อยากหายเบาหวาน ต้อง "ห้ามหิว" 3 วิธีปฏิบัติเพื่อให้ท้องอิ่ม แต่น้ำตาลลดเอาๆ

#จะลดเบาหวานได้อย่างยั่งยืนท้องคุณจะต้องอิ่ม
ฟังไม่ผิดค่ะ ถ้าหากว่าคุณอยากลดน้ำตาลให้ได้ไปตลอด
อยากหายจากเบาหวาน คุณต้องทานสารอาหารให้ถูกหลัก
และกำจัดศัตรูตัวร้ายออกไปก่อน
นั่นก็คือ “ความหิว”

ปัญหาแรกของคนไข้ส่วนใหญ่ที่หมอปอเจอมา
พอเริ่มตรวจเจอว่าเป็นเบาหวาน ก็เลยรีบคุมอาหาร
แต่ไม่รู้ว่าจะต้องปรับสารอาหารอย่าง
เลยทานน้อยไปซะทุกอย่างเลย
กลายเป็นอดอาหาร ทานน้อยๆ เพราะคิดว่าน้ำตาลจะได้ลดไวๆ
ซึ่งก็ลดได้จริงค่ะ
“แต่ก็ได้แค่ในช่วงแรกๆเท่านั้น”
พอผ่านไปสักพักหลายคนจะเริ่มทนไม่ไหว
ไม่ใช่ว่าจิตใจเราทนไม่ไหวอย่างเดียว
แต่ร่างกายเราเองด้วย
ที่จะไม่ทนเหมือนกัน

มนุษย์เรา ร่างกายถูกสร้างมาเพื่อให้มีชีวิตรอด
ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์มา เราเป็นผู้ถูกล่า มากกว่าผู้ล่า
และอาหารก็ไม่ได้มีอุดมสมบูรณ์เหมือนในทุกวันนี้
ธรรมชาติจึงออกแบบร่างกายมนุษย์
ให้สะสมพลังงานได้เก่งกว่าการเผาผลาญพลังงาน
หมายความว่า เวลาที่เราทานอาหารเข้าไป
ส่วนหนึ่งก็จะถูกนำไปใช้เป็นพลังงานเพื่อให้มีชีวิตอยู่
อีกส่วนหนึ่งก็จะนำไปเก็บสะสมเอาไว้
เพื่อเป็นพลังงานสำรอง ยามที่ขาดแคลนอาหาร
หรือยามที่ต้องใช้พลังงานแรงกายเอาไว้หลบหนี

แต่ด้วยปัจจุบันโลกที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป
เราเข้าถึงอาหารได้มากมายหลากหลาย
กิจกรรมที่ได้ออกแรงก็น้อยลง
ไม่ต้องไปเข้าป่าล่าสัตว์ เหมือนยุคดึกดำบรรพ์
พอพลังงานที่เราได้จากอาหาร
“มากเกินกว่า” ที่เราใช้เผาผลาญ
ก็เลยเกิดโรคเรื้อรังต่างๆขึ้นมา
รวมถึงเบาหวานก็เกิดจากสาเหตุนี้เช่นกัน

เพราะฉะนั้น เบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นในผู้ใหญ่
จึงเกิดจากการสะสมมากเกินไป และการเผาผลาญที่น้อยลง

แต่ร่างกายมนุษย์ยังเหมือนเดิมค่ะ
ถึงจะมีวิวัฒนาการเรื่องลักษณะหน้าตาที่เปลี่ยนไป
แต่เรื่องระบบการทำงาน ทั้งการสะสม และเผาผลาญ ยังเหมือนเดิม
ร่างกายยังรับรู้ว่าการทานอาหาร จะทำให้รอดชีวิต

ดังนั้น เมื่อคุณอดอาหารไปนานๆ แบบไม่ถูกวิธี
หรือได้รับสารอาหารในแต่ละวันไม่เพียงพอ
ต่อความต้องการพลังงานพื้นฐานของร่างกาย
เมื่อทานน้อย ทานผิดวิธีไปนานๆ
ร่างกายจะเริ่มรู้สึกว่า “กำลังจะแย่รึเปล่า"
ทำไมไม่มีสารอาหารมาเลย
ทำไมหิวแบบนี้

ร่างกายต้องปกป้องตัวเองด้วยการสะสมพลังงานให้ได้มากที่สุด
จึงเริ่มปรับตัวด้วยการ “ลดการเผาผลาญ” ลงมา
ระบบเผาผลาญคุณจึงลดลง หากอดอาหารต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ
ทำให้ลดน้ำตาลได้ไม่ลงอีก รวมถึงคนที่ต้องการลดน้ำหนัก
จึงน้ำหนักนิ่งได้ง่าย
ดังนั้นการอดอาหารการทานน้อยๆ
จึงไม่ใช่วิธีที่ยั่งยืน

