เพจป.ป.ช. โพสต์ ชวนสร้างสังคมโปร่งใส ไร้ทุจริต ทำคนแห่เมนต์ จนต้องปิด
https://www.matichon.co.th/social/news_4826856
เพจป.ป.ช. โพสต์ ชวนสร้างสังคมโปร่งใส ไร้ทุจริต ทำคนแห่เมนต์ จนต้องปิด
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก สำนักงาน ป.ป.ช. โดยระบุข้อความว่า
“สร้างสังคมให้โปร่งใส ไร้การทุจริต เริ่มได้จากพวกเรา คนไทยทุกคน”
ซึ่งหลังจากโพสต์เผยแพร่ออกไปก็ได้มีประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก อาทิ นาย
วีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น ได้แสดงความคิดเห็นว่า “
ป.ป.ช. ต้องทำตัวเองให้โปร่งใส เป็นแบบอย่างที่ดีก่อนครับ โดยต้องให้เอกสารทั้ง 3 รายการแก่นายวีระ สมความคิด อย่างถูกต้องครบถ้วน ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และอย่าบล๊อคการแสดงความคิดเห็นอย่างสุจริตของประชาชนทุกคน”
และประชาชนบางส่วน อาทิ “
บังคับใช้กฎหมายให้เป็นธรรมและตรวจสอบได้จากทุกภาคส่วน องค์กรอิสระก็ควรต้องตรวจสอบได้และได้รับโทษหากทำผิด”
“
เริ่มต้นโดย ทุกหน่วยงานต้องเปิดเผยข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ต่อสาธารณะ ทั้ง ปร.4 5 6 แบบแปลน สัญญา ทุกโครงการและกำหนดบทลงโทษกรณีไม่เผยแพร่เอกสารฯในระบบ”
18 จว.ยังท่วม กระทบ 3.2 หมื่นครัวเรือน ‘พิษณุโลก-อ่างทอง-อยุธยา’ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9444110
ปภ. รายงาน 18 จังหวัด ยังมีสถานการณ์ น้ำท่วม ประชาชนได้รับผลกระทบ รวมแล้วกว่า 1.9 แสนครัวเรือน เร่งให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูพื้นที่ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2567 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า ในระหว่างวันที่ 16 ส.ค. – 4 ต.ค. เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 38 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ หนองคาย นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม บึงกาฬหนองบัวลำภู อุบลราชธานี ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา
ปทุมธานี ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง และสตูล รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 230 อำเภอ 992 ตำบล 5,334 หมู่บ้าน
ประชาชนได้รับผลกระทบ 193,415 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตรวม 49 ราย และได้รับบาดเจ็บรวม 28 คน
ซึ่งปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย
เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา รวมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 51 อำเภอ 252 ตำบล 1,262 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 32,214 ครัวเรือน
ภาคเหนือ 9 จังหวัด 25 อำเภอ 89 ตำบล 381 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,225 ครัวเรือน
1.เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย อ.เมืองฯ อ.แม่ลาว อ.เวียงป่าเป้า และ อ.เวียงชัย รวม 11 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 220 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2.พะเยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอแม่ใจ รวม 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
3.แม่ฮ่องสอน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมืองฯ รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง 4.ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมืองฯ รวม 14 ตำบล 117 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,868 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
5.ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.แจ้ห่ม และ อ.งาว รวม 6 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
6.ตาก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก รวม 7 ตำบล 47 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,312 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
7.พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมืองฯ อ.บางกระทุ่ม อ.วังทอง อ.นครไทย และ อ.วัดโบสถ์
รวม 27 ตำบล 104 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,749 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
8.เพชรบูรณ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.น้ำหนาว อ.เมืองฯ และ อ.หนองไผ่ รวม 6 ตำบล 8 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 115 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
9.สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง และ อ.เมืองฯ รวม 15 ตำบล 51 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,940 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด 16 อำเภอ 63 ตำบล 342 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,422 ครัวเรือน
