พระเจ้าอโศกมหาราช (Ashoka the great)
พ.ศ.๒๑๘ เจ้าชายอโศกใช้เวลาต่อสู้แย่งราชสมบัติอยู่ ๔ ปี จึงจัดการสำเร็จแล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ปกครองปาฏลีบุตรต่อมา พระเจ้าอโศก (Ashoka) เป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์เมารยะ พระมารดานามว่าศิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา ๑๑ พระองค์ แต่ปรากฏนามคือ ๑.เจ้าชายติวาระ ประสูติจากพระนางการุวากี ๒.เจ้าชายกุณาละ ประสูติจากพระนางปัทมวดี ๓. เจ้าชายมหินทะและเจ้าหญิงสัฆมิตตา ประสูติจากพระนางเวทิศา ๔.เจ้าหญิงจารุมติ ไม่ทราบพระมาตรา ๕.เจ้าชายกุสตันไม่ทราบพระมารดา ๖.เจ้าชายวิสมโลมะ ไม่ทราบพระมารดา ๗. เจ้าชายจาลุกะ ไม่ทราบพระมารดา
ในขณะที่เป็นเจ้าชาย
พระองค์ถูกส่งไปเป็นผู้ดูแลเมืองอุชเชนีและตักกศิลา จนเมื่อพระบิดาสวรรคตแล้วจึงขึ้นครองราชย์ในตำนานหลายเล่ม กล่าวว่าพระองค์ปรงพระชนม์เจ้าชายในราชตระกูลไปถึง ๑๐๑ พระองค์ ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่าอโศกผู้ดุร้าย
ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา) จึงเกิดความเบื่อหน่ายในสงคราม ประกอบกับศรัทธาเลื่อมใสในนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่นทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ และหลักศิลาจารึกเป็นต้น ได้บำรุง พระภิกษุสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ คือ อาหาร ที่อยู่ อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การที่พระองค์ทรงบำรุงพระภิกษุสงฆ์เช่นนี้ ก็เพื่อจะได้พระภิกษุในพุทธศาสนาได้รับความสะดวก มีโอกาสบำเพ็ญสมณธรรมได้เต็มที่ ไม่ต้องกังวลในการแสวงหาปัจจัย ๔ แทนที่จะเป็นเช่นนั้น แต่กลับปรากฏว่ามีพวกนักบวชนอกศาสนาเป็นจำนวนมาก ปลอมบวชในพุทธศาสนา เพราะเห็นแก่ลาภสักการะ เมื่อบวชแล้วก็คงสั่งสอนลัทธิศาสนาเก่าของตน โดยอ้างว่าเป็นคำสอนของพุทธศาสนา ข้อนี้ทำให้พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความแตกฉานในพระไตรปิฎก เกิดความระอาใจต่อการประพฤติปฏิบัติของเหล่าพระภิกษุอลัชชีที่ปลอมบวชทั้งหลาย จึงได้ปลีกตัวไปอยู่ที่โธตังคบรรพตเจริญวิเวกสมาบัติอยู่ที่นั้นอย่างเงียบ ๆ เป็นเวลา ๗ ปี บรรพตเจริญวิเวกสมาบัติอยู่ที่นั้นอย่างเงียบ ๆ เป็นเวลา ๗ ปี
..........................
จากพระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ทรงมีความเกี่ยวข้อง กับ 3 เมือง คือ ตักกศิลา อุชเชนี และกลิงคะ และ จากแผนที่โบราณของอินเดียสมัยพระเจ้าอโศก ซึ่งจะเห็น ว่า ทั้ง 3 เมือง กระจายกันอยู่
หาก ผมสามารถ นำ หลักฐานทางเอกสาร มายืนยันว่า แท้ที่จริง ทั้ง 3 แคว้น ไม่ได้ แยกกันอยู่อย่างที่เขาว่า แต่มีอาณาเขตอยู่ติดกัน ท่านคิดว่า "มันเกิดความผิดปรกติอะไรขึ้นบ้างหรือไม่?"
