บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจ่อขึ้น ‘ราคา‘ บีบรัฐคุมต้นทุน
https://www.nationtv.tv/news/378856483
ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยื่นเรื่องขอปรับราคากระทรวงพาณิชย์ หลังต้นทุนพุ่งทั้งแป้งข้าวสาลี น้ำมันปาล์ม ร้องรัฐอย่างขึ้นภาษีความเค็มและขึ้นภาษีเอดีฟิลม์
รายงานจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า ขณะนี้มีผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคหลายราย ได้ยื่นเรื่องขอปรับขึ้นราคาสินค้าเข้ามายังกรมการค้าภายในอย่างต่อเนื่อง ตามต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีสินค้าที่น่าจับตา เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนแป้งข้าวสาลีและน้ำมันปาล์ม ที่ปรับตัวสูงขึ้น และสูงขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2564 จนถึงปัจจุบัน ทำให้มีความกังวลว่าผู้ผลิต อาจจำเป็นต้องปรับราคาเพิ่มขึ้น หากแบกรับภาระต้นทุนไม่ได้
ทั้งนี้ ต้นทุนแป้งข้าวสาลีเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 โดยราคาข้าวสาลีตลาดโลก ช่วงเดือนม.ค.2563 อยู่ที่เฉลี่ย 550 ดอลลลาร์ต่อตัน พอมาม.ค.2564 เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 660 ดอลลาร์ต่อตัน และล่าสุดเดือนธ.ค.2564 ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 770 ดอลลาร์ต่อตัน ขณะที่ต้นทุนน้ำมันปาล์ม เมื่อช่วงต้นปีเฉลี่ยอยู่ที่ 35-40 บาทต่อลิตร แต่ปัจจุบันเฉลี่ย 50-55 บาทต่อลิตร
นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มที่ผู้ผลิตจะได้รับผลกระทบด้านต้นทุนจากมาตรการของรัฐคือ การปรับขึ้นภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) สินค้าฟิล์มบีโอพีพี ที่เป็นต้นทุนหีบห่อ ซึ่งล่าสุดกรมการค้าต่างประเทศได้แจ้งถึงกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ว่าได้มีผลการพิจารณาการไต่สวนชั้นที่สุดการเรียกเก็บเอดีสินค้าฟิล์มบีโอพีพี ที่มีแหล่งกำเนิดจากจีน อินโดนีเซีย และมาเลเซียแล้ว ซึ่งหากมีการเรียกเก็บเอดี ก็จะกระทบต่อต้นทุนการผลิตสูงถึงซองละ 50 สตางค์ เพราะต้นทุนหีบห่ออยู่ที่ประมาณ 10%
ขณะเดียวกัน มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีความเค็ม ที่ขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาการเก็บภาษีสรรพสามิตความเค็มตามปริมาณโซเดียม ซึ่งหากออกมา ก็จะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดกรมการค้าภายใน ได้ขอความร่วมมือให้ตรึงราคาไปก่อน แต่ภาครัฐต้องหาทางช่วยลดต้นทุนในส่วนที่ภาครัฐดูแลอยู่ เช่น การไม่ขึ้นภาษีเอดีฟิล์มบีโอพีพี ซึ่งเป็นต้นทุนหีบห่อที่สำคัญ เพราะส่วนนี้ผู้ผลิตไม่สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ รวมถึงภาษีความเค็ม ที่รัฐกำลังพิจารณา ต้องดูให้เหมาะสม เพราะเป็นส่วนที่ผู้ผลิต บริหารจัดการต้นทุนไม่ได้เช่นเดียวกัน
นำเข้ามากกว่าส่งออกซัด SME ไทยขาดดุลการค้า 1.2 แสนล้านบาท
https://www.thansettakij.com/business/506578
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยชี้ พิษโควิดซัดเศรษฐไทย ทำ SME ไทยขาดดุลการค้า 1.2 แสนล้านบาท เหตุนำเข้ามากกว่าส่งออก แนะเดินตามโมเดล internal circulation ของจีน ฟื้นความเข้มแข็งภายในประเทศลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ สร้างแต้มต่อให้กับSME
นาย
แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธาน สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยผ่าน Go Thailand เปิดเมือง เปิดประเทศ เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหน ว่า ในมุมมองของ SME เครื่องยนต์ที่จะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจแม้ว่าจะมีนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ดีแต่อาจยังไม่ได้ผลตามความคาดหวัง ซึ่งในปัจจุบันนี้มีเครื่องยนต์ที่จะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ประเทศจีน ซึ่งได้ทำโมเดลทางเศรษฐกิจใหม่ ที่เรียกว่า “ Dual circulation” ซึ่งเน้นในเรื่อง Internal circulation เป็นการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศ
เพิ่มอุปสงค์และเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชนในประเทศผ่าน 3 เรื่องหลักคือ 1 กำลังซื้อ 2 ลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และ3 เรื่องของสิ่งแวดล้อมหรือESG โดยลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตของต่างประเทศควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้บริษัทหรืออุตสาหกรรมในประเทศจีนพึ่งพาปัจจัยการผลิตในประเทศให้มากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็รักษาสัดส่วนการส่งออกของประเทศจีนไว้ รวมถึงเรื่องของการเคลื่อนย้ายทุนที่เปิดเสรีมากขึ้นในประเทศจีน
แต่ในบริบทของประเทศไทยที่ผ่านมาได้มุ่งเน้นเรื่องของ BCG economy เรื่องของ S-curve industry และ creativity service industry ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีรูปแบบการเติบโตที่โฟกัสในเรื่องของเทคโนโลยีและ creativity เพื่อนำพาประเทศไทยไปสู่ความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน โดยเฉพาะการที่จะส่งเสริมเรื่องของการค้าชายแดนให้มากขึ้น
แต่โจทย์สำคัญที่จะเดินหน้าตามนโยบาย BCG economy คือจะเปลี่ยนผ่าน SME ไปสู่ยุค digital ได้อย่างไรในเมื่อ ปัจุบันSME จำนวนมากยังติดอยู่ในยุค 1.0 สังคมเกษตรกรรมหรือ SMEs ที่ยังไม่ได้ใช้เครื่องจักรใชการทำงานยังมีอยู่ ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิงในการผลักดัน SME ให้ก้าวผ่านยุค1.0 และก้าวสู่ยุคดิจิทัล ได้แก่ องค์ความรู้ หรือทุนมนุษย์ ซึ่งกลไกพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าและการบริการเป็นสิ่งที่ SME ต้องการอย่างยิ่ง
ควบคู่ไปกับแหล่งทุน เช่นกองทุนนวัตกรรมกองทุนพัฒนาSME กองทุนฟื้นฟู NPL และDigital Factoring นอกจากนี้ยังต้องมีการปฏิรูประบบราชการกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต้นทุนธุรกิจส่วนเกินเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างแต้มต่อให้กับSME
“นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องคิดมาตราการเสริมความเข้มแข็ง และทำให้SME หรือแม้แต่ธุรกิจรายใหญ่สามารถลดการนำเข้าและพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศเหมือนโมเดลเศรษฐกิจของจีน ในเรื่องของการทำ internal circulation เพื่อให้เงินหมุนเวียนอยู่ในไลน์ SME หรืในไลน์ธุรกิจขนาดใหญ่มากที่สุด ในขณะเดียวกันฝั่งภาคการส่งออกของไทยก็ต้องเพิ่มขีดความสามารถและลดการนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะปีนี้อาจเป็นปีแรกในรอบหลายปีที่ประเทศไทยจะมีการนำเข้ามากกว่าการส่งออกในขณะที่ SME เองขาดดุลการค้าถึง 1.2 แสนล้าน
และสุดท้ายเรื่องที่ต้องทำคือการตลาดโลก ด้วยการพัฒนาแบรนดิ้ง ,พัฒนาการการค้า โอกาสในการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นรายเล็กรายใหญ่สามารถเติบโตไปในเวทีโลกได้ นี่คือภาพที่เราต้องการทำให้เกิดและพร้อมที่จะสนับสนุนภาครัฐในการผลักดันเรื่องนี้อย่างเต็มที่”
ช่างภาพสาว ฉีดแอสตร้าเข็มแรก แพ้จนตาข้างซ้ายบอดสนิท
https://ch3plus.com/news/category/269812
วันที่ 12 ธ.ค.2564 นางสาว
รัชนี มณีวงษ์ อายุ 37 ปี ช่างภาพบริษัทแห่งหนึ่ง ได้โพสต์ภาพขณะตัวเองนอนรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลจากอาการแพ้วัคซีน พร้อมระบุข้อความว่า
“ช่างภาพที่ต้องว่าความเพื่อตัวเอง จะเอากฎหมายข้อไหนยื่นสู้ สปสช. เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง ยังคงเป็นคนที่โชคดีที่สุด ที่ไม่แพ้วัคซีนจนหมดลมหายใจไปเสียก่อน แต่ก็เป็นคนที่โชคร้ายที่สุดเช่นเดียวกัน เพราะหมอบอกว่าเป็น 1 ใน 20 ล้านคนที่แพ้วัคซีน แล้วส่งผลกระทบไปยังดวงตา ทำให้ฉันกลายเป็นช่างภาพ / Editor ที่มองไม่เห็น”
นางสาว
รัชนี เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้เข้ารับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่ 1 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ผ่านไปจนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2564 ตรงกับวันเกิดของเธอ วันนั้นอาการปวดเบ้าตามันเริ่มส่งผลทำให้สายตาพร่ามัวการมองเห็นซีดลง/จนเข้าสู่วันที่ 9 กันยายน 2564 เริ่มทนกับอาการปวดเบ้าตาไม่ไหว จึงเข้ารับการรักษากับคุณหมอตา (จักษุแพทย์) ท่านหนึ่ง แต่ดูเหมือนหมอตาจะช่วยอะไรไม่ได้ นอกจากส่งไปพบกับหมอระบบประสาทและสมอง
ตนเองถูกส่งต่อให้กับหมอระบบประสาทและสมอง โดยไม่รู้ว่าผลจะออกมาว่าตนแพ้วัคซีนขั้นรุนแรง เนื่องจากคุณหมอได้ทำการวินิจฉัยหาสาเหตุอื่น ๆ เพื่อมาประกอบว่าตนแพ้วัคซีน หรือไม่ เริ่มจากการ MRI สแกนสมอง เพื่อเช็กว่ามีเนื้องอกในสมอง หรือมีอะไรไปอุดตันเส้นเลือดดำ ที่อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ขั้วประสาทตาบวม
สรุปไม่พบสาเหตุ เพราะผลออกมาปกติทุกอย่าง คุณหมอระบบประสาทและสมองยังไม่ยุติการ หาสาเหตุ จึงส่งตนไปเจาะไขสันหลัง เพื่อเช็กระดับแรงดันน้ำ ผลปรากฏว่าปกติ ผลตรวจเลือดก็ ไม่พบว่าภูมิบกพร่องแต่อย่างใด ซึ่งหมอวินิจฉัยโรคว่า
“Bilateral optic neuritis (จอประสาทตาอักเสบ) หลังได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า”
นางสาว
รัชนี เล่าว่า จากนั้นตนเองเข้ารับการรักษาโดยให้สเตียรอยด์ เข้าเส้นเลือดดำเพื่อบรรเทาอาการปวดเบ้าตาวันละ 1 ขวด เป็นเวลา 3 วัน เท่ากับรับยาเฉลี่ยวันละ 50 เม็ดต่อวัน อาการปวดมันหายไปแต่การมองเห็นยังคงมืด มันกระทบไปหมด งานก็ต้องชะงักทุกโปรเจ็กต์
