ตายแล้ว 49 ศพ น้ำท่วมลาม 35 จังหวัด ยังวิกฤตอยู่ 16 จังหวัด จนท.เร่งฟื้นฟู
https://www.matichon.co.th/local/news_4810580
ตายแล้ว 49 ศพ น้ำท่วมลาม 35 จังหวัด ยังวิกฤตอยู่ 16 จังหวัด จนท.เร่งฟื้นฟู
เมื่อวันที่ 25 กันยายน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า ในระหว่างวันที่ 16 ส.ค.-25 ก.ย.เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 35 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองคาย นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ บึงกาฬ หนองบัวลำภู ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง และสตูล
รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 189 อำเภอ 833 ตำบล 4,283 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 169,548 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตรวม 49 ราย และได้รับบาดเจ็บรวม 28 คน
ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 16 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ลำปาง ลำพูน แพร่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย เลย หนองคาย
อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ ปราจีนบุรี และพระนครศรีอยุธยา รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 54 อำเภอ 217 ตำบล 857 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,851 ครัวเรือน ดังนี้
1.เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย อ.เมืองฯ และ อ.เวียงป่าเป้า รวม 10 ตำบล 35 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,501 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 2.เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่ริม และ อ.เมืองฯ รวม 7 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,027 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 3.น่าน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.นาน้อย อ.นาหมื่น และ อ.เวียงสา รวม 9 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 96 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 4.ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อ.งาว อ.เมืองฯ อ.เกาะคา อ.ห้างฉัตร อ.แม่พริก อ.สบปราบ อ.เถิน อ.แม่เมาะ อ.วังเหนือ อ.แม่ทะ และ อ.แจ้ห่ม รวม 42 ตำบล 181 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,024 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 5.ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.ป่าซาง อ.บ้านธิ อ.ทุ่งหัวช้าง อ.แม่ทา รวม 18 ตำบล 67 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง 6.แพร่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.ลอง และ อ.วังชิ้น รวม 6 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 108 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
7.เพชรบูรณ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.ชนแดน รวม 2 ตำบล 8 หมู่บ้าน ระดับน้ำทรงตัว 8.พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ และ อ.เมืองฯ รวม 7 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 576 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 9.สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.ศรีสำโรง รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ระดับน้ำทรงตัว 10.เลย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.นาด้วง และ อ.ภูเรือ รวม 4 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 136 ครัวเรือน สถานการณคลี่คลายแล้ว 11.หนองคาย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.ศรีเชียงใหม่ อ.ท่าบ่อ อ.เมืองฯ และ อ.โพนพิสัย รวม 26 ตำบล 146 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,717 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
12.อุดรธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สร้างคอม รวม 6 ตำบล 23 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 270 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 13.ขอนแก่น เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.บ้านไผ่ อ.แวงน้อย อ.แวงใหญ่ รวม 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 330 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 14.ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.คอนสวรรค์ รวม 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 70 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 15.ปราจีนบุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ประจันตคาม อ.นาดี อ.กบินทร์บุรี รวม 6 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 79 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 16.พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน และ อ.บางไทร รวม 67 ตำบล 287 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,917 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย KA-32 เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่างขนาด 200 KVA รถบรรทุกเล็ก รถลากเรือเคลื่อนที่เร็ว เรือท้องแบน อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่ พื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในภาคอื่นที่ไม่มีสถานการณ์ภัย เข้าร่วมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ภัย รวมถึงช่วยฟื้นฟูถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน ในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รายงานเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง และปักหลักช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลังจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยประชาชนสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์ ข่าวสารสาธารณภัย ได้ทาง Facebook กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM และ X @DDPMNews ติดตามการประกาศแจ้งเตือนภัยได้ทางแอพพลิเคชั่น “Thai Disaster Alert” ทั้งระบบ iOS และ Android และหากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง.