1.เลย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ภูกระดึง อ.วังสะพุง และ อ.ภูเรือ รวม 6 ตำบล 44 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 533 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2.อุดรธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สร้างคอม รวม 8 ตำบล 41 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 575 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
3.กาฬสินธุ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.ยางตลาด และ อ.หนองกรุงศรี รวม 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 32 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
4.ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.คอนสวรรค์ และ อ.จัตุรัส รวม 12 ตำบล 45 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 71 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
5.ขอนแก่น เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.ภูผาม่าน รวม 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
6.มหาสารคาม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.กันทรวิชัย อ.โกสุมพิสัย และ อ.เชียงยืน รวม 29 ตำบล 199 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 90 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
7.อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สว่างวีระวงศ์ รวม 3 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 121 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ภาคกลาง 2 จังหวัด 10 อำเภอ 100 ตำบล 539 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20,567 ครัวเรือน 1.อ่างทอง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.วิเศษชัยชาญ อ.ไชโย และ อ.เมืองฯ รวม 6 ตำบล 16 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 275 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
2.พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.บางไทร และ อ. บางปะหัน รวม 94 ตำบล 523 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20,292 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
ปภ.ได้ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย KA-32 เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่างขนาด 200 KVA รถบรรทุกเล็ก รถลากเรือเคลื่อนที่เร็ว เรือท้องแบน อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ เข้าให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ภัย
รวมถึงนำรถขุดตักไฮดรอลิคยกสูง รถตักล้อยางเอนกประสงค์ รถขุดล้อยางกู้ภัยปรับฐานล้อ รถตีนตะขาบ รถบรรทุกเทท้าย รถขุดตักไฮดรอลิคแขนยาว เร่งขุดตักขนย้ายดินโคลน เศษวัสดุ สิ่งปรักหักพัง พร้อมทั้งปรับเกลี่ยถนน เส้นทางสัญจร ฟื้นฟูถนนหนทาง อาคารบ้านเรือนในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด
ปภ.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รายงานเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง และปักหลักช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลังจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยประชาชนสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์ ข่าวสารสาธารณภัย ได้ทางเฟซบุ๊ก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM และ X @DDPMNews
ติดตามการประกาศแจ้งเตือนภัยได้ทางแอปพลิเคชัน “Thai Disaster Alert” ทั้งระบบ IOS และ Android และหากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
น้ำปิงทะลักท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ ช่วงกลางดึก
https://tna.mcot.net/region-1428833
เชียงใหม่ 4 ต.ค.-ชาวเชียงใหม่ต้องรับมือน้ำท่วมอีกรอบ หลังระดับน้ำปิงสูงสุด 4 เมตร 81 ซม. ตอนตี2 ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมหลายพื้นที่ในตัวเมืองเป็นวงกว้าง รวมทั้งย่านการค้าไนท์บาร์ซ่า
ขณะนี้ถนนย่านไนท์บาร์ซ่า ซึ่งเป็นย่านการค้าสำคัญของเชียงใหม่ ยาวไปจนถึงถนนช้างคลาน ตอนนี้เปลี่ยนสภาพกลายเป็นคลองไปแล้ว หลังน้ำปิงทะลักเข้าท่วม สูงประมาณ 50-70 ซม. รถเล็กสัญจรลำบาก หลังน้ำปิงล้นตลิ่งเข้าท่วมตั้งแต่เช้ามืด แต่ร้านค้าต่างๆ เตรียมพร้อมไว้แล้ว ทั้งยกของไว้บนที่สูงและวางแนวกระสอบทราย ซึ่งย่านนี้ยังเต็มไปด้วยโรงแรมขนาดใหญ่มากมาย ซึ่งต้องใช้รถขนาดใหญ่รับส่งนักท่องเที่ยวในการเข้าออกโรงแรม ซึ่งเป็นไปอย่างทุลักทุเล ไม่เฉพาะแค่ย่านนี้เท่านั้น แต่น้ำปิงที่ขึ้นสูงสุดถึง 4 เมตร 81 เซ็นติเมตร แม้จะน้อยกว่ารอบที่แล้ว แต่ก็ทะลักเข้าท่วมหลายชุมชนในเขตเมือเชียงใหม่ เป็นวงกว้าง โดยเฉพาะที่อยู่ในรัศมี 1 กิโลเมตรจากลำน้ำปิง บางจุดน้ำสูงกว่า 1 เมตร อย่างชุมชนป่าพร้าวนอก และถนนเจริญประเทศที่เป็นด่านแรกรับน้ำตั้งแต่เมื่อคืน รวมทั้งสนามกอล์ฟยิมคาน่า ย่านวัดเมืองกาย ที่ถูกน้ำท่วมเกือบเต็มพื้นที่ และอีกหลายชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะแม่น้ำปิงยังทรงตัวสูงในระดับ 4 เมตร 80 เซ็นติเมตร มาหลายชั่วโมงแล้ว
และขณะนี้ระดับน้ำปิงยังคงที่อยู่ที่ 4 เมตร 83 เซนติเมตร ชาวบ้านตอนนี้ก็ต่างภาวนาให้สถานการณ์น้ำไม่เลวร้ายมากไปกว่านี้ หรือขอให้รอบนี้เป็นรอบสุดท้ายสำหรับชาวเชียงใหม่.-สำนักข่าวไทย