หลังจากออกจากโรงพยาบาล ยังต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง รวม ๆ แล้วปาเข้าไป 400 กว่าเม็ดที่ร่างกายรับสเตียรอยด์ภายในระยะเวลาไม่ถึงเดือน เอฟเฟกต์จากสเตียรอยด์ ทำให้ตัวบวม หน้าบวม แขนขาเริ่มอ่อนแรง เพราะกินยาที่มากเกิน ยังทำให้การรับรสหายไปด้วย
ทีแรกตามืดสนิททั้ง 2 ข้าง ก่อนที่ตาข้างขวาจะกลับมามองเห็นได้ปกติ ภาพที่เห็นยังซีด ๆ แต่ตาข้างซ้ายยังคงมืดเนื่องจากอาการกำเริบ สาเหตุมาจากคุณหมอหยุดยาเร็วเกินไป คุณหมอที่รักษาพูดแบบนั้น เพราะหมอคิดว่า อาการก่อนหน้านี้มันเริ่มดีขึ้น
ทุกวันนี้ตาข้างซ้ายมองไม่เห็นมืดสนิท ในขณะที่ตามองไม่เห็นตนต้องวิ่งเต้นยื่น สปสช. ด้วยตัวเองอยู่หลายช่องทาง ทั้งส่งอีเมล์ที่เขาแจ้งมา ส่งทางไลน์ที่ให้แอดไป ตนเป็นคนชอบรอ รอให้ทุกฝ่ายได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ แต่เจ้าหน้าที่หายเงียบไป และตอบกลับมาว่า อีเมล์ที่ส่งมาทางเราได้ปิดอีเมล์นั่นไปแล้ว
ตนจึงส่งเรื่องไปยัง สปสช.ใหม่ ก็เงียบอีกเหมือนเดิม เข้าเดือนที่ 2 ก็ยังเงียบ /วันที่ 26 ตุลาคม ตนเดินทางไปศูนย์ราชการ เพื่อยื่นเอกสารร้องเรียนกับหน่วยงาน สปสช. /ต่อมาวันที่ 31 พฤศจิยายน 2564 เงินเข้า 3 หมื่นบาทถ้วน นี่คือเงินเยียวยา ที่โอนมาบรรเทาอาการแพ้วัคซีน แต่ตนจ่ายค่ารักษาตัวเองไปรวม ๆ แล้ว เกือบ 7 หมื่นบาท นี่ยังไม่รวมค่ารักษาต่อเนื่อง ครั้งละ 1,500- 3,000 บาท
สปสช.มีเอกสารให้ตนยื่นอุทธรณ์ ภายใน 30 วัน ด้วยการให้ยื่นข้อโต้แย้งข้อเท็จจริงและ “ข้อกฎหมายที่ไม่เห็นด้วย” กับคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฯ ตนเป็นช่างภาพไม่ได้เป็นทนาย จะเอากฎหมายข้อไหนไปยื่นสู้เพื่อตัวเอง หรือต้องควักเงินเพื่อจ้างทนายมาสู้คดีให้ทันภายใน ระยะเวลา 30 วัน ซึ่งยังหาหนทางไม่เจอ
นางสาว
รัชนี ระบุว่า ต้องสูญเสียสิทธิ์กี่เรื่องกับการแพ้วัคซีนครั้งนี้ สูญเสียโอกาสในหน้าที่การงาน สูญเสียโอกาสในการมองเห็น สูญเสียโอกาสในการรับการรักษาฟรี แบบรัฐเต็มใจจ่ายค่ารักษาพยาบาล เพราะผลการคืนเงินค่ารักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาคืนมาเฉพาะ IPD แต่ส่วนต่างของ OPD ตนต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง หรือแม้แต่กระทั่งควักเงินสำรองจ่ายแทนประกันสุขภาพ ที่ทำไว้ตกปีละหมื่นแปดกว่าบาท ตนไม่ควรเสียเงินสักบาทด้วยซ้ำ
รัฐบาลกล่าวไว้ว่า แพ้วัคซีนรักษาฟรีทั้งเอกชนและรัฐบาล แต่สิทธิ์นั้นตนไม่ได้รับ แถมวงเงินค่า OPD ของตนก็เต็มด้วย การแพ้วัคซีนครั้งนี้ตนมองว่ามันไม่ยุติธรรม ไม่ใช่การเจ็บป่วยด้วยร่างกายหรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง แต่ตนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด แม้ว่าประกันจะเคลมคืนมาครึ่งหนึ่งของเงินที่จ่ายไปแล้วก็ตาม
นางสาว
รัชนี กล่าวว่า ตั้งแต่เกิดมาตนคือหนึ่งในผู้ที่ไม่เคยกินยาปฏิชีวนะเลย และไม่เคยเจ็บป่วย ไม่เคยปวดหัว ไม่เคยเป็นไข้ แต่คราวซวยของตนเองที่จะโทษอะไรดี โชคชะตาหรอ หลายคนอาจคิดในใจว่า เอาน่าอย่างน้อยก็ยังมีชีวิต มันต้องไม่เกิดขึ้นกับใครเลยต่างหาก เงินเยียวยารักษาดวงตาให้กลับมามองเห็นได้หรือไม่ แล้วจะต้องใช้ชีวิตอย่างไรต่อไปบนเส้นทางอาชีพช่างภาพ
JJNY : บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจ่อขึ้น‘ราคา‘│SME ไทยขาดดุล1.2 แสนล.│ช่างภาพสาว ฉีดแอสตร้าแพ้จนตาซ้ายบอด│‘เพื่อไทย’ ลุยภาคใต้
https://www.nationtv.tv/news/378856483
ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยื่นเรื่องขอปรับราคากระทรวงพาณิชย์ หลังต้นทุนพุ่งทั้งแป้งข้าวสาลี น้ำมันปาล์ม ร้องรัฐอย่างขึ้นภาษีความเค็มและขึ้นภาษีเอดีฟิลม์
รายงานจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า ขณะนี้มีผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคหลายราย ได้ยื่นเรื่องขอปรับขึ้นราคาสินค้าเข้ามายังกรมการค้าภายในอย่างต่อเนื่อง ตามต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีสินค้าที่น่าจับตา เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนแป้งข้าวสาลีและน้ำมันปาล์ม ที่ปรับตัวสูงขึ้น และสูงขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2564 จนถึงปัจจุบัน ทำให้มีความกังวลว่าผู้ผลิต อาจจำเป็นต้องปรับราคาเพิ่มขึ้น หากแบกรับภาระต้นทุนไม่ได้
ทั้งนี้ ต้นทุนแป้งข้าวสาลีเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 โดยราคาข้าวสาลีตลาดโลก ช่วงเดือนม.ค.2563 อยู่ที่เฉลี่ย 550 ดอลลลาร์ต่อตัน พอมาม.ค.2564 เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 660 ดอลลาร์ต่อตัน และล่าสุดเดือนธ.ค.2564 ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 770 ดอลลาร์ต่อตัน ขณะที่ต้นทุนน้ำมันปาล์ม เมื่อช่วงต้นปีเฉลี่ยอยู่ที่ 35-40 บาทต่อลิตร แต่ปัจจุบันเฉลี่ย 50-55 บาทต่อลิตร
นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มที่ผู้ผลิตจะได้รับผลกระทบด้านต้นทุนจากมาตรการของรัฐคือ การปรับขึ้นภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) สินค้าฟิล์มบีโอพีพี ที่เป็นต้นทุนหีบห่อ ซึ่งล่าสุดกรมการค้าต่างประเทศได้แจ้งถึงกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ว่าได้มีผลการพิจารณาการไต่สวนชั้นที่สุดการเรียกเก็บเอดีสินค้าฟิล์มบีโอพีพี ที่มีแหล่งกำเนิดจากจีน อินโดนีเซีย และมาเลเซียแล้ว ซึ่งหากมีการเรียกเก็บเอดี ก็จะกระทบต่อต้นทุนการผลิตสูงถึงซองละ 50 สตางค์ เพราะต้นทุนหีบห่ออยู่ที่ประมาณ 10%
ขณะเดียวกัน มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีความเค็ม ที่ขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาการเก็บภาษีสรรพสามิตความเค็มตามปริมาณโซเดียม ซึ่งหากออกมา ก็จะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดกรมการค้าภายใน ได้ขอความร่วมมือให้ตรึงราคาไปก่อน แต่ภาครัฐต้องหาทางช่วยลดต้นทุนในส่วนที่ภาครัฐดูแลอยู่ เช่น การไม่ขึ้นภาษีเอดีฟิล์มบีโอพีพี ซึ่งเป็นต้นทุนหีบห่อที่สำคัญ เพราะส่วนนี้ผู้ผลิตไม่สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ รวมถึงภาษีความเค็ม ที่รัฐกำลังพิจารณา ต้องดูให้เหมาะสม เพราะเป็นส่วนที่ผู้ผลิต บริหารจัดการต้นทุนไม่ได้เช่นเดียวกัน
นำเข้ามากกว่าส่งออกซัด SME ไทยขาดดุลการค้า 1.2 แสนล้านบาท
https://www.thansettakij.com/business/506578
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยชี้ พิษโควิดซัดเศรษฐไทย ทำ SME ไทยขาดดุลการค้า 1.2 แสนล้านบาท เหตุนำเข้ามากกว่าส่งออก แนะเดินตามโมเดล internal circulation ของจีน ฟื้นความเข้มแข็งภายในประเทศลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ สร้างแต้มต่อให้กับSME
นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธาน สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยผ่าน Go Thailand เปิดเมือง เปิดประเทศ เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหน ว่า ในมุมมองของ SME เครื่องยนต์ที่จะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจแม้ว่าจะมีนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ดีแต่อาจยังไม่ได้ผลตามความคาดหวัง ซึ่งในปัจจุบันนี้มีเครื่องยนต์ที่จะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ประเทศจีน ซึ่งได้ทำโมเดลทางเศรษฐกิจใหม่ ที่เรียกว่า “ Dual circulation” ซึ่งเน้นในเรื่อง Internal circulation เป็นการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศ
เพิ่มอุปสงค์และเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชนในประเทศผ่าน 3 เรื่องหลักคือ 1 กำลังซื้อ 2 ลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และ3 เรื่องของสิ่งแวดล้อมหรือESG โดยลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตของต่างประเทศควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้บริษัทหรืออุตสาหกรรมในประเทศจีนพึ่งพาปัจจัยการผลิตในประเทศให้มากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็รักษาสัดส่วนการส่งออกของประเทศจีนไว้ รวมถึงเรื่องของการเคลื่อนย้ายทุนที่เปิดเสรีมากขึ้นในประเทศจีน
แต่ในบริบทของประเทศไทยที่ผ่านมาได้มุ่งเน้นเรื่องของ BCG economy เรื่องของ S-curve industry และ creativity service industry ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีรูปแบบการเติบโตที่โฟกัสในเรื่องของเทคโนโลยีและ creativity เพื่อนำพาประเทศไทยไปสู่ความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน โดยเฉพาะการที่จะส่งเสริมเรื่องของการค้าชายแดนให้มากขึ้น
แต่โจทย์สำคัญที่จะเดินหน้าตามนโยบาย BCG economy คือจะเปลี่ยนผ่าน SME ไปสู่ยุค digital ได้อย่างไรในเมื่อ ปัจุบันSME จำนวนมากยังติดอยู่ในยุค 1.0 สังคมเกษตรกรรมหรือ SMEs ที่ยังไม่ได้ใช้เครื่องจักรใชการทำงานยังมีอยู่ ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิงในการผลักดัน SME ให้ก้าวผ่านยุค1.0 และก้าวสู่ยุคดิจิทัล ได้แก่ องค์ความรู้ หรือทุนมนุษย์ ซึ่งกลไกพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าและการบริการเป็นสิ่งที่ SME ต้องการอย่างยิ่ง
ควบคู่ไปกับแหล่งทุน เช่นกองทุนนวัตกรรมกองทุนพัฒนาSME กองทุนฟื้นฟู NPL และDigital Factoring นอกจากนี้ยังต้องมีการปฏิรูประบบราชการกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต้นทุนธุรกิจส่วนเกินเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างแต้มต่อให้กับSME
“นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องคิดมาตราการเสริมความเข้มแข็ง และทำให้SME หรือแม้แต่ธุรกิจรายใหญ่สามารถลดการนำเข้าและพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศเหมือนโมเดลเศรษฐกิจของจีน ในเรื่องของการทำ internal circulation เพื่อให้เงินหมุนเวียนอยู่ในไลน์ SME หรืในไลน์ธุรกิจขนาดใหญ่มากที่สุด ในขณะเดียวกันฝั่งภาคการส่งออกของไทยก็ต้องเพิ่มขีดความสามารถและลดการนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะปีนี้อาจเป็นปีแรกในรอบหลายปีที่ประเทศไทยจะมีการนำเข้ามากกว่าการส่งออกในขณะที่ SME เองขาดดุลการค้าถึง 1.2 แสนล้าน
และสุดท้ายเรื่องที่ต้องทำคือการตลาดโลก ด้วยการพัฒนาแบรนดิ้ง ,พัฒนาการการค้า โอกาสในการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นรายเล็กรายใหญ่สามารถเติบโตไปในเวทีโลกได้ นี่คือภาพที่เราต้องการทำให้เกิดและพร้อมที่จะสนับสนุนภาครัฐในการผลักดันเรื่องนี้อย่างเต็มที่”
ช่างภาพสาว ฉีดแอสตร้าเข็มแรก แพ้จนตาข้างซ้ายบอดสนิท
https://ch3plus.com/news/category/269812
วันที่ 12 ธ.ค.2564 นางสาวรัชนี มณีวงษ์ อายุ 37 ปี ช่างภาพบริษัทแห่งหนึ่ง ได้โพสต์ภาพขณะตัวเองนอนรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลจากอาการแพ้วัคซีน พร้อมระบุข้อความว่า “ช่างภาพที่ต้องว่าความเพื่อตัวเอง จะเอากฎหมายข้อไหนยื่นสู้ สปสช. เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง ยังคงเป็นคนที่โชคดีที่สุด ที่ไม่แพ้วัคซีนจนหมดลมหายใจไปเสียก่อน แต่ก็เป็นคนที่โชคร้ายที่สุดเช่นเดียวกัน เพราะหมอบอกว่าเป็น 1 ใน 20 ล้านคนที่แพ้วัคซีน แล้วส่งผลกระทบไปยังดวงตา ทำให้ฉันกลายเป็นช่างภาพ / Editor ที่มองไม่เห็น”
นางสาวรัชนี เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้เข้ารับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่ 1 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ผ่านไปจนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2564 ตรงกับวันเกิดของเธอ วันนั้นอาการปวดเบ้าตามันเริ่มส่งผลทำให้สายตาพร่ามัวการมองเห็นซีดลง/จนเข้าสู่วันที่ 9 กันยายน 2564 เริ่มทนกับอาการปวดเบ้าตาไม่ไหว จึงเข้ารับการรักษากับคุณหมอตา (จักษุแพทย์) ท่านหนึ่ง แต่ดูเหมือนหมอตาจะช่วยอะไรไม่ได้ นอกจากส่งไปพบกับหมอระบบประสาทและสมอง
ตนเองถูกส่งต่อให้กับหมอระบบประสาทและสมอง โดยไม่รู้ว่าผลจะออกมาว่าตนแพ้วัคซีนขั้นรุนแรง เนื่องจากคุณหมอได้ทำการวินิจฉัยหาสาเหตุอื่น ๆ เพื่อมาประกอบว่าตนแพ้วัคซีน หรือไม่ เริ่มจากการ MRI สแกนสมอง เพื่อเช็กว่ามีเนื้องอกในสมอง หรือมีอะไรไปอุดตันเส้นเลือดดำ ที่อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ขั้วประสาทตาบวม
สรุปไม่พบสาเหตุ เพราะผลออกมาปกติทุกอย่าง คุณหมอระบบประสาทและสมองยังไม่ยุติการ หาสาเหตุ จึงส่งตนไปเจาะไขสันหลัง เพื่อเช็กระดับแรงดันน้ำ ผลปรากฏว่าปกติ ผลตรวจเลือดก็ ไม่พบว่าภูมิบกพร่องแต่อย่างใด ซึ่งหมอวินิจฉัยโรคว่า “Bilateral optic neuritis (จอประสาทตาอักเสบ) หลังได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า”
นางสาวรัชนี เล่าว่า จากนั้นตนเองเข้ารับการรักษาโดยให้สเตียรอยด์ เข้าเส้นเลือดดำเพื่อบรรเทาอาการปวดเบ้าตาวันละ 1 ขวด เป็นเวลา 3 วัน เท่ากับรับยาเฉลี่ยวันละ 50 เม็ดต่อวัน อาการปวดมันหายไปแต่การมองเห็นยังคงมืด มันกระทบไปหมด งานก็ต้องชะงักทุกโปรเจ็กต์
หลังจากออกจากโรงพยาบาล ยังต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง รวม ๆ แล้วปาเข้าไป 400 กว่าเม็ดที่ร่างกายรับสเตียรอยด์ภายในระยะเวลาไม่ถึงเดือน เอฟเฟกต์จากสเตียรอยด์ ทำให้ตัวบวม หน้าบวม แขนขาเริ่มอ่อนแรง เพราะกินยาที่มากเกิน ยังทำให้การรับรสหายไปด้วย
ทีแรกตามืดสนิททั้ง 2 ข้าง ก่อนที่ตาข้างขวาจะกลับมามองเห็นได้ปกติ ภาพที่เห็นยังซีด ๆ แต่ตาข้างซ้ายยังคงมืดเนื่องจากอาการกำเริบ สาเหตุมาจากคุณหมอหยุดยาเร็วเกินไป คุณหมอที่รักษาพูดแบบนั้น เพราะหมอคิดว่า อาการก่อนหน้านี้มันเริ่มดีขึ้น
ทุกวันนี้ตาข้างซ้ายมองไม่เห็นมืดสนิท ในขณะที่ตามองไม่เห็นตนต้องวิ่งเต้นยื่น สปสช. ด้วยตัวเองอยู่หลายช่องทาง ทั้งส่งอีเมล์ที่เขาแจ้งมา ส่งทางไลน์ที่ให้แอดไป ตนเป็นคนชอบรอ รอให้ทุกฝ่ายได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ แต่เจ้าหน้าที่หายเงียบไป และตอบกลับมาว่า อีเมล์ที่ส่งมาทางเราได้ปิดอีเมล์นั่นไปแล้ว
ตนจึงส่งเรื่องไปยัง สปสช.ใหม่ ก็เงียบอีกเหมือนเดิม เข้าเดือนที่ 2 ก็ยังเงียบ /วันที่ 26 ตุลาคม ตนเดินทางไปศูนย์ราชการ เพื่อยื่นเอกสารร้องเรียนกับหน่วยงาน สปสช. /ต่อมาวันที่ 31 พฤศจิยายน 2564 เงินเข้า 3 หมื่นบาทถ้วน นี่คือเงินเยียวยา ที่โอนมาบรรเทาอาการแพ้วัคซีน แต่ตนจ่ายค่ารักษาตัวเองไปรวม ๆ แล้ว เกือบ 7 หมื่นบาท นี่ยังไม่รวมค่ารักษาต่อเนื่อง ครั้งละ 1,500- 3,000 บาท
สปสช.มีเอกสารให้ตนยื่นอุทธรณ์ ภายใน 30 วัน ด้วยการให้ยื่นข้อโต้แย้งข้อเท็จจริงและ “ข้อกฎหมายที่ไม่เห็นด้วย” กับคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฯ ตนเป็นช่างภาพไม่ได้เป็นทนาย จะเอากฎหมายข้อไหนไปยื่นสู้เพื่อตัวเอง หรือต้องควักเงินเพื่อจ้างทนายมาสู้คดีให้ทันภายใน ระยะเวลา 30 วัน ซึ่งยังหาหนทางไม่เจอ
นางสาวรัชนี ระบุว่า ต้องสูญเสียสิทธิ์กี่เรื่องกับการแพ้วัคซีนครั้งนี้ สูญเสียโอกาสในหน้าที่การงาน สูญเสียโอกาสในการมองเห็น สูญเสียโอกาสในการรับการรักษาฟรี แบบรัฐเต็มใจจ่ายค่ารักษาพยาบาล เพราะผลการคืนเงินค่ารักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาคืนมาเฉพาะ IPD แต่ส่วนต่างของ OPD ตนต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง หรือแม้แต่กระทั่งควักเงินสำรองจ่ายแทนประกันสุขภาพ ที่ทำไว้ตกปีละหมื่นแปดกว่าบาท ตนไม่ควรเสียเงินสักบาทด้วยซ้ำ
รัฐบาลกล่าวไว้ว่า แพ้วัคซีนรักษาฟรีทั้งเอกชนและรัฐบาล แต่สิทธิ์นั้นตนไม่ได้รับ แถมวงเงินค่า OPD ของตนก็เต็มด้วย การแพ้วัคซีนครั้งนี้ตนมองว่ามันไม่ยุติธรรม ไม่ใช่การเจ็บป่วยด้วยร่างกายหรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง แต่ตนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด แม้ว่าประกันจะเคลมคืนมาครึ่งหนึ่งของเงินที่จ่ายไปแล้วก็ตาม
นางสาวรัชนี กล่าวว่า ตั้งแต่เกิดมาตนคือหนึ่งในผู้ที่ไม่เคยกินยาปฏิชีวนะเลย และไม่เคยเจ็บป่วย ไม่เคยปวดหัว ไม่เคยเป็นไข้ แต่คราวซวยของตนเองที่จะโทษอะไรดี โชคชะตาหรอ หลายคนอาจคิดในใจว่า เอาน่าอย่างน้อยก็ยังมีชีวิต มันต้องไม่เกิดขึ้นกับใครเลยต่างหาก เงินเยียวยารักษาดวงตาให้กลับมามองเห็นได้หรือไม่ แล้วจะต้องใช้ชีวิตอย่างไรต่อไปบนเส้นทางอาชีพช่างภาพ