ปชน. เดินหน้าแก้รธน. ปมจริยธรรม ลั่นทำเพื่อประชาชน ไม่ใช่ผลประโยชน์พรรค
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9429596
พรรคประชาชน เดินหน้าแก้ไขรธน.ปมจริยธรรม ลั่นทำเพื่อประชาชน ไม่ใช่ผลประโยชน์พรรค ชี้ต้องแก้รายมาตรา หากทำทั้งฉบับอาจไม่ทัน 3-4 ปีที่สภาเหลืออยู่
เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2567 ที่รัฐสภา นาย
ณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึงการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ประเด็นจริยธรรมนักการเมือง ว่า เรื่องนี้ต้องถามนาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ ผู้เสนอร่าง เรายังรอการนัดจากนาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ว่าสัปดาห์นี้จะนัดหารือเพื่อกำหนดวันพิจารณาเรื่องรัฐธรรมนูญอีกหรือไม่ ทั้งนี้ จะมีการหารือในพรรคประชาชนอีกครั้ง
เมื่อถามว่าการแก้ไขลักษณะนี้เป็นการเอื้อประโยชน์นักการเมืองหรือไม่ นาย
ณัฐวุฒิ กล่าวว่า สิ่งที่พรรคประชาชนคาดหวังมากที่สุดคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และควรเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ต้องยอมรับว่าความล่าช้าจากกฎหมายประชามติ ความล่าช้าจากกระบวนที่ต้องมีคำถามครั้งที่ 1-3 อาจทำให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับไม่เสร็จภายใน 3-4 ปี
ฉะนั้น ในระหว่างเส้นทาง หากเราเห็นว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีบางประเด็นที่เป็นปัญหาอยู่หรือไม่ เราคงต้องเสนอการแก้ไขรายมาตราไปด้วย ซึ่งพรรคประชาชนได้รวบรวมหลายประเด็น ทั้งเรื่องปฏิรูปการศึกษา หรือประเด็นความเสมอภาค ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่ว่าเอื้อประโยชน์อย่างไร แต่คงมาดูกันว่าในรัฐธรรมนูญมีเหตุผลหรือความจำเป็นต้องแก้ไขเรื่องไหน อย่างไรบ้าง
เรื่องเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับสถาบันการเมือง ประชาชน และประเทศชาติอย่างไร เราพร้อมจะรับฟังความคิดเห็น เราเป็นพรรคการเมือง ซึ่งเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายเรารับฟังอยู่แล้ว เรายื่นไปแล้วจำนวน 3 ร่าง อย่างไรก็ตามจะมีการพูดคุยหรือดำเนินการต่อหรือไม่ เราจะอาศัยที่ประชุม สส.ในการพิจารณาร่วมกัน ซึ่งจะเกิดขึ้นในบ่ายวันนี้
เมื่อถามว่าพรรคเพื่อไทยถอนร่างไปแล้ว ร่างของพรรคประชาชนจะผ่านไปได้หรือไม่ นาย
ณัฐวุฒิ กล่าวว่า เรื่องรัฐธรรมนูญต้องดูว่าสาระสำคัญเป็นอย่างไรมากกว่าการถอนหรือไม่ถอนของพรรคเพื่อไทย พร้อมย้ำจุดยืนว่าอยากให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่ในเมื่อการแก้ไขทั้งฉบับยังไม่เกิดขึ้น เราจะพิจารณาจากความจำเป็นในการแก้ไขรายมาตรา
“
ยืนยันว่าการแก้ไขรายมาตราของเราทั้งหมดไม่ได้เป็นผลประโยชน์ของพรรคประชาชน แต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนจริงๆ” นาย
ณัฐวุฒิ กล่าว
อธิการบดีจุฬาฯ ยันไม่เคยสั่งห้าม เวทีเปิดตัวหนังสือดัง ย้ายกลับมาที่คณะรัฐศาสตร์ เปิดห้องใหญ่กว่าเดิม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4810752
อธิการบดีจุฬาฯ ยันไม่เคยสั่งห้าม จัดเปิดตัวหนังสือดัง ย้ายกลับมาที่คณะรัฐศาสตร์ เปิดห้องใหญ่กว่าเดิม
จากกรณีที่ กองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้ประกาศให้หนังสือ “
ในนามของความมั่นคงภายใน การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย” โดยมี รศ.ดร.
พวงทอง ภวัครพันธุ์ เป็นเอกสารต้องห้าม หวั่นว่าจะส่งผลให้เกิดความเสียหาย ทำให้สังคมเข้าใจผิด และกระทบภาพลักษณ์ขององค์กรหน่วยงาน จึงขอความร่วมมือในการระงับการจำหน่าย กระทั่งจุฬาฯไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่จัดเสวนาเปิดตัวหนังสือดังกล่าว จนนิสิตออกมาทำกิจกรรมติดป้ายกระดาษทวงคืนเสรีภาพทางวิชาวิชาการนั้น
ล่าสุด (25 ก.ย.) รศ.ดร.
พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้แจ้งผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงกรณีดังกล่าวว่า
ด่วน! ย้ายกลับจุฬาค่าา
เช้านี้คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬา แจ้งกับดิฉันว่า อธิการบดีได้โทรสอบถามเรื่องแบนการจัดงานเปิดตัวหนังสือ ในนามของความมั่นคงภายใน ซึ่งท่านไม่เคยทราบเรื่องมาก่อน ท่านอธิการฯ ไม่เห็นด้วยกับการห้าม เพราะมหาวิทยาลัยควรเป็นพื้นที่ให้กับเสรีภาพทางวิชาการ (เชื่อว่า ก่อนหน้านี้ เป็นการดำเนินการของรองอธิการบดีคนใดคนหนึ่ง) ทางด้านท่านคณบดีก็ยินดีเปิดห้องประชุมมาลัย หุวะนันท์ ชั้น 13 ตึกเกษม อุทยานิน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฟังเสวนา มีที่นั่งอย่างเพียงพอ … ขอขอบคุณทั้งสองท่านมา ณ ที่นี้
ฉะนั้น เราจะกลับไปจัดที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬา เวลาเดิมนะคะ
ดิฉันไม่เคยคิดเลยว่าหนังสือเล่มเดียวจะสร้างความปั่นป่วนได้ขนาดนี้
ต้องขอขอบคุณทุกกำลังใจและทุกเสียงคัดค้านการปิดกั้นเสรีภาพทางความคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอขอบพระคุณหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน The Jim Thompson Art Center อีกครั้ง สำหรับมิตรไมตรีที่หยิบยื่นออกมาเพื่อให้เสรีภาพทางวิชาการมีที่ยืนต่อไป”
https://www.facebook.com/puangthong.r.pawakapan/posts/pfbid0b5NS6Z53ZsB47RJj35MLwf44GAqZSzjzgA9ArXYgb9d7v5CieK5M7B3jcd439NgAl
JJNY : 5in1 ตาย 49ศพ น้ำท่วมลาม 35จว.│ปชน.เดินหน้าแก้รธน.│เวทีเปิดตัวย้ายกลับ│ผวาบาทแข็งเร็ว│ฝนตกญี่ปุ่นเสียชีวิตเพิ่ม 9
https://www.matichon.co.th/local/news_4810580
ตายแล้ว 49 ศพ น้ำท่วมลาม 35 จังหวัด ยังวิกฤตอยู่ 16 จังหวัด จนท.เร่งฟื้นฟู
เมื่อวันที่ 25 กันยายน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า ในระหว่างวันที่ 16 ส.ค.-25 ก.ย.เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 35 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองคาย นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ บึงกาฬ หนองบัวลำภู ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง และสตูล
รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 189 อำเภอ 833 ตำบล 4,283 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 169,548 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตรวม 49 ราย และได้รับบาดเจ็บรวม 28 คน
ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 16 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ลำปาง ลำพูน แพร่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย เลย หนองคาย
อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ ปราจีนบุรี และพระนครศรีอยุธยา รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 54 อำเภอ 217 ตำบล 857 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,851 ครัวเรือน ดังนี้
1.เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย อ.เมืองฯ และ อ.เวียงป่าเป้า รวม 10 ตำบล 35 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,501 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 2.เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่ริม และ อ.เมืองฯ รวม 7 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,027 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 3.น่าน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.นาน้อย อ.นาหมื่น และ อ.เวียงสา รวม 9 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 96 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 4.ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อ.งาว อ.เมืองฯ อ.เกาะคา อ.ห้างฉัตร อ.แม่พริก อ.สบปราบ อ.เถิน อ.แม่เมาะ อ.วังเหนือ อ.แม่ทะ และ อ.แจ้ห่ม รวม 42 ตำบล 181 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,024 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 5.ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.ป่าซาง อ.บ้านธิ อ.ทุ่งหัวช้าง อ.แม่ทา รวม 18 ตำบล 67 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง 6.แพร่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.ลอง และ อ.วังชิ้น รวม 6 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 108 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