JJNY : เพจป.ป.ช.โพสต์ ทำคนแห่เมนต์จนต้องปิด│18 จว.ยังท่วม│น้ำปิงทะลักท่วมเมืองเชียงใหม่│‘อิสราเอล-อิหร่าน’ขู่จัดหนัก
https://www.matichon.co.th/social/news_4826856
เพจป.ป.ช. โพสต์ ชวนสร้างสังคมโปร่งใส ไร้ทุจริต ทำคนแห่เมนต์ จนต้องปิด
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก สำนักงาน ป.ป.ช. โดยระบุข้อความว่า
“สร้างสังคมให้โปร่งใส ไร้การทุจริต เริ่มได้จากพวกเรา คนไทยทุกคน”
ซึ่งหลังจากโพสต์เผยแพร่ออกไปก็ได้มีประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก อาทิ นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น ได้แสดงความคิดเห็นว่า “ป.ป.ช. ต้องทำตัวเองให้โปร่งใส เป็นแบบอย่างที่ดีก่อนครับ โดยต้องให้เอกสารทั้ง 3 รายการแก่นายวีระ สมความคิด อย่างถูกต้องครบถ้วน ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และอย่าบล๊อคการแสดงความคิดเห็นอย่างสุจริตของประชาชนทุกคน”
และประชาชนบางส่วน อาทิ “บังคับใช้กฎหมายให้เป็นธรรมและตรวจสอบได้จากทุกภาคส่วน องค์กรอิสระก็ควรต้องตรวจสอบได้และได้รับโทษหากทำผิด”
“เริ่มต้นโดย ทุกหน่วยงานต้องเปิดเผยข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ต่อสาธารณะ ทั้ง ปร.4 5 6 แบบแปลน สัญญา ทุกโครงการและกำหนดบทลงโทษกรณีไม่เผยแพร่เอกสารฯในระบบ”
18 จว.ยังท่วม กระทบ 3.2 หมื่นครัวเรือน ‘พิษณุโลก-อ่างทอง-อยุธยา’ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9444110
ปภ. รายงาน 18 จังหวัด ยังมีสถานการณ์ น้ำท่วม ประชาชนได้รับผลกระทบ รวมแล้วกว่า 1.9 แสนครัวเรือน เร่งให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูพื้นที่ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2567 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า ในระหว่างวันที่ 16 ส.ค. – 4 ต.ค. เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 38 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ หนองคาย นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม บึงกาฬหนองบัวลำภู อุบลราชธานี ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา
ปทุมธานี ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง และสตูล รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 230 อำเภอ 992 ตำบล 5,334 หมู่บ้าน
ประชาชนได้รับผลกระทบ 193,415 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตรวม 49 ราย และได้รับบาดเจ็บรวม 28 คน
ซึ่งปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย
เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา รวมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 51 อำเภอ 252 ตำบล 1,262 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 32,214 ครัวเรือน
ภาคเหนือ 9 จังหวัด 25 อำเภอ 89 ตำบล 381 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,225 ครัวเรือน
1.เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย อ.เมืองฯ อ.แม่ลาว อ.เวียงป่าเป้า และ อ.เวียงชัย รวม 11 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 220 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2.พะเยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอแม่ใจ รวม 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
3.แม่ฮ่องสอน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมืองฯ รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง 4.ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมืองฯ รวม 14 ตำบล 117 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,868 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
5.ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.แจ้ห่ม และ อ.งาว รวม 6 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
6.ตาก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก รวม 7 ตำบล 47 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,312 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
7.พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมืองฯ อ.บางกระทุ่ม อ.วังทอง อ.นครไทย และ อ.วัดโบสถ์
รวม 27 ตำบล 104 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,749 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
8.เพชรบูรณ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.น้ำหนาว อ.เมืองฯ และ อ.หนองไผ่ รวม 6 ตำบล 8 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 115 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
9.สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง และ อ.เมืองฯ รวม 15 ตำบล 51 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,940 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด 16 อำเภอ 63 ตำบล 342 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,422 ครัวเรือน
