‘หมอชลน่าน’ ห่วง ATK ยี่ห้อ LEPU กับกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง หวั่นคุมการแพร่เชื้อไม่ได้ แนะ สธ.สั่งห้ามใช้ด่วน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2984802
‘หมอชลน่าน’ ห่วงปมชุดดตรวจ ATK ยี่ห้อ LEPU กับกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง หวั่นควบคุมการแพร่เชื้อไม่ได้ แนะ อย.เก็บ-สธ.สั่งห้ามใช้ด่วน
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย (พท.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า
ข้อมูล ข้อเท็จจริง จากการเปิดเผยทางเฟซบุ๊กของ “
ชมรมแพทย์ชนบท” เรื่องผลการนำชุดตรวจ ATK ยี่ห้อ LEPU (เล่อปู๋) ที่องค์การจัดซื้อเป็น Home use มาใช้ในพื้นที่ระบาด จ.นครศรีธรรมราช พบผลลบลวง (False Negative) สูงมาก 35.4% ทำให้ นพ.
จรัสพงษ์ สุขกรี นพ.สสจ.สั่งทุก รพ.ใน จ.นครศรีธรรมราช ห้ามใช้ชุดตรวจ ATK ของ LEPU กับกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง เพื่อการควบคุมป้องกันโรค เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ดีที่สุดของผู้บริหารในพื้นที่ ถ้าเจอสถานการณ์เช่นนี้ ไม่เช่นนั้นจะควบคุมการระบาดไม่ได้ เพราะมีคนติดเชื้อถึง 73 คนใน 100 คน ที่ผลตรวจเป็นลบ ทำให้คนเหล่านี้ไม่ถูกแยกกักกันตัว แพร่เชื้อในชุมชนได้ตลอดเวลา
“กระทรวงสาธารณสุขต้องยกย่องชื่นชมผลการตรวจในพื้นที่ระบาดสูง ตรวจกลุ่มเสี่ยงสูงเป็นเมื่อนำมาตรวจด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR กลุ่มที่เป็นผลบวก ติดเชื้อ 167 ราย ในจำนวนนี้ตรวจด้วย ATK เป็นผลลบถึง 122 ราย ผลลบลวงจึงสูงถึง 73% นำข้อมูลชุดนี้มาคำนวณ ความจำเพาะ (Specificity) ได้ 99.1% ถือว่าดีมาก แต่ความไว (Sensitivity) ได้ 26.9% ถือว่าต่ำมาก เพราะ อย.กำหนดไว้ ต้องได้ 90% ขึ้นไป ถ้านำมาใช้ในพื้นที่ระบาด พื้นที่เสี่ยงสูงจะทำให้ไม่สามารถควบคุมโรคได้เกิดปัญหามาก อย.ต้องสั่งเก็บ สธ.ต้องสั่งห้ามใช้เป็นการด่วน”
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1299205667185684&id=100012887892943
หนุ่มวัย 39 ดับหลังฉีดวัคซีนสูตรไขว้ ญาติคาใจ ผลชันสูตรเลือดออกในสมอง
https://www.matichon.co.th/region/news_2984658
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นาง
ณัฐฐา นาโว เปิดเผยว่าลูกชาย นาย
สุพจน์ ประสานเชื้อ อายุ 39 ปี ส่งคลิปเสียงให้แม่ บอกอาการป่วยหลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข็ม 2 แล้วมีอาการป่วย ไข้ขึ้นสูง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว และมีอาการปวดหัวอย่างหนัก โดยผู้เป็นแม่ไม่ทราบเลยว่า จะเป็นเสียงสุดท้ายที่ได้ยินจากคนที่เป็นลูก จากกันโดยไม่ทันได้ร่ำลา
ซึ่งผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 30 กันยายน ที่ผ่านมา นาย
สุพจน์ ชาวอำเภอบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ รพ.สต.หนองพลวง ตำบลหนองบัวสะอาด อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ฉีดวัคซีน AstraZeneca ซึ่งเป็นวัคซีนเข็มที่ 2 ก่อนหน้านี้ฉีดวัคซีน Sinovac ไปเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม เป็นการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข แต่หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว นาย
สุพจน์ กลับมีอาการป่วย ไข้ขึ้นสูง หนาวสั่น ซึ่งเจ้าตัวได้อัดคลิปเสียงส่งไปให้แม่ฟัง
ต่อมาเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 4 ตุลาคม ญาติไปพบ นาย
สุพจน์ นอนตะเกียกตะกายอยู่ที่เถียงนาใกล้บ้าน โดยมีอาการน้ำลายฟูมปาก แขนขาอ่อนแรง อาเจียน ไข้ขึ้นสูง รวมทั้ง บ่นปวดหัวตลอดเวลา ซึ่งขณะนั้นผู้ป่วยเริ่มไม่ได้สติ ญาติจึงนำส่งรักษาอาการป่วยที่โรงพยาบาลบัวใหญ่ ซึ่งทันทีที่ถึงโรงพยาบาลฯ แพทย์ได้เอกซเรย์พบว่า มีอาการเส้นเลือดในสมองแตก ทั้งที่ก่อนหน้านี้นาย