7.เพชรบูรณ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.ชนแดน รวม 2 ตำบล 8 หมู่บ้าน ระดับน้ำทรงตัว 8.พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ และ อ.เมืองฯ รวม 7 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 576 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 9.สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.ศรีสำโรง รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ระดับน้ำทรงตัว 10.เลย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.นาด้วง และ อ.ภูเรือ รวม 4 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 136 ครัวเรือน สถานการณคลี่คลายแล้ว 11.หนองคาย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.ศรีเชียงใหม่ อ.ท่าบ่อ อ.เมืองฯ และ อ.โพนพิสัย รวม 26 ตำบล 146 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,717 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
12.อุดรธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สร้างคอม รวม 6 ตำบล 23 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 270 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 13.ขอนแก่น เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.บ้านไผ่ อ.แวงน้อย อ.แวงใหญ่ รวม 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 330 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 14.ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.คอนสวรรค์ รวม 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 70 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 15.ปราจีนบุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ประจันตคาม อ.นาดี อ.กบินทร์บุรี รวม 6 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 79 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 16.พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน และ อ.บางไทร รวม 67 ตำบล 287 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,917 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย KA-32 เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่างขนาด 200 KVA รถบรรทุกเล็ก รถลากเรือเคลื่อนที่เร็ว เรือท้องแบน อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่ พื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในภาคอื่นที่ไม่มีสถานการณ์ภัย เข้าร่วมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ภัย รวมถึงช่วยฟื้นฟูถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน ในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รายงานเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง และปักหลักช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลังจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยประชาชนสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์ ข่าวสารสาธารณภัย ได้ทาง Facebook กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM และ X @DDPMNews ติดตามการประกาศแจ้งเตือนภัยได้ทางแอพพลิเคชั่น “Thai Disaster Alert” ทั้งระบบ iOS และ Android และหากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง.
ปชน. เดินหน้าแก้รธน. ปมจริยธรรม ลั่นทำเพื่อประชาชน ไม่ใช่ผลประโยชน์พรรค
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9429596
พรรคประชาชน เดินหน้าแก้ไขรธน.ปมจริยธรรม ลั่นทำเพื่อประชาชน ไม่ใช่ผลประโยชน์พรรค ชี้ต้องแก้รายมาตรา หากทำทั้งฉบับอาจไม่ทัน 3-4 ปีที่สภาเหลืออยู่
เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2567 ที่รัฐสภา นายณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึงการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ประเด็นจริยธรรมนักการเมือง ว่า เรื่องนี้ต้องถามนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ ผู้เสนอร่าง เรายังรอการนัดจากนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ว่าสัปดาห์นี้จะนัดหารือเพื่อกำหนดวันพิจารณาเรื่องรัฐธรรมนูญอีกหรือไม่ ทั้งนี้ จะมีการหารือในพรรคประชาชนอีกครั้ง
