รร.เล็กโอดเข้าไม่ถึงเงิน "เราเที่ยวด้วยกัน" ฟากยอด "ทัวร์เที่ยวไทย" อืดจัด
https://www.bangkokbiznews.com/business/970883
โรงแรมเล็กโอดเข้าไม่ถึงเม็ดเงิน “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3” เสนอรัฐปรับเพิ่มสัดส่วนช่วยจ่ายจาก 40% เป็น 70% อุ้มเอสเอ็มอี ฟากยอดใช้สิทธิ “ทัวร์เที่ยวไทย” อืดจัด มีแค่ 3 พันกว่าสิทธิ จากรัฐให้ 1 ล้านสิทธิ “ททท.” เล็งนำวงเงินคงเหลือช่วยผู้ประกอบการต่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นาง
วาสนา ศรีกาญจนา นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวหัวหิน/ชะอำ กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลเปิดดำเนินโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3” ให้เริ่มใช้สิทธิจองที่พักตั้งแต่วันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา และเดินทางเข้าพักจริงได้ตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. พบว่าโรงแรมส่วนใหญ่ที่ได้ประโยชน์จะเป็นกลุ่ม 4-5 ดาว โดยในพื้นที่หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดหมายยอดนิยมหลังคลายล็อกดาวน์การเดินทางภายในประเทศ มีนักท่องเที่ยวไทยนิยมไปกินนอนในโรงแรมหรู เพราะสามารถเข้าถึงในราคาไม่แพง ทำให้ช่วงสุดสัปดาห์โรงแรมกลุ่ม 4-5 ดาวมีอัตราการเข้าพักสูงถึง 80-90% ขณะที่วันธรรมดามีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 20-30%
แต่ที่น่าเป็นห่วงและเดือดร้อนอย่างมากคือโรงแรมขนาดเล็กของกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่สายป่านขาดไปนานแล้วจากวิกฤติโควิด-19 และยังไม่ค่อยได้รับอานิสงส์จากโครงการนี้ โดยในพื้นที่หัวหินมีโรงแรมของกลุ่มเอสเอ็มอีคิดเป็น 60% ของจำนวนโรงแรมในหัวหินทั้งหมดกว่า 200 แห่ง ในช่วงสุดสัปดาห์มีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 40-50% ขณะที่วันธรรมดามีอัตราเข้าพัก 3-10% เท่านั้น
“เราจึงต้องการเสนอให้ภาครัฐปรับโมเดลการสนับสนุนช่วยจ่ายค่าห้องพักโรงแรมเล็กประเภทที่ 1 (มีเฉพาะห้องพักอย่างเดียว) และประเภทที่ 2 (มีเฉพาะห้องพักและห้องอาหาร) จากปัจจุบันรัฐช่วยจ่าย 40% สำหรับโรงแรมทุกประเภท ปรับเพิ่มเป็นรัฐช่วยจ่าย 70% เฉพาะโรงแรมเล็กประเภทที่ 1 และ 2 เพื่อดึงคนฐานรากมาใช้บริการโรงแรมเล็กมากขึ้น”
นอกจากนี้ยังต้องการให้ภาครัฐปลดล็อกระยะเวลาการจองห้องพักล่วงหน้าของโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 ด้วย จาก 7 วันล่วงหน้า เหลือ 3 วันล่วงหน้า เพื่อเพิ่มยอดการจองห้องพักให้สอดรับกับพฤติกรรมการจองแบบกระชั้นชิด (Last Minute) ของนักท่องเที่ยวไทย พร้อมพิจารณาต่อระยะเวลาโครงการเราเที่ยวด้วยกัน จากเดิมเฟส 3 จะสิ้นสุดวันที่ 31 ม.ค.2565 ให้ขยายต่ออีก 4-6 เดือนเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว
นาย
กรัณย์ สุทธารมณ์ รักษาการประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า เห็นด้วยกับการร่นระยะเวลาจองห้องพักล่วงหน้าโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 จาก 7 วันล่วงหน้า ให้เหลือ 3 วัน เนื่องจากนักท่องเที่ยวไทยนิยมวางแผนการท่องเที่ยวระยะสั้น ประกอบกับระบบการตรวจสอบของโครงการฯน่าจะแม่นยำขึ้นแล้ว
