.
https://m.ppantip.com/topic/30168996?
----------------------------------------
- ทำไม พระธรรม บางครั้งมีแสดงว่า เป็นบุคคล
บางครั้ง มีแสดงว่า มีจิต แต่ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เราเขา
มีแต่สภาพธรรมต่างๆ นับเป็นบุคคลไม่ได้
บางครั้ง มีคำว่า สูญญตา
บางครั้ง ฟังธรรมะ แบบเซน(พุทธมหายานนิกาย"ฌาน" . ออกเสียงแบบญี่ปุ่น) ว่าไม่มีต้นโพธ์ ไม่มีฝุ่น
จะต้องทำความเข้าใจ อย่างไร จึงจะถูกต้อง เข้าใจ
1.
==================================
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=139
... เทศนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามี ๒ อย่าง
คือ
สมมติเทศนา ๑
ปรมัตถเทศนา ๑.
ใน ๒ อย่างนั้น เทศนาทำนองนี้
ว่า บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทวดา มาร ชื่อว่าสมมติเทศนา.
เทศนาทำนองนี้ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน ชื่อว่าปรมัตถเทศนา.
ในเทศนา ๒ อย่างนั้น
ชนเหล่าใดฟังเทศนาเนื่องด้วยสมมติ สามารถเข้าใจเนื้อความ ละโมหะ บรรลุคุณพิเศษได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงสมมติเทศนาแก่ชนเหล่านั้น.
ส่วนชนเหล่าใดฟังเทศนาเนื่องด้วยปรมัตถ์ แล้วสามารถเข้าใจเนื้อความ ละโมหะ บรรลุคุณพิเศษได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงปรมัตถเทศนาแก่ชนเหล่านั้น.
==================================
2.
---------------------- สำหรับ บุคคลที่ัยังไม่ทราบ ปรมัตถ์สัจจะ(ความจริงสุงสุด ความจริงที่แท้จริง)และมุมมองในการ เห็นสิ่งทั่งหลายตามความเป็นจริงเพื่อการหมดทุกข์ ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นแต่เพียง รูปธรรมและนามธรรม เ่ท่านั้น
หากในพระธรรม ทรงแสดงว่า " ขันธ์ ธาตุ อายตนะทั้งหลายย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัวดังนี้
มหาชนย่อมไม่เข้าใจ ย่อมงงงวย กลับเป็นศัตรู (โต้แย้ง) ว่า นี้อะไรกัน ขันธ์ ธาตุ อายตนะย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัว.
แต่เมื่อตรัสว่า หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทพและมารย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัว
มหาชนย่อมเข้าใจ ย่อมไม่งงงวย ไม่กลับเป็นศัตรู (ไม่โต้แย้ง). เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา (กถาว่าด้วยบุคคล) ก็เพื่อทรงแสดงหิริและโอตตัปปะ. "
...
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปุคคลกถา ว่าด้วยบุคคล ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ
เพื่อทรงแสดงหิริ ความละอายและโอตตัปปะ ความเกรงกลัว ๑
เพื่อทรงแสดง กัมมัสสกตา (ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน) ๑
เพื่อทรงแสดงบุคคลผู้กระทำเฉพาะตน ๑
เพื่อทรงแสดงถึงอนันตริยกรรม (กรรมก่อนกรรมอื่นๆ ที่ให้ผล) ๑
เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา) ๑
เพื่อทรงแสดงถึงปุพเพนิวาสญาณ (ระลึกชาติก่อนไว้) ๑
เพื่อทรงแสดงถึงทักขิณาวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์แห่งทักขิณา) ๑
และเพื่อไม่ทรงละโลกสมมติ ๑.
เมื่อพระองค์ตรัสว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะทั้งหลายย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัวดังนี้ มหาชนย่อมไม่เข้าใจ ย่อมงงงวย กลับเป็นศัตรู (โต้แย้ง) ว่า
นี้อะไรกัน ขันธ์ ธาตุ อายตนะย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัว.
แต่เมื่อตรัสว่า หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทพและมารย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัว
มหาชนย่อมเข้าใจ ย่อมไม่งงงวย ไม่กลับเป็นศัตรู (ไม่โต้แย้ง). เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา (กถาว่าด้วยบุคคล) ก็เพื่อทรงแสดงหิริและโอตตัปปะ.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ทั้งหลาย ธาตุทั้งหลาย อายตนะทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า มหาวิหารทั้งหลายมีเวฬุวันเป็นต้นอันขันธ์ ธาตุ อายตนะสร้างแล้ว ก็นัยนี้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงบุคคลผู้กระทำเฉพาะตน.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมปลงชีวิตบิดา มารดา พระอรหันต์ กระทำกรรมคือยังพระโลหิตให้ห้อ และกระทำสังฆเภท ก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงอนันตริยกรรม.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมมีเมตตา ก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงพรหมวิหารธรรม.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมระลึกถึงปุพเพนิวาสญาณ ก็นัยนี้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงปุพเพนิวาสญาณ.
3.
----------------------------- แต่สำหรับ บุคคล ที่ได้รับรู้ ปรมัตถ์สัจจะ แล้ว
ย่อมรับฟังพระธรรม แบบ ปรมัตถเทศนา เข้าใจ
และการพิจารณา สิ่งต่างๆ และการวิปัสสนา ก็ทำด้วยความรู้ว่า ร่างกายที่ทำอยู่ เป็นเพียง รูปธรรม นามธรรม ชุดหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของใครที่ไหนเป็นผู้ทำ จึงจะเห็นความจริงสุงสุดได้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BB%C3%C1%D1%B5%B6%EC&detail=on
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
การค้นหาคำว่า “ ปรมัตถ์ ”
ผลการค้นหาพบ 7 ตำแหน่ง ดังนี้ :-
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 1 / 7
ปรมัตถ์
1. ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน
2. ความหมายสูงสุด, ความหมายที่แท้จริง เช่น ในคำว่า ปรมัตถธรรม
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 7
ปรมัตถธรรม สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์,
สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด ตามหลักอภิธรรมว่ามี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3 / 7
ปรมัตถปฏิปทา ข้อปฏิบัติมีประโยชน์อันยิ่ง, ทางดำเนินให้ถึงปรมัตถ์, ข้อปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงประโยชน์สูงสุดคือบรรลุนิพพาน
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 4 / 7
ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ
ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ตรงข้ามกับ สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น สัตว์ บุคคล ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก. นาย ข. เป็นต้น
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 5 / 7
สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์
เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น
ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือขันธ์ ๕ เท่านั้น;
ตรงข้ามกับ ปรมัตถสัจจะ
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 6 / 7
สัจจะ
1. ความจริง มี ๒ คือ
๑. สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น คน พ่อค้า ปลา แมว โต๊ะ เก้าอี้
๒. ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
2. ความจริง คือ
จริงใจ ได้แก่ ซื่อสัตย์
จริงวาจา ได้แก่ พูดจริง และ
จริงการ ได้แก่ ทำจริง
(ข้อ ๑ ในฆราวาสธรรม ๔, ข้อ ๒ ในอธิษฐานธรรม ๔, ข้อ ๔ ในเบญจธรรม, ข้อ ๗ ในบารมี ๑๐)
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 7 / 7
สุญญตา “ความเป็นสภาพสูญ”, ความว่าง
1. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น,
โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ
2. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน
3. โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ
เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน)
เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และ
เพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์
4. ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย;
สุญตา ก็เขียน
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปรมัตถ์&detail=on
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BB%C3%C1%D1%B5%B6%EC&detail=on
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
***** ทำความเข้าใจว่าทำไม พระธรรม บางครั้งมีแสดงว่า เป็นบุคคล บางครั้งแสดงว่า มีจิต แต่ไม่ใช่บุคคล ตัวตน *****
https://m.ppantip.com/topic/30168996?
----------------------------------------
- ทำไม พระธรรม บางครั้งมีแสดงว่า เป็นบุคคล
บางครั้ง มีแสดงว่า มีจิต แต่ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เราเขา
มีแต่สภาพธรรมต่างๆ นับเป็นบุคคลไม่ได้
บางครั้ง มีคำว่า สูญญตา
บางครั้ง ฟังธรรมะ แบบเซน(พุทธมหายานนิกาย"ฌาน" . ออกเสียงแบบญี่ปุ่น) ว่าไม่มีต้นโพธ์ ไม่มีฝุ่น
จะต้องทำความเข้าใจ อย่างไร จึงจะถูกต้อง เข้าใจ
1.
==================================
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=139
... เทศนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามี ๒ อย่าง
คือ
สมมติเทศนา ๑
ปรมัตถเทศนา ๑.
ใน ๒ อย่างนั้น เทศนาทำนองนี้
ว่า บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทวดา มาร ชื่อว่าสมมติเทศนา.
เทศนาทำนองนี้ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน ชื่อว่าปรมัตถเทศนา.
ในเทศนา ๒ อย่างนั้น
ชนเหล่าใดฟังเทศนาเนื่องด้วยสมมติ สามารถเข้าใจเนื้อความ ละโมหะ บรรลุคุณพิเศษได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงสมมติเทศนาแก่ชนเหล่านั้น.
ส่วนชนเหล่าใดฟังเทศนาเนื่องด้วยปรมัตถ์ แล้วสามารถเข้าใจเนื้อความ ละโมหะ บรรลุคุณพิเศษได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงปรมัตถเทศนาแก่ชนเหล่านั้น.
==================================
2.
---------------------- สำหรับ บุคคลที่ัยังไม่ทราบ ปรมัตถ์สัจจะ(ความจริงสุงสุด ความจริงที่แท้จริง)และมุมมองในการ เห็นสิ่งทั่งหลายตามความเป็นจริงเพื่อการหมดทุกข์ ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นแต่เพียง รูปธรรมและนามธรรม เ่ท่านั้น
หากในพระธรรม ทรงแสดงว่า " ขันธ์ ธาตุ อายตนะทั้งหลายย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัวดังนี้
มหาชนย่อมไม่เข้าใจ ย่อมงงงวย กลับเป็นศัตรู (โต้แย้ง) ว่า นี้อะไรกัน ขันธ์ ธาตุ อายตนะย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัว.
แต่เมื่อตรัสว่า หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทพและมารย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัว
มหาชนย่อมเข้าใจ ย่อมไม่งงงวย ไม่กลับเป็นศัตรู (ไม่โต้แย้ง). เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา (กถาว่าด้วยบุคคล) ก็เพื่อทรงแสดงหิริและโอตตัปปะ. "
...
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปุคคลกถา ว่าด้วยบุคคล ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ
เพื่อทรงแสดงหิริ ความละอายและโอตตัปปะ ความเกรงกลัว ๑
เพื่อทรงแสดง กัมมัสสกตา (ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน) ๑
เพื่อทรงแสดงบุคคลผู้กระทำเฉพาะตน ๑
เพื่อทรงแสดงถึงอนันตริยกรรม (กรรมก่อนกรรมอื่นๆ ที่ให้ผล) ๑
เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา) ๑
เพื่อทรงแสดงถึงปุพเพนิวาสญาณ (ระลึกชาติก่อนไว้) ๑
เพื่อทรงแสดงถึงทักขิณาวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์แห่งทักขิณา) ๑
และเพื่อไม่ทรงละโลกสมมติ ๑.
เมื่อพระองค์ตรัสว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะทั้งหลายย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัวดังนี้ มหาชนย่อมไม่เข้าใจ ย่อมงงงวย กลับเป็นศัตรู (โต้แย้ง) ว่า
นี้อะไรกัน ขันธ์ ธาตุ อายตนะย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัว.
แต่เมื่อตรัสว่า หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทพและมารย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัว
มหาชนย่อมเข้าใจ ย่อมไม่งงงวย ไม่กลับเป็นศัตรู (ไม่โต้แย้ง). เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา (กถาว่าด้วยบุคคล) ก็เพื่อทรงแสดงหิริและโอตตัปปะ.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ทั้งหลาย ธาตุทั้งหลาย อายตนะทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า มหาวิหารทั้งหลายมีเวฬุวันเป็นต้นอันขันธ์ ธาตุ อายตนะสร้างแล้ว ก็นัยนี้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงบุคคลผู้กระทำเฉพาะตน.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมปลงชีวิตบิดา มารดา พระอรหันต์ กระทำกรรมคือยังพระโลหิตให้ห้อ และกระทำสังฆเภท ก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงอนันตริยกรรม.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมมีเมตตา ก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงพรหมวิหารธรรม.
แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมระลึกถึงปุพเพนิวาสญาณ ก็นัยนี้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงปุพเพนิวาสญาณ.
3.
----------------------------- แต่สำหรับ บุคคล ที่ได้รับรู้ ปรมัตถ์สัจจะ แล้ว
ย่อมรับฟังพระธรรม แบบ ปรมัตถเทศนา เข้าใจ
และการพิจารณา สิ่งต่างๆ และการวิปัสสนา ก็ทำด้วยความรู้ว่า ร่างกายที่ทำอยู่ เป็นเพียง รูปธรรม นามธรรม ชุดหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของใครที่ไหนเป็นผู้ทำ จึงจะเห็นความจริงสุงสุดได้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BB%C3%C1%D1%B5%B6%EC&detail=on
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
การค้นหาคำว่า “ ปรมัตถ์ ”
ผลการค้นหาพบ 7 ตำแหน่ง ดังนี้ :-
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 1 / 7
ปรมัตถ์
1. ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน
2. ความหมายสูงสุด, ความหมายที่แท้จริง เช่น ในคำว่า ปรมัตถธรรม
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 7
ปรมัตถธรรม สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์,
สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด ตามหลักอภิธรรมว่ามี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3 / 7
ปรมัตถปฏิปทา ข้อปฏิบัติมีประโยชน์อันยิ่ง, ทางดำเนินให้ถึงปรมัตถ์, ข้อปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงประโยชน์สูงสุดคือบรรลุนิพพาน
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 4 / 7
ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ
ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ตรงข้ามกับ สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น สัตว์ บุคคล ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก. นาย ข. เป็นต้น
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 5 / 7
สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์
เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น
ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือขันธ์ ๕ เท่านั้น;
ตรงข้ามกับ ปรมัตถสัจจะ
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 6 / 7
สัจจะ
1. ความจริง มี ๒ คือ
๑. สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น คน พ่อค้า ปลา แมว โต๊ะ เก้าอี้
๒. ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
2. ความจริง คือ
จริงใจ ได้แก่ ซื่อสัตย์
จริงวาจา ได้แก่ พูดจริง และ
จริงการ ได้แก่ ทำจริง
(ข้อ ๑ ในฆราวาสธรรม ๔, ข้อ ๒ ในอธิษฐานธรรม ๔, ข้อ ๔ ในเบญจธรรม, ข้อ ๗ ในบารมี ๑๐)
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 7 / 7
สุญญตา “ความเป็นสภาพสูญ”, ความว่าง
1. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น,
โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ
2. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน
3. โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ
เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน)
เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และ
เพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์
4. ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย;
สุญตา ก็เขียน
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปรมัตถ์&detail=on
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BB%C3%C1%D1%B5%B6%EC&detail=on
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------