ก็กถาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีสองอย่างคือ
สัมมติกถาและปรมัตถกถา.
ในกถาทั้งสองอย่างนั้น กถาว่า สัตว์ คน เทวดา พรหมเป็นต้น ชื่อว่าสัมมติกถา. กถาว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน สัมมัปปธานเป็นต้น ชื่อว่าปรมัตถกถา.
ในกถาเหล่านั้น ผู้ใด ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สัตว์ คน เทวดาหรือพรหม ย่อมสามารถเพื่อรู้แจ้ง เพื่อแทงตลอด เพื่อนำออกจากทุกข์ เพื่อถือเอาซึ่งการจับธง คือพระอรหัตด้วยสัมมติเทศนา พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะตรัสว่าสัตว์ คน เทวดา หรือว่าพรหม เป็นเบื้องต้นแก่ผู้นั้น.
ผู้ใดฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้นว่า อนิจจัง หรือทุกขัง ด้วยปรมัตถเทศนา ย่อมอาจเพื่อรู้แจ้ง เพื่อแทงตลอด เพื่อนำออกจากทุกข์ เพื่อถือเอาซึ่งการจับธง คือพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะทรงแสดงธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้นว่า อนิจจัง หรือว่าทุกขังแก่ผู้นั้น. เพราะฉะนั้น จึงไม่แสดงปรมัตถกถาก่อน แม้แก่สัตว์ผู้จะรู้ด้วยสัมมติกถา แต่จะทรงให้รู้ด้วยสัมมติกถาแล้ว จึงทรงแสดงปรมัตถกถาในภายหลัง จะไม่ทรงแสดงสัมมติกถาก่อน แม้แก่สัตว์ผู้จะรู้ด้วยปรมัตถกถา แต่จะทรงแสดงให้รู้ด้วยปรมัตถกถาแล้ว จึงทรงแสดงสัมมติกถาในภายหลัง.
แต่โดยปกติ เมื่อทรงแสดงปรมัตถกถาก่อนเทียว เทศนาก็จะมีอาการหยาบ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแสดงสัมมติกถาก่อนแล้ว จึงทรงแสดงปรมัตถกถาในภายหลัง แม้เมื่อจะทรงแสดงสัมมติกถา ก็จะทรงแสดงตามความเป็นจริงตามสภาพ ไม่เท็จ แม้เมื่อจะทรงแสดงปรมัตถกถา ก็ทรงแสดงตามความเป็นจริง ตามสภาพ ไม่เท็จ.
โบราณจารย์กล่าวคาถาไว้ว่า
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เมื่อจะตรัสก็ตรัสสัจจะ ๒ อย่างคือ
สัมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ จะไม่ได้สัจจะที่ ๓
สังเกตวจนะเป็นสัจจะ เป็นเหตุแห่งโลกสัมมติ
ปรมัตถวจนะเป็นสัจจะ
เป็นลักษณะมีจริงแห่งธรรมทั้งหลายดังนี้.
สมมุติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ
ในกถาทั้งสองอย่างนั้น กถาว่า สัตว์ คน เทวดา พรหมเป็นต้น ชื่อว่าสัมมติกถา. กถาว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน สัมมัปปธานเป็นต้น ชื่อว่าปรมัตถกถา.
ในกถาเหล่านั้น ผู้ใด ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สัตว์ คน เทวดาหรือพรหม ย่อมสามารถเพื่อรู้แจ้ง เพื่อแทงตลอด เพื่อนำออกจากทุกข์ เพื่อถือเอาซึ่งการจับธง คือพระอรหัตด้วยสัมมติเทศนา พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะตรัสว่าสัตว์ คน เทวดา หรือว่าพรหม เป็นเบื้องต้นแก่ผู้นั้น.
ผู้ใดฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้นว่า อนิจจัง หรือทุกขัง ด้วยปรมัตถเทศนา ย่อมอาจเพื่อรู้แจ้ง เพื่อแทงตลอด เพื่อนำออกจากทุกข์ เพื่อถือเอาซึ่งการจับธง คือพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะทรงแสดงธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้นว่า อนิจจัง หรือว่าทุกขังแก่ผู้นั้น. เพราะฉะนั้น จึงไม่แสดงปรมัตถกถาก่อน แม้แก่สัตว์ผู้จะรู้ด้วยสัมมติกถา แต่จะทรงให้รู้ด้วยสัมมติกถาแล้ว จึงทรงแสดงปรมัตถกถาในภายหลัง จะไม่ทรงแสดงสัมมติกถาก่อน แม้แก่สัตว์ผู้จะรู้ด้วยปรมัตถกถา แต่จะทรงแสดงให้รู้ด้วยปรมัตถกถาแล้ว จึงทรงแสดงสัมมติกถาในภายหลัง.
แต่โดยปกติ เมื่อทรงแสดงปรมัตถกถาก่อนเทียว เทศนาก็จะมีอาการหยาบ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแสดงสัมมติกถาก่อนแล้ว จึงทรงแสดงปรมัตถกถาในภายหลัง แม้เมื่อจะทรงแสดงสัมมติกถา ก็จะทรงแสดงตามความเป็นจริงตามสภาพ ไม่เท็จ แม้เมื่อจะทรงแสดงปรมัตถกถา ก็ทรงแสดงตามความเป็นจริง ตามสภาพ ไม่เท็จ.
โบราณจารย์กล่าวคาถาไว้ว่า
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เมื่อจะตรัสก็ตรัสสัจจะ ๒ อย่างคือ
สัมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ จะไม่ได้สัจจะที่ ๓
สังเกตวจนะเป็นสัจจะ เป็นเหตุแห่งโลกสัมมติ
ปรมัตถวจนะเป็นสัจจะ เป็นลักษณะมีจริงแห่งธรรมทั้งหลายดังนี้.