เมืองละโว้(ลวปุระ)เป็นเมืองเก่าแก่ของไทยแต่ถูกนักประวัติศาสตร์จัดให้เป็นเมืองของชนชาติเขมรเนื่องจากไปพบจารึกด้วยอักษรเขมรโบราณเต็มไปหมด บางส่วนก็พบอักษรมอญโบราณในเมืองละโว้ก็บอกว่าชาวมอญเคยปกครองที่นี่ พระนางจามเทวีจากละโว้ไปสร้างรัฐหริภุญชัยใช้อักษรมอญก็บอกว่าเป็นรัฐของชาวมอญ เป็นการสรุปประวัติศาสตร์จากตัวอักษรที่พบทั้งที่รู้ว่าดินแดนแห่งนี้ในตอนนั้นไม่มีอักษรเขียนต้องยืมอักษรของชนชาติอื่นมาใช้ ลวปุระ ไม่พบหลักฐานการตั้งเมืองว่าเริ่มสร้างตั้งแต่สมัยใดแต่พบว่าเมื่อ พ.ศ. 1600-1800 ลวปุระ เจริญรุ่งเรืองมาก เดิมไม่มีใครรู้ว่า ลวะ มีความหมายว่าอะไร แต่ปัจจุบันมีผู้รู้หลายท่านแปลชื่อเมือง ลวะ มาจากคำว่า ลาว ส่วนปุระ แปลว่า เมือง แปลตามตัวก็คือเมืองของชาวลาว ลาวในที่นี้คือคนไต-ไทที่ถือตนว่าเป็นชนชั้นสูงกว่าคนไต-ไททั่วไปเป็นชนชั้นปกครองของชาวไต-ไท(อย่าเข้าใจผิดเอาประเทศลาวปัจจุบันมาปน)
หลังจากทวารวดีเสื่อมอำนาจลง ลวปุระ ก็เจริญรุ่งเรืองมาแทนที่จนถึงพุทธศตวรรษที่ 16 เมืองลวปุระ ถูกพระเจ้าสุริยาวรมันซึ่งมีเชื้อสายชาวมาลายูแห่งเมืองศรียโสธรปุระ จักรวรรดิเขมรโจมตีทำลายลวปุระจนกลายเป็นเมืองร้าง กลายเป็นป่า ต่อมา ราชวงศ์มหิธรปุระ แห่งดินแดนอีสานใต้ได้ปกครองจักรวรรดิเขมรเป็นการปกครองต่อเนื่องยาวนานมีกษัตริย์ปกครองต่อกันถึง 12 พระองค์ ระหว่างนี้จึงได้ฟื้นฟูเมืองลวะปุระขึ้นมาใหม่ ลวปุระก็กลับมารุ่งเรืองเป็นรัฐที่มีอำนาจปกครองตนเองไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของเขมรอย่างที่นักประวัติศาสตร์เข้าใจ หลักฐานดูได้จากบันทึกการส่งบรรณาการกับจีนซึ่งรัฐที่จะส่งได้ต้องมีสถานะเป็น"กั๋ว"เท่านั้น ลวปุระ เริ่มส่งบรรณาการให้ราชวงศ์ซ่งตั้งแต่ พ.ศ.1698 เป็นต้นมาและส่งต่อเนื่องมาอีกหลายครั้งแต่ช่วงหลังราชวงศ์ซ่งถูก เกงจิส ข่าน แห่งมองโกลรุกรานทำให้ไม่มีการส่งบรรณาการ ต่อมาค่อยเริ่มส่งบรรณาการใหม่แก่ราชวงศ์หยวน เมื่อปี พ.ศ.1832
สรุป ลวปุระ เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิเขมร แต่ไม่นานถึงร้อยปีก็ได้ฟื้นฟูขึ้นใหม่โดยกษัตริย์ขอมจากอีสานใต้ เราจึงควรนับละโว้ และหริภุญชัย ว่าเป็นรัฐของคนไท-ไต ไม่ใช่รัฐของชาวเขมร-ชาวมอญ
ลวปุระหรือละโว้ แปลว่า เมืองของคนลาว ควรนับละโว้เป็นรัฐเก่าของไทยหรือไม่?
หลังจากทวารวดีเสื่อมอำนาจลง ลวปุระ ก็เจริญรุ่งเรืองมาแทนที่จนถึงพุทธศตวรรษที่ 16 เมืองลวปุระ ถูกพระเจ้าสุริยาวรมันซึ่งมีเชื้อสายชาวมาลายูแห่งเมืองศรียโสธรปุระ จักรวรรดิเขมรโจมตีทำลายลวปุระจนกลายเป็นเมืองร้าง กลายเป็นป่า ต่อมา ราชวงศ์มหิธรปุระ แห่งดินแดนอีสานใต้ได้ปกครองจักรวรรดิเขมรเป็นการปกครองต่อเนื่องยาวนานมีกษัตริย์ปกครองต่อกันถึง 12 พระองค์ ระหว่างนี้จึงได้ฟื้นฟูเมืองลวะปุระขึ้นมาใหม่ ลวปุระก็กลับมารุ่งเรืองเป็นรัฐที่มีอำนาจปกครองตนเองไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของเขมรอย่างที่นักประวัติศาสตร์เข้าใจ หลักฐานดูได้จากบันทึกการส่งบรรณาการกับจีนซึ่งรัฐที่จะส่งได้ต้องมีสถานะเป็น"กั๋ว"เท่านั้น ลวปุระ เริ่มส่งบรรณาการให้ราชวงศ์ซ่งตั้งแต่ พ.ศ.1698 เป็นต้นมาและส่งต่อเนื่องมาอีกหลายครั้งแต่ช่วงหลังราชวงศ์ซ่งถูก เกงจิส ข่าน แห่งมองโกลรุกรานทำให้ไม่มีการส่งบรรณาการ ต่อมาค่อยเริ่มส่งบรรณาการใหม่แก่ราชวงศ์หยวน เมื่อปี พ.ศ.1832
สรุป ลวปุระ เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิเขมร แต่ไม่นานถึงร้อยปีก็ได้ฟื้นฟูขึ้นใหม่โดยกษัตริย์ขอมจากอีสานใต้ เราจึงควรนับละโว้ และหริภุญชัย ว่าเป็นรัฐของคนไท-ไต ไม่ใช่รัฐของชาวเขมร-ชาวมอญ