สุพจน์ เป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวแต่อย่างใด และทางโรงพยาบาลบัวใหญ่ได้ทำการรักษาอยู่ 3-4 วัน ก่อนที่นายสุพจน์จะสิ้นใจในเวลาต่อมา
ผู้สื่อข่าวจึงสอบถามนาง
ณัฐฐา นาโว แม่ผู้เสียชีวิต เปิดเผยว่า ลูกชายได้ลาจากออกจากงานวิศกรไฟฟ้าฯ กลับมาทำนา ทำสวน ทำไร่อยู่ที่บ้าน ส่วนตนทำงานอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ลูกชายได้เลิกรากับภรรยาที่มีลูกอายุ 2 ขวบด้วยกัน ภรรยานำลูกไปเลี้ยงอยู่ที่จังหวัดนครพนม และเนื่องจากจังหวัดนครราชสีมา เป็นพื้นที่เสี่ยงสูงสีแดงเข้ม การเดินทางไปยังต่างพื้นที่ ลูกชายจึงเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 เพื่อที่จะได้ไปเยี่ยมลูก แต่ไม่คิดว่า ยังไม่ทันได้เจอหน้าลูก ลูกชายของตนก็มาสิ้นใจไปเสียก่อน ซึ่งทางญาติก็อยากร้องขอความเป็นธรรมช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงสาเหตุการเสียชีวิตว่า เป็นเพราะวัคซีนหรือโรคประจำตัวกันแน่
ปภ.รายงาน 16 จว.ยังท่วม กระทบ 9.5 หมื่นกว่าครัวเรือน เสียชีวิต 9 ราย
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6669862
ปภ.รายงาน 16 จังหวัดยังท่วม จากฤทธิ์พายุเตี้ยนหมู่ กระทบ 9.5 หมื่นกว่าครัวเรือน เสียชีวิต 9 ราย พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยามีระดับน้ำยังทรงตัว
เมื่อวันที่ 11 ต.ค.2564 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานจากอิทธิพลพายุ “เตี้ยนหมู่” ซึ่งเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย.– ปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 33 จังหวัด
ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร เลย ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม รวม 222 อำเภอ 1,185 ตำบล 8,056 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 323,523 ครัวเรือน
สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 17 จังหวัด (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร บุรีรัมย์ นครปฐม ยโสธร สุรินทร์ เลย ศรีสะเกษ สระแก้ว จันทบุรี ปราจีนบุรี ชัยนาท) มีผู้เสียชีวิต 9 ราย (ลพบุรี ชาย 6 ราย เพชรบูรณ์ ชาย 2 ราย ชัยนาท ชาย 1 ราย)
ยังคงมีสถานการณ์ 16 จังหวัด รวม 64 อำเภอ. 384 ตำบล. 1,998 หมู่บ้าน 95,233 ครัวเรือน ดังนี้
สุโขทัย ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองสุโขทัย อ.ศรีสำโรง อ.คีรีมาศ ระดับน้ำลดลง พิษณุโลก ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.บางระกำ อ.วังทอง และอ.พรหมพิราม ระดับน้ำลดลง
ขอนแก่น ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อ.แวงน้อย อ.แวงใหญ่ อ.โคกโพธิ์ชัย อ.ชนบท อ.มัญจาคีรี อ.พระยืน อ.บ้านแฮด อ.บ้านไผ่ และอ.เมืองขอนแก่น ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ระดับน้ำลดลง
มหาสารคาม มวลน้ำจากจ.ขอนแก่น ไหลเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.โกสุมพิสัย อ.กันทรวิชัย อ.เมืองมหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตร ระดับน้ำเพิ่มขึ้น ชัยภูมิ ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ อ.คอนสวรรค์ ระดับน้ำลดลง
นครราชสีมา ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อ.โนนสูง อ.พิมาย อ.คง อ.แก้งสนามนาง อ.ประทาย อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ชุมพวง อ.เมืองยาง ระดับน้ำลดลง อุบลราชธานี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองอุบลราชธานี และอ.วารินชำราบ ระดับน้ำลดลง
