.
"
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่ง
ตน
พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่า
ตนมี
หรือคำเล่านี้ไม่ใช่คำของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าตรัสคำที่ย้อนแย้งขัดกันอย่างนั้นรึ "
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
------
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=692&Z=720
คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒
"
ตนแลเป็นที่พึ่งของ
ตน บุคคลอื่นไรเล่าพึงเป็นที่พึ่งได้ เพราะว่าบุคคลมีตนฝึกฝน
ดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งอันได้โดยยาก ความชั่วที่ตนทำไว้เอง
เกิดแต่ตน มีตนเป็นแดนเกิด ย่อมย่ำยีคนมีปัญญาทราม
ดุจเพชรย่ำยีแก้วมณีที่เกิดแต่หิน ฉะนั้น"
" บทว่า ปุคฺคโล เป็นคำพูดโดยสมมติ ไม่ใช่คำพูดโดยปรมัตถ์.
จริงอยู่ เทศนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามี ๒ อย่าง คือสมมติเทศนา ๑ ปรมัตถเทศนา ๑."
=========
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=181
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต
เอกบุคคลบาลี
อรรถกถาเอกปุคคลวรรคที่ ๑๓
อรรถกถาสูตรที่ ๑
...
...
บทว่า ปุคฺคโล เป็นคำพูดโดยสมมติ ไม่ใช่คำพูดโดยปรมัตถ์.
จริงอยู่ เทศนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามี ๒ อย่าง คือสมมติเทศนา ๑ ปรมัตถเทศนา ๑.
ใน ๒ อย่างนั้น
เทศนาทำนองนี้ว่า บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทวดา มาร
ชื่อว่าสมมติเทศนา.
เทศนาทำนองนี้ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน
ชื่อว่าปรมัตถเทศนา.
ในเทศนา ๒ อย่างนั้น
ชนเหล่าใดฟังเทศนาเนื่องด้วยสมมติ สามารถเข้าใจเนื้อความละโมหะ บรรลุคุณพิเศษได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงสมมติเทศนาแก่ชนเหล่านั้น.
ส่วนชนเหล่าใดฟัง
เทศนาเนื่องด้วยปรมัตถ์ แล้วสามารถเข้าใจเนื้อความ ละโมหะ บรรลุคุณพิเศษได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงปรมัตถเทศนาแก่ชนเหล่านั้น.
ในข้อนั้น พึงทราบอุปมาดังต่อไปนี้ :-
เหมือนอย่างว่า
อาจารย์ผู้ฉลาดในภาษาท้องถิ่น ผู้บรรยายเนื้อความแห่งเวททั้ง ๓ ชนเหล่าใด เมื่อพูดด้วยภาษาทมิฬย่อมรู้ใจความได้ ก็จะสอนชนเหล่านั้นด้วยภาษาทมิฬ ชนเหล่าใดเมื่อพูดด้วยภาษาใดภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาของชาวอันธะเป็นต้น ย่อมรู้ใจความได้ ก็จะสอนด้วยภาษานั้นๆ แก่ชนเหล่านั้น เมื่อเป็นดังนั้น มาณพเหล่านั้นอาศัยอาจารย์ผู้ฉลาด เฉียบแหลม ย่อมเรียนศิลปะได้โดยฉับพลันทีเดียว.
ในอุปมานั้นพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเปรียบเหมือนอาจารย์. ปิฎก ๓ ตั้งอยู่ในภาวะที่จะต้องบอกกล่าว เปรียบเหมือนเวท ๓. ความเป็นผู้ฉลาดในสมมติและปรมัตถ์ เหมือนความเป็นผู้ฉลาดในภาษาท้องถิ่น. เวไนยสัตว์ผู้สามารถเข้าใจความได้ด้วยอำนาจแห่งสมมติและปรมัตถ์ เหมือนมาณพผู้รู้ภาษาท้องถิ่นต่างๆ กัน. เทศนาด้วยอำนาจสมมติและปรมัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเหมือนการสอนด้วยภาษามีภาษาทมิฬเป็นต้นของอาจารย์.
สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ว่า
พระสัมพุทธเจ้า เป็นยอดของผู้กล่าวสอนทั้งหลาย
ได้ตรัสสัจจะ ๒ อย่าง คือสมมติสัจจะและปรมัตถ
สัจจะ ไม่ตรัสสัจจะที่ ๓
คำที่ชาวโลกหมายรู้กันก็เป็นสัจจะ เพราะมีโลก
สมมติเป็นเหตุ คำที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นปรมัตถ์ก็เป็น
สัจจะ เพราะมีความจริงของธรรมทั้งหลายเป็นเหตุ
เพราะฉะนั้น มุสาวาท จึงไม่เกิดแก่พระโลกนาถ
ผู้ศาสดา ผู้ฉลาดในโวหาร ผู้ตรัสตามสมมติ.
อีกอย่างหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปุคคลกถา ว่าด้วยบุคคล ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ
เพื่อทรงแสดง
หิริ ความละอายและโอตตัปปะ ความเกรงกลัว ๑
เพื่อทรงแสดง
กัมมัสสกตา (ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน) ๑
เพื่อทรงแสดง
บุคคลผู้กระทำเฉพาะตน ๑
เพื่อทรงแสดงถึงอนันตริยกรรม (กรรมก่อนกรรมอื่นๆ ที่ให้ผล) ๑
เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา) ๑
เพื่อทรงแสดงถึงปุพเพนิวาสญาณ (ระลึกชาติก่อนไว้) ๑
เพื่อทรงแสดงถึงทักขิณาวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์แห่งทักขิณา) ๑
และเพื่อไม่ทรงละโลกสมมติ ๑.
เมื่อพระองค์ตรัสว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะทั้งหลายย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัวดังนี้ มหาชน
ย่อมไม่เข้าใจ ย่อมงงงวย กลับเป็นศัตรู (โต้แย้ง) ว่า นี้อะไรกัน ขันธ์ ธาตุ อายตนะย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัว.
แต่เมื่อตรัสว่า หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทพและมารย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัว มหาชนย่อมเข้าใจ ย่อมไม่งงงวย ไม่กลับเป็นศัตรู (ไม่โต้แย้ง). เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา (กถาว่าด้วยบุคคล) ก็เพื่อทรงแสดงหิริและโอตตัปปะ.
แม้ใน
คำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ทั้งหลาย ธาตุทั้งหลาย อายตนะทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
บุคคลกถา เพื่อทรงแสดงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน.
แม้ใน
คำที่กล่าวไว้ว่า มหาวิหารทั้งหลายมีเวฬุวันเป็นต้นอันขันธ์ ธาตุ อายตนะสร้างแล้ว ก็นัยนี้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงบุคคลผู้กระทำเฉพาะตน.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมปลงชีวิตบิดา มารดา พระอรหันต์ กระทำกรรมคือยังพระโลหิตให้ห้อ และกระทำสังฆเภท ก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงอนันตริยกรรม.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมมีเมตตา ก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงพรหมวิหารธรรม.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมระลึกถึงปุพเพนิวาสญาณ ก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงปุพเพนิวาสญาณ.
แม้เมื่อกล่าวว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมรับทาน มหาชนย่อมไม่เข้าใจ ย่อมงงงวย กลับเป็นศัตรูว่า นี้อะไรกัน ขันธ์ ธาตุ อายตนะย่อมรับทาน. แต่เมื่อกล่าวว่า บุคคลผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเป็นต้น มหาชนย่อมเข้าใจ ย่อมไม่งงงวย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงความหมดจดแห่งทักษิณา.
จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ละโลกสมมติ ตั้งอยู่ในชื่อของชาวโลก ในภาษาของชาวโลก ในคำพูดจากันของชาวโลกนั่นแลแสดงธรรม. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา แม้เพื่อไม่ละโลกสมมติ.
ดังนั้น จึงชื่อว่าบุคคลเอก เพราะบุคคลนั้นด้วย เป็นเอกด้วย.
...
==========
พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่าตนมี
หรือคำเล่านี้ไม่ใช่คำของพระพุทธเจ้า
------ ถ้าท่านเข้าใจ พระธรรมเทศนา ของพระศาสดา เพียงพอ ท่านก็จะเข้าใจ ว่า มีทั้ง คำเทศนา ที่เป็นสมมติเทศนา และ ปรมัตถเทศนา
ที่ผมก็เคย สัยสน ไม่เข้าใจ มาก่อน เช่นกัน
พระพุทธเจ้าตรัสคำที่ย้อนแย้งขัดกันอย่างนั้นรึ
----- ไม่ย้อนแย้ง ไม่ขัดแย้งกัน
ท่านเข้าใจแล้วนะครับ
อนุโมนาครับ
เจริญในพระธรรม ของพระศาสดา
ครับ
.
********** ตนแลเป็นที่พึ่งของ ll เทศนาทำนองนี้ว่า บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทวดา มาร ชื่อว่าสมมติเทศนา *
"
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่าตนมี
หรือคำเล่านี้ไม่ใช่คำของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าตรัสคำที่ย้อนแย้งขัดกันอย่างนั้นรึ "
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
------ https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=692&Z=720
คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒
"ตนแลเป็นที่พึ่งของ
ตน บุคคลอื่นไรเล่าพึงเป็นที่พึ่งได้ เพราะว่าบุคคลมีตนฝึกฝน
ดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งอันได้โดยยาก ความชั่วที่ตนทำไว้เอง
เกิดแต่ตน มีตนเป็นแดนเกิด ย่อมย่ำยีคนมีปัญญาทราม
ดุจเพชรย่ำยีแก้วมณีที่เกิดแต่หิน ฉะนั้น"
" บทว่า ปุคฺคโล เป็นคำพูดโดยสมมติ ไม่ใช่คำพูดโดยปรมัตถ์.
จริงอยู่ เทศนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามี ๒ อย่าง คือสมมติเทศนา ๑ ปรมัตถเทศนา ๑."
=========
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=181
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต
เอกบุคคลบาลี
อรรถกถาเอกปุคคลวรรคที่ ๑๓
อรรถกถาสูตรที่ ๑
...
...
บทว่า ปุคฺคโล เป็นคำพูดโดยสมมติ ไม่ใช่คำพูดโดยปรมัตถ์.
จริงอยู่ เทศนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามี ๒ อย่าง คือสมมติเทศนา ๑ ปรมัตถเทศนา ๑.
ใน ๒ อย่างนั้น
เทศนาทำนองนี้ว่า บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทวดา มาร ชื่อว่าสมมติเทศนา.
เทศนาทำนองนี้ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน ชื่อว่าปรมัตถเทศนา.
ในเทศนา ๒ อย่างนั้น ชนเหล่าใดฟังเทศนาเนื่องด้วยสมมติ สามารถเข้าใจเนื้อความละโมหะ บรรลุคุณพิเศษได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงสมมติเทศนาแก่ชนเหล่านั้น.
ส่วนชนเหล่าใดฟังเทศนาเนื่องด้วยปรมัตถ์ แล้วสามารถเข้าใจเนื้อความ ละโมหะ บรรลุคุณพิเศษได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงปรมัตถเทศนาแก่ชนเหล่านั้น.
ในข้อนั้น พึงทราบอุปมาดังต่อไปนี้ :-
เหมือนอย่างว่า อาจารย์ผู้ฉลาดในภาษาท้องถิ่น ผู้บรรยายเนื้อความแห่งเวททั้ง ๓ ชนเหล่าใด เมื่อพูดด้วยภาษาทมิฬย่อมรู้ใจความได้ ก็จะสอนชนเหล่านั้นด้วยภาษาทมิฬ ชนเหล่าใดเมื่อพูดด้วยภาษาใดภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาของชาวอันธะเป็นต้น ย่อมรู้ใจความได้ ก็จะสอนด้วยภาษานั้นๆ แก่ชนเหล่านั้น เมื่อเป็นดังนั้น มาณพเหล่านั้นอาศัยอาจารย์ผู้ฉลาด เฉียบแหลม ย่อมเรียนศิลปะได้โดยฉับพลันทีเดียว.
ในอุปมานั้นพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเปรียบเหมือนอาจารย์. ปิฎก ๓ ตั้งอยู่ในภาวะที่จะต้องบอกกล่าว เปรียบเหมือนเวท ๓. ความเป็นผู้ฉลาดในสมมติและปรมัตถ์ เหมือนความเป็นผู้ฉลาดในภาษาท้องถิ่น. เวไนยสัตว์ผู้สามารถเข้าใจความได้ด้วยอำนาจแห่งสมมติและปรมัตถ์ เหมือนมาณพผู้รู้ภาษาท้องถิ่นต่างๆ กัน. เทศนาด้วยอำนาจสมมติและปรมัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเหมือนการสอนด้วยภาษามีภาษาทมิฬเป็นต้นของอาจารย์.
สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ว่า
พระสัมพุทธเจ้า เป็นยอดของผู้กล่าวสอนทั้งหลาย
ได้ตรัสสัจจะ ๒ อย่าง คือสมมติสัจจะและปรมัตถ
สัจจะ ไม่ตรัสสัจจะที่ ๓
คำที่ชาวโลกหมายรู้กันก็เป็นสัจจะ เพราะมีโลก
สมมติเป็นเหตุ คำที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นปรมัตถ์ก็เป็น
สัจจะ เพราะมีความจริงของธรรมทั้งหลายเป็นเหตุ
เพราะฉะนั้น มุสาวาท จึงไม่เกิดแก่พระโลกนาถ
ผู้ศาสดา ผู้ฉลาดในโวหาร ผู้ตรัสตามสมมติ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปุคคลกถา ว่าด้วยบุคคล ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ
เพื่อทรงแสดงหิริ ความละอายและโอตตัปปะ ความเกรงกลัว ๑
เพื่อทรงแสดง กัมมัสสกตา (ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน) ๑
เพื่อทรงแสดงบุคคลผู้กระทำเฉพาะตน ๑
เพื่อทรงแสดงถึงอนันตริยกรรม (กรรมก่อนกรรมอื่นๆ ที่ให้ผล) ๑
เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา) ๑
เพื่อทรงแสดงถึงปุพเพนิวาสญาณ (ระลึกชาติก่อนไว้) ๑
เพื่อทรงแสดงถึงทักขิณาวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์แห่งทักขิณา) ๑
และเพื่อไม่ทรงละโลกสมมติ ๑.
เมื่อพระองค์ตรัสว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะทั้งหลายย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัวดังนี้ มหาชนย่อมไม่เข้าใจ ย่อมงงงวย กลับเป็นศัตรู (โต้แย้ง) ว่า นี้อะไรกัน ขันธ์ ธาตุ อายตนะย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัว.
แต่เมื่อตรัสว่า หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทพและมารย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัว มหาชนย่อมเข้าใจ ย่อมไม่งงงวย ไม่กลับเป็นศัตรู (ไม่โต้แย้ง). เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา (กถาว่าด้วยบุคคล) ก็เพื่อทรงแสดงหิริและโอตตัปปะ.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ทั้งหลาย ธาตุทั้งหลาย อายตนะทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า มหาวิหารทั้งหลายมีเวฬุวันเป็นต้นอันขันธ์ ธาตุ อายตนะสร้างแล้ว ก็นัยนี้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงบุคคลผู้กระทำเฉพาะตน.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมปลงชีวิตบิดา มารดา พระอรหันต์ กระทำกรรมคือยังพระโลหิตให้ห้อ และกระทำสังฆเภท ก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงอนันตริยกรรม.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมมีเมตตา ก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงพรหมวิหารธรรม.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมระลึกถึงปุพเพนิวาสญาณ ก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงปุพเพนิวาสญาณ.
แม้เมื่อกล่าวว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมรับทาน มหาชนย่อมไม่เข้าใจ ย่อมงงงวย กลับเป็นศัตรูว่า นี้อะไรกัน ขันธ์ ธาตุ อายตนะย่อมรับทาน. แต่เมื่อกล่าวว่า บุคคลผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเป็นต้น มหาชนย่อมเข้าใจ ย่อมไม่งงงวย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงความหมดจดแห่งทักษิณา.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ละโลกสมมติ ตั้งอยู่ในชื่อของชาวโลก ในภาษาของชาวโลก ในคำพูดจากันของชาวโลกนั่นแลแสดงธรรม. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา แม้เพื่อไม่ละโลกสมมติ.
ดังนั้น จึงชื่อว่าบุคคลเอก เพราะบุคคลนั้นด้วย เป็นเอกด้วย.
...
==========
พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่าตนมี
หรือคำเล่านี้ไม่ใช่คำของพระพุทธเจ้า
------ ถ้าท่านเข้าใจ พระธรรมเทศนา ของพระศาสดา เพียงพอ ท่านก็จะเข้าใจ ว่า มีทั้ง คำเทศนา ที่เป็นสมมติเทศนา และ ปรมัตถเทศนา
ที่ผมก็เคย สัยสน ไม่เข้าใจ มาก่อน เช่นกัน
พระพุทธเจ้าตรัสคำที่ย้อนแย้งขัดกันอย่างนั้นรึ
----- ไม่ย้อนแย้ง ไม่ขัดแย้งกัน
ท่านเข้าใจแล้วนะครับ
อนุโมนาครับ
เจริญในพระธรรม ของพระศาสดา
ครับ
.