แต่การทานให้ถูกต้องต่างหาก คือทางออก

ถ้าอยากจะลดเบาหวาน
คุณต้องกินให้เยอะขึ้น ไม่ใช่น้อยลง
ฟังดูค้านๆกับที่เคยทำหรือรู้มาใช่ไหมคะ

ลองอ่านเรื่องนี้ต่อดูค่ะ แล้วคุณจะร้องว่า
อ๋อ...มันเป็นอย่างนี้นี่เอง

ใครที่เคยเชื่อว่า การคุมอาหาร เพื่อรักษาเบาหวาน
จะต้องกินน้อยๆ ออกกำลังกายเยอะๆ ถึงจะลดได้
คนไข้เบาหวานหลายคนที่มาเรียนกับหมอปอ
ก็เคยทำแบบนี้เช่นกันแต่สุดท้ายก็ไม่สำเร็จ
จนได้มารู้จักร่างกายของตัวเองแล้ว และรู้วิธีการทานที่ถูกต้อง
ปัญหาความหิวก็หมดไป แถมอิ่มจุกๆกันเลย
แต่น้ำตาลลด สขภาพดีขึ้น ได้ลดยาเบาหวานกันถ้วนหน้า

ให้คุณลองเช็คตัวเองดู ว่ามี 3 ข้อนี้หรือไม่ค่ะ
พอคุณเข้าใจร่างกายตัวเองมากขึ้นแล้ว
ความหิวก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป

1
ร่างกายคุณได้รับสารอาหารเพียงพอหรือเปล่า
ร่างกายคนเราต้องการ “สารอาหาร” ไม่ใช่ “อาหาร”
ในแต่ละมื้อที่คุณกิน
เช่นตอนเช้า คุมอาหารด้วย กาแฟ 1 แก้ว
ขนมปัง 1 แผ่น แอปเปิ้ล 1 ลูก 
แล้วบอกว่ากินมื้อเช้าแล้ว
หรือบางคนตอนเย็นกินแต่สลัดผักใส่ผลไม้เยอะๆ
ดูเหมือนจะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพใช่ไหมคะ
แต่หมอปออยากให้คุณทำความเข้าใจใหม่
ว่า กินแบบนี้ จะลดได้ยากมาก และไม่อิ่มแน่นอน
เพราะอาหารที่คุณกินเข้าไปนั้น
มีแต่สารอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตล้วนๆ เลย
ซึ่งคาร์โบไฮเดรตเหล่านี้ ประกอบไปด้วยน้ำตาลกลูโคสมารวมกัน
บวกกับเส้นใยไฟเบอร์
เวลาย่อย จึงเป็นน้ำตาลเข้าสู่เส้นเลือด ส่วนเส้นใยก็ขับถ่ายไป
ดังนั้นถ้ากินแต่แบบนี้น้ำตาลคุณจะขึ้น
และคุณก็จะหิวบ่อย  ไม่อิ่ม
เพราะร่างกายจะเรียกร้องหาสารอาหาร

วิธีการปรับก็คือ เพิ่มสารอาหารที่เป็นกลุ่มโปรตีนเข้าไป
เนื่องจากร่างกายต้องการโปรตีนทุกวัน
เพื่อใช้ซ่อมแซมส่วนที่เสื่อม รวมถึงช่วยซ่อมระบบเผาผลาญน้ำตาลขึ้นมาด้วย
หากคุณทานโปรตีนน้อยไป
ร่างกายจะเรียกร้องหาสารอาหาร คุณจึงหิวบ่อย
โปรตีน ก็ได้แก่ เนื้อสัตว์ทุกชนิด ไข่ ถั่ว เต้าหู้
แนะนำให้เลือกทานอาหารที่มีโปรตีนให้อิ่มท้อง
และหลากหลาย
ร่างกายคุณก็จะไม่เรียกร้องหาสารอาหารอีกต่อไป