เมื่อถามว่าการแก้ไขลักษณะนี้เป็นการเอื้อประโยชน์นักการเมืองหรือไม่ นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า สิ่งที่พรรคประชาชนคาดหวังมากที่สุดคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และควรเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ต้องยอมรับว่าความล่าช้าจากกฎหมายประชามติ ความล่าช้าจากกระบวนที่ต้องมีคำถามครั้งที่ 1-3 อาจทำให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับไม่เสร็จภายใน 3-4 ปี
ฉะนั้น ในระหว่างเส้นทาง หากเราเห็นว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีบางประเด็นที่เป็นปัญหาอยู่หรือไม่ เราคงต้องเสนอการแก้ไขรายมาตราไปด้วย ซึ่งพรรคประชาชนได้รวบรวมหลายประเด็น ทั้งเรื่องปฏิรูปการศึกษา หรือประเด็นความเสมอภาค ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่ว่าเอื้อประโยชน์อย่างไร แต่คงมาดูกันว่าในรัฐธรรมนูญมีเหตุผลหรือความจำเป็นต้องแก้ไขเรื่องไหน อย่างไรบ้าง
เรื่องเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับสถาบันการเมือง ประชาชน และประเทศชาติอย่างไร เราพร้อมจะรับฟังความคิดเห็น เราเป็นพรรคการเมือง ซึ่งเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายเรารับฟังอยู่แล้ว เรายื่นไปแล้วจำนวน 3 ร่าง อย่างไรก็ตามจะมีการพูดคุยหรือดำเนินการต่อหรือไม่ เราจะอาศัยที่ประชุม สส.ในการพิจารณาร่วมกัน ซึ่งจะเกิดขึ้นในบ่ายวันนี้
เมื่อถามว่าพรรคเพื่อไทยถอนร่างไปแล้ว ร่างของพรรคประชาชนจะผ่านไปได้หรือไม่ นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า เรื่องรัฐธรรมนูญต้องดูว่าสาระสำคัญเป็นอย่างไรมากกว่าการถอนหรือไม่ถอนของพรรคเพื่อไทย พร้อมย้ำจุดยืนว่าอยากให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่ในเมื่อการแก้ไขทั้งฉบับยังไม่เกิดขึ้น เราจะพิจารณาจากความจำเป็นในการแก้ไขรายมาตรา
“ยืนยันว่าการแก้ไขรายมาตราของเราทั้งหมดไม่ได้เป็นผลประโยชน์ของพรรคประชาชน แต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนจริงๆ” นายณัฐวุฒิ กล่าว
อธิการบดีจุฬาฯ ยันไม่เคยสั่งห้าม เวทีเปิดตัวหนังสือดัง ย้ายกลับมาที่คณะรัฐศาสตร์ เปิดห้องใหญ่กว่าเดิม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4810752
อธิการบดีจุฬาฯ ยันไม่เคยสั่งห้าม จัดเปิดตัวหนังสือดัง ย้ายกลับมาที่คณะรัฐศาสตร์ เปิดห้องใหญ่กว่าเดิม
จากกรณีที่ กองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้ประกาศให้หนังสือ “ในนามของความมั่นคงภายใน การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย” โดยมี รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ เป็นเอกสารต้องห้าม หวั่นว่าจะส่งผลให้เกิดความเสียหาย ทำให้สังคมเข้าใจผิด และกระทบภาพลักษณ์ขององค์กรหน่วยงาน จึงขอความร่วมมือในการระงับการจำหน่าย กระทั่งจุฬาฯไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่จัดเสวนาเปิดตัวหนังสือดังกล่าว จนนิสิตออกมาทำกิจกรรมติดป้ายกระดาษทวงคืนเสรีภาพทางวิชาวิชาการนั้น
ล่าสุด (25 ก.ย.) รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้แจ้งผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงกรณีดังกล่าวว่า
ด่วน! ย้ายกลับจุฬาค่าา
เช้านี้คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬา แจ้งกับดิฉันว่า อธิการบดีได้โทรสอบถามเรื่องแบนการจัดงานเปิดตัวหนังสือ ในนามของความมั่นคงภายใน ซึ่งท่านไม่เคยทราบเรื่องมาก่อน ท่านอธิการฯ ไม่เห็นด้วยกับการห้าม เพราะมหาวิทยาลัยควรเป็นพื้นที่ให้กับเสรีภาพทางวิชาการ (เชื่อว่า ก่อนหน้านี้ เป็นการดำเนินการของรองอธิการบดีคนใดคนหนึ่ง) ทางด้านท่านคณบดีก็ยินดีเปิดห้องประชุมมาลัย หุวะนันท์ ชั้น 13 ตึกเกษม อุทยานิน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฟังเสวนา มีที่นั่งอย่างเพียงพอ … ขอขอบคุณทั้งสองท่านมา ณ ที่นี้
ฉะนั้น เราจะกลับไปจัดที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬา เวลาเดิมนะคะ
ดิฉันไม่เคยคิดเลยว่าหนังสือเล่มเดียวจะสร้างความปั่นป่วนได้ขนาดนี้
ต้องขอขอบคุณทุกกำลังใจและทุกเสียงคัดค้านการปิดกั้นเสรีภาพทางความคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอขอบพระคุณหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน The Jim Thompson Art Center อีกครั้ง สำหรับมิตรไมตรีที่หยิบยื่นออกมาเพื่อให้เสรีภาพทางวิชาการมีที่ยืนต่อไป”
https://www.facebook.com/puangthong.r.pawakapan/posts/pfbid0b5NS6Z53ZsB47RJj35MLwf44GAqZSzjzgA9ArXYgb9d7v5CieK5M7B3jcd439NgAl