นางสาว
ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ตามที่ผู้ประกอบการเสนอให้ขยายระยะเวลาโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ต้องพิจารณาว่างบประมาณของโครงการฯเหลือมากน้อยแค่ไหน จำนวนสิทธิคงเหลือเท่าไร โดยจะต้องพิจารณาโครงการ “ทัวร์เที่ยวไทย” กรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาทควบคู่ด้วยว่ามีงบฯเหลือเท่าไร หากวงเงินโครงการทัวร์เที่ยวไทยเหลือ ก็จะพิจารณาว่าจะนำมาช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยวต่ออย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
“โครงการเราเที่ยวด้วยกันได้รับความนิยมจากประชาชน เพราะคนไทยชอบเดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเอง แต่พอเป็นโครงการทัวร์เที่ยวไทย พบว่าพฤติกรรมท่องเที่ยวของคนไทยไม่นิยมเที่ยวกับบริษัททัวร์ เพราะคนไทยรู้อยู่แล้วว่าจะต้องเดินทางไปที่ไหนอย่างไร”
ทั้งนี้โครงการทัวร์เที่ยวไทยซึ่งรัฐสนับสนุนค่าแพ็คเกจท่องเที่ยว 40% สูงสุดไม่เกิน 5,000 บาทต่อสิทธิ กำหนด 1 สิทธิต่อ 1 คนเท่านั้น จำนวน 1 ล้านสิทธิ จากข้อมูลบนเว็บไซต์ ทัวร์เที่ยวไทย.ไทย วานนี้ (9 พ.ย.) ระบุว่ามีจำนวนสิทธิคงเหลือมากถึง 996,552 สิทธิ ถูกใช้ไปเพียง 3,448 สิทธิ
ปลดล็อก LTV ไร้ผล ยอดรีเจ็กต์พุ่ง 70% วอนรัฐยืดลดภาษีโอน
https://www.thansettakij.com/property/502736
นายกสมาคมอสังหาฯ หวั่นตลาดที่อยู่อาศัยไม่ฟื้น-สต๊อกบวม ซ้ำเติมหน่วยรอขายค้างท่อ 2 แสนล้าน เหตุสถาบันการเงินเข้ม ดันยอดปฎิเสธสินเชื่อยังพุ่ง บางจังหวัดแตะ 70% แม้ ธปท.ผ่อนปรนมาตรการ LTV โร่ทำหนังสือขอรัฐยืดอายุ มาตรการลดภาษีการโอนฯ 0.01% ออกไปก่อน หลังหมดอายุ 31 ธ.ค.
10 พ.ย.2564 - นาย
พรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวถึง กรณีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปลดล็อก LTV เพื่อผ่อนคลายมาตรการด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็น 100% ในทุกระดับราคา ครอบคลุมสัญญาทุกหลัง โดยให้มีผลจนถึงสิ้นปี 2565 ว่า คาดจะมีผลเชิงบวกต่อตลาดที่อยู่อาศัยไทย ในแง่ช่วยเพิ่มกำลังซื้อที่หายไป ให้กลับเข้ามาในตลาดอีกครั้ง
แต่ทั้งนี้ พบผู้บริโภคบางส่วน ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การปลดล็อก LTV นั้น ทำให้การซื้อบ้านไม่ต้องวางเงินดาวน์ แท้จริงอาจมีผลเฉพาะโครงการที่สร้างเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ของบางดีเวลลอปเปอร์เท่านั้น แต่บ้านที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง โครงการส่วนใหญ่ กำหนดเงื่อนไข ผู้ซื้อยังมีความจำเป็นต้องมีเงินดาวน์ตามสัดส่วน
ยอดปฎิเสธสินเชื่อบ้าน บางตลาดพุ่ง 70%