2
กินจุบจิบ ยิ่งกินบ่อยก็ยิ่งหิวบ่อย
สาเหตุของอาการหิวบ่อย สาเหตุหนึ่งนั้น
มาจากร่างกายคุณหลั่งฮอร์โมนตัวนึงชื่อว่า อินซูลิน
มากและบ่อยเกินไป 
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณกินอาหาร ฮอร์โมนอินซูลินก็จะออกมา
ฮอร์โมนนี้ทำหน้าที่พาสารอาหารต่างๆที่คุณทาน
รวมถึงน้ำตาลออกไปจากเลือด
เพื่อนำไปใช้พลังงาน รวมถึง “เก็บสะสม” ด้วย
แล้วถ้าคุณทานจุบจิบ ทานบ่อย ทานตลอดเวลา
แทนที่จะอิ่มแต่คุณกลับหิวมากขึ้น
เพราะอินซูลินออกมาตลอดเวลา เอาสารอาหารไปเก็บสะสมอยู่ตลอด
โดยเฉพาะการทานแป้ง และน้ำตาลมาก
อินซูลินก็จะหลั่งออกมามาก พาน้ำตาลออกจากเลือดไปมาก
เมื่อนั้นคุณจะเกิดภาวะน้ำตาลสวิง
ขึ้นสูง ลงเร็ว เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณหิวบ่อยนั่นเอง
ทางแก้คือ ให้งดน้ำตาล ลดอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตลงมา
งดจุบจิบ ทานให้อิ่ม ทานเป็นมื้อ จบในมื้อไปเลย
เพื่อไม่ให้อินซูลินออกมามาก และเร็วเกินไป
ระหว่างมื้อดื่มเฉพาะน้ำเปล่า

3
เมื่อคุณปรับอาหาร ปรับวิธีการทาน
ตาม 2 ข้อด้านบนนี้แล้วเบาหวานเริ่มดีแล้วน้ำตาลลดลงแล้ว
แต่ยังมีอาการหิวอยู่
แล้วยังมียาลดน้ำตาลทานอยู่
เมื่อคุณปรับอาหารการกินดีขึ้นแล้ว
จนน้ำตาลเริ่มลงมาจะเป็นปกติ
ร่างกายคุณดีขึ้น สุขภาพโดยรวมดีขึ้น
เมื่อนั้นคุณต้องปรึกษาหมอเพื่อลดยาได้แล้วนะคะ
เพราะยาเบาหวานทุกชนิด ทำหน้าที่ลดน้ำตาลในเลือด
แต่ว่าไม่ได้รักษาโรคเบาหวานที่สาเหตุ
เพราะสาเหตุมาจากการสะสมและการเผาผลาญที่ไม่สมดุล
แต่ยา ทำหน้าที่ลดระดับน้ำตาล เหมือนเป็นการแก้ไขตามอาการปลายเหตุ

เพราะเมื่อน้ำตาลในเลือดลดลง จากการที่คุณดูแลตัวเองให้สุขภาพดีขึ้นแล้ว
หากว่ายังมียาลดน้ำตาลอยู่ โดยเฉพาะยาก่อนอาหารบางตัว
คุณก็จะมีอาการหวิวๆ หิวๆ โหยๆ
ถ้าเป็นมาก น้ำตาลต่ำ ก็จะมีอาการใจสั่น เหงื่อแตกได้
ตรวจน้ำตาลปลายนิ้วเจอว่าน้ำตาลต่ำ
ถ้ายาเกินขนาด น้ำตาลต่ำมาก ก็เป็นอันตรายได้ จนถึงวูบหมดสติได้เลย

ดังนั้น หากว่าคุณปรับวิถีการดูแลตัวเอง
จนเมื่อน้ำตาลในเลือดเริ่มลดลงตามธรรมชาติแล้ว
ก็เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า
ยาเบาหวาน ก็เริ่มไม่จำเป็นอีกต่อไป สามารถลดยาได้
จนสามารถงดยา และไม่ต้องใช้ยาได้อีกต่อไป
ถ้าตามเกณฑ์เบาหวานชนิดที่ 2 หายได้
ที่สมาคมเบาหวานนานาชาติประกาศล่าสุด เมื่อวันที่ 30 สค. ที่ผ่านมา
แนะนำให้ตรวจน้ำตาลสะสมในเลือด
หรือ HbA1c ได้น้อยกว่า 6.5% ต่อเนื่อง 3 เดือน
คุณก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยาลดน้ำตาลแล้ว
สำหรับหมอปอเวลาที่ดูคนไข้ จะให้ปฏิบัติ
จนหายตามเกณฑ์ของคนปกติเลยค่ะ ก็คือ น้อยกว่า 5.7%

หากว่าตอนนี้ คุณคิดว่ากำลังอดอาหารแบบผิดๆอยู่
ให้ลองเช็คตาม 3 ข้อนี้ดูนะคะ แล้วปรับกันดู
คุณจะได้สัมผัสความสุขในการลดเบาหวานอย่างยั่งยืน
กลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ
และมีสุขภาพดีไปตลอดชีวิต

#หมอปอสอนเบาหวานไม่ใช้ยา
#หมอปอSugarFreedom
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่