JJNY : “พท.”เตือน“ตู่”ยอมถอยก่อน | ‘ชวน’ขอสภาร่วมมือทำงาน | “อสังหาฯ”ติงฉีดยาแรงผิดเวลา | แพงสุดในรอบ 10 ปี!

“เพื่อไทย” เตือน “บิ๊กตู่” ยอมถอยก่อน ศก.พังมากกว่านี้ หวั่นประชุมเอเปคกร่อย ผู้นำประเทศมหาอำนาจไม่เข้าร่วม
https://www.matichon.co.th/politics/news_3651128
 
“เพื่อไทย” เตือน “บิ๊กตู่” ยอมถอยก่อน ศก.พังมากกว่านี้ หวั่นประชุมเอเปคกร่อย ผู้นำประเทศมหาอำนาจไม่เข้าร่วม
 
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน น.ส.ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า จากการที่ประเทศไทยได้รับโอกาสเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) หรือเอเปก 2022 ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทุ่มงบประมาณมหาศาลในการจัดการประชุมในครั้งนี้ หวังสร้างผลงานให้ประทับใจผู้นำโลก เป็นที่น่าเสียดายหากในการประชุมที่กรุงเทพฯ นี้ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เพราะผู้นำประเทศมหาอำนาจหลายประเทศไม่ให้ความสำคัญ ส่งเพียงผู้นำระดับรองมาร่วมประชุมแทน ไม่ว่าจะเป็นนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดี สหรัฐฯ เลือกไปงานแต่งหลานสาวมากกว่ามาร่วมประชุมที่ประเทศไทย ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่ผู้นำหลายประเทศไม่มาร่วมประชุม เพราะไม่มีความเชื่อถือในตัวผู้นำของประเทศไทย
 
น.ส.ทัศนีย์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของนโยบายยกแผ่นดินไทยให้ชาวต่างชาติซื้อที่ดินในประเทศไทยได้นั้น รัฐบาลควรชี้แจงข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับทราบ ว่าเป้าประสงค์ของรัฐบาลคืออะไร ที่ผ่านมารัฐบาลใช้มาตรการทางภาษี เพื่อดึงนักลงทุนต่างประเทศให้มาลงทุนในประเทศไทย นักลงทุนก็ไม่มาลงทุน เพราะเขาไม่มั่นใจในนโยบายเศรษฐกิจของไทย และความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตานักลงทุนตกต่ำลงมาก ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ไม่เคยยอมรับว่าตัวเองไร้ความสามารถนั่งเก้าอี้หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล สุดท้ายเศรษฐกิจไทยพัง ไร้ทางฟื้น 8 ปีกว่าๆ น่าจะรู้ตัวได้แล้ว ควรที่จะถอยออกจากตำแหน่งแล้วให้คนที่มีความสามารถมาทำงานแทนดีกว่า
 
อย่าดันทุรังต่อไปเลยยิ่งอยู่ยิ่งพัง ทั้งนี้ สมัยนั่งเป็นประธาน ศบค.แต่กลับปล่อยประชาชนติดเชื้อไวรัสตายคาบ้าน นอนตายข้างถนนเป็นจำนวนมาก หากปล่อยให้อยู่ต่อไปคงพังมากกว่านี้ เศรษฐกิจไทยไม่ต่างจากผู้ป่วยหนักใกล้ตายแล้ว หากหมอไม่เก่งและใช้ยาไม่ถูกโรค ก็ไร้ทางรักษา สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือการออกมาตรการทางการคลัง เพื่อเติมเงินในกระเป๋าผู้ประกอบการและประชาชน นโยบายแจกแหลกไม่ตอบโจทย์ ประชาชน” น.ส.ทัศนีย์ กล่าว



‘ชวน’ ขอสภา ร่วมมือทำงาน สมัยประชุมสุดท้าย วิป รบ.เสนอวาระแทรก ทำ กม.กัญชา ช้าไปอีก
https://www.matichon.co.th/politics/news_3651137
 
‘ชวน’ ขอสภา ร่วมมือทำงาน สมัยประชุมสุดท้าย เร่งเคลียร์งาน-สร้างผลงาน กมธ. ด้าน ‘วิปรัฐบาล’ เสนอวาระแทรก ทำ กม.กัญชา ของพรรคภูมิใจไทยอาจเข้าไม่ทันสัปดาห์หน้า
 
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 2 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง เป็นวันแรก โดยมี นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม โดยก่อนเข้าสู่วาระได้เปิดให้สมาชิกหารือถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่
    
โดยนายชวนกล่าวกับที่ประชุมว่า การประชุมสภาเป็นสมัยสุดท้าย มีเวลาประชุม 120 วัน ทั้งนี้ การมีเวลารวม 16 สัปดาห์ ทั้งประชุมสภาและประชุมรัฐสภา ทั้งนี้ ผลการหารือของกรรมการประสานงาน (วิป) 3 ฝ่าย ตนรับทราบในคำแนะนำที่ไม่อยากให้เพิ่มการประชุมในวันศุกร์ ดังนั้น การประชุมในวันพุธและวันพฤหัสบดีจะขอเพิ่มเวลาการประชุม
 
นายชวนกล่าวว่า มีเรื่องที่ขอพิเศษคือวาระพิจารณารับทราบรายงาน ขอให้พรรคการเมืองส่งตัวแทนเพื่ออภิปราย ซักถามได้ เพื่อลดเวลาการอภิปราย เพราะที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่มารอชี้แจงหลายครั้ง แต่พิจารณาไม่ถึง ต้องเกรงใจ ส่วนการพิจารณารายงานที่ กมธ.พิจารณาแล้วเสร็จ บางคณะถูกเลื่อนเป็นปี หากไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาจะถือว่าน่าเสียใจ เหมือนกลับบ้านไปแบบไม่มีผลงาน
 
จากนั้นเข้าสู่วาระการประชุม โดย นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะวิปรัฐบาล ได้เสนอให้สภาเลื่อนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาษีอากร พ.ศ. … ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอขึ้นมาพิจารณาเป็นเรื่องด่วนในวันที่ 9 พฤศจิกายน ก่อนหน้าเรื่องที่ กมธ.พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งที่ประชุมเห็นตามที่เสนอ
 
ส่งผลทำให้ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ. …. ซึ่ง กมธ.วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ของพรรคภูมิใจไทย (ภท.) อาจจะไม่สามารถนำเข้าสู่ที่ประชุมพิจารณาสภาได้ทันสัปดาห์หน้า



“อสังหาฯ” ชี้แบงก์ชาติเลิกผ่อนเกณฑ์LTV ซ้ำเติมตลาด ติงฉีดยาแรงผิดเวลา แนะขยายอีก 1 ปี
https://www.matichon.co.th/economy/news_3650982

“อสังหาฯ” ชี้แบงก์ชาติเลิกผ่อนเกณฑ์LTV ซ้ำเติมตลาด ติงฉีดยาแรงผิดเวลา แนะขยายอีก 1 ปี
 
นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด(มหาชน) และนายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ไม่ต่อมาตรการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) มีทั้งผลบวกและลบ ผลบวกจะเป็นตัวเร่งให้คนตัดสินใจซื้อบ้านเร็วขึ้นโดยเฉพาะบ้านพร้อมอยู่พร้อมโอน ทำให้มียอดโอนมากขึ้นในไตรมาส4 นี้ แต่เป็นแค่ระยะสั้นๆ ส่วนผลกระทบจะทำให้กำลังซื้อในตลาดชะลอ โดยเฉพาะคนซื้อบ้านหลังที่2 หลังที่3 และบ้านราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปกู้ได้น้อยและกู้ได้ยากขึ้น จากปีนี้กู้ได้ 100%
 
นายพีระพงศ์กล่าวว่า สำหรับใน2566 จะมีกำลังซื้อจากต่างชาติเข้ามาช่วย หลังรัฐบาลเปิดให้ซื้อบ้านและที่ดินได้ 1 ไร่ หากนำเงิน 40 ล้านบาทมาลงทุนใน 3 ปี และคาดว่าจะเป็นบ้านในระดับราคา 20 ล้านบาทบวกลบที่ต่างชาติจะซื้อ จะทำให้ภาพรวมตลาดบ้าน 10 ล้านบาทขึ้นไปไม่กระทบมากนัก แม้ตลาดคนไทยจะลดลง แต่มีตลาดต่างชาติเข้ามาช่วย รวมถึงตลาดคอนโดมิเนียมที่คนซื้อเป็นบ้านหลังที่2 หลังที่3 ด้วย
 
สมาคมกำลังจะทำรายละเอียดยื่นต่อภาครัฐขอให้ขยายมาตรการกระตุ้นอสังหาจะสิ้นสุดวันที่31 ธันวาคมนี้ออกไปอีก 1 ปี เช่น ลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองเหลือ 0.01% รวมถึงขอให้ขยายเวลาการผ่อนคลายมาตรการLTV ด้วย” นายพีระพงศ์กล่าว
 
นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า การที่ธปท.ไม่ขยายมาตรการLTV มองว่ายังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม ควรจะรอให้เห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ชัดเจนก่อน อีกทั้งยังเป็นนโยบายไม่สอดคล้องกับภาครัฐที่ต้องการจะกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งล่าสุดจะเปิดให้ต่างชาติซื้อบ้านและที่ดินได้ 1 ไร่
 
นายประเสริฐกล่าวว่า คนกลุ่มระดับกลาง-ล่าง เป็นมนุษย์เงินเดือน ไม่มีเงินออม ซึ่งต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในระดับราคา 3-5 ล้านบาท จะได้รับผลกระทบมาก เพราะทำให้เข้าถึงการขอสินเชื่อได้ยากขึ้น เพราะตลาดระดับบนส่วนใหญ่ซื้อเงินสดและเป็นชาวต่างชาติที่ซื้อ ปัจจุบันผู้ประกอบการรายใหญ่รวมถึงอนันดาเองได้ปรับตัวมาทำตลาดระดับบนมากขึ้น อย่างไรก็ตามผลจากการที่ธปท.กลับมาใช้มาตรการLTV จะทำให้ตลาดฟื้นตัวกระจุกเฉพาะรายใหญ่ จะซ้ำเติมรายกลางและรายเล็ก

เศรษฐกิจยังบอบช้ำ แบงก์ชาติยังมาถอยมาตรการLTV จะยิ่งซ้ำเติม กระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เรื่องฟองสบู่อสังหาไม่ต้องพูดถึง ตอนนี้ตลาดแข่งขันกันสูงและจากเทรนด์อัตราดอกเบี้ยขาขึ้นส่งผลกระทบทำให้ตลาดชะลอตัวอยู่แล้ว โดยที่แบงก์ชาติไม่ต้องฉีดยาแรงเลิกLTV เหมือนในอดีตที่แบงก์ชาติออกมาตรการLTV มาผิดเวลา เพิ่งมาผ่อนคลายให้ปีที่แล้วและกลับมาใช้อีกปีหน้า จะทำให้ตลาดตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า ซึ่งการซื้อบ้าน 1 หลัง ไม่ใช่มีแค่เงินดาวน์ ต้องมีเงินสดเพื่อตกแต่งอีก เช่น บ้านราคา 1 ล้านบาท ดาวน์10% ต้องมีเงินสดอีก 150,000-200,000 บาท” นายประเสริฐกล่าว
 
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC)กล่าวว่า การที่ธปท. จะไม่ต่อเวลามาตรการ LTV หลังครบกำหนด 31 ธันวาคม 2565 อาจส่งผลกระทบให้ตลาดที่อยู่อาศัยสะดุดอีกครั้งหลังจากเพิ่งฟื้นตัวได้ สิ่งที่จะเป็นข้อสังเกตหนึ่งคือ การฟื้นตัวที่ชัดเจนของภาคอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้นั้นได้รับผลจากมาตรการ LTV เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งการฟื้นตัวของตลาดอาคารชุดที่สามารถระบายซัพพลายที่ค้างในระบบออกไปได้เร็ว รวมถึงการเกิดการพัฒนาอาคารชุดใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่มอาคารชุดราคาถูก ตามโครงการบ้านล้านหลังที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และโครงการส่วนใหญ่เพิ่งมีการเปิดให้จองและอยู่ระหว่างการก่อสร้างในช่วงต้นปี 2565 ซึ่งผู้ซื้อจำนวนไม่น้อยอาจเป็นผู้ซื้อเป็นบ้านหลังที่2 (สัญญาที่สอง) อาจจะเริ่มขอสินเชื่อและโอนกรรมสิทธิ์ในปีหน้าเป็นต้นไป ซึ่งผู้ซื้อกลุ่มนี้น่าจะได้ผลกระทบจากมาตรการ LTV อย่างมาก และอาจกระทบต่อการขอสินเชื่อและการรับโอนจากผู้ประกอบการ
 
นายวิชัยกล่าวว่า นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ซื้อบ้านใหม่พร้อมอยู่ หรือบ้านมือสองในปีหน้าจะได้รับผลกระทบอย่างมากเช่นกัน เนื่องจากไม่มีระยะเวลาสำหรับให้ผ่อนดาวน์บ้านเหมือนบ้านใหม่ การซื้อบ้านของผู้ซื้อกลุ่มนี้จึงต้องหาเงินเป็นก้อนมาประมาณ 20% ของราคาบ้าน และอาจเกิดกรณีที่ผู้ซื้อบ้านต้องไปกู้มาจากสินเชื่อระยะสั้นหรือแหล่งเงินกู้นอกระบบ จะทำให้เกิดปัญหากระทบต่อการผ่อนชำระและเป็น NPL ในอนาคตได้ในท่ามกลางปัจจัยลบที่มีมากในปีนี้และปีหน้า เช่น ภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และราคาที่อยู่อาศัยที่ปรับขึ้นจากราคาที่ดินและค่าก่อสร้าง ประกอบกับ ในช่วงโควิด-19 คนจำนวนมากต้องนำเงินเก็บออกมาใช้ ดังนั้นผู้ที่ต้องการซื้อบ้านกลุ่มที่เคยมีเงินเก็บอาจมีความยากลำบากในการหาเงินส่วนต่าง
 
การประกาศไม่ต่อมาตรการ LTV ในช่วงเวลานี้อาจจะเป็นการทำให้ sentiment ของตลาดที่อยู่อาศัย ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ และผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ลดระดับลง อาจส่งผลต่อยอดซื้อขาย การลงทุนใหม่ และการโอนกรรมสิทธิ์ปรับตัวลงลงเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในปี 2562 ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว ดังนั้นการชะลอการนำมาตรการ LTV กลับมาใช้ออกไปเป็นปี 2567-2568 จะสามารถช่วยให้ตลาดอสังหาฯฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง” นายวิชัยกล่าว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่