ขอยกคำตอบของอาจารย์วศิน อินทสระ มาให้อ่านกันครับ
คำถาม - มีพระท่านกล่าวไว้ว่า “ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย” ในตอนแรกผมคิดว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่พอได้เรียนรู้ธรรมระดับปรมัตถ์มาบ้าง ก็พอเข้าใจว่า ความเกิดความตายเป็นกระแสแห่งเหตุปัจจัย ไหลไปเรื่อยเปลี่ยนแปลงและปรุงไปเรื่อย แต่ถ้าใครยึดถือสิ่งๆ นั้น มันก็จะเกิดตัวผู้ที่จะเกิดและตาย คล้ายกับที่อาจารย์เคยตอบไว้ว่า การกระทำมี แต่ตัวผู้กระทำไม่มี อันนี้ก็ความตายมี แต่ตัวผู้ตายไม่มี มีแต่ธรรมที่มันไหลไป ผิดถูกประการใด อาจารย์โปรดชี้แนะด้วยครับ (วันนี้ขอของแข็งหน่อยครับ ทานของอ่อนมาเยอะแล้ว)
คำตอบ - ของอ่อนย่อยง่ายดีนะคุณ ของแข็งเคี้ยวก็ยาก ย่อยก็ยาก
ธรรมะมีหลายปริยาย ต้องตกลงกันก่อนว่า เราจะพูดกันในปริยายไหน
เบื้องต่ำหรือเบื้องสูง สมมติสัจจะหรือปรมัตถสัจจะ
เมื่อทำความเข้าใจกันได้อย่างนี้แล้วก็จะไม่เถียงกัน ไม่ทะเลาะกัน ไม่เข้าใจผิดต่อกัน
สมมติว่าคนหนึ่งพูดว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”
อีกคนหนึ่งพูดว่า “ตัวตนไม่มีจะพึ่งได้อย่างไร”
อย่างนี้ก็เถียงกัน แต่ถ้าเราทำความเข้าใจกันก่อนว่า พูดโดยสมมติสัจจะหรือปรมัตถสัจจะ ก็จะถูกด้วยกันทั้งสองคน
มีพระพุทธภาษิตอยู่บทหนึ่งว่า “คนเขลามัวเดือดร้อนอยู่ว่า บุตรของเรามี ทรัพย์ของเรามี ตนของตนยังไม่มี บุตรและทรัพย์จะมีแต่ที่ไหน” ท่านตรัสโดยปริยายเบื้องสูง เพื่อความไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่อีกด้านหนึ่งท่านสอนให้รู้จักหาทรัพย์ รู้จักรักษาทรัพย์ รู้จักสงเคราะห์บุตรภรรยา ซึ่งถือว่าเป็นมงคลอันสูงสุด อย่างนี้เป็นต้น
ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย
คำถาม - มีพระท่านกล่าวไว้ว่า “ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย” ในตอนแรกผมคิดว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่พอได้เรียนรู้ธรรมระดับปรมัตถ์มาบ้าง ก็พอเข้าใจว่า ความเกิดความตายเป็นกระแสแห่งเหตุปัจจัย ไหลไปเรื่อยเปลี่ยนแปลงและปรุงไปเรื่อย แต่ถ้าใครยึดถือสิ่งๆ นั้น มันก็จะเกิดตัวผู้ที่จะเกิดและตาย คล้ายกับที่อาจารย์เคยตอบไว้ว่า การกระทำมี แต่ตัวผู้กระทำไม่มี อันนี้ก็ความตายมี แต่ตัวผู้ตายไม่มี มีแต่ธรรมที่มันไหลไป ผิดถูกประการใด อาจารย์โปรดชี้แนะด้วยครับ (วันนี้ขอของแข็งหน่อยครับ ทานของอ่อนมาเยอะแล้ว)
คำตอบ - ของอ่อนย่อยง่ายดีนะคุณ ของแข็งเคี้ยวก็ยาก ย่อยก็ยาก
ธรรมะมีหลายปริยาย ต้องตกลงกันก่อนว่า เราจะพูดกันในปริยายไหน
เบื้องต่ำหรือเบื้องสูง สมมติสัจจะหรือปรมัตถสัจจะ
เมื่อทำความเข้าใจกันได้อย่างนี้แล้วก็จะไม่เถียงกัน ไม่ทะเลาะกัน ไม่เข้าใจผิดต่อกัน
สมมติว่าคนหนึ่งพูดว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”
อีกคนหนึ่งพูดว่า “ตัวตนไม่มีจะพึ่งได้อย่างไร”
อย่างนี้ก็เถียงกัน แต่ถ้าเราทำความเข้าใจกันก่อนว่า พูดโดยสมมติสัจจะหรือปรมัตถสัจจะ ก็จะถูกด้วยกันทั้งสองคน
มีพระพุทธภาษิตอยู่บทหนึ่งว่า “คนเขลามัวเดือดร้อนอยู่ว่า บุตรของเรามี ทรัพย์ของเรามี ตนของตนยังไม่มี บุตรและทรัพย์จะมีแต่ที่ไหน” ท่านตรัสโดยปริยายเบื้องสูง เพื่อความไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่อีกด้านหนึ่งท่านสอนให้รู้จักหาทรัพย์ รู้จักรักษาทรัพย์ รู้จักสงเคราะห์บุตรภรรยา ซึ่งถือว่าเป็นมงคลอันสูงสุด อย่างนี้เป็นต้น