิ่นนี้เรียกว่า “Siam” หรือ “สยาม" ทำให้ชาวยุโรปทราบเรื่องราวของเอเชียกระตุ้นให้เดินทางมาค้าขายและประกาศศาสนาในอนาคต
“ชาวชมพูทวีปโบราณ” คือบรรพบุรุษของ “ชาวสยาม”
คำว่า "สยาม" นั้น โดยรากศัพท์แล้ว มีที่มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า สฺยาม (Shyam) แปลว่า มีสีดำ สีทอง หรือสีครามหม่น หรือสีเขียว หรือสีออกคล้ำ ความหมายเดียวกับ พระกฤษณะ (Krishna) กษัตริย์ผู้สถาปนาเมือง ทวารกา (Dwarka) หรือ ทวารวดี (Dvaravati) และตรงกับคำภาษาบาลีว่า สามะ (Sama) คำนี้ได้กลายไปเป็นเสียงอื่นในภาษาของชนเพื่อนบ้านและชาวต่างประเทศ ชาวเขมรและชาวรามัญเรียกคนสยามว่า "เสียม" คนต่างชาติอื่นๆ เช่น มลายู จีน เรียกคนสยามว่า "เสียม" ตามเขมรและรามัญ
อ.พิริยะ ชี้ว่าที่ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ คือศูนย์กลาง “อาณาจักรทวารวดี” และเป็นที่มาของคำว่า “สยาม” โดยแท้จริง
นอกจากนั้นได้มีการสืบค้นที่มาของคำนี้จากภายนอก ซึ่งถ้าว่ากันตามจริงแล้วคำว่า "สยาม" นั้น เก่าแก่ไปถึงต้นคริสตกาล เพราะปรากฎคำว่า "เสียม" ในบันทึกจีนสมัยราชวงศ์ถัง ร่วมสมัยกับฟูนัน ดังต่อไปนี้
“คำว่า “เสียม” หรือ “สยาม” มีประวัติความเป็นมาแรกเริ่มปรากฏในจดหมายเหตุจีนบันทึกไว้ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๑ พระเจ้ากรุงธนบุรีหรือพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งมีเชื้อสายชาวจีน ทรงกอบกู้บ้านเมืองมีชัยชนะต่อกองทัพอังวะแล้ว พระองค์ทรงส่งราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการและพระราชสาส์นแด่พระจักรพรรดิ “เฉินหลง” องค์จักรพรรดิจึงรับสั่งให้เจ้ากรมพิธีการทูต ตรวจสอบเรื่องราวของประเทศสยาม เจ้ากรมพิธีการทูตรายงานว่า
“ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้ตรวจดูเรื่อง “เสียม-หลัว-กั่ว” หรือ “เสียมหลอก๊ก” แล้ว เห็นมีต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ครั้งราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง สมัยโน้นเรียกว่า ประเทศ “ซื่อ-ถู-กั่ว” (หรือ เชียะโท้ว หรือ เฉตู) ด้วยครั้งพระเจ้าสุยทางเต้ พระเจ้าสุยเอียงเต้ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปีอิดทิ้ว ขุนนางสุนถังจู้ ชื่อเสียงจุ่น ได้จดความไว้ว่า ซื่อ-ถั่ว-กั่ว-อ๋อง นับถือศาสนาพุทธ ชาวเสียม-หลั่ว-กั่ว ประเทศนี้ตั้งอยู่ริมทะเลทางทิศใต้”
เชียะโท้ว คือ เมืองสิงหปุระ อ.สิงหนคร จ.สงขลา (อ้างอิง: งานค้นคว้าของคุณประจิต ประเสริฐประสาสน์ : Srivijaya Yava)
ราชวงศ์สุย หรือซุย มีอายุอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๑๑๒๔-๑๑๖๑ และ ราชวงศ์ถังมีอายุระหว่าง พ.ศ. ๑๑๖๑-๑๔๕๐”
หนังสือ "บันทึกจดหมายเหตุทางพระราชไมตรี จีน-สยาม" ระบุไว้ชัดเจนว่า "สยาม" เป็นชนชาติเดียวกับชาวฮูหลำ/扶南 (ฟูนัน)
"ฟูนัน" คืออาณาจักรอารยธรรมแรกในสุวรรณภูมิ เป็นบรรพบุรุษของ เขมรเจนละ เขมรพระนคร และแน่นอนเป็นบรรพบุรุษของ "สยาม" ด้วย
คำว่า "สยำ" ยังมีปรากฎในจารึกของอาณาจักรพุกาม โดยลงศักราชในปี พ.ศ. ๑๖๖๓
คำเขียนในรูปของ "สยำ" ยังปรากฏอยู่ในจารึกโบราณของจามปา มีข้อความกล่าวถึงการจับได้เชลยศึก "ชาวสยาม" รวมกับเชลยศึก "ชาวเขมร" และอื่นๆ อ.กังวล อธิบายว่า จารึกนี้นับว่าเป็นการพบคำ "สยาม" ที่ใช้ในความหมายของ "ชนชาติสยาม" เป็นครั้งแรก ที่เทวสถาน “Po nagar” ในจารึกเรียกว่า “Pu nagar” ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองญาจาง “Nha trang” เวียดนามตอนใต้
ในปัจจุบันมีการตีความชาวสยามบนกำแพงนครวัดว่ามาจากที่ไหนเอาไว้ ๓ สถานที่ ดังนี้
๑.เป็นชาวสยามที่มาจาก "สุพรรณบุรี"
๒.เป็นชาวสยามที่มาจาก "เพชรบุรี"
๓.เป็นชาวสยามที่มาจาก "นครศรีธรรมราช"
จิตร ภูมิศักดิ์ นั้นศรัทธาและเชื่อถือในความปราดเปรื่องของชาวฝรั่งเศสเจ้าเล่ห์อย่าง “ศาสตราจารย์เซเดส์” ผู้นี้ จึงคิดเอาว่าเป็น “ชาวสยามแห่งลุ่มน้ำกก” เป็นสยามแห่งเงินยาง เชียงแสน เป็นชาวสยามจากเชียงราย โดยมองข้าม “ทวารวดี” ทางภาคกลางไปอย่างไม่ใยดี เพราะความจริงแล้วนั้น “ชาวสยาม” ไม่ได้อยู่ทางเหนือ ซึ่งที่ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ จะบอกให้ทุกท่านทราบว่าความหมายของ “สยาม” ที่แท้จริงคืออะไร
"Shyam is an enchanting name of Krishna used separately as well as in combination with other words like Radheshyam, Ghanshyam, Shyamsundar, Shyamgopal and many others. Krishna is called Shyam due to his dark complexion (the word Shyam means dark). The very term Krishna is suggestive of Black complexion."