อย่างไรก็ตาม แม้เบื้องต้น ธปท.ได้ผ่อนปรนให้ภาคธนาคาร - สถาบันการเงิน ปล่อยวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้เต็มอัตรา 100% ของมูลค่า แต่เปรียบเป็นเพียง เปิดทางเข้าใหญ่ให้กับปัญหาเท่านั้น เนื่องจากปลายทางยังตัน พบยอดปฎิเสธสินเชื่อ (รีเจ็กต์) อยู่ในอัตราสูงมาก เทียบก่อนหน้าโควิด บ้านระดับราคามากกว่า 10 ล้านบาท มียอดปฎิเสธไม่เกิน 3-5% ส่วนภาพรวมเฉลี่ยอยู่ที่ 30%
แต่ขณะนี้ ตลาดใหญ่ กลุ่มราคา 2-3 ล้านบาท มียอดปฎิเสธสินเชื่อสูงถึง 50-60% ขณะบางจังหวัดแตะที่ระดับ 70% แล้ว เปรียบขายออกไป 10 หน่วย รับคืนถึง 7 หน่วย ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อย เผชิญปัญหาด้านสภาพคล่อง
“ผู้ประกอบการอยู่ในภาวะยากลำบาก โดยเฉพาะกลุ่มที่พัฒนาคอนโดฯเป็นพอร์ตหลัก เนื่องจากการพัฒนาโครงการ ผู้ประกอบการอาศัยสินเชื่อ-การกู้เงิน จากธนาคาร ตั้งแต่แรกเริ่ม หาซื้อที่ดินไปจนถึงการจัดอีเว้นท์ขาย ค่าใช้จ่ายพนักงาน และ อื่นๆ แต่เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ ลูกค้าไม่สามารถโอนฯได้ ทำให้ขาดรายได้ที่ควรจะได้รับตามกำหนดเวลา และปัญหานี้ เริ่มลุกลามไปยังตลาดบ้านในบางทำเลแล้ว พบมีภาวะโอเวอร์ซัพพลาย เพราะสถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ รีเจ็กต์ขยับสูงขึ้น”
จับตาผลประกอบการธุรกิจอสังหาฯ
นาย
พรนริศ ยังกล่าวว่า จากปัญหาข้างต้น อาจสวนทางกับภาพรวมด้านรายได้ของผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจากข้อมูล 36 บริษัท พบทิศทางรายได้ยังเป็นบวก ทั้งในปี 2563 และปี 2564 คาดเป็นผล มาจากการโอนฯหน่วยค้างเก่าที่ขายไปจำนวนมากช่วงปี 2561- 2562 แต่ต้องจับตาช่วงหลังจากนี้
เนื่องจากพบกลุ่มลูกค้าที่เคยผ่านการขออนุมัติสินเชื่อล่วงหน้า (Pre Approve) ช่วงโควิดหลายราย ประวัติการเงินเปลี่ยนไป และส่งผลให้สถาบันการเงินปฎิเสธสินเชื่อภายหลัง โดยเฉพาะกลุ่มผู้พัฒนาฯ ที่เริ่มไปจับตลาดโครงการที่อยู่อาศัยราคาถูก เช่น คอนโดต่ำล้าน ว่าช่วง 1-2 ปี ข้างหน้า สถาบันการเงินจะจับมือกันช่วยปล่อยสินเชื่อ หรือ ปฎิเสธสินเชื่อให้ผู้ซื้อ
นอกจากนี้ ปัญหาสถาบันการเงินเข้มงวดสินเชื่อ ซึ่งสวนทางกับนโยบาย ธปท. นั้น อาจส่งผลต่อปัญหาโอเวอร์ซัพพลายในอนาคตด้วย เนื่องจากพบขณะนี้ ผู้ประกอบการเริ่มกลับมาเดินเครื่อง เปิดโครงการใหม่ โดยพบมีอีกกว่า 150 โครงการ รอเปิดขาย ซึ่งแม้ไม่เยอะเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด แต่กังวล จากมูลค่าหน่วยค้างรอขายซึ่งรออยู่ในตลาดอีก 2 แสนล้านบาท หากยังไม่ถูกดูดซับออกไปได้มาก การเติมซัพพลายเข้ามาใหม่ อาจทำให้มีปัญหาได้เนื่องจากเจาะอัตราการขายในช่วง 7 เดือน (ม.ค. - ก.ค.) ภาพรวมยังไม่สูง
โร่ทำหนังสือขอรัฐยืดมาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนฯ
ทั้งนี้ ล่าสุดสมาคมฯ ได้ทำหนังสือไปยัง ธปท. เพื่อชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้น และเรียกร้องไปยังรัฐบาล เพื่อขอให้กระทรวงมหาดไทย พิจารณาขยาย มาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอน และจดทะเบียนจำนอง 0.01% ในกลุ่มบ้านราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 31 ธ.ค. นี้ ออกไปก่อน เนื่องจากสามารถกระตุ้นตลาดได้ดี ในแง่ขายดี - โอนเร็ว แต่ได้เสนอให้รัฐพิจารณา เพดานของที่อยู่อาศัยที่จะได้รับประโยชน์ให้กว้างขึ้น ซึ่งหากไม่สามารถทำให้ได้ครอบคลุมทุกระดับราคา แต่ขอให้เปิดเพดานลดหย่อนสำหรับ 3 ล้านบาทแรกก็ยังดี ส่วนที่เหลือจัดเก็บตามเพดานอย่างเหมาะสม คาดจะช่วยให้ตลาดอสังหาฯฟื้นตัวเร็วขึ้น และมีผลขับเคลื่อนจีดีพีของไทยอีกด้วย
โดยคาดกระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทยอาจต้องพิจารณาร่วมกัน เนื่องจาก เข้าใจว่างบประมาณส่วนนี้ที่ขาดหายไป จะกระทบต่องบประมาณดูแลระดับท้องถิ่น จำเป็นต้องจัดสรรงบอื่นๆมาชดเชย ทำให้ยังติดขัดในการต่ออายุ
“ลดค่าธรรมเนียมโอน เปรียบเหมือน ยาพาราเซต ใช้ได้ดีกับทุกวิกฤติ ทำให้ขายดี โอนได้เร็ว แต่เพดาน ซึ่งกำหนดให้แค่กลุ่มต่ำกว่า 3 ล้าน ทำให้การกระตุ้นไม่ดีมากนัก เพราะตลาดส่วนใหญ่ราคา 3-5 ล้านบาท อยากให้รัฐพิจารณาขยายเพดานช่วยให้ตรงจุด”
สลดหนุ่มผูกคอตายคารถบรรทุกริมถนน คาดเกิดจากภาระหนี้สิน
https://www.nationtv.tv/news/378851660
สลด พบหนุ่มผูกคอตายคารถบรรทุก ริมถนน 304 โคราช-กบินทร์บุรี คาดเกิดจากภาระหนี้สินญาติได้เดินทางมาติดต่อขอรับศพไปบำเพ็ญกุศลต่อที่จังหวัดขอนแก่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
10 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 07.30 เจ้าหน้าที่ฮุก31 นครราชสีมา จุดปักธงชัย ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่าพบศพคนผูกคอตายริมถนน 304 บริเวณจุดกลับรถบ้านเก่าสะแกราช ต.สะแกราช อ.ปักธงชัย ขามุ่งหน้ากบินทร์บุรี อ.ปักธงชัย ในที่เกิดเหตุพบรถพ่วง ISUZU FXZ 360 สีขาว ทะเบียน 71-6123 ซึ่งบรรทุกข้าวเปลือกมาเต็มคันรถ โดยอีกฝั่งพบศพชายผูกคอตายบริเวณประตูด้านฝั่งตรงข้ามคนขับโดยผูกเชือกเข้ากับราวเหล็กบริเวณหลังคารถ ทราบชื่อภายหลังว่า ชื่อนาย
กิตติกรณ์ มะลิเลิศ อายุ 37 ปี บ้านเลขที่ 23 ม.9 ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กู้ภัยฮุก31ได้นำส่งศพไปชันสูตรที่ รพ.ปักธงชัย
ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ปักธงชัยได้สำรวจที่เกิดเหตุพร้อมกับชันสูตรศพในเบื้องต้นแล้วพบไม่พบร่องรอยการทำร้ายร่างการจากบุคคลอื่น ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ลงความเห็นว่าสาเหตุการตายเกิดมาจากการขาดอากาศหายใจเนื่องจากการผูกคอตาย
โดยทางญาติของผู้ตายได้เล่าให้ฟังว่า ในช่วง 2-3 อาทิตย์ก่อนวันเกิดเหตุนั้นผู้ตายมีอาการเครียด และเก็บตัวไม่พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานสาเหตุมาจากภาระหนี้สิน โดยในวันเกิดเหตุนั้นผู้ตายได้มีคิวขับรถบรรทุกข้าวเปลือกเพื่อไปส่งที่จังหวัดฉะเชิงเทราพร้อมกับเพื่อนอีก 2 คัน พอไปถึงบริเวณที่เกิดเหตุผู้ตายได้บอกกับเพื่อนว่าตนเองนั้นง่วงขับรถไปต่อไม่ไหวเลยจะขอจอดรถเพื่อนอนพักและบอกกับเพื่อนร่วมงานให้เดินทางไปล่วงหน้าไปก่อน ก่อนที่จะมาพบภายหลังว่าได้ผูกคอตายไปแล้ว ซึ่งขณะนี้ทางญาติได้เดินทางมาติดต่อขอรับศพไปบำเพ็ญกุศลต่อที่จังหวัดขอนแก่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
JJNY : ยอด "ทัวร์เที่ยวไทย" อืดจัด│ปลดล็อก LTV ไร้ผล│หนุ่มผูกคอตายคารถบรรทุกริมถนน คาดเกิดจากหนี้สิน│โควิดลาวลามไม่หยุด
https://www.bangkokbiznews.com/business/970883
โรงแรมเล็กโอดเข้าไม่ถึงเม็ดเงิน “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3” เสนอรัฐปรับเพิ่มสัดส่วนช่วยจ่ายจาก 40% เป็น 70% อุ้มเอสเอ็มอี ฟากยอดใช้สิทธิ “ทัวร์เที่ยวไทย” อืดจัด มีแค่ 3 พันกว่าสิทธิ จากรัฐให้ 1 ล้านสิทธิ “ททท.” เล็งนำวงเงินคงเหลือช่วยผู้ประกอบการต่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นางวาสนา ศรีกาญจนา นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวหัวหิน/ชะอำ กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลเปิดดำเนินโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3” ให้เริ่มใช้สิทธิจองที่พักตั้งแต่วันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา และเดินทางเข้าพักจริงได้ตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. พบว่าโรงแรมส่วนใหญ่ที่ได้ประโยชน์จะเป็นกลุ่ม 4-5 ดาว โดยในพื้นที่หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดหมายยอดนิยมหลังคลายล็อกดาวน์การเดินทางภายในประเทศ มีนักท่องเที่ยวไทยนิยมไปกินนอนในโรงแรมหรู เพราะสามารถเข้าถึงในราคาไม่แพง ทำให้ช่วงสุดสัปดาห์โรงแรมกลุ่ม 4-5 ดาวมีอัตราการเข้าพักสูงถึง 80-90% ขณะที่วันธรรมดามีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 20-30%
แต่ที่น่าเป็นห่วงและเดือดร้อนอย่างมากคือโรงแรมขนาดเล็กของกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่สายป่านขาดไปนานแล้วจากวิกฤติโควิด-19 และยังไม่ค่อยได้รับอานิสงส์จากโครงการนี้ โดยในพื้นที่หัวหินมีโรงแรมของกลุ่มเอสเอ็มอีคิดเป็น 60% ของจำนวนโรงแรมในหัวหินทั้งหมดกว่า 200 แห่ง ในช่วงสุดสัปดาห์มีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 40-50% ขณะที่วันธรรมดามีอัตราเข้าพัก 3-10% เท่านั้น
“เราจึงต้องการเสนอให้ภาครัฐปรับโมเดลการสนับสนุนช่วยจ่ายค่าห้องพักโรงแรมเล็กประเภทที่ 1 (มีเฉพาะห้องพักอย่างเดียว) และประเภทที่ 2 (มีเฉพาะห้องพักและห้องอาหาร) จากปัจจุบันรัฐช่วยจ่าย 40% สำหรับโรงแรมทุกประเภท ปรับเพิ่มเป็นรัฐช่วยจ่าย 70% เฉพาะโรงแรมเล็กประเภทที่ 1 และ 2 เพื่อดึงคนฐานรากมาใช้บริการโรงแรมเล็กมากขึ้น”
นอกจากนี้ยังต้องการให้ภาครัฐปลดล็อกระยะเวลาการจองห้องพักล่วงหน้าของโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 ด้วย จาก 7 วันล่วงหน้า เหลือ 3 วันล่วงหน้า เพื่อเพิ่มยอดการจองห้องพักให้สอดรับกับพฤติกรรมการจองแบบกระชั้นชิด (Last Minute) ของนักท่องเที่ยวไทย พร้อมพิจารณาต่อระยะเวลาโครงการเราเที่ยวด้วยกัน จากเดิมเฟส 3 จะสิ้นสุดวันที่ 31 ม.ค.2565 ให้ขยายต่ออีก 4-6 เดือนเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว
นายกรัณย์ สุทธารมณ์ รักษาการประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า เห็นด้วยกับการร่นระยะเวลาจองห้องพักล่วงหน้าโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 จาก 7 วันล่วงหน้า ให้เหลือ 3 วัน เนื่องจากนักท่องเที่ยวไทยนิยมวางแผนการท่องเที่ยวระยะสั้น ประกอบกับระบบการตรวจสอบของโครงการฯน่าจะแม่นยำขึ้นแล้ว
นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ตามที่ผู้ประกอบการเสนอให้ขยายระยะเวลาโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ต้องพิจารณาว่างบประมาณของโครงการฯเหลือมากน้อยแค่ไหน จำนวนสิทธิคงเหลือเท่าไร โดยจะต้องพิจารณาโครงการ “ทัวร์เที่ยวไทย” กรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาทควบคู่ด้วยว่ามีงบฯเหลือเท่าไร หากวงเงินโครงการทัวร์เที่ยวไทยเหลือ ก็จะพิจารณาว่าจะนำมาช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยวต่ออย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
“โครงการเราเที่ยวด้วยกันได้รับความนิยมจากประชาชน เพราะคนไทยชอบเดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเอง แต่พอเป็นโครงการทัวร์เที่ยวไทย พบว่าพฤติกรรมท่องเที่ยวของคนไทยไม่นิยมเที่ยวกับบริษัททัวร์ เพราะคนไทยรู้อยู่แล้วว่าจะต้องเดินทางไปที่ไหนอย่างไร”
ทั้งนี้โครงการทัวร์เที่ยวไทยซึ่งรัฐสนับสนุนค่าแพ็คเกจท่องเที่ยว 40% สูงสุดไม่เกิน 5,000 บาทต่อสิทธิ กำหนด 1 สิทธิต่อ 1 คนเท่านั้น จำนวน 1 ล้านสิทธิ จากข้อมูลบนเว็บไซต์ ทัวร์เที่ยวไทย.ไทย วานนี้ (9 พ.ย.) ระบุว่ามีจำนวนสิทธิคงเหลือมากถึง 996,552 สิทธิ ถูกใช้ไปเพียง 3,448 สิทธิ
ปลดล็อก LTV ไร้ผล ยอดรีเจ็กต์พุ่ง 70% วอนรัฐยืดลดภาษีโอน
https://www.thansettakij.com/property/502736
นายกสมาคมอสังหาฯ หวั่นตลาดที่อยู่อาศัยไม่ฟื้น-สต๊อกบวม ซ้ำเติมหน่วยรอขายค้างท่อ 2 แสนล้าน เหตุสถาบันการเงินเข้ม ดันยอดปฎิเสธสินเชื่อยังพุ่ง บางจังหวัดแตะ 70% แม้ ธปท.ผ่อนปรนมาตรการ LTV โร่ทำหนังสือขอรัฐยืดอายุ มาตรการลดภาษีการโอนฯ 0.01% ออกไปก่อน หลังหมดอายุ 31 ธ.ค.
10 พ.ย.2564 - นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวถึง กรณีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปลดล็อก LTV เพื่อผ่อนคลายมาตรการด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็น 100% ในทุกระดับราคา ครอบคลุมสัญญาทุกหลัง โดยให้มีผลจนถึงสิ้นปี 2565 ว่า คาดจะมีผลเชิงบวกต่อตลาดที่อยู่อาศัยไทย ในแง่ช่วยเพิ่มกำลังซื้อที่หายไป ให้กลับเข้ามาในตลาดอีกครั้ง
แต่ทั้งนี้ พบผู้บริโภคบางส่วน ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การปลดล็อก LTV นั้น ทำให้การซื้อบ้านไม่ต้องวางเงินดาวน์ แท้จริงอาจมีผลเฉพาะโครงการที่สร้างเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ของบางดีเวลลอปเปอร์เท่านั้น แต่บ้านที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง โครงการส่วนใหญ่ กำหนดเงื่อนไข ผู้ซื้อยังมีความจำเป็นต้องมีเงินดาวน์ตามสัดส่วน
ยอดปฎิเสธสินเชื่อบ้าน บางตลาดพุ่ง 70%
อย่างไรก็ตาม แม้เบื้องต้น ธปท.ได้ผ่อนปรนให้ภาคธนาคาร - สถาบันการเงิน ปล่อยวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้เต็มอัตรา 100% ของมูลค่า แต่เปรียบเป็นเพียง เปิดทางเข้าใหญ่ให้กับปัญหาเท่านั้น เนื่องจากปลายทางยังตัน พบยอดปฎิเสธสินเชื่อ (รีเจ็กต์) อยู่ในอัตราสูงมาก เทียบก่อนหน้าโควิด บ้านระดับราคามากกว่า 10 ล้านบาท มียอดปฎิเสธไม่เกิน 3-5% ส่วนภาพรวมเฉลี่ยอยู่ที่ 30%
แต่ขณะนี้ ตลาดใหญ่ กลุ่มราคา 2-3 ล้านบาท มียอดปฎิเสธสินเชื่อสูงถึง 50-60% ขณะบางจังหวัดแตะที่ระดับ 70% แล้ว เปรียบขายออกไป 10 หน่วย รับคืนถึง 7 หน่วย ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อย เผชิญปัญหาด้านสภาพคล่อง
“ผู้ประกอบการอยู่ในภาวะยากลำบาก โดยเฉพาะกลุ่มที่พัฒนาคอนโดฯเป็นพอร์ตหลัก เนื่องจากการพัฒนาโครงการ ผู้ประกอบการอาศัยสินเชื่อ-การกู้เงิน จากธนาคาร ตั้งแต่แรกเริ่ม หาซื้อที่ดินไปจนถึงการจัดอีเว้นท์ขาย ค่าใช้จ่ายพนักงาน และ อื่นๆ แต่เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ ลูกค้าไม่สามารถโอนฯได้ ทำให้ขาดรายได้ที่ควรจะได้รับตามกำหนดเวลา และปัญหานี้ เริ่มลุกลามไปยังตลาดบ้านในบางทำเลแล้ว พบมีภาวะโอเวอร์ซัพพลาย เพราะสถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ รีเจ็กต์ขยับสูงขึ้น”
จับตาผลประกอบการธุรกิจอสังหาฯ
นายพรนริศ ยังกล่าวว่า จากปัญหาข้างต้น อาจสวนทางกับภาพรวมด้านรายได้ของผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจากข้อมูล 36 บริษัท พบทิศทางรายได้ยังเป็นบวก ทั้งในปี 2563 และปี 2564 คาดเป็นผล มาจากการโอนฯหน่วยค้างเก่าที่ขายไปจำนวนมากช่วงปี 2561- 2562 แต่ต้องจับตาช่วงหลังจากนี้
เนื่องจากพบกลุ่มลูกค้าที่เคยผ่านการขออนุมัติสินเชื่อล่วงหน้า (Pre Approve) ช่วงโควิดหลายราย ประวัติการเงินเปลี่ยนไป และส่งผลให้สถาบันการเงินปฎิเสธสินเชื่อภายหลัง โดยเฉพาะกลุ่มผู้พัฒนาฯ ที่เริ่มไปจับตลาดโครงการที่อยู่อาศัยราคาถูก เช่น คอนโดต่ำล้าน ว่าช่วง 1-2 ปี ข้างหน้า สถาบันการเงินจะจับมือกันช่วยปล่อยสินเชื่อ หรือ ปฎิเสธสินเชื่อให้ผู้ซื้อ
นอกจากนี้ ปัญหาสถาบันการเงินเข้มงวดสินเชื่อ ซึ่งสวนทางกับนโยบาย ธปท. นั้น อาจส่งผลต่อปัญหาโอเวอร์ซัพพลายในอนาคตด้วย เนื่องจากพบขณะนี้ ผู้ประกอบการเริ่มกลับมาเดินเครื่อง เปิดโครงการใหม่ โดยพบมีอีกกว่า 150 โครงการ รอเปิดขาย ซึ่งแม้ไม่เยอะเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด แต่กังวล จากมูลค่าหน่วยค้างรอขายซึ่งรออยู่ในตลาดอีก 2 แสนล้านบาท หากยังไม่ถูกดูดซับออกไปได้มาก การเติมซัพพลายเข้ามาใหม่ อาจทำให้มีปัญหาได้เนื่องจากเจาะอัตราการขายในช่วง 7 เดือน (ม.ค. - ก.ค.) ภาพรวมยังไม่สูง
โร่ทำหนังสือขอรัฐยืดมาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนฯ
ทั้งนี้ ล่าสุดสมาคมฯ ได้ทำหนังสือไปยัง ธปท. เพื่อชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้น และเรียกร้องไปยังรัฐบาล เพื่อขอให้กระทรวงมหาดไทย พิจารณาขยาย มาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอน และจดทะเบียนจำนอง 0.01% ในกลุ่มบ้านราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 31 ธ.ค. นี้ ออกไปก่อน เนื่องจากสามารถกระตุ้นตลาดได้ดี ในแง่ขายดี - โอนเร็ว แต่ได้เสนอให้รัฐพิจารณา เพดานของที่อยู่อาศัยที่จะได้รับประโยชน์ให้กว้างขึ้น ซึ่งหากไม่สามารถทำให้ได้ครอบคลุมทุกระดับราคา แต่ขอให้เปิดเพดานลดหย่อนสำหรับ 3 ล้านบาทแรกก็ยังดี ส่วนที่เหลือจัดเก็บตามเพดานอย่างเหมาะสม คาดจะช่วยให้ตลาดอสังหาฯฟื้นตัวเร็วขึ้น และมีผลขับเคลื่อนจีดีพีของไทยอีกด้วย
โดยคาดกระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทยอาจต้องพิจารณาร่วมกัน เนื่องจาก เข้าใจว่างบประมาณส่วนนี้ที่ขาดหายไป จะกระทบต่องบประมาณดูแลระดับท้องถิ่น จำเป็นต้องจัดสรรงบอื่นๆมาชดเชย ทำให้ยังติดขัดในการต่ออายุ
“ลดค่าธรรมเนียมโอน เปรียบเหมือน ยาพาราเซต ใช้ได้ดีกับทุกวิกฤติ ทำให้ขายดี โอนได้เร็ว แต่เพดาน ซึ่งกำหนดให้แค่กลุ่มต่ำกว่า 3 ล้าน ทำให้การกระตุ้นไม่ดีมากนัก เพราะตลาดส่วนใหญ่ราคา 3-5 ล้านบาท อยากให้รัฐพิจารณาขยายเพดานช่วยให้ตรงจุด”
สลดหนุ่มผูกคอตายคารถบรรทุกริมถนน คาดเกิดจากภาระหนี้สิน
https://www.nationtv.tv/news/378851660
สลด พบหนุ่มผูกคอตายคารถบรรทุก ริมถนน 304 โคราช-กบินทร์บุรี คาดเกิดจากภาระหนี้สินญาติได้เดินทางมาติดต่อขอรับศพไปบำเพ็ญกุศลต่อที่จังหวัดขอนแก่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
10 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 07.30 เจ้าหน้าที่ฮุก31 นครราชสีมา จุดปักธงชัย ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่าพบศพคนผูกคอตายริมถนน 304 บริเวณจุดกลับรถบ้านเก่าสะแกราช ต.สะแกราช อ.ปักธงชัย ขามุ่งหน้ากบินทร์บุรี อ.ปักธงชัย ในที่เกิดเหตุพบรถพ่วง ISUZU FXZ 360 สีขาว ทะเบียน 71-6123 ซึ่งบรรทุกข้าวเปลือกมาเต็มคันรถ โดยอีกฝั่งพบศพชายผูกคอตายบริเวณประตูด้านฝั่งตรงข้ามคนขับโดยผูกเชือกเข้ากับราวเหล็กบริเวณหลังคารถ ทราบชื่อภายหลังว่า ชื่อนาย กิตติกรณ์ มะลิเลิศ อายุ 37 ปี บ้านเลขที่ 23 ม.9 ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กู้ภัยฮุก31ได้นำส่งศพไปชันสูตรที่ รพ.ปักธงชัย
ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ปักธงชัยได้สำรวจที่เกิดเหตุพร้อมกับชันสูตรศพในเบื้องต้นแล้วพบไม่พบร่องรอยการทำร้ายร่างการจากบุคคลอื่น ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ลงความเห็นว่าสาเหตุการตายเกิดมาจากการขาดอากาศหายใจเนื่องจากการผูกคอตาย
โดยทางญาติของผู้ตายได้เล่าให้ฟังว่า ในช่วง 2-3 อาทิตย์ก่อนวันเกิดเหตุนั้นผู้ตายมีอาการเครียด และเก็บตัวไม่พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานสาเหตุมาจากภาระหนี้สิน โดยในวันเกิดเหตุนั้นผู้ตายได้มีคิวขับรถบรรทุกข้าวเปลือกเพื่อไปส่งที่จังหวัดฉะเชิงเทราพร้อมกับเพื่อนอีก 2 คัน พอไปถึงบริเวณที่เกิดเหตุผู้ตายได้บอกกับเพื่อนว่าตนเองนั้นง่วงขับรถไปต่อไม่ไหวเลยจะขอจอดรถเพื่อนอนพักและบอกกับเพื่อนร่วมงานให้เดินทางไปล่วงหน้าไปก่อน ก่อนที่จะมาพบภายหลังว่าได้ผูกคอตายไปแล้ว ซึ่งขณะนี้ทางญาติได้เดินทางมาติดต่อขอรับศพไปบำเพ็ญกุศลต่อที่จังหวัดขอนแก่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว