[๕๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กายนี้ของคนพาล ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบแล้วด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว
อวิชชานั้นคนพาลยังละไม่ได้ และตัณหานั้นยังไม่สิ้นไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะคนพาลไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เหตุนั้น
เมื่อตายไป คนพาลย่อมเข้าถึงกาย
เมื่อเขา เข้าถึงกายชื่อว่ายังไม่พ้นจาก
ชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า ยังไม่พ้นไปจากทุกข์
กายนี้ของบัณฑิต ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว
อวิชชานั้นบัณฑิตละได้แล้วและตัณหานั้นสิ้นไปแล้ว
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าบัณฑิตได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เหตุนั้น เมื่อตายไป บัณฑิตย่อมไม่เข้าถึงกาย
เมื่อเขาไม่เข้าถึงกาย ชื่อว่าย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า ย่อมพ้นจากทุกข์
อันนี้เป็นความแปลกกัน อันนี้เป็นอธิบาย อันนี้เป็นความต่างกันของบัณฑิตกับคนพาล
กล่าวคือการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ฯ
พระสูตรเต็มที่นี่
การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า : พระพุทธเจ้ากล่าวตามโวหารโลก
บางส่วนของ โปฏฐปาทสูตร
๓๑๒...ดูกรจิตตะ เหล่านี้แล
เป็นชื่อตามโลก เป็นภาษาของโลก
เป็นโวหารของโลก เป็นบัญญัติของโลก
ที่ตถาคตกล่าวอยู่ มิได้ยึดถือ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=6029&Z=6776
ศึกษาอรรถกถา(บางส่วน) เพิ่มเติมที่นี่
บทว่า อิมา โข จิตฺต ความว่า
ดูก่อนจิตต์ การได้อัตตภาพอันหยาบ การได้อัตตภาพอันสำเร็จแต่ใจ
และการได้อัตตภาพอันไม่มีรูป เหล่านี้แล เป็นโลกสัญญา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการได้อัตตภาพ ๓ อย่างเบื้องต่ำอย่างนี้ว่า
เหล่านั้นเป็นเพียงชื่อในโลก เป็นเพียงสัญญา
เหล่านั้นเป็นเพียงภาษาในโลก เป็นเพียงแนวคำพูด เป็นเพียงโวหาร เป็นเพียงนามบัญญัติ
ดังนี้แล้ว บัดนี้จึงตรัสว่า นั้นทั้งหมด เป็นเพียงโวหาร.
เพราะเหตุอะไร. เพราะโดยปรมัตถ์ไม่มีสัตว์ โลกนั้นสูญ ว่างเปล่า.
ก็กถาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีสองอย่างคือ
สัมมติกถา และ ปรมัตถกถา.
ในกถาทั้งสองอย่างนั้น
กถาว่า สัตว์ คน เทวดา พรหมเป็นต้น ชื่อว่าสัมมติกถา.
กถาว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน สัมมัปปธานเป็นต้น ชื่อว่าปรมัตถกถา.
ในกถาเหล่านั้น
ผู้ใด ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สัตว์ คน เทวดาหรือพรหม
ย่อมสามารถเพื่อรู้แจ้ง เพื่อแทงตลอด เพื่อนำออกจากทุกข์ เพื่อถือเอาซึ่งการจับธง คือพระอรหัตด้วยสัมมติเทศนา
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะตรัสว่าสัตว์ คน เทวดา หรือว่าพรหม เป็นเบื้องต้นแก่ผู้นั้น.
ผู้ใด ฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้นว่า อนิจจัง หรือทุกขัง ด้วยปรมัตถเทศนา ย่อมอาจเพื่อรู้แจ้ง เพื่อแทงตลอด เพื่อนำออกจากทุกข์ เพื่อถือเอาซึ่งการจับธง คือพระอรหัต
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะทรงแสดงธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้นว่า อนิจจัง หรือว่าทุกขังแก่ผู้นั้น.
เพราะฉะนั้น จึงไม่แสดงปรมัตถกถาก่อนแม้แก่สัตว์ผู้จะรู้ด้วยสัมมติกถา
แต่จะทรงให้รู้ด้วยสัมมติกถาแล้ว จึงทรงแสดงปรมัตถกถาในภายหลัง
จะไม่ทรงแสดงสัมมติกถาก่อน แม้แก่สัตว์ผู้จะรู้ด้วยปรมัตถกถา
แต่จะทรงแสดงให้รู้ด้วยปรมัตถกถาแล้ว จึงทรงแสดงสัมมติกถาในภายหลัง.
แต่โดยปกติ เมื่อทรงแสดงปรมัตถกถาก่อนเทียว เทศนาก็จะมีอาการหยาบ
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแสดงสัมมติกถาก่อน แล้วจึงทรงแสดงปรมัตถกถาในภายหลัง
แม้เมื่อจะทรงแสดงสัมมติกถา ก็จะทรงแสดงตามความเป็นจริงตามสภาพ ไม่เท็จ
แม้เมื่อจะทรงแสดงปรมัตถกถา ก็ทรงแสดงตามความเป็นจริง ตามสภาพ ไม่เท็จ.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=275
ความหมายคำที่ควรรู้เพิ่มเติม
โวหาร ถ้อยคำ, สำนวนพูด, ชั้นเชิง หรือกระบวนแต่งหนังสือ หรือพูด
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%E2%C7%CB%D2%C3&original=1
สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์
เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น
ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือขันธ์ ๕ เท่านั้น;
ตรงข้ามกับ ปรมัตถสัจจะ
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%C1%C1%B5%D4%CA%D1%A8%A8%D0&original=1
ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ
ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ตรงข้ามกับ สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น สัตว์ บุคคล ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก. นาย ข. เป็นต้น
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BB%C3%C1%D1%B5%B6%CA%D1%A8%A8%D0
ปรมัตถธรรม สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์,
สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด ตามหลักอภิธรรมว่ามี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BB%C3%C1%D1%B5%B6%B8%C3%C3%C1&original=1
โพธิสัตว์ ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ
ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
สัตว์ “ผู้ติดข้องในรูปารมณ์เป็นต้น”,
สิ่งที่มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก
ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น,
ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%B5%C7%EC&original=1
เมื่อตายไป คนพาลย่อมเข้าถึงกาย เมื่อเขาเข้าถึงกายชื่อว่ายังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ..(พาลปัณฑิตสูตร)ใช่พุทธภาษิต หรือไม่?
[๕๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กายนี้ของคนพาล ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบแล้วด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว
อวิชชานั้นคนพาลยังละไม่ได้ และตัณหานั้นยังไม่สิ้นไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนพาลไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เหตุนั้น เมื่อตายไป คนพาลย่อมเข้าถึงกาย
เมื่อเขา เข้าถึงกายชื่อว่ายังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า ยังไม่พ้นไปจากทุกข์
กายนี้ของบัณฑิต ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว
อวิชชานั้นบัณฑิตละได้แล้วและตัณหานั้นสิ้นไปแล้ว
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าบัณฑิตได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เหตุนั้น เมื่อตายไป บัณฑิตย่อมไม่เข้าถึงกาย
เมื่อเขาไม่เข้าถึงกาย ชื่อว่าย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า ย่อมพ้นจากทุกข์
อันนี้เป็นความแปลกกัน อันนี้เป็นอธิบาย อันนี้เป็นความต่างกันของบัณฑิตกับคนพาล
กล่าวคือการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ฯ
การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า : พระพุทธเจ้ากล่าวตามโวหารโลก
บางส่วนของ โปฏฐปาทสูตร
๓๑๒...ดูกรจิตตะ เหล่านี้แล
เป็นชื่อตามโลก เป็นภาษาของโลก
เป็นโวหารของโลก เป็นบัญญัติของโลก
ที่ตถาคตกล่าวอยู่ มิได้ยึดถือ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=6029&Z=6776
ศึกษาอรรถกถา(บางส่วน) เพิ่มเติมที่นี่
บทว่า อิมา โข จิตฺต ความว่า
ดูก่อนจิตต์ การได้อัตตภาพอันหยาบ การได้อัตตภาพอันสำเร็จแต่ใจ
และการได้อัตตภาพอันไม่มีรูป เหล่านี้แล เป็นโลกสัญญา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการได้อัตตภาพ ๓ อย่างเบื้องต่ำอย่างนี้ว่า
เหล่านั้นเป็นเพียงชื่อในโลก เป็นเพียงสัญญา
เหล่านั้นเป็นเพียงภาษาในโลก เป็นเพียงแนวคำพูด เป็นเพียงโวหาร เป็นเพียงนามบัญญัติ
ดังนี้แล้ว บัดนี้จึงตรัสว่า นั้นทั้งหมด เป็นเพียงโวหาร.
เพราะเหตุอะไร. เพราะโดยปรมัตถ์ไม่มีสัตว์ โลกนั้นสูญ ว่างเปล่า.
ก็กถาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีสองอย่างคือ
สัมมติกถา และ ปรมัตถกถา.
ในกถาทั้งสองอย่างนั้น
กถาว่า สัตว์ คน เทวดา พรหมเป็นต้น ชื่อว่าสัมมติกถา.
กถาว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน สัมมัปปธานเป็นต้น ชื่อว่าปรมัตถกถา.
ในกถาเหล่านั้น
ผู้ใด ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สัตว์ คน เทวดาหรือพรหม
ย่อมสามารถเพื่อรู้แจ้ง เพื่อแทงตลอด เพื่อนำออกจากทุกข์ เพื่อถือเอาซึ่งการจับธง คือพระอรหัตด้วยสัมมติเทศนา
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะตรัสว่าสัตว์ คน เทวดา หรือว่าพรหม เป็นเบื้องต้นแก่ผู้นั้น.
ผู้ใด ฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้นว่า อนิจจัง หรือทุกขัง ด้วยปรมัตถเทศนา ย่อมอาจเพื่อรู้แจ้ง เพื่อแทงตลอด เพื่อนำออกจากทุกข์ เพื่อถือเอาซึ่งการจับธง คือพระอรหัต
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะทรงแสดงธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้นว่า อนิจจัง หรือว่าทุกขังแก่ผู้นั้น.
เพราะฉะนั้น จึงไม่แสดงปรมัตถกถาก่อนแม้แก่สัตว์ผู้จะรู้ด้วยสัมมติกถา
แต่จะทรงให้รู้ด้วยสัมมติกถาแล้ว จึงทรงแสดงปรมัตถกถาในภายหลัง
จะไม่ทรงแสดงสัมมติกถาก่อน แม้แก่สัตว์ผู้จะรู้ด้วยปรมัตถกถา
แต่จะทรงแสดงให้รู้ด้วยปรมัตถกถาแล้ว จึงทรงแสดงสัมมติกถาในภายหลัง.
แต่โดยปกติ เมื่อทรงแสดงปรมัตถกถาก่อนเทียว เทศนาก็จะมีอาการหยาบ
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแสดงสัมมติกถาก่อน แล้วจึงทรงแสดงปรมัตถกถาในภายหลัง
แม้เมื่อจะทรงแสดงสัมมติกถา ก็จะทรงแสดงตามความเป็นจริงตามสภาพ ไม่เท็จ
แม้เมื่อจะทรงแสดงปรมัตถกถา ก็ทรงแสดงตามความเป็นจริง ตามสภาพ ไม่เท็จ.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=275
ความหมายคำที่ควรรู้เพิ่มเติม
โวหาร ถ้อยคำ, สำนวนพูด, ชั้นเชิง หรือกระบวนแต่งหนังสือ หรือพูด
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%E2%C7%CB%D2%C3&original=1
สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์
เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น
ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือขันธ์ ๕ เท่านั้น;
ตรงข้ามกับ ปรมัตถสัจจะ
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%C1%C1%B5%D4%CA%D1%A8%A8%D0&original=1
ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ
ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ตรงข้ามกับ สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น สัตว์ บุคคล ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก. นาย ข. เป็นต้น
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BB%C3%C1%D1%B5%B6%CA%D1%A8%A8%D0
ปรมัตถธรรม สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์,
สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด ตามหลักอภิธรรมว่ามี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BB%C3%C1%D1%B5%B6%B8%C3%C3%C1&original=1
โพธิสัตว์ ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ
ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
สัตว์ “ผู้ติดข้องในรูปารมณ์เป็นต้น”,
สิ่งที่มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก
ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น,
ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%B5%C7%EC&original=1