พระกฤษณะนั้นมี ๒ ชื่อ ที่สามารถใช้เรียกพระองค์ได้ และทั้งสองชื่อนี้ก็มีความหมายเดียวกัน ชื่อแรกคือ "กฤษณะ" ชื่อที่สองคือ "สยัม"
๑.กฤษณะ (Krishna) หมายถึง สีดำคล้ำ สีทอง สีน้ำเงิน
๒.สยัม (Shyam) หมายถึง สีดำคล้ำ สีทอง สีน้ำเงิน
ซึ่งสองคำนี้สามารถยืนยันได้เลยว่าเป็นคำสันสกฤตชั้นสูง จึงถูกนำมาตั้งชื่อพระมหากษัตริย์หรือเทพเจ้า ถือเป็นคำมงคล
ในปัจจุบันชาวอินเดียส่วนมากนิยมใช้นามสกุลว่า Krishna และ Shyam ด้วยเหตุนี้ทำให้ยิ่งสามารถยืนยันได้เลยว่าสองคำนี้เป็นคำที่ดีและเป็นมงคลยิ่ง
การแปลความหมายของคำว่า “สยาม” ก็จะคล้ายกับชาวอินเดียที่เรียกแทนตนเองว่า “ชาวภารตะ” ซึ่งภารตะหมายถึง “ท้าวภรตะ” จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของชมพูทวีปโบราณ
“ภารตะ” แปลว่า "ลูกหลานของท้าวภรตะ" หรือ "แว่นแคว้นแห่งท้าวภรตะ" ท้าวภรตะเป็นวีรบุรุษในตำนานของอินเดีย ตามตำนานกล่าวว่าเป็นโอรสที่เกิดแต่ท้าวทุษยันต์กับนางศกุนตลา ท้าวภรตะเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ คนอินเดียภาคภูมิใจมาก จึงอ้างว่าคนอินเดียทั้งหลายเป็น "ลูกหลานของท้าวภรตะ"
ด้วยเหตุนี้ชาวอินเดียจึงนำคำว่า “ภรตะ” มาเรียกเป็นชื่อชนชาติของตนเองว่า "ชาวภารตะ" จนเราคุ้นหูกันถึงทุกวันนี้ ซึ่งหมายถึง "ลูกหลานของท้าวภรตะ" นั่นเอง
กลับกันชาวทวารวดี ก็นับถือพระกฤษณะมาก เพราะยุคนั้นมีแต่พราหมณ์-ฮินดู และคำว่าสยามก็เป็นอีกชื่อที่ใช้เรียกพระกฤษณะ ดังนั้น ถ้าจะให้แปลความหมายของคำว่า “สยาม” จะแปลสยามว่าหมายถึง "ลูกหลานของพระกฤษณะ" นอกจากนั้นคำว่าสยามยังแปลได้อีกหลายมุมมองดังนี้
สยาม = ลูกหลานพระกฤษณะ
สยาม = เหล่าผู้นับถือพระกฤษณะ
สยาม = ชาวทวารวดี
“ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธ และมีภาษาพิเศษของเขาปกครองโดยกษัตริย์ของเขาเอง กษัตริย์ของเขาไม่ยอมส่งจิ้มก้อง (ส่งเครื่องบรรณาการ) กับประเทศใดประเทศหนึ่ง ลักษณะภูมิประเทศมีสภาพป้องกันการรุกรานจากข้าศึกได้เป็นอย่างดี ฉะนั้น ไม่มีศัตรูใดกล้ามาโจมตี ถ้าหากอาณาจักรนี้โจมตีง่าย “กุบไลข่าน” อาจจะเอาแผ่นดินนี้เป็นอาณาเขตของพระองค์อย่างไม่ลังเลในการตัดสินใจ สิ่งของสำคัญที่มีอยู่ในอาณาจักรนี้คือไม้ฝาง มีทองมากจนเหลือเชื่อได้ มีช้าง ไม่ว่าจะใช้สุนัขหรือนกไปล่าสัตว์ก็สามารถล่าสัตว์ได้อย่างมากมาย หินโมราที่ได้จากอาณาจักรนี้มีประกายงดงามแวววาวสวยงามมาก ดังที่ได้กล่าวมาแล้วจึงใช้หินโมรานี้แทนเงินตรากับต่างประเทศ อาณาจักรนี้มีภูเขาต่ำๆ สูงๆ และไม่ได้ปลูกต้นไม้ คนภายนอกไปท่องเที่ยวน้อย กษัตริย์ปกครองห้ามปรามบุคคลที่มาจากภายนอก เพราะไม่อยากให้ชาวต่างชาติรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทองและความลับของอาณาจักรนี้”
จากนั้นมาร์โคโปโลยังได้เขียนบันทึกไว้ว่าชนถิ่นนี้เรียกว่า “Siam” หรือ “สยาม" ทำให้ชาวยุโรปทราบเรื่องราวของเอเชียกระตุ้นให้เดินทางมาค้าขายและประกาศศาสนาในอนาคต