ค้นหาข้อผิดพลาดในที่ตั้งของเมืองตักกศิลา อุชเชนี และกลิงคะที่อินเดีย
พ.ศ.๒๑๘ เจ้าชายอโศกใช้เวลาต่อสู้แย่งราชสมบัติอยู่ ๔ ปี จึงจัดการสำเร็จแล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ปกครองปาฏลีบุตรต่อมา พระเจ้าอโศก (Ashoka) เป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์เมารยะ พระมารดานามว่าศิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา ๑๑ พระองค์ แต่ปรากฏนามคือ ๑.เจ้าชายติวาระ ประสูติจากพระนางการุวากี ๒.เจ้าชายกุณาละ ประสูติจากพระนางปัทมวดี ๓. เจ้าชายมหินทะและเจ้าหญิงสัฆมิตตา ประสูติจากพระนางเวทิศา ๔.เจ้าหญิงจารุมติ ไม่ทราบพระมาตรา ๕.เจ้าชายกุสตันไม่ทราบพระมารดา ๖.เจ้าชายวิสมโลมะ ไม่ทราบพระมารดา ๗. เจ้าชายจาลุกะ ไม่ทราบพระมารดา
ในขณะที่เป็นเจ้าชายพระองค์ถูกส่งไปเป็นผู้ดูแลเมืองอุชเชนีและตักกศิลา จนเมื่อพระบิดาสวรรคตแล้วจึงขึ้นครองราชย์ในตำนานหลายเล่ม กล่าวว่าพระองค์ปรงพระชนม์เจ้าชายในราชตระกูลไปถึง ๑๐๑ พระองค์ ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่าอโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา) จึงเกิดความเบื่อหน่ายในสงคราม ประกอบกับศรัทธาเลื่อมใสในนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่นทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ และหลักศิลาจารึกเป็นต้น ได้บำรุง พระภิกษุสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ คือ อาหาร ที่อยู่ อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การที่พระองค์ทรงบำรุงพระภิกษุสงฆ์เช่นนี้ ก็เพื่อจะได้พระภิกษุในพุทธศาสนาได้รับความสะดวก มีโอกาสบำเพ็ญสมณธรรมได้เต็มที่ ไม่ต้องกังวลในการแสวงหาปัจจัย ๔ แทนที่จะเป็นเช่นนั้น แต่กลับปรากฏว่ามีพวกนักบวชนอกศาสนาเป็นจำนวนมาก ปลอมบวชในพุทธศาสนา เพราะเห็นแก่ลาภสักการะ เมื่อบวชแล้วก็คงสั่งสอนลัทธิศาสนาเก่าของตน โดยอ้างว่าเป็นคำสอนของพุทธศาสนา ข้อนี้ทำให้พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความแตกฉานในพระไตรปิฎก เกิดความระอาใจต่อการประพฤติปฏิบัติของเหล่าพระภิกษุอลัชชีที่ปลอมบวชทั้งหลาย จึงได้ปลีกตัวไปอยู่ที่โธตังคบรรพตเจริญวิเวกสมาบัติอยู่ที่นั้นอย่างเงียบ ๆ เป็นเวลา ๗ ปี บรรพตเจริญวิเวกสมาบัติอยู่ที่นั้นอย่างเงียบ ๆ เป็นเวลา ๗ ปี
..........................
จากพระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ทรงมีความเกี่ยวข้อง กับ 3 เมือง คือ ตักกศิลา อุชเชนี และกลิงคะ และ จากแผนที่โบราณของอินเดียสมัยพระเจ้าอโศก ซึ่งจะเห็น ว่า ทั้ง 3 เมือง กระจายกันอยู่
หาก ผมสามารถ นำ หลักฐานทางเอกสาร มายืนยันว่า แท้ที่จริง ทั้ง 3 แคว้น ไม่ได้ แยกกันอยู่อย่างที่เขาว่า แต่มีอาณาเขตอยู่ติดกัน ท่านคิดว่า "มันเกิดความผิดปรกติอะไรขึ้นบ้างหรือไม่?"