1.เลย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ภูกระดึง อ.วังสะพุง และ อ.ภูเรือ รวม 6 ตำบล 44 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 533 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2.อุดรธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สร้างคอม รวม 8 ตำบล 41 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 575 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
3.กาฬสินธุ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.ยางตลาด และ อ.หนองกรุงศรี รวม 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 32 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
4.ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.คอนสวรรค์ และ อ.จัตุรัส รวม 12 ตำบล 45 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 71 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
5.ขอนแก่น เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.ภูผาม่าน รวม 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
6.มหาสารคาม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.กันทรวิชัย อ.โกสุมพิสัย และ อ.เชียงยืน รวม 29 ตำบล 199 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 90 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
7.อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สว่างวีระวงศ์ รวม 3 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 121 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ภาคกลาง 2 จังหวัด 10 อำเภอ 100 ตำบล 539 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20,567 ครัวเรือน 1.อ่างทอง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.วิเศษชัยชาญ อ.ไชโย และ อ.เมืองฯ รวม 6 ตำบล 16 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 275 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
2.พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.บางไทร และ อ. บางปะหัน รวม 94 ตำบล 523 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20,292 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
ปภ.ได้ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย KA-32 เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่างขนาด 200 KVA รถบรรทุกเล็ก รถลากเรือเคลื่อนที่เร็ว เรือท้องแบน อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ เข้าให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ภัย
รวมถึงนำรถขุดตักไฮดรอลิคยกสูง รถตักล้อยางเอนกประสงค์ รถขุดล้อยางกู้ภัยปรับฐานล้อ รถตีนตะขาบ รถบรรทุกเทท้าย รถขุดตักไฮดรอลิคแขนยาว เร่งขุดตักขนย้ายดินโคลน เศษวัสดุ สิ่งปรักหักพัง พร้อมทั้งปรับเกลี่ยถนน เส้นทางสัญจร ฟื้นฟูถนนหนทาง อาคารบ้านเรือนในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด
ปภ.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รายงานเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง และปักหลักช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลังจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยประชาชนสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์ ข่าวสารสาธารณภัย ได้ทางเฟซบุ๊ก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM และ X @DDPMNews
ติดตามการประกาศแจ้งเตือนภัยได้ทางแอปพลิเคชัน “Thai Disaster Alert” ทั้งระบบ IOS และ Android และหากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
น้ำปิงทะลักท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ ช่วงกลางดึก
https://tna.mcot.net/region-1428833
เชียงใหม่ 4 ต.ค.-ชาวเชียงใหม่ต้องรับมือน้ำท่วมอีกรอบ หลังระดับน้ำปิงสูงสุด 4 เมตร 81 ซม. ตอนตี2 ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมหลายพื้นที่ในตัวเมืองเป็นวงกว้าง รวมทั้งย่านการค้าไนท์บาร์ซ่า
ขณะนี้ถนนย่านไนท์บาร์ซ่า ซึ่งเป็นย่านการค้าสำคัญของเชียงใหม่ ยาวไปจนถึงถนนช้างคลาน ตอนนี้เปลี่ยนสภาพกลายเป็นคลองไปแล้ว หลังน้ำปิงทะลักเข้าท่วม สูงประมาณ 50-70 ซม. รถเล็กสัญจรลำบาก หลังน้ำปิงล้นตลิ่งเข้าท่วมตั้งแต่เช้ามืด แต่ร้านค้าต่างๆ เตรียมพร้อมไว้แล้ว ทั้งยกของไว้บนที่สูงและวางแนวกระสอบทราย ซึ่งย่านนี้ยังเต็มไปด้วยโรงแรมขนาดใหญ่มากมาย ซึ่งต้องใช้รถขนาดใหญ่รับส่งนักท่องเที่ยวในการเข้าออกโรงแรม ซึ่งเป็นไปอย่างทุลักทุเล ไม่เฉพาะแค่ย่านนี้เท่านั้น แต่น้ำปิงที่ขึ้นสูงสุดถึง 4 เมตร 81 เซ็นติเมตร แม้จะน้อยกว่ารอบที่แล้ว แต่ก็ทะลักเข้าท่วมหลายชุมชนในเขตเมือเชียงใหม่ เป็นวงกว้าง โดยเฉพาะที่อยู่ในรัศมี 1 กิโลเมตรจากลำน้ำปิง บางจุดน้ำสูงกว่า 1 เมตร อย่างชุมชนป่าพร้าวนอก และถนนเจริญประเทศที่เป็นด่านแรกรับน้ำตั้งแต่เมื่อคืน รวมทั้งสนามกอล์ฟยิมคาน่า ย่านวัดเมืองกาย ที่ถูกน้ำท่วมเกือบเต็มพื้นที่ และอีกหลายชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะแม่น้ำปิงยังทรงตัวสูงในระดับ 4 เมตร 80 เซ็นติเมตร มาหลายชั่วโมงแล้ว
และขณะนี้ระดับน้ำปิงยังคงที่อยู่ที่ 4 เมตร 83 เซนติเมตร ชาวบ้านตอนนี้ก็ต่างภาวนาให้สถานการณ์น้ำไม่เลวร้ายมากไปกว่านี้ หรือขอให้รอบนี้เป็นรอบสุดท้ายสำหรับชาวเชียงใหม่.-สำนักข่าวไทย