นครสวรรค์ ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองนครสวรรค์ อ.พยุหะคีรี และอ.โกรกพระ ระดับน้ำลดลง อุทัยธานี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อ.เมืองอุทัยธานี ระดับน้ำลดลง
ลพบุรี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองลพบุรี อ.บ้านหมี่ และอ.โคกสำโรง ระดับน้ำลดลง
สระบุรี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองสระบุรี อ.เสาไห้ อ.หนองโดน อ.บ้านหมอ และอ.ดอนพุด ระดับน้ำลดลง
สุพรรณบุรี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.บางปลาม้า และอ.สองพี่น้อง ระดับน้ำทรงตัว สิงห์บุรี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.อินทร์บุรี อ.เมืองสิงห์บุรี อ.พรหมบุรี และอ.ท่าช้าง ระดับน้ำทรงตัว
อ่างทอง ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองอ่างทอง อ.ไชโย อ.ป่าโมก อ.วิเศษชัยชาญ และอ.สามโก้ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองโผงเผง ซึ่งอยู่นอกเขตคันกั้นน้ำ ระดับน้ำทรงตัว
พระนครศรีอยุธยา น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.บางบาล อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางไทร อ.บางปะอิน อ.ท่าเรือ อ.นครหลวง อ.บางปะหัน อ.มหาราช ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และคลองโผงเผงซึ่งอยู่นอกคันกั้นน้ำ ระดับน้ำทรงตัว
ปทุมธานี เจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ริมน้ำ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองปทุมธานี และอ.สามโคก ระดับน้ำลดลง
ภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ ขณะที่พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยามีระดับน้ำยังทรงตัว
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สำหรับประชาชนแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
JJNY : ‘หมอชลน่าน’ ห่วง LEPU กับกลุ่มเสี่ยงสูง│หนุ่มวัย39 ดับหลังฉีดไขว้│16 จว.ยังท่วม│ส.อ.ท.ชี้หมดยุคโชว์ยักษ์-ตุ๊กตุ๊ก
https://www.matichon.co.th/politics/news_2984802
‘หมอชลน่าน’ ห่วงปมชุดดตรวจ ATK ยี่ห้อ LEPU กับกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง หวั่นควบคุมการแพร่เชื้อไม่ได้ แนะ อย.เก็บ-สธ.สั่งห้ามใช้ด่วน
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย (พท.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า
ข้อมูล ข้อเท็จจริง จากการเปิดเผยทางเฟซบุ๊กของ “ชมรมแพทย์ชนบท” เรื่องผลการนำชุดตรวจ ATK ยี่ห้อ LEPU (เล่อปู๋) ที่องค์การจัดซื้อเป็น Home use มาใช้ในพื้นที่ระบาด จ.นครศรีธรรมราช พบผลลบลวง (False Negative) สูงมาก 35.4% ทำให้ นพ.จรัสพงษ์ สุขกรี นพ.สสจ.สั่งทุก รพ.ใน จ.นครศรีธรรมราช ห้ามใช้ชุดตรวจ ATK ของ LEPU กับกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง เพื่อการควบคุมป้องกันโรค เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ดีที่สุดของผู้บริหารในพื้นที่ ถ้าเจอสถานการณ์เช่นนี้ ไม่เช่นนั้นจะควบคุมการระบาดไม่ได้ เพราะมีคนติดเชื้อถึง 73 คนใน 100 คน ที่ผลตรวจเป็นลบ ทำให้คนเหล่านี้ไม่ถูกแยกกักกันตัว แพร่เชื้อในชุมชนได้ตลอดเวลา
“กระทรวงสาธารณสุขต้องยกย่องชื่นชมผลการตรวจในพื้นที่ระบาดสูง ตรวจกลุ่มเสี่ยงสูงเป็นเมื่อนำมาตรวจด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR กลุ่มที่เป็นผลบวก ติดเชื้อ 167 ราย ในจำนวนนี้ตรวจด้วย ATK เป็นผลลบถึง 122 ราย ผลลบลวงจึงสูงถึง 73% นำข้อมูลชุดนี้มาคำนวณ ความจำเพาะ (Specificity) ได้ 99.1% ถือว่าดีมาก แต่ความไว (Sensitivity) ได้ 26.9% ถือว่าต่ำมาก เพราะ อย.กำหนดไว้ ต้องได้ 90% ขึ้นไป ถ้านำมาใช้ในพื้นที่ระบาด พื้นที่เสี่ยงสูงจะทำให้ไม่สามารถควบคุมโรคได้เกิดปัญหามาก อย.ต้องสั่งเก็บ สธ.ต้องสั่งห้ามใช้เป็นการด่วน”
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1299205667185684&id=100012887892943
หนุ่มวัย 39 ดับหลังฉีดวัคซีนสูตรไขว้ ญาติคาใจ ผลชันสูตรเลือดออกในสมอง
https://www.matichon.co.th/region/news_2984658
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางณัฐฐา นาโว เปิดเผยว่าลูกชาย นายสุพจน์ ประสานเชื้อ อายุ 39 ปี ส่งคลิปเสียงให้แม่ บอกอาการป่วยหลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข็ม 2 แล้วมีอาการป่วย ไข้ขึ้นสูง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว และมีอาการปวดหัวอย่างหนัก โดยผู้เป็นแม่ไม่ทราบเลยว่า จะเป็นเสียงสุดท้ายที่ได้ยินจากคนที่เป็นลูก จากกันโดยไม่ทันได้ร่ำลา
ซึ่งผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 30 กันยายน ที่ผ่านมา นายสุพจน์ ชาวอำเภอบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ รพ.สต.หนองพลวง ตำบลหนองบัวสะอาด อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ฉีดวัคซีน AstraZeneca ซึ่งเป็นวัคซีนเข็มที่ 2 ก่อนหน้านี้ฉีดวัคซีน Sinovac ไปเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม เป็นการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข แต่หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว นายสุพจน์ กลับมีอาการป่วย ไข้ขึ้นสูง หนาวสั่น ซึ่งเจ้าตัวได้อัดคลิปเสียงส่งไปให้แม่ฟัง
ต่อมาเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 4 ตุลาคม ญาติไปพบ นายสุพจน์ นอนตะเกียกตะกายอยู่ที่เถียงนาใกล้บ้าน โดยมีอาการน้ำลายฟูมปาก แขนขาอ่อนแรง อาเจียน ไข้ขึ้นสูง รวมทั้ง บ่นปวดหัวตลอดเวลา ซึ่งขณะนั้นผู้ป่วยเริ่มไม่ได้สติ ญาติจึงนำส่งรักษาอาการป่วยที่โรงพยาบาลบัวใหญ่ ซึ่งทันทีที่ถึงโรงพยาบาลฯ แพทย์ได้เอกซเรย์พบว่า มีอาการเส้นเลือดในสมองแตก ทั้งที่ก่อนหน้านี้นายสุพจน์ เป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวแต่อย่างใด และทางโรงพยาบาลบัวใหญ่ได้ทำการรักษาอยู่ 3-4 วัน ก่อนที่นายสุพจน์จะสิ้นใจในเวลาต่อมา
ผู้สื่อข่าวจึงสอบถามนางณัฐฐา นาโว แม่ผู้เสียชีวิต เปิดเผยว่า ลูกชายได้ลาจากออกจากงานวิศกรไฟฟ้าฯ กลับมาทำนา ทำสวน ทำไร่อยู่ที่บ้าน ส่วนตนทำงานอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ลูกชายได้เลิกรากับภรรยาที่มีลูกอายุ 2 ขวบด้วยกัน ภรรยานำลูกไปเลี้ยงอยู่ที่จังหวัดนครพนม และเนื่องจากจังหวัดนครราชสีมา เป็นพื้นที่เสี่ยงสูงสีแดงเข้ม การเดินทางไปยังต่างพื้นที่ ลูกชายจึงเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 เพื่อที่จะได้ไปเยี่ยมลูก แต่ไม่คิดว่า ยังไม่ทันได้เจอหน้าลูก ลูกชายของตนก็มาสิ้นใจไปเสียก่อน ซึ่งทางญาติก็อยากร้องขอความเป็นธรรมช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงสาเหตุการเสียชีวิตว่า เป็นเพราะวัคซีนหรือโรคประจำตัวกันแน่
ปภ.รายงาน 16 จว.ยังท่วม กระทบ 9.5 หมื่นกว่าครัวเรือน เสียชีวิต 9 ราย
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6669862
ปภ.รายงาน 16 จังหวัดยังท่วม จากฤทธิ์พายุเตี้ยนหมู่ กระทบ 9.5 หมื่นกว่าครัวเรือน เสียชีวิต 9 ราย พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยามีระดับน้ำยังทรงตัว
เมื่อวันที่ 11 ต.ค.2564 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานจากอิทธิพลพายุ “เตี้ยนหมู่” ซึ่งเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย.– ปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 33 จังหวัด
ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร เลย ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม รวม 222 อำเภอ 1,185 ตำบล 8,056 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 323,523 ครัวเรือน
สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 17 จังหวัด (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร บุรีรัมย์ นครปฐม ยโสธร สุรินทร์ เลย ศรีสะเกษ สระแก้ว จันทบุรี ปราจีนบุรี ชัยนาท) มีผู้เสียชีวิต 9 ราย (ลพบุรี ชาย 6 ราย เพชรบูรณ์ ชาย 2 ราย ชัยนาท ชาย 1 ราย)
ยังคงมีสถานการณ์ 16 จังหวัด รวม 64 อำเภอ. 384 ตำบล. 1,998 หมู่บ้าน 95,233 ครัวเรือน ดังนี้
สุโขทัย ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองสุโขทัย อ.ศรีสำโรง อ.คีรีมาศ ระดับน้ำลดลง พิษณุโลก ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.บางระกำ อ.วังทอง และอ.พรหมพิราม ระดับน้ำลดลง
ขอนแก่น ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อ.แวงน้อย อ.แวงใหญ่ อ.โคกโพธิ์ชัย อ.ชนบท อ.มัญจาคีรี อ.พระยืน อ.บ้านแฮด อ.บ้านไผ่ และอ.เมืองขอนแก่น ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ระดับน้ำลดลง
มหาสารคาม มวลน้ำจากจ.ขอนแก่น ไหลเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.โกสุมพิสัย อ.กันทรวิชัย อ.เมืองมหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตร ระดับน้ำเพิ่มขึ้น ชัยภูมิ ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ อ.คอนสวรรค์ ระดับน้ำลดลง
นครราชสีมา ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อ.โนนสูง อ.พิมาย อ.คง อ.แก้งสนามนาง อ.ประทาย อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ชุมพวง อ.เมืองยาง ระดับน้ำลดลง อุบลราชธานี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองอุบลราชธานี และอ.วารินชำราบ ระดับน้ำลดลง
นครสวรรค์ ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองนครสวรรค์ อ.พยุหะคีรี และอ.โกรกพระ ระดับน้ำลดลง อุทัยธานี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อ.เมืองอุทัยธานี ระดับน้ำลดลง
ลพบุรี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองลพบุรี อ.บ้านหมี่ และอ.โคกสำโรง ระดับน้ำลดลง
สระบุรี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองสระบุรี อ.เสาไห้ อ.หนองโดน อ.บ้านหมอ และอ.ดอนพุด ระดับน้ำลดลง
สุพรรณบุรี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.บางปลาม้า และอ.สองพี่น้อง ระดับน้ำทรงตัว สิงห์บุรี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.อินทร์บุรี อ.เมืองสิงห์บุรี อ.พรหมบุรี และอ.ท่าช้าง ระดับน้ำทรงตัว
อ่างทอง ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองอ่างทอง อ.ไชโย อ.ป่าโมก อ.วิเศษชัยชาญ และอ.สามโก้ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองโผงเผง ซึ่งอยู่นอกเขตคันกั้นน้ำ ระดับน้ำทรงตัว
พระนครศรีอยุธยา น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.บางบาล อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางไทร อ.บางปะอิน อ.ท่าเรือ อ.นครหลวง อ.บางปะหัน อ.มหาราช ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และคลองโผงเผงซึ่งอยู่นอกคันกั้นน้ำ ระดับน้ำทรงตัว
ปทุมธานี เจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ริมน้ำ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองปทุมธานี และอ.สามโคก ระดับน้ำลดลง
ภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ ขณะที่พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยามีระดับน้ำยังทรงตัว
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สำหรับประชาชนแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง